การแปลผล EKG ในผู้ป่วย MI

 การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

หัวใจของคนเราประกอบไปด้วยหัวใจห้องล่างสองห้องคือซ้ายและ ขวา( Left or Right Ventricle )และหัวใจห้องบนสองห้องคือขวาและซ้าย ( Left or Right Atrium) การทำงานของหัวใจจะทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย หัวใจจะได้รับไฟฟ้าซึ่งเกิดจากเซลล์ชนิดพิเศษในหัวใจซึ่งสามารถสร้างกระแส ไฟฟ้าเองซึ่งเรียกว่า Sinus node กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านไปตามกล้ามเนื้อหัวใจทำให้หัวใจบีบตัว

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นวิธีการตรวจหาโรคหัวใจที่ง่ายและได้ผลดี การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นตรวจกระแสไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหัวใจผลิตออกมาขณะ ที่หัวใจบีบตัว โดยเริ่มต้นที่จุดที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจชนิดพิเศษที่สามารถสร้างกระแส ไฟฟ้าได้เอง เราเรียกจุดนี้ว่า Sinus node กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านกล้ามเนื้อหัวห้องบน เกิดกระแสไฟฟ้าที่เราตรวจได้เรียก P wave กระแสจะมาหยุดที่รอยต่อระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่างเรียกว่า AV Node หลังจากนั้นกระแสไฟฟ้าจะวิ่งไปหัวใจห้องข่างล่าง?ั้งซ้ายและขวาและทำให้เกิด กระแสไฟฟ้าที่เรียกว่า QRS complex ดูตัวอย่างกราฟไฟฟ้าหัวใจของคนปกติ

คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะบอกอะไรได้บ้าง

คลื่นไฟฟ้าสามารถบอกให้เราทราบโรคของหัวใจและความผิดปกติของเกลือแร่โรคที่ใช้คลื่นไฟฟ้าในการช่วยวินิจฉัยได้แก่

  1. กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย แต่สำหรับที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ไม่ถึงกับตาย การตรวจคลื่นไฟฟ้ากลุ่มนี้อาจจะให้ผลปกติซึ่งอาจจะต้องไปวิ่งสายพานเพื่อน ตรวจ ข้อต้องระวังอีกข้อคือในภาวะที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในชั่งเริ่มต้นการ ตรวจคลื่นไฟฟ้าอาจจะปกติได้ ต้องใช้วิธีตรวจซ้ำ
  2. กล้ามเนื้อหัวใจหนา
  3. โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
  4. ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด
  5. การเต้นหัวใจผิดปกติ
  6. เกลือแร่ผิดปกติ เช่นโปแตสเซี่ยมสูงไปหรือต่ำไป

แพทย์จะสั่งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกรณีต่อไปนี้

  • เมื่อคุณมีอาการเจ็บหน้าอก และแพทย์สงสัยว่าจะเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือเจ็บหน้าอกจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
  • เพื่อตรวจดูคลื่อนไฟฟ้าหัวใจ
  • เมื่อสงสัยว่ากล้ามเนื้อหัวใจจะหนา
  • ติดตามผลการรักษา หรือผลข้างเคียงจากยา
  • ตรวจดูเครื่องกระตุ้นหัวใจว่ายังทำงานเป็นปกติหรือไม่
  • เช็คร่างกายหากคุณมีโรคความดันโลหิต เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่สามารถบอกว่าเป็นหัวใจวาย

การเตรียมตัวสำหรับการตรวจ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่เจ็บ ไม่เสียเวลา คุณนอนบนเตียงเจ้าหน้าที่จะเอาขั้วไฟฟ้ามาติดที่แขน ขา และหน้าอก หลังจากนั้นจะตรวจกระแสไฟฟ้าหัวใจใช้เวลาไม่ถึง 5 นาทีก็เสร็จ

ระหว่างการตรวจอย่าพูดหรือเคลื่อนไหวเพราะจะทำให้เกิดคลื่นรบกวนคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การตรวจนี้เจ็บปวดหรือไม่

ไม่ไมีความเจ็บปวด

การตรวจนี้มีความเสียงหรือไม่

การตรวจนี้ไม่มีความเสี่ยงหรือเจ็บปวดแต่อย่างใด

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตรวจ

  • เครื่องมือไม่สมบูรณ์
  • แผ่น electrode ไม่แนบสนิทกับผิวหนัง
  • คุณคลื่อนไหว หรือพูด
  • ออกกำลังกายอย่างหนักก่อนการตรวจ
  • กังวล หายใจหอบลึก
  • การติด electrode ผิดตำแหน่ง

ข้อที่ควรคำนึงเกี่ยวกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

  • หากท่านมีอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในระยะแรกอาจจะปกติ
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจควรจะต้องตรวจขณะพักก่อนการตรวจขณะออกกำลังกาย
  • แพทย์บางท่านแนะนำให้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเมื่อายุย่าง 35 เพื่อเป็นค่าที่เอาไว้เปรียบเทียบ
  • โรคบางโรคจะปรากฏเมื่อออกกำลังกายหรือขณะมีอาการ ดังนั้นอาจจะจำเป็นต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าขณะออกกำำลังกาย หรือตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง ( ambulatory electrocardiogram)

การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดต้องอาศัย ประวัติการเจ็บหน้าอก ผลเลือดที่บ่งบอกว่ามีการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจ และการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ คลิกที่นี่เพื่ออ่านเรื่องคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจขึ้นกับกลไกการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาด เลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจควรจะตรวจให้ครบทั้ง 12 leads ถึงแม้ว่าผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะปกติในการตรวจครั้งแรก เราก็ยังไม่สามารถบอกว่าไม่มีเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งอาจจะต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจซ้ำหรืออาจจะต้องทำการตรวจอย่างอื่นเพิ่ม เติม การตรวจคลื่นไฟฟ้าหนึ่งโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง คลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ดังนี้

  1. การเปลี่ยนแปลงยกขึ้นของระดับ ST segment elevation หรือมีการขวางการเดินของไฟฟ้า(new bundle branch block)
  2. มีการลดของระดับ ST segment depression หรือคลื่น T wavr หัวกลับ
  3. การเเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าแบบไม่เฉพาะ(non-diagnostic or normal ECG.)หรือคลื่นไฟฟ้าปกติ

การเปลี่ยนแปลงชนิด ST segment elevation

ผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันอย่างเฉียบพลัน และกล้ามเนื้อหัวใจตายตลอดความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจ (tranmural mi)ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจส่วน ที่เรียกว่า ST segment(อ่านเรื่องคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่นี่) มีการยกตัวสูงขึ้น 1 mm การเปลี่ยนแปลงนี้มักจะเกิดหลังจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ส่วนที่ระบายสีเหลืองคือ ST segment elevationที่ยกตัวสูงสีฟ้าคือ ST segment depression

ใครสนใจเรื่องการดู EKG หรือมีตัวอย่างกรณีศึกษาจะมาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ

อาจารย์ลัดดาวรรณ

This entry was posted in ภาวะหัวใจขาดเลือด : Cardiac ischemia. Bookmark the permalink.

148 Responses to การแปลผล EKG ในผู้ป่วย MI

  1. nursingctu says:

    ถ้าอาจารย์หรือนักศึกษาท่านใดมีกรณีศึกษาตัวอย่างของผู้ป่วยโรคหัวใจและสมองที่อยากจะเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ค่ะ

    อาจารย์ลัดดาวรรณ

  2. กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย แต่สำหรับที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ไม่ถึงกับตาย การตรวจคลื่นไฟฟ้ากลุ่มนี้อาจจะให้ผลปกติซึ่งอาจจะต้องไปวิ่งสายพานเพื่่อ ตรวจ ข้อต้องระวังอีกข้อคือในภาวะที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในชั่งเริ่มต้นการ ตรวจคลื่นไฟฟ้าอาจจะปกติได้ ต้องใช้วิธีตรวจซ้ำ จากข้อมูลดังกล่าวหนูอยากทราบว่าทำไมเวลามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ถ้าได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าทำไมถึงได้ผลปกติคะ

    • laddawans says:

      เนื่องจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ต้องทำขณะที่ผู้ป่วยมีอาการ ถ้าผู้ป่วยได้รับยาขยายหลอดเลือดบ้างแล้ว และไม่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก (อาการเจ็บหน้าอกนี้บ่งบอกถึงการมีเส้นเลือดตีบหรือตัน) ก็จะทำให้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่ะ ส่วนใหญ่แล้วเราจะตรวจ Cardiac marking คู่ไปกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ทุก 6 ชั่วโมง เพราะถ้าพบว่ามีภาวะของ ST Elevation เราต้องรักษาทันทีภายใน 6 ชั่วโมงค่ะ

  3. rattigarn says:

    การตรวจคลื่นไฟฟ้า “โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด” อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ดังนี้

    1. การเปลี่ยนแปลงยกขึ้นของระดับ ST segment elevation หรือมีการขวางการเดินของไฟฟ้า(new bundle branch block)
    2. มีการลดของระดับ ST segment depression หรือคลื่น T wavr หัวกลับ
    3. การเเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าแบบไม่เฉพาะ(non-diagnostic or normal ECG.)หรือคลื่นไฟฟ้าปกติ

  4. rattigarn says:

    ถ้าสมมติว่า ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 55 ปี น้ำหนัก 101 กิโลกรัม ส่วนสูง 160 เซนติเมตร

    อาการสำคัญ ตกรถมอเตอร์ไซด์ ศรีษะกระแทกพื้น สลบ

    ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
    ปี พ.ศ.2544 ตกรถมอเตอร์ไซด์ ศรีษะกระแทกพื้น ญาตินำตัวส่งโรงพยาบาลกรุงเทพ ฯ 1 วัน
    จากนั้นย้ายมารักษาต่อที่โรงพยาบาลบางประกอก 3 อยู่โรงพยาบาลประมาณ 1 เดือน มาพักฟื้นที่บ้าน ผู้ป่วยมีอาการแขนขวาและขาขวาอ่อนแรง เดินไม่ได้เป็นระยะเวลา 8 ปี
    มีน้ำหนักตัว 101 กิโลกรัม ทำกายภาพบำบัดโดยจ้างหมอนวดมานวดที่บ้านระยะหนึ่ง หลังจากนัน้นได้เข้าโครงการ Home Health Care ที่โรงพยาบาลพระสมุทรเจดีย์

    ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
    ปี พ.ศ.2548 ตรวจพบโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รักษาที่โรงพยาบาลพระสมุทรเจดีย์ตลอด ไม่ขาดยา

    ……………………….อยากจะรู้ว่า แพทย์จะวินิจฉัยแรกรับว่าเป็นอะไรค่ะ และข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลควรเน้นเรื่องไหนบ้าง แล้วสาเหตุที่เดินไม่ได้มา 8 ปีเกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนไหน???? ค่ะ

    • laddawans says:

      ตกลงว่าผู้ป่วยรายนี้มา นอน รพ ด้วยการตกรถมอเตอร์ไซด์เหมือนปี 2544 เหรอว่าอย่างไรคะ
      เหรอสมมุติว่าเกิดเหตุการเมื่อปี 2544

      • ผู้ป่วยมานอนโรงพยาบาลด้วยอาการตกรถมอเตอร์ไซด์เหมือนปี 2544 นะค่ะ

        ……..แพทย์จะ Dx แรกรับว่ายังงัยค่ะ และทำไมถึง Dx อย่างนั้นค่ะ

  5. kamonchanok109 says:

    แล้วผู้ป่วยลักษณะแบบไหนที่ไม่ควรส่งตรวจ EKG เพื่อทำการวินิจฉัย ค่ะ

    • laddawans says:

      การส่งตรวจ EKG เพื่อทำการวินิจฉัยนั้น จำเป็นจะต้องซักจากประวัติของคนไข้ และตรวจร่างกายเบื้องต้น ประกอบกับอาการแสดงของผู้ป่วยปัจจุบันค่ะ ไม่สามารถระบุเฉพาะเจาะจงได้ เพราะบางคนมานอนโรงพยาบาลด้วยอาการที่ไม่ใช่โรคหัวใจ แต่ต่อมามีอาการของโรคหัวใจก็มีค่ะ

  6. sunan520740 says:

    ความเหมาะสมในการตรวจคลื่่นไฟฟ้าหัวใจจะตรวจได้ในกรณีในบ้างค่ะ เเล้วทำใหมจึงไม่ควรตรวจในเด็กเพราะอะไรค่ะอาจารย์ หนูอยากรู้ค่ะเเละการเเปลผลด้วย EKGในผู้ป่วยMIไม่ใช่เเค่การเเปลผลEKGอย่างเดียว
    จะต้องได้จากการซักประวัติ และการตรวจร่างกายของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จึงสามารถสรุปได้อีกครั้งว่าหัวใจผิดปกติแน่นอนหรือไม่ใช่มัยค่ะ

  7. hastaya says:

    อาจารย์ค่ะเราจะรู้ได้ยังไงค่ะว่าผล EKG แบบไหนที่ต้องรีบให้การแก้ไขอย่างเร่งด่วนในเมื่่อผลมันก็ผิดปกติเหมือนกันแล้วจะใช้เกณฑ์อะไรในการแยกว่าแบบไหนอาการหนักกว่ากันต้องรีบแก้ไขโดยเร่งด่วน แล้วเราจะวัด EKG ในผู้แบบไหนได้บ้างค่ะ (510426)

    • laddawans says:

      ในการดู EKG ที่มีความผิดปกติเหมือนกันนั้น เราดูจากรูปร่างลักษณะของ EKG ค่ะ ซึ่งจะไม่เหมือนกัน และดูตำแหน่ง ด้วยค่ะว่าผิดปกติตรง Lead ใด นอกจากนี้ต้องดูอาการของคนไข้ประกอบด้วยค่ะ บางคน EKG ผิดปกติ แต่ไม่มีอาการอะไร ก็ยังไม่รักษาค่ะ แต่จะเฝ้าระวังอาการแทนค่ะ

  8. EKG คือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ – Electrocardiogram (ECG, EKG)
    หัวใจของคนเราประกอบไปด้วย หัวใจห้องล่างสองห้องคือซ้ายและขวา( Left or Right Ventricle )และหัวใจห้องบนสองห้องคือขวาและซ้าย ( Left or Right Atrium) การทำงานของหัวใจจะทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย หัวใจจะได้รับไฟฟ้าซึ่งเกิดจากเซลล์ชนิดพิเศษในหัวใจซึ่งสามารถสร้างกระแส ไฟฟ้าเองซึ่งเรียกว่า Sinus node กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านไปตามกล้ามเนื้อหัวใจทำให้หัวใจบีบตัว
    การ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นวิธีการตรวจหาโรคหัวใจที่ง่ายและได้ผลดี การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นตรวจกระแสไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหัวใจผลิตออกมาขณะ ที่หัวใจบีบตัว โดยเริ่มต้นที่จุดที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจชนิดพิเศษที่สามารถสร้างกระแส ไฟฟ้าได้เอง เราเรียกจุดนี้ว่า Sinus node กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านกล้ามเนื้อหัวห้องบน เกิดกระแสไฟฟ้าที่เราตรวจได้เรียก P wave กระแสจะมาหยุดที่รอยต่อระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่างเรียกว่า AV Node หลังจากนั้นกระแสไฟฟ้าจะวิ่งไปหัวใจห้องข่างล่าง?ั้งซ้ายและขวาและทำให้เกิด กระแสไฟฟ้าที่เรียกว่า QRS complex ดูตัวอย่างกราฟไฟฟ้าหัวใจของคนปกติ

    คำที่เกี่ยวข้อง : ความรู้ เรื่องคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ,ประโยชน์ของการตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG , หัวใจทำงานอย่างไร?

