โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง (ไทยรัฐ)

โรคหลอดเลือดสมอง เรียกว่า strokes หรือ brain attack ก่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต หรือทุพพลภาพได้ ไม่ว่าจะเกิดจากเส้นเลือดสมองแตก เส้นเลือดตีบ หรือก้อนเลือดอุดตัน

โรคหลอดเลือดสมอง

อัมพาต หมายถึง ภาวะที่สมองขาดเลือดหรือมีเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ยังผลให้เซลล์ในสมองและการทำงานของสมองหยุดชะงัก ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการชนิดถาวร หรือบางคนอาจเป็นเพียงชั่วครั้งชั่วคราว เรียกว่า อัมพฤกต์

สาเหตุที่สำคัญที่สุดของอัมพาต อัมพฤกต์ คือ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งจริงๆ แล้วจัดเป็นกลุ่มของโรคที่มีหลายชนิดหลายประเภท กลไกการเกิดโรคอาจแตกต่างกันไปได้บ้าง แต่สุดท้ายส่งผลร้ายอันตรายต่อชีวิตหรือทุพพลภาพเหมือนๆ กัน

ผู้ป่วยอัมพาตส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยที่สูงอายุ แต่อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยที่อายุน้อย ก็อาจเกิดอัมพาตได้เช่นเดียวกัน ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงโรคร่วมด้วย ดังนั้นแนวทางการป้องกันจึงมีความสำคัญสูงสุด ก่อนที่จะเกิดโรคขึ้นแล้วจึงมาบำบัดดูแลรักษาในภายหลัง

อาการ โรคหลอดเลือดสมอง

ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตแสดงอาการอ่อนแรงของร่างกายซีกใดซีกหนึ่งหรือทั้งสองซีก ในบางคนอาจจะหมดความรู้สึกของร่างกายซีกใดซีกหนึ่งหรือทั้งสองซีก บางรายอาจจะหมดสติ บางรายอาจจะตามองไม่เห็น บางรายอาจจะเดินไม่ได้ บางรายอาจจะพูดไม่ได้ บางรายอาจจะสับสน อาการต่าง ๆ ที่แตกต่างกันเนื่องจากตำแหน่งของหลอดเลือดที่เป็นโรคต่างกัน

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ หลอดเลือดสมอง

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการแข็งตัวของผนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดสมอง คือระดับไขมันชนิดโคเลสเตอรอลในเลือด ทำให้เกิดคราบไขมันขึ้นที่ผนังหลอดเลือด ก่อให้เกิดการตีบแคบและอุดตัน เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปยังเนื้อเยื่อส่วนปลายได้เพียงพอ

นอกจากนี้ชิ้นส่วนของคราบไขมันยังอาจหลุดจากผนังของเส้นเลือด ทำให้เกิดการอุดตันเส้นเลือดเล็กๆ ที่อยู่ถัดไป โรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มนี้เรียกว่าชนิดตีบตัน (thrombosis)

บางครั้งพบสาเหตุจากโรคของหัวใจที่ทำให้เกิดก้อนเลือดหลุดไปอุดตันเส้นเลือดสมอง หรือภาวะหัวใจเต้นผิดปกติชนิดพริ้วที่ทำให้เกิดอาการใจสั่น อาจเป็นสาเหตุให้ก้อนเลือดไปอุดเส้นเลือดสมองได้เช่นกัน เรียกภาวะนี้ว่าก้อนเลือดอุดตันเส้นเลือด (embolism)

โรคความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว และทำให้เกิดโรคอัมพาตได้มาก ทั้งชนิดหลอดเลือดแตกและหลอดเลือดตีบ ปัจจุบันถือว่า โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในการเกิดอัมพาต และจากการศึกษาวิจัย พบว่าโรคความดันโลหิตสูงทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเป็นอัมพาตมากกว่าคนปรกติสูงถึง 4-6 เท่า ผู้ป่วยโรคอัมพาตร้อยละ 40-90 จะมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาก่อน

ระดับโคเลสเตอรอลในเลือด

ภาวะที่มีไขมันสูงในหลอดเลือด ทั้งชนิดโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันที่ไปเกาะผนังหลอดเลือดและจะทำให้ผนังหลอดเลือดแข็ง อันจะมีผลตามมาทำให้เกิดอัมพาตได้ง่าย