    กราฟดังกล่าวแสดงเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง โดยทั่วไปการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบเป็น
    1. Limb Leads หมายถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยวัดที่แขนและขา การวัดนี้มี 6 ชื่อคือ Lead 1 , Lead2, Lead3, avr,avl,avf
    2. Chest Leads หมายถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยการตามกระแสไฟฟ้าหัวใจที่บริเวณหน้าอก มี 6 แนวได้แก่ V1,V2,V3,V4,V5,V6
    ลองดูตัวอย่างกราฟไฟฟ้าหัวใจทั้งหมดของคนปกติ

    คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะบอกอะไรได้บ้าง?
    คลื่นไฟฟ้าสามารถบอกให้เราทราบโรคของหัวใจและความผิดปกติของเกลือแร่โรคที่ใช้คลื่นไฟฟ้าในการช่วยวินิจฉัยได้แก่
    1. กล้าม เนื้อหัวใจขาดเลือด เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย แต่สำหรับที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ไม่ถึงกับตาย การตรวจคลื่นไฟฟ้ากลุ่มนี้อาจจะให้ผลปกติซึ่งอาจจะต้องไปวิ่งสายพานเพื่อน ตรวจ ข้อต้องระวังอีกข้อคือในภาวะที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในชั่งเริ่มต้นการ ตรวจคลื่นไฟฟ้าอาจจะปกติได้ ต้องใช้วิธีตรวจซ้ำ
    2. กล้ามเนื้อหัวใจหนา
    3. โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
    4. ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด
    5. การเต้นหัวใจผิดปกติ
    6. เกลือแร่ผิดปกติ เช่นโปแตสเซี่ยมสูงไปหรือต่ำไป
    แพทย์จะสั่งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกรณีต่อไปนี้
    • เมื่อคุณมีอาการเจ็บหน้าอก และแพทย์สงสัยว่าจะเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือเจ็บหน้าอกจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
    • เพื่อตรวจดูคลื่อนไฟฟ้าหัวใจ
    • เมื่อสงสัยว่ากล้ามเนื้อหัวใจจะหนา
    • ติดตามผลการรักษา หรือผลข้างเคียงจากยา
    • ตรวจดูเครื่องกระตุ้นหัวใจว่ายังทำงานเป็นปกติหรือไม่
    • เช็คร่างกายหากคุณมีโรคความดันโลหิต เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่สามารถบอกว่าเป็นหัวใจวาย
    การเตรียมตัวสำหรับการตรวจ
    การ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่เจ็บ ไม่เสียเวลา คุณนอนบนเตียงเจ้าหน้าที่จะเอาขั้วไฟฟ้ามาติดที่แขน ขา และหน้าอก หลังจากนั้นจะตรวจกระแสไฟฟ้าหัวใจใช้เวลาไม่ถึง 5 นาทีก็เสร็จ
    ระหว่างการตรวจอย่าพูดหรือเคลื่อนไหวเพราะจะทำให้เกิดคลื่นรบกวนคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

  9. EKG คืออะไรการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ – Electrocardiogram (ECG, EKG)
    หัวใจของคนเราประกอบไปด้วย หัวใจห้องล่างสองห้องคือซ้ายและขวา( Left or Right Ventricle )และหัวใจห้องบนสองห้องคือขวาและซ้าย ( Left or Right Atrium) การทำงานของหัวใจจะทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย หัวใจจะได้รับไฟฟ้าซึ่งเกิดจากเซลล์ชนิดพิเศษในหัวใจซึ่งสามารถสร้างกระแส ไฟฟ้าเองซึ่งเรียกว่า Sinus node กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านไปตามกล้ามเนื้อหัวใจทำให้หัวใจบีบตัว
    การ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นวิธีการตรวจหาโรคหัวใจที่ง่ายและได้ผลดี การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นตรวจกระแสไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหัวใจผลิตออกมาขณะ ที่หัวใจบีบตัว โดยเริ่มต้นที่จุดที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจชนิดพิเศษที่สามารถสร้างกระแส ไฟฟ้าได้เอง เราเรียกจุดนี้ว่า Sinus node กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านกล้ามเนื้อหัวห้องบน เกิดกระแสไฟฟ้าที่เราตรวจได้เรียก P wave กระแสจะมาหยุดที่รอยต่อระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่างเรียกว่า AV Node หลังจากนั้นกระแสไฟฟ้าจะวิ่งไปหัวใจห้องข่างล่าง?ั้งซ้ายและขวาและทำให้เกิด กระแสไฟฟ้าที่เรียกว่า QRS complex ดูตัวอย่างกราฟไฟฟ้าหัวใจของคนปกติ

    คำที่เกี่ยวข้อง : ความรู้ เรื่องคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ,ประโยชน์ของการตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG , หัวใจทำงานอย่างไร?

    กราฟดังกล่าวแสดงเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง โดยทั่วไปการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบเป็น
    1. Limb Leads หมายถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยวัดที่แขนและขา การวัดนี้มี 6 ชื่อคือ Lead 1 , Lead2, Lead3, avr,avl,avf
    2. Chest Leads หมายถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยการตามกระแสไฟฟ้าหัวใจที่บริเวณหน้าอก มี 6 แนวได้แก่ V1,V2,V3,V4,V5,V6
    ลองดูตัวอย่างกราฟไฟฟ้าหัวใจทั้งหมดของคนปกติ

    คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะบอกอะไรได้บ้าง?
    คลื่นไฟฟ้าสามารถบอกให้เราทราบโรคของหัวใจและความผิดปกติของเกลือแร่โรคที่ใช้คลื่นไฟฟ้าในการช่วยวินิจฉัยได้แก่
    1. กล้าม เนื้อหัวใจขาดเลือด เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย แต่สำหรับที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ไม่ถึงกับตาย การตรวจคลื่นไฟฟ้ากลุ่มนี้อาจจะให้ผลปกติซึ่งอาจจะต้องไปวิ่งสายพานเพื่อน ตรวจ ข้อต้องระวังอีกข้อคือในภาวะที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในชั่งเริ่มต้นการ ตรวจคลื่นไฟฟ้าอาจจะปกติได้ ต้องใช้วิธีตรวจซ้ำ
    2. กล้ามเนื้อหัวใจหนา
    3. โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
    4. ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด
    5. การเต้นหัวใจผิดปกติ
    6. เกลือแร่ผิดปกติ เช่นโปแตสเซี่ยมสูงไปหรือต่ำไป
    แพทย์จะสั่งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกรณีต่อไปนี้
    • เมื่อคุณมีอาการเจ็บหน้าอก และแพทย์สงสัยว่าจะเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือเจ็บหน้าอกจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
    • เพื่อตรวจดูคลื่อนไฟฟ้าหัวใจ
    • เมื่อสงสัยว่ากล้ามเนื้อหัวใจจะหนา
    • ติดตามผลการรักษา หรือผลข้างเคียงจากยา
    • ตรวจดูเครื่องกระตุ้นหัวใจว่ายังทำงานเป็นปกติหรือไม่
    • เช็คร่างกายหากคุณมีโรคความดันโลหิต เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่สามารถบอกว่าเป็นหัวใจวาย
    การเตรียมตัวสำหรับการตรวจ
    การ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่เจ็บ ไม่เสียเวลา คุณนอนบนเตียงเจ้าหน้าที่จะเอาขั้วไฟฟ้ามาติดที่แขน ขา และหน้าอก หลังจากนั้นจะตรวจกระแสไฟฟ้าหัวใจใช้เวลาไม่ถึง 5 นาทีก็เสร็จ
    ระหว่างการตรวจอย่าพูดหรือเคลื่อนไหวเพราะจะทำให้เกิดคลื่นรบกวนคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

  10. sunan520740 says:

    การแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

    ถ้าเป็นเพียงหลอดเลือดตีบไม่รุนแรงก็อาจตรวจไม่พบความผิดปกติได้ และในการอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจว่ามีหัวใจโต ก็เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังมาก เพราะต้องอาศัยการแปลผลความสูงของคลื่นไฟฟ้าเป็นสำคัญ ความสูงของคลื่นนี้จะมีการแปรผันมาจากอายุ ความอ้วน ความผอม และโรคปอด ฯลฯ และบ่อยครั้งที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจอ่านผลออกมาว่า มีหัวใจโต แต่ความจริงหัวใจอาจไม่โตก็ได้ ในการตรวจขนาดหัวใจโดยอาศัยคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้น มีความไวต่ำมาก ซึ่งหมายความว่า หัวใจอาจจะโตโดยที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ ข้อมูลที่ได้ก็ต้องนำมาแปลผลอีกครั้งจากการซักประวัติ และการตรวจร่างกายของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จึงสามารถสรุปได้อีกครั้งว่าหัวใจผิดปกติแน่นอนหรือไม่

  11. laddawans says:

    ที่สามารถวินิจฉัยได้อีกวิธี คือ การทำ Echo ค่ะ

  12. sunan520740 says:

    ขอบคุณค่ะ

  13. oratai510565 says:

    อาจารย์คะ คือที่เรียนผ่านมานะคะ ถ้ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย จะมี Q wave ลึกมากกว่าปกติ แต่หนูสงสัยว่าถ้าหากว่ามีแค่ myocardium injury Q wave จะปกติหรือว่ายังลึกเหมือนเดิมคะ แล้วการแยกระหว่าง agina pectoris แบบ stable กับ unstable เราจะสามารถแยกด้วย EKG 12 lead ได้มั้ยคะ

  14. kamonchanok109 says:

    อาจารย์ค่ะ ช่วยอธิบายตรง DDDให้หน่อยค่ะ ไม่เข้าใจว่า สไปร์ทตรงP wave กับ ORS ยังไง

  15. montira520865 says:

    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจควรจะต้องตรวจขณะพักก่อนการตรวจขณะออกกำลังกาย
    โรคบางโรคจะปรากฏเมื่อออกกำลังกายหรือขณะมีอาการ ดังนั้นอาจจะจำเป็นต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าขณะออกกำำลังกาย
    จากข้อมูลนี้ จำเป็นต้องประเมินผู้ป่วยก่อนอย่างไรบ้างค่ะอาจารย์ เพื่อที่จะใช้วิธีการตรวจที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย หมายถึงว่า (ใครเหมาะสมที่จะต้องตรวจขณะพัก ใครเหมาะสมที่จะต้องตรวจขณะออกกำลังกาย)

  16. kwanruetai520114 says:

    ผู้ป่วยทำการตรวจวินิจฉัย myocadial infarction ก่อนทำ CAG ทำไมจึงต้องได้รับ acetylcysteine

  17. อาจารย์คะ การทำ defibrillation ที่อาจารย์บอกว่า ถ้าเป็น Mode Synchronize ที่เครื่องจะจับที่ R wave แล้วช็อกเอง คือเราวาง paddle ไว้ที่ตัวผู้ป่วยแล้วเมื่อเครื่องจับ R wave ได้แล้วจะช็อกเองโดยที่เราไม่ต้องกดปุ่ม discharge เหรอคะอาจารย์ by พรพิมล 520709

  18. อาจารย์คะที่เรียนมาถ้ามีความผิดปกติที่ Atrium EKG จะมีความผิดปกติที่ P wave แต่ทำไม ถ้ามีความผิดปกติที่ ventricle EKG บางชนิดถึงไม่มี P wave ทั้งๆที่ไม่มีความผิดปกติที่ Atrium by พรพิมล 520709

  19. Tuk Tukta says:

    อาจารย์คะ ผู้ป่วย MI จะมี ST elevation ทุกรายหรือไม่คะ by เบญจวรรณ 520731

  20. Tuk Tukta says:

    อาจารย์คะการตรวจ Exercise stress test สามารถบ่งบอกอะไรได้บ้างคะ by เบญจวรรณ 520731

    • การทดสอบสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลัง (exercise stress test : EST) เป็นการตรวจสมรรถภาพของหัวใจ โดยให้ผู้ป่วยออกกำลังด้วยการเดินบนสายพานเลื่อน เพื่อทดสอบว่าเมื่อหัวใจทำงานหนักขึ้น และกล้ามเนื้อหัวใจมีความต้องการใช้ออกซิเจนจากเลือดเพิ่มมากขึ้น จะเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดขึ้นหรือไม่ โดยดูจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เปลี่ยนแปลง และการเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือเหนื่อย รวมทั้งระดับความดันโลหิตที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย

      ***ประโยชน์จากการทดสอบสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลัง***
      – เพื่อวินิจฉัยแยกโรคว่าอาการเจ็บหน้าอกเกิดจากโรคหัวใจ หรือสาเหตุอื่น รวมถึงใช้ตรวจในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจแต่ยังไม่มีอาการของโรค
      – เพื่อติดตามผลการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ ทั้งก่อนผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ หรือทำบอลลูนหลอดเลือดหัวใจ ขณะที่ให้ยารักษาและหลังจากการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ หรือทำบอลลูนหลอดเลือดหัวใจ
      – เพื่อบ่งบอกความรุนแรงของโรคหลอดเลือดหัวใจ และความปลอดภัยในการดำรงชีวิต และการออกกำลังกายเมื่อจะออกจากโรงพยาบาล

  21. อาจารย์คะผู้ป่วยโรคหัวใจทุกคน นอกจากทำ EKG แล้ว ต้องทำ Echo ร่วมด้วยหรือไม่คะ by มรกต 520724

  22. อาจารย์คะถ้า pacemaker pace แล้ว EKG ตรงตำแหน่งที่ pace จะกลับหัวทุกตัวเลยหรือไม่คะอาจารย์ by พรพิมล 520709

  23. siriprapa says:

    ดิฉันขอถามเรื่อง IABP หน่อยนะคร้า
    ในการดูแลผู้ป่วยที่ on IABP มีแนวทางการดูแลที่สำคัญอย่างไรบ้าง และเคยพบปัญหาในการดูแลรึป่าว….ว แล้วมีวิธีการแก้ไข หรือป้องกันปัญหา หรือภาวะแทรกซ้อนอย่างไรบ้าง บ้างคร้าอาจารย์ เอาแบบสรุปๆๆนะค่ะอาจารย์ ขอบคุณค่ะ

  24. siriprapa says:

    อาจาย์ค่ะอีกเรื่องหนึ่งค่ะ คือว่าต้องการที่จะเรียนเพิ่มเติมกับรุ่นพี่นี้ได้หรือเปล่าคร้า ถ้ามีวันไหนค่ะ ห้องและเวลาด้วยค่ะอาจารย์ ขอบคุณคะ 520229

  25. pongsrii55 says:

    การตรวจ EKG ถ้าพบว่าผิดปกติ จะสามารถบ่งบอกได้ไหมค่ะว่าคนนั้นเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจหรือต้องมีการตรวจอะไรเพิ่มเติมไหมค่ะ

    ผ่องครี 510118

    • ผลEKGแปลผลว่าเป็น arrhythmia !!!
      **ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ**
      ความหมายของหัวใจเต้นผิดปกติ (arrhythmia) หมายถึง การที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเต้นผิดปกติ ในอัตราเร็ว ทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจมีความผิดปกติในอัตรา จังหวะ หรือรูปร่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือผิดปกติหลายอย่างประกอบกัน ซึ่งตามปกติ SA node จะให้กำเนิดประจุไฟฟ้า 60 – 100 ครั้ง/ นาที
      **ความผิดปกติของการกำเนิดคลื่นไฟฟ้า ที่สำคัญมีดังนี้**
      – Sinus Tachycardia ภาวะที่คลื่นหัวใจเหมือน normal sinus แต่อัตราการเต้นเร็วกว่า 100 ครั้ง/นาที มักพบในภาวะออกกำลังกาย ภาวะวิตกกังวลหรือเครียด ภาวะที่มีการหลั่ง Catecholamine เพิ่มขึ้นภาวะโปแตสเซี่ยมต่ำ ภาวะพร่องออกวิเจน (Hypoxia) ภาวะ sinus tachycardiaมักเป็นการตอบสนองทางสรีระของร่างกาย ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ควรแก้ไขต้นเหตุที่ไปกระตุ้นหัวใจจึงจะทำให้หัวใจเต้นช้าลงจนปกติเองได้ ยกเว้นถ้าเกิดมากเกินไป โดยไม่เหมาะสมแก่สาเหตุ อาจรักษาโดยกลุ่ม Beta blocker ได้
      – sinus bradycardia ภาวะที่คลื่นหัวใจเหมือน normal sinus แต่อัตราการเต้นช้ากว่า 60 ครั้ง/นาที ถ้าช้ากว่า 40 ครั้งต่อนาทีมักมีความดันโลหิตต่ำร่วมด้วยหรือ มีอาการหน้ามืดได้ ซึ่งถือว่าเป็นกรณีเร่งด่วนเพิ่มช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ เช่น ฉีด atropine หรือ Isoproterenolหยดเข้าทางหลอดเลือดดำ ถ้าไม่ได้ผลอาจต้องใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pace maker) สาเหตุที่พบบ่อยคือ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ผลจากยา Beta blocker
      – Atrial fibrilation (AF) ภาวะที่หัวใจห้องบนเต้นเร็วหรือสั่นพริ้ว เกิดจาก Ectopic focus ใน atrium ปล่อย
      ประจุไฟฟ้าออกมาถี่มากและไม่สม่ำเสมอ อัตราเต้นเร็วมากกว่า 400- 700 ครั้ง /นาที สาเหตุ ความผิดปกติเกิดจาก อายุมาก ภาวะโรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันเลือดสูงกล้ามเนื้อหัวใจพิการเป็นต้น
      – Premature atrial contraction (PAC) เป็นการเต้นของหัวใจห้องบนซึ่งเกิดจากการเหนี่ยวนำโดยจุดผิดปกติ
      (ectopic Foci) ที่ไม่ใช่ SA node ทำให้เกิด P wave เร็วกว่ากำหนด บางครั้งซ้อนอยู่บน T Wave ทำให้รูปร่างของ T wave เปลี่ยนไปบางครั้ง PAC ไม่สามารถเหนี่ยวนำหัวใจห้องล่างได้จึงไม่มี QRS complex สาเหตุของความผิดปกติเกิดจาก ลิ้นหัวใจตีบ ต่อมไทรอยด์เป็นพิษจากยา ดิจิตาลิส เมื่อเกิดภาวะ PAC อาจไม่รู้สึกผิดปกติ พยาบาลมีหน้าที่สังเกต ติดตาม และบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจถ้าพบ PAC เกิน 6 ครั้ง /นาที ให้รายงานแพทย์
      – Premature ventricular contraction (PVC)เป็นความผิดปกติที่เกิดจาก ectopic foci ในหัวใจห้องล่าง จึงพบ QRS wave โดยไม่มี P wave นำมาก่อน และ QRS ที่เกิดขึ้นจะมีรูปร่างผิดปกติ มีความกว้างเกิน 0.12 วินาที และมีช่วงหยุดหลังจากนั้นเนื่องจาก refractory period ของ PVC จะไปกันไม่ให้หัวใจเต้นตามปกติ ได้ ชั่วขณะหนึ่งST segment และ T wave จะชี้ไปในทางตรงกันข้ามสาเหตุของ PVC เกิดจาก ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดออกซิเจน หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันพิษของยา digitalis การรักษาแก้ไขที่สาเหตุ บทบาทของพยาบาลมีหน้าที่สังเกต ติดตาม และบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจถ้าพบ PVC เกิดมาก จัดให้ผู้ป่วยนอนพัก ดูแลการให้ยา ติดตามผลระดับ โปแตสเซี่ยมในเลือด ถ้าผู้ป่วยได้รับยา digitalisแล้วยังพบ PVC ก่อนให้ยาครั้งต่อไปต้องรายงานแพทย์
      – Atrial flutter เกิดจากมี ectopic focus ใน atrium กระตุ้นให้มี Depolarrization อย่างเร็วและสม่ำเสมอ
      vy9ik 250 -350 ครั้ง / นาที ทำให้ P wave เป็นรูปฟันเลื่อย QRS complex เกิดจาการเหนี่ยวนำไฟฟ้า
      จาก atrium ไป ventricle จึงไม่สัมพันธ์กัน สาเหตุ เกิดจาก ความเครียด บุหรี่ท แอลกอฮอล์ หรือความผิดปกติที่หัวใจ ถ้าอัตราการเต้นของหัวใจห้องล่างปกติก็ไม่ต้องรักษายกเว้นมีอาการเจ็บหน้าอก ภาวะหัวใจล้มเหลวร่วมด้วย ให้ยา Digitalis หรือทำ Cardioversionการพยาบาล สังเกตและบันทึก EKG โดยเฉาะช่วงที่ผิดปกติ สังเกตอาการเจ็บหน้าอก
      หรืออาการภาวะหัวใจล้มเหลวต้องรีบรายงานแพทย์ และควรเตรียมเครื่องกระตุ้นหัวใจให้พร้อม
      – Ventricular tachycardia (VT) คือภาวะ ที่ ventricle เป็นจุดกำเนิดของการเต้นของหัวใจ โดยเต้นในอัตราที่เร็วมาก แต่สม่ำเสมอ 101 -250 ครั้ง/นาที ไม่มี P wave QRS รูปร่างผิดปกติและกว้างกว่า 0.12 วินาทีสาเหตุเช่นเดียวกับ PVC แต่รุนแรงกว่า เป็นภาวะฉุกเฉินการพยาบาล ต้องบันทึกEKG ตลอดเวลา ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงต้องพร้อมที่จะช่วยเหลือ ทันที ค้นหาสาเหตุ และวางแผนแก้ไข เตรียมพร้อม CPR และ Defibrillation ทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็น VF
      – First degree AV block จุดกำเนิดไฟฟ้าเกิดจาก SA node แต่การเหนี่ยวนำ Av node ถูกหน่วงให้ช้าลง ดังนั้นลักษณะคลื่นไฟฟ้าจึงเหมือน Sinus rhythm ทุกอย่างยกเว้น PR interval ยาวกว่า

  26. อาจารย์คะถ้าผู้ป่วยมีประวัติ Ischemic heart diseais และ valvular heart disease แล้วมีภาวะ arterial occlusion at Rt leg มีสาเหตุมีIschemic heart diseais และ valvular heart disease ด้วยใช่หรือไม่คะอาจารย์
    by พรพิมล 520709

  27. 520827kongsak says:

    • 520827kongsak says:

      ผมมีคริปมาฝากเพื่อนๆนะครับลิ้งค์อยู่ข้างบนครับ

  28. 520827kongsak says:

    การรักษาโดยการทำBy pass เป็นวิธีสุดท้ายในการรักษาโรคหลอดเลือดและหัวใจหรือเปล่าครับอาจารย์มีวิธีอื่นไหมครับที่จะรักษาโรคหลอดเลือดและหัวใจ

  29. 520827kongsak says:

    อาจารย์ครับผมเคยอ่านบทความเรื่องสุขภาพในอินเตอร์เน็ตว่าการเสริมวิตามินดี ด้วยอาหารเสริมจะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจจริงไหมครับ

  30. 520827kongsak says:

    อาจารย์ครับการที่เราติด EKG ผิดตำแหน่งหรือติดบนRibsจะมีผลต่อกราฟEKG ไหมครับและเราจะรู้ได้ไงครับว่าผลของEKG ตัวนั้นติดผิดหรือใช้ไม่ได้ครับ

  31. sarinya500558 says:

    แล้วผลEKGสามารถบอกพยาธิสภาพของผู้ป่วยได้ทุกอย่างหรือไม่คะ

  32. รูปร่างทางไฟฟ้าของหัวใจที่อยู่ค่อนไปทาง vertical หรืออยู่ในแนวตั้ง สามารถพบได้ในผู้ป่วยประเภทใดค่ะ
    ดาริกา จงใจสิทธิ์ 520070

  33. porranee says:

    ตอนขึ้นฝึก ICU ได้ฝึกทำ EKG 12 leads จนชินมือเลยค่ะ
    510116

  34. 510602lalita says:

    อาจารย์ค่ะการแปลผล EKG ในผู้ป่วย MI หนูอยากทราบว่า wave แต่ละตัวใน EKG มีแค่ความผิดปกติที่ ST
    elevation และ ST depresstion ที่ผิดปกติใช่ไหมคะ แลัว wave อื่น ๆๆ โอกาสที่รูปร่างจะผิดปกติได้ไหมค่ะ
    นางสาว ลลิตา ยุระไชย 510602

  35. อาจารย์คะเคยขึ้นฝึกที่ รพ แห่งหนึ่งแล้วพบว่าการตรวจ EKG ในผู้ป่วยที่ไม่มีขา คือว่าต้องตัดขาซ้ายไปจนถึงบริเวณต้นขาตรงช่วงขาหนีบค่ะ พอเข้าไปทำ EKG แล้วก็เลยงงๆว่าถ้ากรณีที่ถูกตัดอวัยวะบางส่วนที่ต้องใช้ในการทำ EKG 12 lead มีปัญหาแบบนี้หรืออวัยวะที่ใช้ถูกตัดไปมากกว่านี้ เราจะทำ EKG ได้อย่างไรคะ การอ่านผลจะได้เหมือนคนปกติที่มีอวัยวะครบทุกส่วนไหมคะ วันนั้นต้องเลื่่อนทำ EKG ออกไปหนูไม่ได้อยู่ดูค่ะเลยอยากทราบข้อมูลค่ะ ขอบคุณค่ะ

  36. pattaraporn520840 says:

    อาจารย์ค่ะผู้ป่วยที่อ้วน มีไขมันหนา จะมีผลต่อการตรวจ EKG มั่ยค่ะ ขอบคุณค่ะ

  37. sarinya500558 says:

    การติดEKGติด3 lead ก็ได้ค่ะที่จริง ไม่ได้ติด12 lead เสมอไป เช่นคนไข้ที่เข้าห้องผ่าตัด ส่วนใหญ่ก้อเห็นติด3 lead เท่านั้น แต่ถ้าจะติด12lead ไม่ได้ ทำEchko ก้อได้จ้า^^

  38. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

    หัวใจของคนเราประกอบไปด้วยหัวใจห้องล่างสองห้องคือซ้ายและขวา( Left or Right Ventricle )และหัวใจห้องบนสองห้องคือขวาและซ้าย ( Left or Right Atrium) การทำงานของหัวใจจะทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย หัวใจจะได้รับไฟฟ้า ซึ่งเกิดจากเซลล์ชนิดพิเศษในหัวใจซึ่งสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าเองซึ่งเรียกว่า Sinus node กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านไปตามกล้ามเนื้อหัวใจทำให้หัวใจบีบตัว

    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นวิธีการตรวจหาโรคหัวใจที่ง่ายและได้ผลดี การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นตรวจกระแสไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหัวใจผลิตออกมาขณะที่หัวใจบีบตัว โดยเริ่มต้นที่จุดที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจชนิดพิเศษที่สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้เอง เราเรียกจุดนี้ว่า Sinus node กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านกล้ามเนื้อหัวห้องบน เกิดกระแสไฟฟ้าที่เราตรวจได้เรียก P wave กระแสจะมาหยุดที่รอยต่อระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่างเรียกว่า AV Node หลังจากนั้นกระแสไฟฟ้าจะวิ่งไปหัวใจห้องข่างล่าง?ั้งซ้ายและขวาและทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่า QRS complex
    คลื่นไฟฟ้าสามารถบอกให้เราทราบโรคของหัวใจและความผิดปกติของเกลือแร่โรคที่ใช้คลื่นไฟฟ้าในการช่วยวินิจฉัยได้แก่

    กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย แต่สำหรับที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ไม่ถึงกับตาย การตรวจคลื่นไฟฟ้ากลุ่มนี้อาจจะให้ผลปกติซึ่งอาจจะต้องไปวิ่งสายพานเพื่อนตรวจ ข้อต้องระวังอีกข้อคือในภาวะที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในชั่งเริ่มต้นการตรวจคลื่นไฟฟ้าอาจจะปกติได้ ต้องใช้วิธีตรวจซ้ำ
    กล้ามเนื้อหัวใจหนา
    โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
    ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด
    การเต้นหัวใจผิดปกติ
    เกลือแร่ผิดปกติ เช่นโปแตสเซี่ยมสูงไปหรือต่ำไป
    แพทย์จะสั่งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกรณีต่อไปนี้

    เมื่อคุณมีอาการเจ็บหน้าอก และแพทย์สงสัยว่าจะเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือเจ็บหน้าอกจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
    เพื่อตรวจดูคลื่อนไฟฟ้าหัวใจ
    เมื่อสงสัยว่ากล้ามเนื้อหัวใจจะหนา
    ติดตามผลการรักษา หรือผลข้างเคียงจากยา
    ตรวจดูเครื่องกระตุ้นหัวใจว่ายังทำงานเป็นปกติหรือไม่
    เช็คร่างกายหากคุณมีโรคความดันโลหิต เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่สามารถบอกว่าเป็นหัวใจวาย

    การเตรียมตัวสำหรับการตรวจ

    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่เจ็บ ไม่เสียเวลา คุณนอนบนเตียงเจ้าหน้าที่จะเอาขั้วไฟฟ้ามาติดที่แขน ขา และหน้าอก หลังจากนั้นจะตรวจกระแสไฟฟ้าหัวใจใช้เวลาไม่ถึง 5 นาทีก็เสร็จ

    ระหว่างการตรวจอย่าพูดหรือเคลื่อนไหวเพราะจะทำให้เกิดคลื่นรบกวนคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

    การตรวจนี้เจ็บปวดหรือไม่

    ไม่ไมีความเจ็บปวด

    การตรวจนี้มีความเสียงหรือไม่

    การตรวจนี้ไม่มีความเสี่ยงหรือเจ็บปวดแต่อย่างใด

    ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตรวจ

    เครื่องมือไม่สมบูรณ์
    แผ่น electrode ไม่แนบสนิทกับผิวหนัง
    คุณคลื่อนไหว หรือพูด
    ออกกำลังกายอย่างหนักก่อนการตรวจ
    กังวล หายใจหอบลึก
    การติด electrode ผิดตำแหน่ง
    ข้อที่ควรคำนึงเกี่ยวกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

    หากท่านมีอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในระยะแรกอาจจะปกติ
    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจควรจะต้องตรวจขณะพักก่อนการตรวจขณะออกกำลังกาย
    แพทย์บางท่านแนะนำให้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเมื่อายุย่าง 35 เพื่อเป็นค่าที่เอาไว้เปรียบเทียบ
    โรคบางโรคจะปรากฏเมื่อออกกำลังกายหรือขณะมีอาการ ดังนั้นอาจจะจำเป็นต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าขณะออกกำำลังกาย หรือตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง ( ambulatory electrocardiogram)

  39. piyada500601 says:

    อาจารย์คะ ในการอ่านคลื่่นไฟฟ้าหัวใจ เราจะรู้ได้อย่างไรคะว่ามีหัวใจโต แล้วจะต้องนำข้อมูล เช่น อายุ ความอ้วน ความผอม หรือโรคต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องในการแปลผลด้วยไหมคะ ?

  40. sunan520740 says:

    คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะบอกอะไรได้อีกบ้างค่ะนอกเหนือที่กล่าวมาข้างต้น

  41. 510602lalita says:

    การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

    การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดต้องอาศัย ประวัติการเจ็บหน้าอก ผลเลือดที่บ่งบอกว่ามีการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจ และการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ คลิกที่นี่เพื่ออ่านเรื่องคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจขึ้นกับกลไกการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจควรจะตรวจให้ครบทั้ง 12 leads ถึงแม้ว่าผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะปกติในการตรวจครั้งแรก เราก็ยังไม่สามารถบอกว่าไม่มีเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งอาจจะต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจซ้ำหรืออาจจะต้องทำการตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติม การตรวจคลื่นไฟฟ้าหนึ่งโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ดังนี้

    1.การเปลี่ยนแปลงยกขึ้นของระดับ ST segment elevation หรือมีการขวางการเดินของไฟฟ้า(new bundle branch block)
    2.มีการลดของระดับ ST segment depression หรือคลื่น T wavr หัวกลับ
    3.การเเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าแบบไม่เฉพาะ(non-diagnostic or normal ECG.)หรือคลื่นไฟฟ้าปกติ
    การเปลี่ยนแปลงชนิด ST segment elevation

    ผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันอย่างเฉียบพลัน และกล้ามเนื้อหัวใจตายตลอดความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจ (tranmural mi)ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจส่วนที่เรียกว่า ST segment(อ่านเรื่องคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่นี่) มีการยกตัวสูงขึ้น 1 mm การเปลี่ยนแปลงนี้มักจะเกิดหลังจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

    ส่วนที่ระบายสีเหลืองคือ ST segment elevationที่ยกตัวสูงสีฟ้าคือ ST segment depression

    มีการลดของระดับ ST segment depression

    หากกล้ามเนื้อหัวใจมีการขาดเลือดโดยที่กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนยังไม่ตายก ็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบนี้

    การเกิดคลื่นไฟฟ้าชนิด Q weave

    การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดหลังจากที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปแล้วหลายวัน เป็นการแสดงว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นมานานแล้ว

    การตรวจคลื่นไฟฟ้านอกจากจะบอกว่ากล้ามเนื้อใจขาดเลือดยังบอกว่าเป็นเฉียบพลันหรือเป็นมาหลายวัน นอกจากนี้คลื่นไฟฟ้าหัวใจยังสามารถบอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจส่วนไหนที่ขาดเลือด

    การบอกตำแหน่งของหัวใจที่ขาดเลือด

    หัวใจของคนปกติจะมีเส้นเลือดที่มาเลี้ยงได้แก่

    1.Right coronary aetery เลี้ยงหัวใจห้องขวา ผนังหัวใจด้านล่งและด้านหลัง
    2.Left main coronary artery ซึ่งแยกออกเป็น
    •left anterior descending coronary artery(LAD) เส้นเลือดนี้จะเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจด้านหน้า ด้านข้างและผนังกั้นหัวใจ โดยณวมจะเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจประมาณ45-55% ดังนั้นหากเส้นเลือดนี้อุดตันก็จะทำให้เกิดหัวใจวายได้
    •left circumflex coronary artery(LCx)จะเลี้ยงผนังหัวใจด้านข้าง
    ดังนั้นการจะบอกตำแหน่งของกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดเราได้จากการดูว่าการแปลงแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

    ผนังหัวใจที่ขาดเลือด ตำแหน่งที่มีการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าST Segment Elevation เส้นเลือดหัวใจที่อุด
    Septal V1, V2 Left Anterior Descending (LAD)
    Anterior V3, V4 Left Anterior Descending (LAD)
    Anteroseptal V1, V2, V3, V4 Left Anterior Descending (LAD)
    Anterolateral V3, V4, V5, V6, I, aVL Left Anterior Descending (LAD), Circumflex (LCX), or Obtuse Marginal
    Extensive anterior (Sometimes called Anteroseptal with Lateral extension) V1,V2,V3, V4, V5, V6, I, aVL Left main coronary artery (LCA)
    Inferior II, III, aVF Right Coronary Artery (RCA) or Circumflex (LCX)
    Lateral I, aVL, V5, V6 Circumflex (LCX) or Obtuse Marginal
    Posterior (Usually associated with Inferior or Lateral but can be isolated) V7, V8, V9 Posterior Descending (PDA) (branch of the RCA or Circumflex (LCX))
    Right ventricular (Usually associated with Inferior) II, III, aVF, V1, V4R Right Coronary Artery (RCA)

    การที่ต้องทราบตำแหน่งของกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดจะทำให้สามารถเลือกการรักษาที่ถูกต้อง และประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยได้ ผู้ที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากเส้นเลือด Left main coronary artery (LCA) มักจะมีอาการที่รุนแรงกว่าเส้นเลือดอื่น

  42. rattaya599 says:

    อาจาร์ค่ะเราจะรู้ได้อย่างไรว่า EKG ตัวไหนมันผิดปกติ ในเมื่อรูปร่างมันก็คล้ายๆๆกันถ้ามันโชว์ บนเครื่อง เริิ่่่มดูจากตรงไหนก่อนค่ะ by รัตยา 510599 ค่ะ

    • laddawanld says:

      ดูรูปร่าง P QRS T Wave ว่ามีหรือไม่ มีแล้วผิดปกติมั๊ยค่ะ แล้วค่อยมาดูว่าที่ผิดปกติเกิดเป็นอะไรได้บ้างค่ะ

  43. conun1609 says:

    การติด electrode ผิดตำแหน่ง
    อยากจะทราบรายละเอียดว่าในจอ Monitor จะแสดงผลอย่างไรจึงจะทราบว่าเราติดผิดตำแหน่ง
    520218 นางสาวศิรินภา เลิศสรีเพชร

  44. อาจารย์คะ ทำไมเราถึงไม่สามารถใช้ mode synchronized shock กับกรณี tachycardia แบบ VF ไม่ได้
    ปริมล 520883

    • laddawanld says:

      VF เป็นคลื่นไฟฟ้าที่จะเป็นเป็น Asystole ภายใน 1 นาที ต้อง Defrib อย่างรวดเร็ว การใช้ Mode synchronized shock ทำให้เสียเวลาในการจับ R wave ค่ะ

  45. 510602lalita says:

    ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ได้แก่
    1. ชายอายุเกิน 45 ปี หญิงอายุเกิน 55 ปี
    2. สูบบุหรี่
    3. มีโรคเบาหวาน
    4. มีโรคความดันเลือดสูง
    5. มีไขมันชนิด LDL ในเลือดสูงเกิน 160 mg/dl
    6. มีไขมันชนิด HDL ในเลือดต่ำกว่า 35 mg/dl
    7. มีประวัติในครอบครัว
    (ข้อยกเว้น สำหรับผู้ที่มี HDL เกิน 60 สามารถหักปัจจัยเสี่ยงออกได้ 1 ข้อ)
    ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงมากเท่าไหร่ ย่อมมีโอกาสเกิดได้มากเท่านั้นครับ