โรคเบาหวาน

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานเป็นเวลานานๆ โดยมิได้รับการรักษา หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดอัมพาตชนิดหลอดเลือดตีบได้สูง เพราะโรคเบาหวานทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ง่าย โดยจะมีหลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย และถ้าเป็นที่หลอดเลือดของสมองจะเกิดอัมพาตขึ้น อัตราการเสี่ยงของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน จะมีโอกาสเกิดอัมพาตได้สูงกว่าผู้ป่วยปกติถึง 2-4 เท่า

อาการเตือนที่สำคัญของ โรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่

 อาการกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง หรือไม่มีแรงครึ่งซีกที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด หรืออาการชาของแขนหรือขาซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายเป็นครั้งคราว

 ภาวะที่มีอาการชาหรืออ่อนแรงของใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง

 อาการสับสน ระดับการรับรู้เปลี่ยนแปลงไปในทางเลวลง ภาวะที่พูดลำบาก กระตุกกระตักหรือพูดไม่ชัด โดยอาการเป็นชั่วคราว หรืออาจจะนึกพูดไม่ได้เป็นครั้งคราว

 ภาวะที่ตามืดหรือมองไม่เห็นไปชั่วครู่ หรืออาจจะเห็นแสงที่ผิดปรกติ หรือเห็นภาพซ้อน จัดเป็นอาการผิดปกติของการมองเห็น

 อาการวิงเวียนบ้านหมุน หรือเป็นลม เดินเซ ไม่สามารถทรงตัวได้

 อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงชนิดที่ไม่เคยปวดมาก่อน มักเกิดขึ้นขณะปฏิบัติกิจกรรมที่เคร่งเครียด หรือกำลังอยู่ในภาวะอารมณ์ที่รุนแรง

 กลืนอาหารสำลักบ่อยๆ

This entry was posted in โรคหลอดเลือดสมอง : A stroke. Bookmark the permalink.

297 Responses to โรคหลอดเลือดสมอง

  1. Rattiporn Soithong 520193 says:

    ถ้าหากว่าตื่นขึ้นมาตอนเช้าแล้วรู้สึกปวดศีรษะบริเวณท้ายทอยอย่างมาก แล้วมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย และมีอาการหนาวสั่นจากภายใน น่าจะมีความผิดปกติของสมองรึป่าวคะอาจารย์

    • laddawans says:

      อาการที่กล่าวมายังไม่สามารถบอกได้ว่ามีภาวะผิดปกติของสมองหรือไม่ คงต้องมีการตรวจร่างกาย หรือตรวจทางระบบประสาทเพิ่มเติม เพราะจากอาการที่นักศึกษาบอก ก็อาจจะเกิดจากความเครียด หรือไข้หวัดก็ได้ค่ะ

      • Rattiporn Soithong 520193 says:

        ขอบคุณคะอาจารย์…..จริงๆแล้วอาการนี้มันเกิดขึ้นกับหนูเอง..แต่ตอนนี้หายดีแล้วค่ะ

    • อยากทราบว่าโรคเครียดกับโรคหลอดเลือดสมอง อาการจะคล้ายๆกันรึปล่าวครับ ผมรู้สึกหายใจไม่ออกแล้วเริ่มชาไปทั้งตัว แล้วเกร็งทั้งตัว ไปโรงพยาบาลแล้วทางโรงพยาบาลบอกว่า เป็นโรคเครียด กรดไหลย้อน แต่เมื่ออาการเกร็งหายก็เวียนศีรษะ จากนั้นอีก 3 วัน ผมทำงานแล้วคิดมากๆ ก็เวียนศีรษะขึ้นมาแล้วปวดศีรษะบริเวณกลางศีรษะ อาการเวียนหัวจะเป็นเมื่อผมคิดมากๆ หรือว่าเริ่มเครียด บางครั้งก็มีอาการมืออ่อน ผมสูบบุหรี่ด้วยครับ แต่ตอนไม่สุบก็เป็นเหมือนกัน อาการแบบนี้ผมจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือปล่าวครับครับ ผมอายุ 23 ปี

      • เป็นอาการของภาวะเครียดร่วมกับมีความวิตกกังวล นอกจากอาการที่คุณได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง นอนไม่หลับในช่วงต้นๆของการหลับร่วมด้วย แต่ถ้ามีอาการอ่อนแรงบ่อยครั้งให้รีบไปพบแพทย์ค่ะ เพราะอาจมีความผิดปกติที่ระบบประสาทได้ค่ะ

  2. parichat520513 says:

    อาจารย์ค่ะ ถ้า CT scan แล้วพบว่ามีการอุดตันของหลอดเลือดในสมองเยอะ จะส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาตได้มั้ยค่ะ ถ้าได้รับการรักษาที่ล่าช้าเกินไป