    สำหรับ อาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ระยะแรกได้แก่ เจ็บหน้าอก แน่น ๆ เหมือนของหนักกดทับ
    เกิดขึ้นบริเวณกลางอก อาจร้าวมาที่คาง หรือกระจายไปที่แขนซ้ายโดยเฉพาะด้านใน เกิดขึ้นขณะที่
    ออกกำลัง และอาการนี้ทำให้ผู้ป่วยหยุดกิจกรรมนั้น หลังจากนี้อาการจะหายไปได้เองใน 3-5นาที

    สำหรับการปฏิบัติตัวขณะยังไม่มีโรคก็คือ พยายามกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ให้ได้
    สำหรับเพศ และประวัติครอบครัว คงเปลี่ยนไม่ได้ แต่เราสามารถเลี่ยงการสูบบุหรี่, ควบคุมเบาหวาน,
    ความดันเลือดสูง และระดับไขมันในเลือดได้

    ผลการตรวจเลือดของคุณมี cholesterol สูงเล็กน้อย ซึ่งควรเริ่มควบคุมอาหาร โดยลดของมัน, ไข่แดง
    เครื่องในสัตว์
    พยายามปรับเปลี่ยนวิธีปรุงอาหาร เช่น จากทอดหรือผัด เป็นนึ่ง, อบ, ย่าง, ต้ม บ้าง และรับประทานผัก
    และผลไม้ให้มาก

    สำหรับการตรวจเลือดต่อไป ควรตรวจหลังจากควบคุมอาหารแล้ว ประมาณ 3 เดือน
    และควรตรวจ HDL ด้วย เพื่อดูค่า LDL ว่าสูงหรือไม่

    (ปัจจัยเสี่ยงจริง ๆ อยู่ที่ LDLไม่ได้อยู่ที่ cholesterol ) โดยคำนวณจากสูตร

    LDL = cholesterol – HDL – (triglyceride / 5)

    ถ้า triglyceride ไม่เกิน 400 ค่าจากสูตรนี้จะใช้ได้ถูกต้อง
    เป้าหมายระดับ LDL ที่พอใจขึ้นกับปัจจัยเสี่ยง
    ถ้ามีไม่เกิน 2 ข้อ ยอมรับระดับ LDL ไม่เกิน 160
    แต่ถ้าเกิน 2 ข้อ ยอมรับระดับ LDL เหลือไม่เกิน 130
    ถ้ามีโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแล้ว ยอมรับ LDL ไม่เกิน 100

  46. Jiab Ka Jiab says:

    การเปลี่ยนแปลงชนิด ST segment elevation ของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

    ผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันอย่างเฉียบพลัน และกล้ามเนื้อหัวใจตายตลอดความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจ (tranmural mi)ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจส่วนที่เรียกว่า ST segment มีการยกตัวสูงขึ้น 1 mm การเปลี่ยนแปลงนี้มักจะเกิดหลังจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จะพบลักษณะแบบนี้บ่อยไหม คะอาจารย์

  47. Ventricular fibrilation wave formจะไม่คงที่เราเลยเหนQRSไม่เหมือนกันเลย มันเกิดจากventricle มันผิดปกติรับจากSA node ไม่ได้ เราจึงช็อกไฟฟ้าเพื่อให้มันหยุดcontracton ด้วยตัวของมันเองในventricle แล้วให้m. หัวใจไป รับการcontracton จากsa nodeมาแทน เพื่อให้กราฟหัวใจกลับคืนสู่ปกติมีPQRST
    แต่ถ้า Ventricular fibrilationให้Defrib เลย 3 ครั้ง ทำไมต้อง3ครั้งค่ะ ถ้าไม่ได้ผลถึงCPR และให้ยา ยาอะไรค่ะ??

    เสาวรส พลเเสน 520820

  48. Tawin Yamada says:

    สวัสดีคับเพื่อนๆผมมีความรู้มาแบ่งปันนะคับ ซึ่งช่วยทำให้เราหา สาเหตโรคหัวใจได้หลายโรคเลยคับ
    การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography)

    การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ เป็นการตรวจที่มีมานานและมีประโยชน์ในการตรวจวินิจฉัยโรค ปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปมากสามารถสร้างภาพหัวใจแบบสามมิติ และยังใช้ความเร็วของกระแสเลือดมาวัดการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ

    หลักของการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ

    คลื่นเสียงที่มีความถี่เกินกว่า 20000 รอบต่อวินาทีเป็นความถี่ที่เราไม่ได้ยิน คลื่นความถี่ 2-3 ล้านรอบจะเดินทางเป็นเส้นตรงมีการหักเหน้อย และมีการสะท้อนเหมือนคลื่นแสง เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับผิววัตถุก็จะสะท้อนกลับ และมีคลื่นบางส่วนทะลุไป การเคลื่อนที่ของเสียงในเนื้อเยื่อเดียวกันจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากัน ทำให้เราสามารถบอกความหน้าของกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนั้นเคลื่องมือยังสามารถติดตามการทำงานของหัวใจแบบ real time ปลายเครื่องจากมีสารผลึก Piezo-electric crystal ซึ่งจะหดและขยายตัวอย่างรวดเร็วเป็นตัวทำให้เกิดคลื่น และรับคลื่นเสียงด้วย คลื่นเสียงที่สะท้อนกลับจะแปลงเป็นไฟฟ้าเพื่อไปสร้างภาพ
    แพทย์จะสั่งการตรวจเมื่อสงสัยว่าจะเป็นโรคหัวใจโดยมีภาวะต่อดังต่อไปนี้

    เมื่อแพทย์ตรวจร่างกายแล้วพบว่ามีเสียงหัวใจผิดปกติซึ่งอาจจะเกิดจากลิ้นหัวใจตีบหรือมีรูรั่ว ( Murmurs ) เสี่ยงที่ผิดปกติเกิดจากการไหลวนของกระแสเลือดไหลผ่านลิ้นที่ตีบหรือรูรั่วที่ผนังหัวใจหรือลิ้นหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีรูรั่วหรือลิ้นตีบจะมีประโยชน์หลายประการดังนี้

    เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากการตีบหรือรั่วที่ไหน
    เพื่อตรวจหาความผิดปกติเกี่ยวกับการไหลเวียน
    เพื่อตรวจความผิดปกติอื่นที่อาจจะพบร่วมกัน
    เพื่อตรวจผลเสียที่เกิดจากการรั่วหรือตีบ
    ประเมินขนาดของรูรั่วหรือตีบ
    ประเมินการทำงานของหัวใจ
    ประเมินการทำงานหรือรูรั่วไว้เพื่อเปรียบเทียบ
    ประเมินผู้ป่วยหลังการรักษา
    แม้ว่าการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงจะมีความปลอดภัยและไม่เจ็บปวด แต่แพทย์ก็ไม่ได้ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงทุกรายจะเลือกในรายที่มีลักษณะดังนี้

    มีเสียงหัวใจผิดปกติร่วมกับอาการของโรคปอดหรือหัวใจ
    ผู้ป่วยไม่มีอาการและมีเสียงหัวใจผิดปกติและสงสัยว่าเกิดจากความผิดปกติทางโครงสร้างของหัวใจ

    ภาวะหรือโรคที่ทำให้เกิดเสียงฟู่(Murmurs) ได้แก่

    ลิ้นหัวใจตีบ stenosis
    ลิ้วหัวใจรั่ว Regurgitation
    ลิ้นหัวใจหย่อน Mitral valve Prolapse
    ลิ้นหัวใจอักเสบ Infective Endocarditis
    ลิ้นหัวใจเทียม Prosthetic Valves
    ผนังหัวใจรั่ว
    แม้ว่าอาการเจ็บหน้าอกจะเป็นอาการที่สำคัญของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือเส้นเลือดแดงไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ แต่อาการเจ็บหน้าอกก็อาจจะเกิดจากโรคหัวใจชนิดอื่น เช่น กล้ามเนื้อหัวใจหนา hypertrophic
    cardiomyopathy, ลิ้นหัวใจตีบ valvular aortic stenosis,หลอดเลือดแดงใหญ่แตก aortic dissection,
    เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ pericarditis, ลิ้นหัวใจหย่อน MVP, and ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดในปอด acute pulmonary embolism,ดังนั้นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงจะมีประโยชน์เพื่อแยกอาการเจ็บหน้าอกว่ามาจากหัวใจหรือจากที่อื่น

    ข้อบ่งชี้ในการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเมื่อผู้ป่วยเจ็บหน้าอก

    เพื่อตรวจดูว่ามีโรคหัวใจอยู่หรือไม่ เช่นลิ้นหัวใจตีบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเป็นต้น
    เมื่อผู้ป่วยเจ็บหน้าอก และการตรวจวินิจฉัยอย่างอื่นไม่ช่วยในการวินิจฉัย การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในขณะเจ็บหน้าอกหรือหลังเจ็บหน้าอกไม่กี่นาทีจะช่วยวินิจฉัยโรค
    เมื่อสงสัยว่าหลอดเลือดแดงใหญ่จะแตก aortic dissection
    เมื่อผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก และให้การรักษาอย่างอื่นแล้วไม่ดีขึ้น
    วันนี้ง่วงมากแล้วนะคับ เวลาล่วงเลย วันหลัง ผมจา นำความรู้มาแบ่งปันใหม่นะคับ ขอบคุณคับ
    นายธาราวิน อินหล้า 500034

  49. อาจารย์คะทำไมการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่สามารถบอกว่าเป็นหัวใจวายคะ

  50. julinshee says:

    กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าอาจให้ผลปกติ ต้องวิ่งบนสายพานเพื่อตรวจ ทำไมต้องวิ่งบนสายพานเพื่อตรวจค่ะ ถ้าวิ่งบนสายพานเพื่อตรวจจะแตกต่างจากตรวจขณะพักยังไงค่ะ ( 510625 )

  51. waritta says:

    อาจารย์ค่ะ ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะชักจากไข้สูงหลังจากชักไปแล้ว ประมาณ 15-20นาทีแพทย์ส่งตรวยEKG และEEGแต่EKG มักพบเป็น Slow wave เป็นส่วนใหญ่ อยากทราบว่าการชักจากไข้สูงมีความเกี่ยวข้องอะไรกับการทำงานของหัวใจ ทั้งๆที่น่าจะเป็นผลการเปลี่ยนแปลงของคลื่อไฟฟ้าสมองมากกว่าค่ะ รหัส510256

  52. benjaporn490436 says:

    อาจารย์ค่ะทำไมเวลาติด EKG 12 Lead พี่พยาบาลที่วอร์ดไม่คลำตำแหน่งก่อนติดค่ะ แล้วผลออกมาจะตรงตามความเป็นจริง 100% หรือเปล่าค่ะ

  53. oratai510565 says:

    ขอถามนอกเรื่องนะคะ คือว่าหนูงงว่าถ้าหากไม่พบ QRS จะใช้โหมด defibrillation เพราะว่าเครื่องจะไม่สนใจว่ามี R waveหรือไม่ และเราจะใช้โหมดcardioversion ก็ต่อเมื่อพบ QRS ใช่ไหมคะ อจ.

  54. oratai510565 says:

    อาจารย์คะอยากรู้ถ้าเราใช้ AATตัว spikeต้องอยู่ที่หน้าp wave แล้วเราแปล EKG ที่ senses,trigger คลื่นจะเป็นยังงัยหรอคะอาจารย์แล้วทำมัยspikeบางตัวอยู่ใต้เส้น บางตัวก็อยู่เหนือเส้นหรอคะ เพราะว่าหนูอ่านแล้วไม่มีตัวอย่างในชีสในโหมดนี้ ก็เลยงยากรู้ว่า AAT,AAI EKG มันต่างกันยังงัย

  55. montira520865 says:

    อาจารย์ค่ะทำไมการทำ Defibrillation ถึงใช้ได้ผลเฉพาะในผู้ป่วย VF ค่ะ

  56. montira520865 says:

    ยา Amiodarons ที่่ให้ในผู้ป่วย VF ทำมัยต้องให้หลังสุดค่ะอาจารย์ ?

  57. อาจารย์ค่ะspike หน้าp wave คือเครื่องตุ้นที่่atiam ถ้าspike หน้าQRS เเสดงว่าเครื่องตุ้น ที่ venticle ใช่ไหมค่ะเเล้วหนูอยากทราบว่า spike มันบ่งบอกเเค่เครื่องมีการกระตุ้นใช่ไหมค่ะเเร้วหนูสงสัยว่าเเร้วจะรู้ว่าประสิทธิภาพของมันจะเหมือนการที่หัวใจปกติกระตุ้น อะไรคือสิ่งที่บ่งบอกว่า ประสิทธิภาพในการconduct มันดี
    ใช่pacture lead(เขียนเเบบนี้หรือเปล่า) หรือเปล่าค่ะ ถ้าไม่มีpacture lead คือfail chest .ใช่ไหมค่ะเเร้ว เาจะต้องทำอย่างไรไห้ประสิทธิภาพในการpace OK เเร้วผู้ป่วยเมื่อเราฝังเครื่องไปเเร้วเเร้วเเร้วเราจะติตามผู้ป่วยว่ามันpace oKได้อย่างไค่ะ หรือ ถ้ามี pacture leadเเร้ว มันก้จะ oK ตลอดไปค่ะ

    น.ส.เสาวรส พลเเสน 520820^^

  58. aofpsn says:

    สำหรับ EKG ที่ไม่ปกติ ที่เราตรวจให้คนไข้ เราจะยึดหลักในการแปลผลโดยจับค่าตัวไหนเป็นหลักค่ะ

    บางครั้งผล EKG ของคนไข้ หน้าตามันแปลกๆทุกตัว WAVE มันก้อไม่สม่ำเสมอ แล้วบางครั้งก้อไม่เหมือน

    ในทฤษฎีที่เรียนด้วยอ่ะค่ะ

    นางสาว ภาสินี พึ่งนุสนธิ์ 510066

  59. porranee says:

    อาจารย์คะ ผู้ป่วยที่มีภาวะ MI ส่วนมากมักจะมีอาการ Heart attack เป็นอาการนำมาก่อน เสมอเลยไหมคะ
    นางสาวภรณี งามโฉมฉิน 510116

  60. อาจารย์ค่ะ ผู้ป่วยรายหนึ่ง เป็นโรคความดันโลหิตสูงมาประมาณ 10 ปี ขาดยามา 3 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการซึม ไม่รู้สึกตัว ตัวสั่่่่่่่่่่่่นเกร็งเป็นระยะ ตลอดเวลา…ผลตรวจ CT scan แพทย์ Diag. ว่าเป็น Cerebral hemorrage มีวิธีการรักษาอื่นนอกจากการผ่าตัดสมองหรือเปล่าค่ะ
    นางสาวกานติมา สืบมา รหัส 510699

  61. อาจารย์คะ ตอนหนูไปฝึกปฏิบัติงาน อาจารย์ที่่่วอร์ดได้สอนถึง การประเมินภาวะโรคหัวใจ โดยใช้
    CK-MB และ Troponin I ค่ะ ซึ่งหนูทราบเพียงแค่ค่าปกติของแต่ละตัว และยังไม่เข้าใจว่าทำไมเวลาตรวจต้องตรวจวิธีนี้พร้อมกันค่ะ อาจารย์ช่วยอธิบายหน่อยนะคะ
    น.ส.พนิดา จุมปู 520812

  62. อาจารย์คับผมอยากให้อาจารย์ช่วยอธิบายเรื่่องการแปลผล EKG ให้ฟังอีกคับผมยังไม่เข้าใจ
    นาย ไกรศักดิ์ ทานะขันธ์ รหัสประจำตัว 510110

  63. อาจารย์ค่ะ หนูได้ดูแลcase STEMI ค่ะ หนูอยากเรียนถามอาจรย์ว่าในเมื่อผู้ป่วยของหนูเป็นSTEMI แล้วถึงเกิด Pericarditis ได้อีกหล่ะค่ะ มันเป็นภาวะแทรกซ้อนของ MI หรอค่ะ ?

  64. junepantam says:

    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
    หัวใจของคนเราประกอบไปด้วยหัวใจห้องล่างสองห้องคือซ้ายและขวา( Left or Right Ventricle )และหัวใจห้องบนสองห้องคือขวาและซ้าย ( Left or Right Atrium) การทำงานของหัวใจจะทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย หัวใจจะได้รับไฟฟ้า ซึ่งเกิดจากเซลล์ชนิดพิเศษในหัวใจซึ่งสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าเองซึ่งเรียกว่า Sinus node กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านไปตามกล้ามเนื้อหัวใจทำให้หัวใจบีบตัว
    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นวิธีการตรวจหาโรคหัวใจที่ง่ายและได้ผลดี การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นตรวจกระแสไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหัวใจผลิตออกมาขณะที่หัวใจบีบตัว โดยเริ่มต้นที่จุดที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจชนิดพิเศษที่สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้เอง เราเรียกจุดนี้ว่า Sinus node กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านกล้ามเนื้อหัวห้องบน เกิดกระแสไฟฟ้าที่เราตรวจได้เรียก P wave กระแสจะมาหยุดที่รอยต่อระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่างเรียกว่า AV Node หลังจากนั้นกระแสไฟฟ้าจะวิ่งไปหัวใจห้องข่างล่าง?ั้งซ้ายและขวาและทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่า QRS complex ดูตัวอย่างกราฟไฟฟ้าหัวใจของคนปกติ

    กราฟดังกล่าวแสดงเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง โดยทั่วไปการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบเป็น
    1. Limb Leads หมายถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยวัดที่แขนและขา การวัดนี้มี 6 ชื่อคือ Lead 1 , Lead2, Lead3, avr,avl,avf
    2. Chest Leads หมายถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยการตามกระแสไฟฟ้าหัวใจที่บริเวณหน้าอก มี 6 แนวได้แก่ V1,V2,V3,V4,V5,V6
    ลองดูตัวอย่างกราฟไฟฟ้าหัวใจทั้งหมดของคนปกติ
    คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะบอกอะไรได้บ้าง
    คลื่นไฟฟ้าสามารถบอกให้เราทราบโรคของหัวใจและความผิดปกติของเกลือแร่โรคที่ใช้คลื่นไฟฟ้าในการช่วยวินิจฉัยได้แก่
    1. กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย แต่สำหรับที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ไม่ถึงกับตาย การตรวจคลื่นไฟฟ้ากลุ่มนี้อาจจะให้ผลปกติซึ่งอาจจะต้องไปวิ่งสายพานเพื่อนตรวจ ข้อต้องระวังอีกข้อคือในภาวะที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในชั่งเริ่มต้นการตรวจคลื่นไฟฟ้าอาจจะปกติได้ ต้องใช้วิธีตรวจซ้ำ
    2. กล้ามเนื้อหัวใจหนา
    3. โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
    4. ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด
    5. การเต้นหัวใจผิดปกติ
    6. เกลือแร่ผิดปกติ เช่นโปแตสเซี่ยมสูงไปหรือต่ำไป
    แพทย์จะสั่งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกรณีต่อไปนี้
    • เมื่อคุณมีอาการเจ็บหน้าอก และแพทย์สงสัยว่าจะเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือเจ็บหน้าอกจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
    • เพื่อตรวจดูคลื่อนไฟฟ้าหัวใจ
    • เมื่อสงสัยว่ากล้ามเนื้อหัวใจจะหนา
    • ติดตามผลการรักษา หรือผลข้างเคียงจากยา
    • ตรวจดูเครื่องกระตุ้นหัวใจว่ายังทำงานเป็นปกติหรือไม่
    • เช็คร่างกายหากคุณมีโรคความดันโลหิต เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่สามารถบอกว่าเป็นหัวใจวาย
    การเตรียมตัวสำหรับการตรวจ
    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่เจ็บ ไม่เสียเวลา คุณนอนบนเตียงเจ้าหน้าที่จะเอาขั้วไฟฟ้ามาติดที่แขน ขา และหน้าอก หลังจากนั้นจะตรวจกระแสไฟฟ้าหัวใจใช้เวลาไม่ถึง 5 นาทีก็เสร็จ
    ระหว่างการตรวจอย่าพูดหรือเคลื่อนไหวเพราะจะทำให้เกิดคลื่นรบกวนคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
    การตรวจนี้เจ็บปวดหรือไม่
    ไม่ไมีความเจ็บปวด
    การตรวจนี้มีความเสียงหรือไม่
    การตรวจนี้ไม่มีความเสี่ยงหรือเจ็บปวดแต่อย่างใด
    ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตรวจ
    • เครื่องมือไม่สมบูรณ์
    • แผ่น electrode ไม่แนบสนิทกับผิวหนัง
    • คุณคลื่อนไหว หรือพูด
    • ออกกำลังกายอย่างหนักก่อนการตรวจ
    • กังวล หายใจหอบลึก
    • การติด electrode ผิดตำแหน่ง
    ข้อที่ควรคำนึงเกี่ยวกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
    • หากท่านมีอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในระยะแรกอาจจะปกติ
    • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจควรจะต้องตรวจขณะพักก่อนการตรวจขณะออกกำลังกาย
    • แพทย์บางท่านแนะนำให้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเมื่อายุย่าง 35 เพื่อเป็นค่าที่เอาไว้เปรียบเทียบ
    • โรคบางโรคจะปรากฏเมื่อออกกำลังกายหรือขณะมีอาการ ดังนั้นอาจจะจำเป็นต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าขณะออกกำลังกาย หรือตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง ( ambulatory electrocardiogram)

    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีกี่แบบ
    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีสองแบบได้แก่
    1. การตรวจไฟฟ้าแบบตรวจเมื่อแพทย์สั่ง เช่นเมื่อมาพบแพทย์และมีอาการเจ็บหน้าอก แพทย์จะสั่งตรวจ
    2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบตลอด 24 ชั่วโมง การตรวจนี้จะใช้กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเหมือนว่าจะเกิดจากโรคหัวใจ แต่การตรวจขณะนั้นไม่พบความผิดปกติ แพทย์จะสั่งตรวจคลื่นไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง โดยการติดเครื่องมือไว้กับตัวท่านตลอด 24 ชั่วโมงและนำเครื่องมาวิเคราะห์ว่าตลอด 24 ชั่วโมงมีสิ่งผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจหรือไม่
    นางสาว สร้อยทิพย์ ปานธรรม510324

  65. คำแนะนำการป

    ฏิบัติตัวหลังใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจต้องให้คำแนะนำเรื่องไหนบ้างค่ะ

    • การปฏิบัติตัวหลังใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
      1.การดูแลแผล
      * ควรดูแลแผลผ่าตัดให้แห้งและสะอาดอยู่เสมอ
      * ควรใส่เสื้อผ้าหลวมๆ อย่ารัดบริเวณตำแหน่งแผล
      * ถ้าผิวหนังบริเวณแผลผ่าตัดช้ำ มีหนอง น้ำเหลืองให้รีบมาพบแพทย์

      2.การตรวจนับชีพจรด้วยตนเอง
      *อัตราความเร็วของเครื่องกระตุ้นหัวใจของท่านคือ……………ครั้ง/นาที
      *ท่านควรตรวจนับชีพจรของตนเองตามวิธีการดังนี้
      -วางนิ้วมือสองนิ้วลงบนข้อมืออีกข้างหนึ่ง กดเบาๆเพียงแต่แตะให้รู้สึกว่ามีการเต้นของชีพจรอยู่ใต้ผิวหนังและนับจำนวนครั้งที่รู้สึกว่า ตุบๆให้ครบ 1 นาที
      – นับจำนวนชีพจรใน 1 นาที
      – ควรนับชีพจรในเวลาเดียวกันของทุกวัน เช่น ในตอนเช้าหลังตื่นนอน ก่อนการวัด ควรพักนิ่งๆ อย่างน้อย 5 นาที
      – ควรจดบันทึกอัตราชีพจรลงในสมุดบันทึก ถ้าว่าจำนวนชีพจรเต้นผิดไปจากเดิมประมาณ 10-20 ครั้ง/นาทีควรนั่งพักอีกประมาณ 10 นาที แล้วลองนับใหม่ก่อนไปพบแพทย์

      3.การทำกิจกรรมและการออกกำลังกาย ท่านสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยมีกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ได้
      * การเดินทาง
      *การขับรถ
      *การมีเพศสัมพันธ์
      *การทำความสะอาดร่างกาย ภายในช่วง 7 วันแรกควรดูแลทำความสะอาดร่างกายด้วยการเช็ดตัว หลังจากนั้น ถ้าแผลแห้งดี สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ
      *การทำหน้าที่การงานได้ตามปกติ เช่น งานบ้าน
      *ประมาณ 2 สัปดาห์หลังใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจท่านไม่ควรยกแขนเหนือศีรษะและยกของหนัก
      *การออกกำลังกายทุกอย่างได้ตามปกติ

      4. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ควรหลีกเลี่ยง
      *เครื่องใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันมีความปลอดภัยพอ ท่านสามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดได้ตามปกติ แต่…ถ้าท่านอยู่ใกล้เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด หรือผ่านเครื่องจับโลหะที่สนามบินซึ่งอาจรบกวนเครื่องกระตุ้นหัวใจได้ ท่านก็เพียงแต่…เดินออกให้ห่างหรือปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็จะทำให้ชีพจรกลับมาเต้นตามปกติ
      * สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง คือ เครื่องเอ็กซเรย์ ชนิด เอ็ม อาร์ ไอ (MRI)*

      การใช้โทรศัพท์มือถือ
      ให้ถือโทรศัพท์ด้วยมือข้างตรงข้ามกับข้างที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

      5.อาการผิดปกติที่ควรไปพบแพทย์ก่อนนัด
      *ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ
      *มีอาการมึนๆ วิงเวียนศีรษะ
      *เป็นลม
      *ใจสั่น เจ็บหน้าอก
      *เหนื่อยหอบ
      *บวม
      *สะอึกนาน และตามจังหวะการเต้นของชีพจร
      *กล้ามเนื้อหน้าอกกระตุกตามชีพจร

      ** เมื่อมีอาการผิดปกติดังกล่าวให้รีบมาพบแพทย์ก่อนวันนัด **

  66. wachirayaa says:

    อาจารย์คะ การใช้ยาใรระหว่างการช่วยฟื้นชีพในผู้ป่วยที่มี EKG เป็น PEA ,VF,AF,Asystole แตกต่างกันอย่างไรคะ แล้วทำไมเวลา ช่วยชีวิตผู้ป่วยใช้ Dose สูงสุดเท่าไหร่ ถึงจะสมควรหยุดการช่วยชีวิต ผู้ป่วยรายนั้น

  67. janinta says:

    อาจารย์ค่ะ ความแตกต่างระหว่างการทำ Defibrillation และ cardioversion แตกต่างกันยังไงค่ะ

  68. wachirayaa says:

    อาจารย์คะ หลักการดู กราฟ EKG บนหอผู้ป่วย เราจะทำยังไงว่าเป็น EKG แบบไหนคะ
    ซึ่งบางครั้งมันก็ แยกไม่ออก เราจะมีวิธีการมองยังไง เพื่อให้รู้และเข้าใจว่าผิดปกติ
    ตรงส่วนไหน และจะแก้ไขอย่างไรคะ
    วชิรญาณ์ ฐานะ 510339

  69. เว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชัน (อังกฤษ: ventricular fibrillation, VF) หรือภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัวเป็นภาวะซึ่งมีการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างอย่างไม่สัมพันธ์กัน จึงเหมือนเป็นการเต้นแผ่วระรัวซึ่งไม่ทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือด ไม่สามารถคลำชีพจรได้ เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ยืนยันการวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเท่านั้น ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพทันทีเนื่องจากหากการเต้นแบบฟิบริลเลชันนี้ดำเนินไปอีกไม่กี่วินาทีอาจกลายเป็นหัวใจหยุดเต้นได้ ภาวะเช่นนี้ทำให้เกิดภาวะช็อคเหตุหัวใจ ไม่มีการไหลเวียนของเลือด และทำให้เสียชีวิตได้ภายในไม่กี่นาที หากได้รับการกู้ชีพขึ้นมาไม่ทันท่วงที ทำให้สมองขาดออกซิเจนเกินกว่าระยะเวลาหนึ่ง (ประมาณ 5 นาทีที่อุณหภูมิห้อง) อาจมีความเสียหายของสมองอย่างไม่สามารถทำให้กลับคืนเป็นปกติได้หรือถึงขั้นสมองตายได้

    นางสาวสุดารัตน์ พิมมาตย์ รหัส 520177

  70. อาจารย์ค่ะ เราจะรู้ได้ยังไงว่าติด electrode ผิดตำแหน่ง จะมีอะไรเป็นการเตือนค่ะ

    นางสาวปณิตา อุมดศิลป์ รหัส500273

    • junepantam says:

      อาจารย์ค่ะถ้ามีความผิดปกติที่Q Waveในผู้ป่วยที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกณฑ์วินิจฉัย Q Wave ที่ผิดปกติใน lead ll , lll, aVF แสดงถึง inferior infarction หรือป่าวค่ะ
      นางสาว สร้อยทิพย์ ปานธรรม รหัส 510324

      • ผู้ป่วยที่ให้ยา lanocsin จะมีผลต่อผู้ป่วยที่มีEKG แบบ sinusbradycardia ไหมคะอาจารย์

  71. อาจารย์ค่ะ ผู้ป่วยที่่่เจอมาด้วยอาการหายใจหอบเหนื่อยมาก Dx CHF ทำEKG พบ NSTEMI
    หนูสงสัยว่าทำไมผู้ป่วยไม่มีอาการเจ็บหน้าอกเลยค่ะ

  72. อาจารย์ค่ะอยากทราบว่าการใช้ยา rTPA มีอะไรบ้าง ใช้ปริมาณเท่าไร และผลข้างเคียงจากการใช้ยามีอะไรบ้างค่ะ
    จีรภา 510174

  73. อาจารย์ค่ะอยากทราบว่าความแตกต่างขอ งefibrilationกับcardioversion

    จีรภา สวนทอง 510174

  74. porranee says:

    อาจารย์คะ อยากทราบวิธีประเมิน PEA ค่ะ

  75. porranee says:

    อาจารย์คะ อยากทราบวิธีประเมิน PEA ค่ะ
    by น.ส.ภรณี งามโฉมฉิน 510116

  76. คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะบอกอะไรได้บ้าง

    คลื่นไฟฟ้าสามารถบอกให้เราทราบโรคของหัวใจและความผิดปกติของเกลือแร่โรคที่ใช้คลื่นไฟฟ้าในการช่วยวินิจฉัยได้แก่

    1.กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย แต่สำหรับที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ไม่ถึงกับตาย การตรวจคลื่นไฟฟ้ากลุ่มนี้อาจจะให้ผลปกติซึ่งอาจจะต้องไปวิ่งสายพานเพื่อน ตรวจ ข้อต้องระวังอีกข้อคือในภาวะที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในชั่งเริ่มต้นการ ตรวจคลื่นไฟฟ้าอาจจะปกติได้ ต้องใช้วิธีตรวจซ้ำ
    2.กล้ามเนื้อหัวใจหนา
    3.โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
    4.ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด
    5.การเต้นหัวใจผิดปกติ
    6.เกลือแร่ผิดปกติ เช่นโปแตสเซี่ยมสูงไปหรือต่ำไป

    นางสาวจิราวรรณ บุตรดี 510335

  77. IABP ใช้เพื่อทำอะไร และใช้ในการรักษาอย่างไร

  78. อาจารย์คะ ventricular capture เราจะรู้ได้อย่างไรคะว่า ผู้ป่วยมีการ sennsing หรือ pacing
    น.ส.สุวิมล อิ่มสถิตย์ 510754

  79. อาจารย์คะ Asynchronouse Pacing : VOO เป็นภาวะผิดปกติหรือไม่คะ พบในผู้ป่วยที่มีภาวะใดคะ และให้การช่วยเหลืออย่างไรคะ
    น.ส. สุดารัตน์ อิสระ 520766

  80. Toy Wanwisa says:

    อาจารย์ค่ะ
    mode of pacing เราจะดูอย่างไรค่ะ

    นางสาววรรณวิศา ภาคมฤกษ์ 520835

  81. kamonrat8 says:

    อาจารย์ค่ะ อยากทราบว่าทำไม ไม่แนะนำให้ใช้ยา Atropine ในการรักษา PEA และ Asystoly อีกต่อไปค่ะ

  82. kamonrat8 says:

    นางสาว กมลรัตน์ ฤทธิ์มาก 520720

  83. saowalak13 says:

    เรื่อง การแปลผลความเป็นกรดด่าง ที่เป็นแบบ Mix ค่ะจะดูตรงไหนยังไงค่ะว่าเป็นแบบMix หรือไม่
    นางสาวเสาวลักษณ์ เพชรจิตร รหัส 520466

  84. ประโยชน์ของการตรวจ EKG

    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจบอกให้ ทราบข้อมูลเกี่ยวกับหัวใจ เช่น จังหวะการเต้น ความสม่ำเสมอ การนำไฟฟ้าในหัวใจ ชนิดของ การเต้นผิดจังหวะ หัวใจโตหรือไม่ กล้ามเนื้อหัวใจ ตาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ความผิดของระดับ เกลือแร่บางชนิดในร่างกาย เป็นต้น ข้อมูลที่ได้มา ก็ต้องนำมาแปลผลอีกครั้ง โดยอาศัยประวัติ การ ตรวจร่างกาย ความชำนาญของแพทย์ จึงจะสรุป อีกครั้งว่าคลื่นไฟฟ้า หัวใจผิดปกติหรือไม่

    การแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

    ถ้าเป็นเพียงหลอดเลือดตีบไม่รุนแรงก็อาจตรวจไม่พบความผิดปกติได้ และในการอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจว่ามีหัวใจโต ก็เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังมาก เพราะต้องอาศัยการแปลผลความสูงของคลื่นไฟฟ้าเป็นสำคัญ ความสูงของคลื่นนี้จะมีการแปรผันมาจากอายุ ความอ้วน ความผอม และโรคปอด ฯลฯ และบ่อยครั้งที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจอ่านผลออกมาว่า มีหัวใจโต แต่ความจริงหัวใจอาจไม่โตก็ได้ ในการตรวจขนาดหัวใจโดยอาศัยคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้น มีความไวต่ำมาก ซึ่งหมายความว่า หัวใจอาจจะโตโดยที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ ข้อมูลที่ได้ก็ต้องนำมาแปลผลอีกครั้งจากการซักประวัติ และการตรวจร่างกายของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จึงสามารถสรุปได้อีกครั้งว่าหัวใจผิดปกติแน่นอนหรือไม่

    ความเหมาะสมในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะมีประโยชน์ ในกรณีที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น เจ็บหน้าอก ในกรณี ที่อายุน้อย ไม่มีอาการผิดปกติ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะไม่มีประโยชน์ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจควรตรวจ ในกรณีที่อายุมากกว่า 40 ปี และมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น ไขมันในเส้นเลือดสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน แม้ว่า จะไม่มีอาการของโรคหัวใจ แต่สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจทั้งสิ้น จึงควรที่จะรับการตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อเก็บการตรวจไว้เปรียบเทียบกันในอนาคต หรือในกรณีที่มีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น เจ็บ หน้าอก เหนื่อยง่าย หรือตรวจพบความดันโลหิตสูง ลิ้นหัวใจรั่ว ควรได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทันที ดังนั้น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจึงมีความจำเป็นในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และ มีอาการ ผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจในเวลานั้น ส่วนคนที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีปัญหาต่างๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจ จึงอาจไม่จำเป็นต้องตรวจ และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน
    by นางสาวจิรนันท์ ไขสาร รหัส 530683