    • laddawans says:

      ถ้ามีการอุดตันที่หลอดเลือดสมองแล้วไม่ได้รับยาสลายลิ่มเลือด ผู้ป่วยก็จะมีภาวะสมองขาดเลือด ที่เราเรียกว่า Ischemic Stroke ที่สุดผู้ป่วยก็จะ สมองไม่สั่งการ เป็นอัมพาต หมดสติได้ค่ะ

  3. parichat520513 says:

    อาารย์ค่ะ ถ้าพบว่ามีการอุดตันของหลอดเลือดที่สมองเยอะ แล้วได้รับการรักษาที่ล่าช้า จะส่งผลอะไรกับผู้ป่วยบ้างค่ะ

    • ถ้าหากได้รับการรักษาช้า อาจจะทำให้ผู้ป่วย เกิดภาวะหลอดเลือดในสมองแตก ผู้ป่วยอาจเป็นอัมภาตได้ มากน้อยขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของผู้ป่วย แต่ถ้าได้รับการรักษาช้ามากๆๆ ก็อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ค่ะ

  4. เราสามารถรู้ล่วงหน้าก่อนการเกิดโรคนี้ได้ไหมคะ มีการตรวจวิธีไหนบ้าง

    • laddawans says:

      โรคนี้ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ค่ะ แต่มีวิธีการป้องกัน เช่น ต้องคุมอาหาร งดไขมัน คุมเรื่องไขมันในเส้นเลือด คุมเบาหวาน และคุมความดันค่ะ หรือพูดง่าย ๆ ต้องคุมสาเหตุของโรคที่มีผลกับหลอดเลือดทั้งหมดค่ะ

      • chompoonut520842 says:

        1.อาจารย์ค่ะ อย่างนี้ถ้าคนที่เป็นความดันโลหิตสูงแต่ควบคุมได้ดี ก็มีโอกาสที่จะเป็นอัมพาตได้น้อยด้วยใช่ไหมค่ะ
        2.อาจารย์ค่ะ ภาวะก้อนเลือดอุดตันเส้นเลือด (embolism) กับ เวลาที่เราให้ยาแล้วต้องระวังอากาศเข้าไปเพราะจะทำให้เกิด ก็เรียกว่า embolism ใช่ไหมค่ะ^^

        ขอบคุณค่ะ

  5. อาจารย์คะ อยากทราบว่าจะมีผลการวินิจฉัยอาไรบ้างคะที่บ่งว่าเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง

  6. kannika510370 says:

    อาจารย์คะ ถ้าผู้ป่วยรายหนึ่งเคยมีอาการอัมพาตครึ่ึงซีก ปากเบี้ยวและได้เข้ารับการรักษาจนอาการหายเป็นปกติแต่ได้รับยาละลายลิ้มเลือดมารับประทานที่บ้าน อยากทราบว่าผู้ป่วยรายนี้ต้องรับประานยาละลายลิ้มเลือดไปตลอดชีวิตเลยมัยคะ

  7. watinee32 says:

    อาจารย์คะจากสถานการณ์
    ถ้าเราพบเห็นผู้ที่มีอาการอ่อนแรง หรือมีอาการชาของแขนขาซีกใดซีกหนึ่ง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด เวียนศีรษะอย่างรุนแรง เดินเซ เสียการทรงตัว ถ้ามีอาการดังกล่าว ไม่เกิน 3 ชั่วโมง ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพราะปัจจุบันมีการรักษาด้วยการให้ยาลายลิ่มเลือด ซึ่งยานี้จะสามารถให้ได้ในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบไม่เกิน 3 ชั่วโมง และไม่มีข้อห้าม
    – แล้วทำไมยาละลายลิ่มเลือดถึงสามารถให้ได้เฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบไม่เกิน 3 ชั่วโมงคะ ?