  85. อาจารย์ค่ะ อยากทราบวิธีการสังเกตุผู้ป่วย MI ค่ะ ว่าในขณะที่ EKG ผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการเด่นคืออะไรค่ะ แล้วเราจะให้การรักษาต่อไปได้อย่างไรบ้างค่ะ

    นางสาวประภารัตน์ อุตม์อ่าง 510482

  86. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ เป็นการตรวจที่มีมานานและมีประโยชน์ในการตรวจวินิจฉัยโรค ปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปมากสามารถสร้างภาพหัวใจแบบสามมิติ และยังใช้ความเร็วของกระแสเลือดมาวัดการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
    นางสาววรรณอาพร ยะวิเชียร รหัส 490647

  87. ผู้ป่วยมาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอก Dx. MI BP=80/62 mmHg. แผนการรักษา Dobutamine (2:1)
    เหตุผลที่ไม่ให้ Dopamine แต่ให้ Doputamine ในผู้ป่วยรายนี้เพราะ
    Dobutamine เพิ่มแรงการบีบตัวของหัวใจ ในผู้ป่วยที่มีการบีบตัวของหัวใจไม่ดี
    Dopamine เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ(HR) จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการ tachycardia ได้
    คำตอบนี้พอจะถูกบ้างหรือไม่ค่ะ

  88. ประโยชน์ของQuantitative waveform capnography มันมีประโชน์ในเคื่องทราบว่า o2 พอไหม ทราบถึงเเรงกดว่าเพียงพอไหม มีblood perfusion เข้าไปที่cardiacมากเท่าไหร่ waveformo เราเรียกว่า ROSC ใช่ไหม่ค่ะเเร้วหนูอยากทราบว่า เราจะเอาเครื่องมือนี้ติดไว้อย่างไรค่ะถึงทราบ waveform นี้ได้ เเร้วเครื่องมือนี้เป็นอย่างไร เป็นสายหรือว่าอะไรค่ะเราถึงประเมิน ได้

    เสาวรส พลเเสน 520820

  89. sarinya500558 says:

    วันนี้ได้ทำEKG 12 Lead ด้วยตัวเองด้วยค่ะ ทำไม่ยากเลย

  90. sarinya500558 says:

    โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นโรคซึ่งมีสาเหตุเกิดจากส่วนที่ควบคุมกระแสไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ระบบหมุนเวียนโลหิตติดขัด หากมีเลือดค้างหรือเป็นลิ่ม ก้อนลิ่มเลือดนั้นอาจไปอุดตันในหลอดเลือดของอวัยวะส่วนสำคัญ เช่น หากเกิดการอุดตันในสมองจะทำให้เป็นอัมพาตได้

  91. Jiab Ka Jiab says:

    อาจารย์ คะ ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก อาจแสดงถึงภาวะดังนี้ใช่ไหม คะ

    1.กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

    2.กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

    นางสาว สิริพร เข็มเมือง 520641

  92. muliya500184 says:

    ทำไมจึงไม่ให้ยา Adenosineในผู้ป่วยสัญญาณชีพผิดปกติ ค่ะ
    นางสาว ศรีประกาย ทองปาน 500319

  93. muliya500184 says:

    อาจารย์ค่ะ หนูอยากทราบค่ะว่า ตัวยาของ atropine มันก็ช่วยเพิ่ม การเต้นของหัวใจ แต่ทำไม ถึงไม่ให้ไหนผู้ป่วยที่ EKG เป้น asystole ค่ะ
    นางสาวมัลลิยา วิเศษสุด

  94. อาจารย์คะผู้ป่วยที่ใส่ cardiac pacemaker ต้องใส่ตลอดชีวิตเลยใช่ไหมคะ แล้วถ้าเครื่องไม่มีปัญหาก็ไม่ต้องเปลี่ยนเลยใช่ไหมคะตลอดชีวิต
    น.ส.เบญจาวรรณ ขันธะูศรี 520845

  95. jariya500462 says:

    ผู้ป่วยรายหนึ่งเข้ารับการผ่าตัดทำ bypass มาประมาณ 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งก่อนผ่าตัดหัวใจหยุดทำงานไป แต่แพทย์ปั้มหัวใจและช่วยชีวิตขึ้นมาได้ แล้วให้รอ 1 อาทิตย์จึงทำการผ่าตัดให้ แพทย์ที่ทำการผ่าตัดได้บอกไว้ว่ากล้ามเนื้อหัวใจตายไปหลายส่วน ซึ่งอาการของผู้ป่วยตอนนี้เหนื่อยหอบมากขึ้นกว่าเดิมมาก ทั้งๆที่เดือนที่แล้วอาการดูเหมือนดีขึ้น เหนื่อยแค่บางครั้งและเหนื่อยไม่มากด้วย อยากถามว่าจะมีวิธีที่จะช่วยทำให้เหนื่อยน้อยลงได้บ้าง เนื่องจากเดือนที่แล้ว อาการของผู้ป่วยดีขึ้นมีเหนื่อยแค่เป็นบางช่วงและเหนื่อยหอบไม่มาก แต่เดือนนี้มีหายใจเหนื่อยหอบถี่มากขึ้น จะมีวิธีรักษาและแก้ไขเบื้องต้นอย่างไรบ้าง ค่ะ

    .. นางสาวจริยา เตชนันท์ 500462

  96. jariya500462 says:

    อาจารย์ค่ะ ..
    ในกลุ่มอาการที่เกิดจากการตีบหรืออุดตันของเส้นเลือดแดงโคโรนารีแบบเฉียบพลัน อันเป็นผลจากการฉีกหรือปริแยกของ plaque ที่ผนังภายในหลอดเลือดแดงโคโรนารี ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดแบบรุนแรงเฉียบพลัน โรคที่จัดอยู่ในกลุ่มอาการนี้ คือ
    – Acute ST elevation myocardial infarction (Acute STEMI)
    – Acute non-ST elevation myocardial infarction (Acute non-STEMI)
    -Unstable angina
    อยากทราบว่ากลุ่มอาการของ Acute STEMI และ Acute non-STEMI แตกต่างกันอย่างไร

    น.ส. จริยา เตชนันท์ 500462

  97. กรณีช่วยเหลือผู้ป่วยจาก EKG VF เป็น VT เราควรให้การพยาบาลอย่างไรต่อไปค่ะ
    นางสาว พรพิมล หนูทอง 520600

  98. sarinya500558 says:

    ยาส่วนใหญ่ตัวเด่นๆที่ให้จะเป็นAdrenaline ค่ะ แต่ถ้าเส้นEKGมันเป็นแบบ Irregular(เจอใน VF)เมื่อไหร่ยาที่ให้จะเป็นAtropineันที หนูเข้าใจถูกมั๊ยคะ

  99. parachaya says:

    ยา Dopamine ช่วยเพิ่ม co ยังไงค่ะ
    520601 ปารัชญา คงเช็น

  100. อาจารย์ค่ะอยากทราบว่า ยา Amiodarone มีข้อบ่งชี้อย่างไรค่ะ

    นางสาววันวิสา คงล่ำซำ 500140

  101. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะมีประโยชน์ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น เจ็บหน้าอก ในกรณีที่อายุน้อย ไม่มีอาการผิดปกติ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะไม่มีประโยชน์ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจควรตรวจในกรณีที่อายุมากกว่า 40 ปี และมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ อยากทราบว่าทำไมการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจควรตรวจในกรณีที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปคะ
    นางสาวรัตนาภรณ์ สังข์แก้ว 520197

  102. โรคหัวใจขาดเลือด Myocardial Infarction

    การรักษา
    1. หากสงสัย ควรแนะนำผู้ป่วยไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งจะตรวจคลื่นหัวใจ
    (Electrocardiography/ECG/EKG), ตรวจเลือด, ตรวจปัสสาวะ, การเอกซเรย์
    หลอดเลือดหัวใจ (coronary arteriography) หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ และให้การ
    รักษาโดยให้ยาขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ได้แก่ ไนโตรกลีเซอรีน (Nitroglycerine)
    หรือไอโซซอร์ไบด์ (Isosorbide) อมใต้ลิ้นทันทีเมื่อมีอาการ
    ยานี้อาจทำให้เกิดอาการปวดศรีษะได้นอกจากนี้ อาจให้ยาขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจชนิด
    ออกฤทธิ์นาน เช่น ไอโซซอร์ไบด์ (lsosorbide), เพอร์แซนทิน (Persantin),
    เพอริเทรต (Peritrate) กินวันละ 2-4 ครั้ง ๆ ละ 1 เม็ด เพื่อป้องกันมิให้เกิดอาการ

    บางครั้งอาจต้องให้ยาปิดกั้นบีตา (Beta-blockers) เช่น โพรพราโนลอล (Propranolol)
    กินวันละ 4ครั้ง ๆ ละ 20-80 มก., ยาต้านแคลเซียม เช่น ไนเฟดิพีน ชนิดออกฤทธิ์นาน
    30-90 มก. วันละครั้ง ให้แอสไพริน ขนาด 75-325 มก. วันละครั้ง เพื่อป้องกันมิให้เลือดจับเป็น
    ลิ่มอุดตันหลอดเลือดหัวใจ
    ถ้าผู้ป่วยมีโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูงก็ต้องให้ยา
    รักษาโรคเหล่านี้ร่วมด้วย ในรายที่มีการตีบตันของหลอดเลือดโคโรนารีหลายแห่ง และกินยาไม่ได้ผล
    อาจต้องทำการผ่าตัดเปิดทางระบาย (ทางเบี่ยง) ของหลอดเลือด (Coronary artery bypass
    grafting/CABG) หรือใช้บัลลูนชนิดพิเศษขยายหลอดเลือด
    (Percutaneous transluminal coronary angioplasty/PTCA)
    2. ถ้ามีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง มีภาวะหัวใจวาย ช็อก หรือหมดสติ ควรส่งผู้ป่วยไป
    โรงพยาบาลด่วน ถ้าเป็นไปได้ ควรฉีดยาระงับปวดอย่างแรง เช่น มอร์ฟีน
    (Morphine) ก่อนส่งโรงพยาบาลและให้ออกซิเจน (ถ้ามี) มาระหว่างทางด้วย

    ผู้ป่วยมักจะต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลประมาณ 2-4 สัปดาห์ หากไม่มีโรค
    แทรกซ้อนที่รุนแรงก็มีโอกาสหายได้ แต่มักจะต้องกินยาเป็นประจำ โดยให้ยา
    ขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ และยาปิดกั้นบีตา ถ้ามีภาวะหัวใจวาย อาจให้ยา
    ช่วยหัวใจทำงาน เช่น ลาน็อกซิน (Lanoxin) หรือ ไดจอกซิน(Digoxin) กินวันละ
    1/2 – 1 เม็ดเป็นประจำ (ยานี้ถ้าใช้เกินขนาด อาจทำให้ตาพร่าตาลาย คลื่นไส้
    อาเจียน หัวใจหยุดเต้น หรือเต้นผิดจังหวะได้ ควรให้ใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์
    เท่านั้น)

    ข้อแนะนำ
    1. โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง และอาจมีอันตรายร้ายแรงเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ควรติดต่อ
    รักษากับแพทย์เป็นประจำ และควรพกยาไนโตรกลีเซอรีน หรือไอโซซอร์ไบด์
    ชนิดอมใต้ลิ้น ติดตัวไว้ใช้เวลามีอาการ

    2. สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย เมื่อกลับจากโรงพยาบาลแล้ว ควร
    พักฟื้นที่บ้าน อีกสักระยะหนึ่ง อย่าทำงานหนัก และงดการร่วมเพศเป็นเวลา 4-5
    สัปดาห์ ผู้ป่วยสามารถเริ่มกลับไปทำงานได้หลังมีอาการ 8-12 สัปดาห์ แต่ห้าม
    ทำงานที่ต้องใช้แรงมาก ผู้ป่วยควรป้องกันมิให้มีอาการกำเริบอีก โดยการกินยา
    ตามแพทย์สั่งเป็นประจำ และปฏิบัติตัวดังในข้อ 7
    สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก ก็อาจมีโอกาสหายขาด และมีชีวิตยืนยาวเช่น
    คนปกติได้ ส่วนในรายที่กำเริบใหม่ มักมีโรคอื่นแทรกซ้อนอยู่ก่อน หรือหลอด
    เลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีการตีบตันจำนวนมาก

    3. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดบางคนอาจไม่มีอาการเจ็บจุกหน้าอกชัดเจน แต่
    อาจรู้สึกคล้ายมีอาการปวดเมื่อย ที่ขากรรไกร หรือหัวไหล่ ถ้าหากมีอาการ
    กำเริบบ่อย และมีอายุมากหรือปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ (เช่น สูบบุหรี่จัด ความดัน
    โลหิตสูง เป็นเบาหวาน อ้วน ฯลฯ) ก็ควรจะตรวจเช็กให้แน่ใจ

    4. โรคนี้บางครั้ง อาจมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่ เหมือนอาการอาหารไม่ย่อย โดย
    เฉพาะอย่างยิ่งเป็นหลัง กินอาหารใหม่ ๆ อาจทำให้วินิจฉัยผิดได้ ดังนั้น ถ้าพบ
    อาการจุกแน่นลิ้นปี่ในคนสูงอายุ หรือมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆก็ควรจะตรวจเช็กให้
    แน่ใจ ก่อนที่จะวินิจฉัยว่าเป็นเพียงอาการอาหารไม่ย่อย

    5. การตรวจคลื่นหัวใจ มีความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคนี้ประมาณ 50-75%
    หมายความว่า ประมาณ 25-50% ของคนที่เป็นโรคนี้ อาจตรวจคลื่นหัวใจแล้ว
    บอกผลว่าปกติ เรียกว่า “ผลลบลวง” (false negative) ก็ได้ ถ้ายังมีอาการเจ็บ
    จุกหน้าอก เข้าลักษณะโรคหัวใจขาดเลือด ควรทำการตรวจพิเศษโดยวิธีอื่น
    เช่น การตรวจคลื่นหัวใจ โดยการวิ่งบนสายสะพาน หรือปั่นจักรยาน (Stress
    testing/Excercise ECG) เป็นต้น และบางครั้ง อาจจำเป็นต้องให้การรักษา
    และปฏิบัติตัวแบบโรคหัวใจขาดเลือด

    6. บางคน อาจมีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบโดยไม่ปรากฏอาการก็ได้ ดังนั้นผู้ที่
    มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคนี้ (มีประวัติโรคหัวใจขาดเลือดในครอบครัว, สูบบุหรี่จัด,
    เป็นความดันโลหิตสูง, เบาหวาน) ควรตรวจเช็กหัวใจ และอาจต้องให้การรักษา
    ตามความเหมาะสมต่อไป

    7.ข้อปฏิบัติตัว จะมีส่วนช่วยรักษาให้มีชีวิตยืนยาวได้เท่าหรือเกือบเท่าคนปกติ
    ควรแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัว ดังนี้
    7.1 เลิกสูบบุหรี่ เด็ดขาด
    7.2 ถ้าอ้วน ควรหาทางลดน้ำหนัก
    7.3 อย่ากินอาหารที่มีไขมันสัตว์สูง โดยใช้น้ำมันจากพืชแทน ยกเว้นกะทิ
    7.4 ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังที่หักโหม และควร
    เพิ่มขึ้นทีละน้อย ทางที่ดีควรขอคำแนะนำจากแพทย์เสียก่อนที่จะออกกำลัง
    กายมาก ๆ การออกกำลังกายที่แนะนำให้ทำกันได้แก่ การเดินเร็ว วิ่งเหยาะ
    ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น
    7.5 หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการโรคหัวใจกำเริบ เช่น
    – อย่าทำงานหักโหมเกินไป
    – อย่ากินข้ามอิ่มเกินไป
    – ระวังอย่าให้ท้องผูก โดยการดื่มน้ำมาก ๆ กินผลไม้ให้มาก ๆ และควรกินยา
    ระบายเวลาท้องผูก
    – ควรงดดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่ใส่กาเฟอีน
    – หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้นตกใจ หรือการกระทบกระเทือนทางจิตใจ และทำ
    จิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ

    การป้องกัน
    โรคนี้สามารถป้องกันได้ โดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ, ไม่สูบบุหรี่, ผ่อนคลาย
    ความเครียดด้วยวิธีต่างๆ, ระวังอย่าให้อ้วน, ลดการกินอาหารที่มีไขมันสูง, รักษา
    ภาวะไขมันในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง และเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุม
    ได้ การกินแอสไพริน วันละ 75-325 มก. ก็มีส่วนในการป้องกันโรคนี้ได้ โดยเฉพาะ
    อย่างยิ่ง ในผู้ป่วยที่เป็นไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และความดันโลหิตสูง

    นางสาวสุชาดา ภัทนศิริไพศาล 520495

  103. อาจารย์คะ ผู้ป่วยที่เป็นStrokeมา จำเป็นต้องเป็นMI ในเวลาต่อมาด้วยมั้ยคะ

  104. supattra705 says:

    อาจารย์ค่ะ อยากทราบว่า นอกจากอาการและอาการแสดงและคลื่น EKG แล้ว มีวิธีอื่นอีกมั้ยคะที่จะสามารถแยกระหว่าง NSTEMI กับ STEMI
    นางสาวสุพัตรา ไชยบุตร 520705

  105. อาจารย์คะถ้าผู้ป่วยชักจากการขาดน้ำตาล พอตื่่นขึ้นมาเหมือนมีอาการหลงลืม แล้วอาการหลงลืมจะหายเป็นปกติไหมคะ
    นางสาวอาทิตยา ตั้งปฐมพงศ์ 510280

  106. การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ
    การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Percutaneous Coronary Intervention PCI)
    การขยายหลอดเลือดหัวใจเป็นการรักษาที่ตีบหรืออุดตันจากกลิ่มเลือดหรือก้อนไขมัน เพื่อให้เลือดสามารถไหลผ่านบริเวณที่ตีบได้ดีขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดหล่อเลี้ยง และรักษาอาการเจ็บแน่นหน้าอก
    วิธีการจะคล้ายกับการฉีดสีถ่ายภาพเอกซเรย์หลอดเลือด โดยแพทย์จะสอดสายไปตามลอดเลือดและใช้บอลลูนเพื่อถ่างขยายในปัจจุบันส่วนมากจะใช้ลวดในการถ่างขยายร่วมด้วย

    ผู้ป่วยประเภทใดที่จะได้รับการรักษาโดยวิธีนี้
    ๑. ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และแพทย์นัดมารักษา
    ๒. ผู้ที่มีเจ็บแน่นหน้าอก และแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โดยช่วงเวลาของการเจ็บแน่นหน้าอกนาน
    ๖–๑๒ ชั่วโมง

    ประโยชน์ของการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ
    ๑. การใช้บอลลูนมีประสิทธิภาพสูงกว่าการให้ยาละลายลิ่มเลือด เพราะมีโอกาศเปิดหลอดเลือดที่อุดตันให้มีการไหลเวียนที่ใกล้เคียงกับปกติได้ถึง ๙๐%
    ๒. อุบัติการณ์ของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันซ้ำ น้อยกว่าการใช้ยาละลายลิ่มเลือด
    ๓. อัตราการเกิดเลือดอกในสมอง น้อยกว่าการใช้ยาละลายลิ่มเลือด
    ๔. ใช้ในผู้ป่วยที่มาถึงโรงพยาบาลภายใน ๖–๑๒ ชั่วโมง หลังจากเกิดอาการแน่นหน้าอก

    ข้อควรปฏิบัติหลังจากได้รับการรักษาด้วยวิธี PCI
    ๑. ผู้ป่วยจะต้องนอนราบแลเหยียดขาข้างที่ทำหรือห้ามงอข้อมือข้างที่ทำ เป็นเวลา๖ – ๑๒ ชั่วโมง ภายหลังการรักษา โดยที่แถบรัดที่ข้อมือ หรือถุงทรายวางทับบริเวณขาหนีบที่สอดเข้มเข้าไปเพื่อหยุดเลือด
    ๒. หากไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ในวันถัดไป
    ๓. ไม่ต้องตกใจ หากพบว่ามีรอยช้ำและอาการขัดเวลาเดิน เพราะเกิดจากการสอดเข็มเข้าไปที่ขาหนีบรอยและอาการจะหายไปได้เอง
    ๔. ระวังไม่ให้มีแผลเปียกน้ำ หรือซับบริเวณแผลให้แห้งทุกครั้งหลังอาบน้ำ ทำความสะอาดแผลโดยใช้แอลกอฮอล์ และสำลีสะอาด
    ๕. พักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่ทำงานหนัก การออกกำลังกายที่เหมาะสม คือการเดิน
    ๖. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ปรุงจากไขมันสัตว์ น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว อาหารผัด ทอดหรือกะทิ เนื่องจากมีไขมันอิ่มตัวสูง
    ๗. รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ อย่าหยุดยาเอง สังเกตอาการผิดปรกติของตนเอง หากมีอาการแน่นหน้าอก รีบมาพบแพทย์
    ๘. มารับการตรวจอย่างสม่ำเสมอตามนัด

    วิธีการเตรียมตัวของผู้ป่วยก่อนรับการรักษา
    ๑. ผู้ป่วยและญาติรับฟังการอธิบายจากแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่และเซ็นยินยอมรับการรักษา
    ๒. งดน้ำและอาหารอย่างน้อย ๖-๘ ชั่วโมงก่อนทำ
    ๓. นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยอาจใช้ยาคลายเครียดที่แพทย์จัดให้
    ๔. ท่านจะได้รับการทำความสะอาดและโกนขนข้อมือหรือขาหนีบ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรักษา

    นางสาวอาภรณ์ แก้ววังสาร 510395

  107. อยากให้อาจารย์อธิบายการทำงานของ Cardiac pacemaker ว่าจะเกิด spike ตอนไหน อย่างไรค่ะ

    นางสาว เสาวลักษณ์ โส๊ะตรี 510750

  108. โรคความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว และทำให้เกิดโรคอัมพาตได้มาก ทั้งชนิดหลอดเลือดแตกและหลอดเลือดตีบ ปัจจุบันถือว่า โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในการเกิดอัมพาต และจากการศึกษาวิจัย พบว่าโรคความดันโลหิตสูงทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเป็นอัมพาตมากกว่าคนปรกติสูงถึง 4-6 เท่า ผู้ป่วยโรคอัมพาตร้อยละ 40-90 จะมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาก่อน

    ระดับโคเลสเตอรอลในเลือด

    ภาวะที่มีไขมันสูงในหลอดเลือด ทั้งชนิดโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันที่ไปเกาะผนังหลอดเลือดและจะทำให้ผนังหลอดเลือดแข็ง อันจะมีผลตามมาทำให้เกิดอัมพาตได้ง่าย

    โรคเบาหวาน

    ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานเป็นเวลานานๆ โดยมิได้รับการรักษา หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดอัมพาตชนิดหลอดเลือดตีบได้สูง เพราะโรคเบาหวานทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ง่าย โดยจะมีหลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย และถ้าเป็นที่หลอดเลือดของสมองจะเกิดอัมพาตขึ้น อัตราการเสี่ยงของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน จะมีโอกาสเกิดอัมพาตได้สูงกว่าผู้ป่วยปกติถึง 2-4 เท่า

    นางสาว มุกดา ไชยสิทธิ์ 510386

  109. จริงๆแล้วการแปลคลื่นEKG มันยากนะคับ แต่มันต้องอาศัยการฝึกแปลและประสบการที่ได้เจอ หากได้เจอประสบการณ์เยอะในการฝึกปฎิบัติแล้วกลับมาหามาศึกษาก้จะทำให้เรารู้วิธีการดู ผมเชื้อนะครับว่าในที่นี่ยังมีอีกเยอะมากที่ไม่สามารถแปลผลEKGได้ มันมีหลักการง่ายๆเองแต่หากว่าเราฝึกฝนบ่อยๆๆก็จะสามารถแปลได้เอง
    นายธวัชชัย สวัสดิสาร 490549

  110. อาจารย์ค่ะ EKG ในผู้ป่วย MI กับผู้ป่วย ventricle fibrillation มี EKG แตกต่างกันไม่ค่ะและการช่วยเหลือโดยการใช้ยาต่างกันไม่ค่ะ

    นางสาวธัญทิพย์ รักซัง
    รหัสนักศึกษา 490582

  111. คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะบอกอะไรได้บ้าง

    คลื่นไฟฟ้าสามารถบอกให้เราทราบโรคของหัวใจและความผิดปกติของเกลือแร่โรคที่ใช้คลื่นไฟฟ้าในการช่วยวินิจฉัยได้แก่

    1.กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย แต่สำหรับที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ไม่ถึงกับตาย การตรวจคลื่นไฟฟ้ากลุ่มนี้อาจจะให้ผลปกติซึ่งอาจจะต้องไปวิ่งสายพานเพื่อน ตรวจ ข้อต้องระวังอีกข้อคือในภาวะที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในชั่งเริ่มต้นการ ตรวจคลื่นไฟฟ้าอาจจะปกติได้ ต้องใช้วิธีตรวจซ้ำ
    2.กล้ามเนื้อหัวใจหนา
    3.โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
    4.ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด
    5.การเต้นหัวใจผิดปกติ
    6.เกลือแร่ผิดปกติ เช่นโปแตสเซี่ยมสูงไปหรือต่ำไป

    นางสาวสุจิตรา ลำมะนา 510744

  112. โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Ischemic heart disease/IHD)
    หรือโรคหลอดเลือดโคโรนารี (Coronary artery disease/CAD) หมายถึง โรคหัวใจ
    ที่เกิดจากการตีบ และแข็งตัวของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยง กล้ามเนื้อหัวใจ หรือที่
    เรียกว่าหลอดเลือดโคโรนารี (Coronary artery) ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
    ลดลงหรือชะงักไป เมื่อผู้ป่วยมีภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจต้องการออกซิเจนมากขึ้น เช่น
    การออกแรงมาก ๆ การมีอารมณ์โกรธ หรือจิตใจเครียด เป็นต้น ก็จะทำให้มีอาการ
    เจ็บหน้าอกเป็นครั้งคราว โดยที่ยังไม่มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจเกิดขึ้น เราเรียก
    ว่า อาการดังกล่าวว่าโรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ (Angina pectoris) แต่ถ้ากล้าม
    เนื้อหัวใจมีการตายเกิดขึ้นบางส่วน เนื่องจากหลอดเลือดโคโรนารีเกิดการอุดตัน
    เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้เลยก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง
    ซึ่งมักจะมีภาวะช็อก และหัวใจวายร่วมด้วย เราเรียกว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
    (Myocardial infarction)

    โรคนี้มักจะพบได้มากขึ้นตามอายุ ส่วนมากจะมีอาการเริ่มแรกเมื่อมีอายุมากกว่า
    40 ปีขึ้นไป มักไม่พบในผู้ชายอายุต่ำ 30 ปี หรือผู้หญิงอายุต่ำกว่า 40 ปีที่ไม่มีโรค
    ประจำตัวอยู่ก่อน พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง คนที่อยู่ดีกินดี คนที่มีอาชีพทำงานนั่ง
    โต๊ะ และคนในเมืองมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนยากจน คนทีมีอาชีพใช้แรงงาน
    และชาวชนบท

    สาเหตุ
    เกิดจากมีการตีบตันของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (หลอดเลือดโคโรนารี)
    ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ มักเป็นผลจากผนังหลอดเลือดแข็งเนื่องจากมี
    ไขมันเกาะ ดังที่เรียกว่าอะเทอโรสเคลอโรซิส (Atherosclerosis) ซึ่งอาจเป็นผลมาจาก
    ความเสื่อมของร่างกายตามวัย
    นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่อาจทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งเร็วขึ้น เช่น
    ภาวะไขมันในเลือดสูง, การสูบบุหรี่จัด, โรคความดันโลหิตสูง , โรคเบาหวาน , โรคเกาต์ ,
    ความอ้วน, การขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น ผู้ป่วยบางรายอาจมีประวัติว่ามีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย

    อาการ
    ในรายที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ จะมีอาการปวดเค้นคล้ายมีอะไรกดทับ หรือจุกแน่นที่ตรง
    กลางหน้าอก หรือยอดอก ซึ่งมักจะเจ็บร้าวมาที่ไหล่ซ้าย ด้านในของแขนซ้าย
    บางคนอาจร้าวมาที่คอขากรรไกร หลัง หรือแขนขวา
    บางคนอาจรู้สึกจุกแน่นที่ใต้ลิ้นปี่ คล้ายอาการอาหารไม่ย่อย หรือท้องอืดเฟ้อ ผู้ป่วยมักมีอาการเวลา
    ออกแรงมาก ๆ (เช่น ยกของหนัก เดินขึ้นที่สูง ออกกำลังแรง ๆ ทำงานหนัก ๆ แบบที่ไม่เคยทำมาก่อน)
    มีอารมณ์โกรธ ตื่นเต้น ตกใจ เสียใจ หรือ จิตใจเคร่งเครียด ขณะร่วมเพศ หลังกินข้าวอิ่มจัด หรือ
    เวลาถูกอากาศเย็น ๆ ผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรง เป็นไข้ หรือหัวใจเต้นเร็ว (เช่น หลังกินกาแฟ
    หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคคอพอกเป็นพิษ) ก็อาจกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคนี้ได้

    อาการเจ็บหน้าอก มักจะเป็นอยู่นาน 2-3 นาที (มักไม่เกิน 10-15 นาที) แล้วหายไปเมื่อได้พัก หรือหยุด
    กระทำสิ่งที่เป็นสาเหตุชักนำ หรือหลังจากได้อมยาขยายหลอดเลือด (เช่น ไนโตรกลีเซอรีน)
    นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการใจสั่น เหนื่อยหอบ เหงื่อออก เวียนศรีษะ คลื่นไส้ร่วมด้วย
    ผู้ป่วยที่มีความรู้สึกเจ็บหน้าอกแบบแปล๊บ ๆ หรือ รู้สึกเจ็บเวลาก้ม หรือเอี้ยวตัว หรือรู้สึกเจ็บ
    อยู่ตลอดเวลา (เวลาออกกำลังกาย หรือทำอะไรเพลินหายเจ็บ) มักไม่ใช่โรคหัวใจขาดเลือด

    ในรายที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย จะมีอาการเจ็บหน้าอกในลักษณะเดียวกับโรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ
    แต่จะเจ็บรุนแรงและนาน แม้จะได้นอนพักก็ไม่ทุเลา ผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลีย ใจสั่น หน้ามืด วิงเวียน
    คลื่นไส้ อาเจียน ถ้าเป็นรุนแรง จะมีอาการหายใจหอบเหนื่อย เนื่องจากมีภาวะหัวใจวาย หรือเกิด
    ภาวะช็อก (เหงื่อออก ตัวเย็น ชีพจรเต้นเบาและเร็ว ความดันเลือดตก) หรือชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ
    ผู้ป่วยอาจเป็นลมหมดสติ หรือตายในทันทีทันใด บางคนอาจมีประวัติว่า เคยมีอาการเจ็บหน้าอกเป็นพัก ๆ
    นำมาก่อน เป็นเวลาหลายสัปดาห์ บางคนอาจไม่มีอาการเจ็บหน้าอกมาก่อนเลยก็ได้

  113. คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะบอกอะไรได้บ้าง?
    คลื่นไฟฟ้าสามารถบอกให้เราทราบโรคของหัวใจและความผิดปกติของเกลือแร่โรคที่ใช้คลื่นไฟฟ้าในการช่วยวินิจฉัยได้แก่

    กล้าม เนื้อหัวใจขาดเลือด เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย แต่สำหรับที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ไม่ถึงกับตาย การตรวจคลื่นไฟฟ้ากลุ่มนี้อาจจะให้ผลปกติซึ่งอาจจะต้องไปวิ่งสายพานเพื่อน ตรวจ ข้อต้องระวังอีกข้อคือในภาวะที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในชั่งเริ่มต้นการ ตรวจคลื่นไฟฟ้าอาจจะปกติได้ ต้องใช้วิธีตรวจซ้ำ
    กล้ามเนื้อหัวใจหนา
    โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
    ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด
    การเต้นหัวใจผิดปกติ
    เกลือแร่ผิดปกติ เช่นโปแตสเซี่ยมสูงไปหรือต่ำไป

    510440 นางสาวนราภรณ์ กระจ่างฤทธ์

  114. wanipa520821 says:

    อาจารย์คะ ความเหมาะสมในการตรวจคลื่่นไฟฟ้าหัวใจจะตรวจได้ในกรณีไหนบ้างค่ะ และคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะบอกอะไรได้บ้างคะ
    นางสาววรรณิภา แสนรัตน์ 520821

  115. Yuri Naru says:

    mode of ventilation จะตั้งเป็นแบบ A/C (assist / control) โดยตั้งอัตราการหายใจที่เครื่องจะช่วยไว้ประมาณ 10 -12 ครั้ง/นาที ถ้าผู้ป่วยยังหายใจได้ การที่ปรับตั้งค่าไว้เช่นนี้ก็เพราะว่าถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ เครื่องก็ยังคงทำงานให้ตามค่าที่ตั้งไว้ ใช้หรือเปล่าค่ะ
    ถ้าผู้ป่วยหายใจได้เอง ก็จะตั้งเครื่องเป็น IMV หรือ SIMV (synchronous intermittent mandatory ventilation) หรือ PS (pressure support) โดยมีรอบการหายใจที่ผู้ป่วยหายใจเองร่วมกับรอบการหายใจที่เครื่องช่วยผู้ป่วยหายใจ
    ถ้าต้องการควบคุมการหายใจ(CMV) คือใช้แบบไหน

    • yuwa510505 says:

      อาจารย์คะ ถ้าเราใช้ mode synchronized shock กับผู้ป่วย tachycardia แบบ VF จะใช้ได้ไหมค่ะ และมข้อดีข้อเสียอย่างไรค่ะ

      นางสาวยุวา มัญยะหงษ์ 510505

  116. ที่อยากรู้ไม่เกี่ยวกะหัวข้อที่ อาจารย์ตั้งไว้ครับ แต่ที่อยากรู้คือ ตอนนี้ผมสับสนมากครับว่า LRS หรือ 0.9 %NSS ต่างกันอย่างไร คือพอรู้ว่า LRS จะมีสารคล้ายกับสารในร่างกายมากกว่า คือมี K CL HCO3 แต่ทำไมบางคนก็ยังใช้ NSS ทั้งๆ ที่ รู้ว่า LRS จะดีกว่าครับ

    ถ้าเวลาShockอยู่แล้วเป็นแบบนั้นจริง หมายความว่าไม่ควรให้RLSและAcetarช่วงนี้เพราะให้ไปก็ไม่เกิดHCO3มาแก้acidosisใช่ไหมครับ
    แต่ทำไมpracticeที่ทำกันอยู่ตอนนี้หลาย center ทั้งจุฬา,ขอนแก่น,รพ.ตำรวจ,ฯลฯก็ยังมีการให้Acetarแก้shockกันอยู่
    นอกจากนี้ guidelineต่างประเทศ ของศัลยกรรมก็ยังsuggestการให้fluidพวกนี้อยู่
    เช่น Parkland Formulaในpt.Burn , ICU protocol of Florida
    นอกจากนี้ยังมีรายงานการทดลองของPhysioออกมาในjournalเป็นระยะๆ
    แสดงให้เห็นถึงภาวะshockและความสัมพันธ์ของเลือดที่ไปตามอวัยวะต่างๆบางฉบับก็พบว่าเลือดไปmuscle
    เพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ

    2.ภาวะshockก็มีหลายแบบทั้งdistributive shock,hypovolemic shock ซึ่งbloodที่ไปpool organก็ไม่เหมือนกันแน่ แบบนี้จะมีผลต่อการพิจารณาชนิดfluidด้วยหรือเปล่าครับ
    ช่วยยกตัวอย่างได้ไหมครับ

    ขอบคุณอาจารย์มากๆครับ

  117. jumj says:

    การตรวจEKG มีโอกาสผิดพลาดได้ไหมคะ (ถ้ากรณีเครื่องไม่เสีย)
    น.ส.สุจิตรา ลำมะนา 510744

  118. jumj says:

    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
    หัวใจของคนเราประกอบไปด้วยหัวใจห้องล่างสองห้องคือซ้ายและขวา( Left or Right Ventricle )และหัวใจห้องบนสองห้องคือขวาและซ้าย ( Left or Right Atrium) การทำงานของหัวใจจะทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย หัวใจจะได้รับไฟฟ้า ซึ่งเกิดจากเซลล์ชนิดพิเศษในหัวใจซึ่งสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าเองซึ่งเรียกว่า Sinus node กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านไปตามกล้ามเนื้อหัวใจทำให้หัวใจบีบตัว
    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นวิธีการตรวจหาโรคหัวใจที่ง่ายและได้ผลดี การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นตรวจกระแสไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหัวใจผลิตออกมาขณะที่หัวใจบีบตัว โดยเริ่มต้นที่จุดที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจชนิดพิเศษที่สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้เอง เราเรียกจุดนี้ว่า Sinus node กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านกล้ามเนื้อหัวห้องบน เกิดกระแสไฟฟ้าที่เราตรวจได้เรียก P wave กระแสจะมาหยุดที่รอยต่อระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่างเรียกว่า AV Node หลังจากนั้นกระแสไฟฟ้าจะวิ่งไปหัวใจห้องข่างล่าง?ั้งซ้ายและขวาและทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่า QRS complex ดูตัวอย่างกราฟไฟฟ้าหัวใจของคนปกติ

    กราฟดังกล่าวแสดงเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง โดยทั่วไปการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบเป็น
    1. Limb Leads หมายถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยวัดที่แขนและขา การวัดนี้มี 6 ชื่อคือ Lead 1 , Lead2, Lead3, avr,avl,avf
    2. Chest Leads หมายถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยการตามกระแสไฟฟ้าหัวใจที่บริเวณหน้าอก มี 6 แนวได้แก่ V1,V2,V3,V4,V5,V6
    ลองดูตัวอย่างกราฟไฟฟ้าหัวใจทั้งหมดของคนปกติ
    คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะบอกอะไรได้บ้าง
    คลื่นไฟฟ้าสามารถบอกให้เราทราบโรคของหัวใจและความผิดปกติของเกลือแร่โรคที่ใช้คลื่นไฟฟ้าในการช่วยวินิจฉัยได้แก่
    1. กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย แต่สำหรับที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ไม่ถึงกับตาย การตรวจคลื่นไฟฟ้ากลุ่มนี้อาจจะให้ผลปกติซึ่งอาจจะต้องไปวิ่งสายพานเพื่อนตรวจ ข้อต้องระวังอีกข้อคือในภาวะที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในชั่งเริ่มต้นการตรวจคลื่นไฟฟ้าอาจจะปกติได้ ต้องใช้วิธีตรวจซ้ำ
    2. กล้ามเนื้อหัวใจหนา
    3. โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
    4. ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด
    5. การเต้นหัวใจผิดปกติ
    6. เกลือแร่ผิดปกติ เช่นโปแตสเซี่ยมสูงไปหรือต่ำไป
    แพทย์จะสั่งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกรณีต่อไปนี้
    • เมื่อคุณมีอาการเจ็บหน้าอก และแพทย์สงสัยว่าจะเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือเจ็บหน้าอกจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
    • เพื่อตรวจดูคลื่อนไฟฟ้าหัวใจ
    • เมื่อสงสัยว่ากล้ามเนื้อหัวใจจะหนา
    • ติดตามผลการรักษา หรือผลข้างเคียงจากยา
    • ตรวจดูเครื่องกระตุ้นหัวใจว่ายังทำงานเป็นปกติหรือไม่
    • เช็คร่างกายหากคุณมีโรคความดันโลหิต เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่สามารถบอกว่าเป็นหัวใจวาย
    การเตรียมตัวสำหรับการตรวจ
    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่เจ็บ ไม่เสียเวลา คุณนอนบนเตียงเจ้าหน้าที่จะเอาขั้วไฟฟ้ามาติดที่แขน ขา และหน้าอก หลังจากนั้นจะตรวจกระแสไฟฟ้าหัวใจใช้เวลาไม่ถึง 5 นาทีก็เสร็จ
    ระหว่างการตรวจอย่าพูดหรือเคลื่อนไหวเพราะจะทำให้เกิดคลื่นรบกวนคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
    การตรวจนี้เจ็บปวดหรือไม่
    ไม่ไมีความเจ็บปวด
    การตรวจนี้มีความเสียงหรือไม่
    การตรวจนี้ไม่มีความเสี่ยงหรือเจ็บปวดแต่อย่างใด
    ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตรวจ
    • เครื่องมือไม่สมบูรณ์
    • แผ่น electrode ไม่แนบสนิทกับผิวหนัง
    • คุณคลื่อนไหว หรือพูด
    • ออกกำลังกายอย่างหนักก่อนการตรวจ
    • กังวล หายใจหอบลึก
    • การติด electrode ผิดตำแหน่ง
    ข้อที่ควรคำนึงเกี่ยวกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
    • หากท่านมีอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในระยะแรกอาจจะปกติ
    • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจควรจะต้องตรวจขณะพักก่อนการตรวจขณะออกกำลังกาย
    • แพทย์บางท่านแนะนำให้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเมื่อายุย่าง 35 เพื่อเป็นค่าที่เอาไว้เปรียบเทียบ
    • โรคบางโรคจะปรากฏเมื่อออกกำลังกายหรือขณะมีอาการ ดังนั้นอาจจะจำเป็นต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าขณะออกกำลังกาย หรือตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง ( ambulatory electrocardiogram)

    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีกี่แบบ
    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีสองแบบได้แก่
    1. การตรวจไฟฟ้าแบบตรวจเมื่อแพทย์สั่ง เช่นเมื่อมาพบแพทย์และมีอาการเจ็บหน้าอก แพทย์จะสั่งตรวจ
    2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบตลอด 24 ชั่วโมง การตรวจนี้จะใช้กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเหมือนว่าจะเกิดจากโรคหัวใจ แต่การตรวจขณะนั้นไม่พบความผิดปกติ แพทย์จะสั่งตรวจคลื่นไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง โดยการติดเครื่องมือไว้กับตัวท่านตลอด 24 ชั่วโมงและนำเครื่องมาวิเคราะห์ว่าตลอด 24 ชั่วโมงมีสิ่งผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจหรือไม่
    น.ส.สุจิตรา ลำมะนา 510744

  119. การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

    การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการใช้เครื่องบันทึกเป็นกราฟการเต้นของหัวใจ โดยเครื่องบันทึกจะใช้ความเร็วกระดาษ มี 2 ขนาดคือ 50 มม./วินาที และ 25 มม./วินาที โดยส่วนใหญ่การบันทึกจะใช้เครื่องความเร็ว 25 มม./วินาที ซึ่งทำให้ 1ช่องเล็ก(1 มม. ) ของกระดาษบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีค่าเท่ากับ 0.04 วินาที 5ช่องเล็ก หรือ 1 ช่องใหญ่ (5 มม.)เท่ากับ 0.2 วินาที ความสูงแต่ละช่องเล็กคิดเป็นความแรงของกระแสไฟฟ้า เท่ากับ 0.1 มิลลิโมล์ท

  120. หลักการแปลผล
    1. อ่านอัตราว่าเร็วหรือช้าผิดปกติ หรือไม่ อัตราการบีบตัวของ atrium เท่ากับอัตราการ
    บีบตัวของ Ventricle หรือไม่
    2. ดู จังหวะการเต้นว่าสม่ำเสมอหรือไม่ โดยสังเกตจาก P-P และ R- R ว่าคงที่หรือไม่
    3. สังเกตในแต่ละจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามี P wave ปรากฎให้เห็นทุกครั้งหรือไม่
    และ P wave นั้นสัมพันธ์กับ QRS complex หรือไม่
    4. รูปร่างของ P wave และ QRS complex ว่าปกติหรือไม่ ลักษณะของคลื่นเหมือนกัน
    ทุกจังหวะการเต้นหรือไม่
    5. ช่วง P-R interval ,QRS complex และ QT interval อยู่ในมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่
    6. แปลผลว่าเป็น arrhythmia ชนิดใด มีความสำคัญมากน้อยเพียงใด ควรได้รับการ
    รักษาพยาบาลอย่างไร

  121. chompoonut520842 says:

    การวางตำแหน่งขั้วไฟฟ้า (Lead position)
    ต่อจากการรู้ทฤษฎีและวิธีการแสดงผล ต่อไปคือการติดตั้งอิเลคโทรด เพื่อดึงเอาคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นๆ ออกมาแสดงผล

    Lead หมายถึง การบันทึกความต่างศักย์ไฟฟ้าที่เกิดจากการวางขั้วไฟฟ้า ขั้วบวกและขั้วลบไว้ที่พื้นผิวของร่างกาย

    Limb leads หมายถึง การบันทึกความต่างศักย์ไฟฟ้าของการวางขั้วไฟฟ้า ไว้ที่แขนขา แขนซ้าย และขาซ้าย ทำให้เกิดรูปสามเหลี่ยมหนึ่ง เรียกว่า Einthoven’s triangle ซึ่งแต่ละด้านของสามเหลี่ยมประกอบด้วย limb leads (bipolar leads) 3 leads คือ lead I, II, III

    บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ได้ในแต่ละ lead นั้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการวางและชนิดของขั้วไฟฟ้า ที่นิยมกันมี 12 leads ประกอบด้วย

    1.การบันทึกโดยใช้ขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว

    บันทึกที่ได้ถือว่าเป็น standard leads ตำแหน่งของการวางขั้วไฟฟ้าอยู่ที่แขนและขาจึงเรียก standard limp leads อาศัยรูปสามเหลี่ยมที่มีหัวใจอยู่ตรงกลางที่เรียกว่า Einthoven’s triangle ใช้มุมทั้งสามของรูปสามเหลี่ยมเป็นตำแหน่งวางขั้วไฟฟ้า คือ แขนขวา แขนซ้าย และขาซ้าย ดังแสดงในรูปที่ 2 Einthoven ศึกษาพบว่า ถ้าวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าออกมาได้ 2 leads แล้ว จะสามารถหาค่าความต่างศักย์ของ lead ที่ 3 ได้ standard leads ประกอบด้วย

    1.1 Lead I ได้จากการวางขั้วลบไว้บนแขนขวาและขั้วบวกไว้บนแขนซ้าย เมื่อเปรียบเทียบทิศทางของการวิ่งของคลื่นไฟฟ้าหัวใจแล้วขั้วที่อยู่บนแขนขวาจะเป็นลบมากกว่าแขนซ้าย บันทึกที่ได้จึงมีค่าเป็นบวก

    1.2 Lead II วางขั้วลบไว้บนแขนขวาและขั้วบวกไว้บนขาซ้าย บันทึกที่ได้เป็นค่าบวกเนื่องจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจวิ่งลงมาทางขาซ้ายมากกว่า

    1.3 Lead III วางขั้วลบไว้บนแขนซ้ายและขั้วบวกบนขาซ้าย ในทำนองเดียวกันบันทึกที่ได้เป็นบวกเช่นกัน
    ถ้าเอาทิศทางทั้ง 3 leads มาต่อกันก็จะได้รูปสามเหลี่ยมเรียกว่า Einthoven’s triangle แต่ถ้าลากตัดกันที่จุดใดจุดหนึ่ง จุดที่ตัดกันเรียกว่าจุดศูนย์ (zero point) แต่ละ lead จะทำมุมกัน 60 องศาพอดีและถือว่าเป็นระบบอ้างอิง 3 แกน (triaxial reference system)

    2. การบันทึกโดยใช้ขั้วไฟฟ้าขั้วเดียว

    2.1 Limb leads ของการบันทึกโดยใช้ขั้วไฟฟ้าขั้วเดียว เนื่องจากวางขั้วไฟฟ้าวิธีนี้เกิดความต่างศักย์น้อยมาก จำเป็นต้องมีการขยายบันทึกที่ได้เพื่อให้การวิเคราะห์หัวใจชัดเจนยิ่งขึ้น หรือเรียกว่า augmented limb leads ซึ่งจะขยายได้ประมาณร้อยละ 50 ใช้อักษรนำหน้าว่า ‘a’ การยันทึกแบบนี้จะเป็นการบันทึกใน frontal plane ประกอบไปด้วย

    2.1.1 Lead aVR คือ augmented unipolar right arm lead ได้จากการวางขั้วบวกไว้บนแขนขวา

    2.1.2 Lead aVL คือ augmented unipolar left arm lead ได้จากการวางขั้วบวกไว้บนแขนซ้าย

    2.1.3 Lead aVF คือ augmented unipolar left leg lead ได้จากการวางขั้วบวกไว้บนขาซ้าย

    จะเห็นว่าแกนของ limb leads จากการบันทึกโดยใช้ขั้วไฟฟ้าขั้วเดียวคือเส้นตรงที่ต่อจุดจากแขนขวา แขนซ้าย และขาซ้าย นำทั้ง 3 แกนมาวางตัดกันจะตัดกันที่จุดกึ่งกลางของ Einthoven’s triangle ทุกๆ แกนจะทำมุมกัน 60 องศา ใช้เป็นระบบอ้างอิง 3 แกนเหมือนกัน ถ้าเอาระบบอ้างอิง 3 แกนทั้ง 2 ระบบมารวมกันจะได้ระบอ้างอิง 6 แกน (hexaxial reference system) ซึ่งแต่ละเส้นหรือแต่ละแกนทำมุม 30 องศา โดยถือว่าขั้วบวกของ lead I เป็น 0 องศา ขั้วลบเป็น 180 องศา ขั้วบวกของ lead aVF เป็น +90 องศา ส่วนขั้วลบเป็น +270 องศา หรือ -90 องศา ตามลำดับ

    2.2 Chest leads เป็นการบันทึก horizontal plane ใช้อักษร ‘V’ แทนมาจากคำว่าเวคเตอร์ (vector) ตำแหน่งของการวาง lead อยู่บริเวณหน้าอกตรงกับตำแหน่งหัวใจเรียกว่า precordial area บันทึกที่ได้เป็นการวัดความต่างศักย์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในวงจรศักย์ไฟฟ้าหัวใจในขณะนั้น การวางขั้วไฟฟ้า โดยการเสนอแนะจาก American Heart Association มีดังนี้

    2.2.1 Lead V1 ได้จากการวางขั้วไฟฟ้าไว้ที่ช่องซี่โครงที่ 4 ด้านขวาของกระดูกอก

    2.2.2 Lead V2 ได้จากการวางขั้วไฟฟ้าไว้ที่ช่องซี่โครงที่ 4 ด้านซ้ายของกระดูกอก

    2.2.3 Lead V3 ได้จากการวางขั้วไฟฟ้าไว้ที่แนวกึ่งกลางระหว่างตำแหน่งของ V2 กับ V4 ด้านขวาของกระดูกอก

    2.2.4 Lead V4 ได้จากการวางขั้วไฟฟ้าไว้ที่ช่องซี่โครงที่ 5 แนวกึ่งกลางกระดูกไหปลาร้าซ้าย

    2.2.5 Lead V5 ได้จากการวางขั้วไฟฟ้าไว้ที่ช่องซี่โครงที่ 5 ตามแนวด้านหน้าของรักแร้ (left anterior axillary line)

    2.2.6 Lead V6 ได้จากการวางขั้วไฟฟ้าไว้ที่ช่องซี่โครงที่ 5 ตามแนวตรงกลางของรักแร้ (mild axillary line)

  122. อาจารย์คะ ถ้าสมมติว่าเราเจ็บหน้าอก และรู้สึกมึน แล้วก็เป็นลม และเมื่อไปพบแพทย์ปรากฎว่า มีเสียง murmur ระหว่างที่หัวใจบีบตัว และเสียงที่สองของหัวใจลดลง เมื่อตรวจด้วยเครื่องEKGพบว่า กล้ามเนื้อหัวใจล่างซ้ายหนาตัว ชีพจรที่หลอดเลือดแดงcarotid เต้นเบา และพบมีdelayed upstroked เมื่อสอดสายสวนหัวใจพบว่าความดันที่หัวใจล่างซ้ายและหลอดเลือดaortaระหว่างบีบตัวแตกต่างกันประมาณ100mmHg จะมีความเสี่ยงเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเปล่าคะ

  123. ผมสงสัยว่าผมจะเป็นโรคหัวใจตีบ แต่ไปตรวจ EGK แล้วปกติ หมอก็บอกปกติ ความน่าเชื่อถือของ EGK อาจใช้ได้กับคนที่หัวใจเสียไปแล้ว ในกรณีที่กำลังจะตีบ จะตรวจได้ไหมครับ ทำไมหมอทั่วไปชอบรักษาเมื่อเกิดขึ้นแล้ว มีวิธีอื่นไหมครับที่ตรวจได้เลย ว่าหัวใจตีบไม่ตีบ ผมรอหมอจ่ายยามาเป็นกระสอบ นัดอีกสามเดือน งบประมาณรัฐ เอาไปกินกันหมดงบหมอน้อย ขอบ่นหน่อยนะครับ หมอทุกคนทำตัวเป็นผู้รู้ สอบถามเรานิดเดียวรู้หมด เครื่องมือตรวจมีเยอะไม่ใช้ เห้อ คนจนอย่างผมตายแน่ๆๆ อยากไปเอกชน ความแตกต่างกันสิ้นเชิง

Leave a reply to junepantam Cancel reply