  8. อาจารย์คะ ทำไมความดันโลหิตสูงจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองคะ

    • เพราะเมื่อภายในร่างกายมีความดันโลหิตสูงก็จะส่งผลกระทบทำให้เกิดความดันในกระโหลกศีรษะสูงด้วย และเมื่อความดันภายในกระโหลกศีรษะสูงมากๆ หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองก็อาจแตกได้ เช่นภาวะ ICP ดังนี้

      ความดันในกะโหลกศีรษะสูงหรือ Increased intracranial pressure (ICP) เป็นภาวะที่มีความสำคัญอาจเกิดจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ เส้นเลือดในสมองแตกหรือเนื้องอกในสมองหรือน้ำคั่งในสมอง เป็นภาวะที่มีความสำคัญทางประสาทศัลยศาสตร์เนื่องจากพบได้บ่อยทั้งก่อนและหลังผ่าตัด ถ้าความดันสูงทำให้สมองเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ปกติสมองจะอยู่ในกะโหลกซึ่งในผู้ใหญ่ไม่สามารถขยายได้ สมองประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่คือ เนื้อสมอง น้ำหล่อเลี้ยงสมอง และเลือดที่มาเลี้ยงสมอง
      ภาวะที่มีการเพิ่มของสิ่งใดสิ่งหนึ่งทำให้เกิดภาวะความดันในสมองสูงเช่นมีก้อนเลือด ก้อนเนื้องอก น้ำคั่งในสมอง จึงจำเป็นต้องลดสิ่งเหล่านั้น การวินิจฉัยโดยดูอาการของผู้ป่วยเช่นม่านตาไม่เท่ากัน การตอบสนองลดลง ความรู้สึกตัวลดลง เอกซเรย์คอมพิวเตอร์เห็นสาเหตุและเห็นเนื้อสมองที่ถูกกดหรือเบียด ในบางกรณีแพทย์จะใส่สายเข้าไปในสมองเช่นในโพรงสมองเพื่อวัดความดันในสมองโดยตรง นอกจากนี้สามารถเอาน้ำหล่อเลี้ยงสมองออกเพื่อลดความดันได้
      การรักษามุ่งไปที่สาเหตุและป้องกันภาวะที่จะทำให้ความดันในสมองสูงเช่น เอาก้อนในสมองออก ให้ยาขับปัสสาวะ นอนศีรษะสูงเพื่อให้เลือดดำไหลออกได้ดี ลดไข้ ป้องกันน้ำตาลสูง ไม่ให้คาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือด ให้ออกซิเจนที่เพียงพอการรักษาโดยประสาทศัลยแพทย์และไอ ซี ยูและการพยาบาลที่พร้อมจะช่วยลดอัตราตายได้ และจะส่งผลให้เกิดภาวะ
      เส้นเลือดแตกในสมองจากความดันโลหิตสูง (Hypertensive hemorrhage) เป็นโรคที่พบได้บ่อย สาเหตุคือมีความดันสูง เรามักพบบ่อยตรงตำแหน่งที่เรียกว่า Basal ganglia ส่วนตำแหน่งอื่นที่พบได้เช่นกันคือ Subcortical hemorrhage, Thalamus, Cerebellum, Brainstem

      อาการของเส้นเลือดในสมองแตกจากความดันสูงมักพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะแต่บางรายอาจไม่มีก็ได้ คลื่นไส้ อาเจียน อาจหมดสติหรือระดับความรู้สึกตัว แขนขาอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง พูดไม่ชัดหรือถ้าเกิดในสมองเด่นทำให้พูดไม่ได้ อาการและอาการแสดงจะขึ้นกับขนาดของก้อนเลือด และอาการจะเป็นขึ้นอย่างรวดเร็ว เฉียบพลัน ผู้ป่วยบางรายอาจมีเส้นเลือดแตกก่อนแล้วล้มลงทำให้เข้าใจผิดว่าเลือดออกจากศีรษะกระแทกพื้น
      ตำแหน่งที่พบบ่อยคือบริเวณที่เรียกว่า basal ganglia ซึ่งผู้ป่วยจะมีแขนขาอ่อนแรง เกิดจากเส้นเลือดฝอยซึ่งเป็นแขนงของเส้นเลือดแดง middle cerebral artery แตก ถ้าแตกที่ตำแหน่ง thalamus เลือดมักแตกเข้าโพรงสมอง หรือ ventricles ทำให้เกิดการอุดตันการไหลเวียนของน้ำในโพรงสมองมีน้ำคั่งในสมองทำให้ความดันในกะโหลกศีรษะสูง อาจต้องรีบเจาะระบายน้ำออก ถ้าเส้นเลือดแตกตรงสมองส่วนท้ายหรือ Cerebellum ผู้ป่วยอาจมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน เดินเซ อาเจียนแล้วหมดสติอย่างรวดเร็วเนื่องจากก้อนเลือดไปกดก้านสมองทำให้ซึม และไม่รู้สึกตัวและหยุดหายใจได้เร็ว การผ่าตัดอย่างทันท่วงทีจะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสฟื้นได้ ถ้าเลือดออกที่ก้านสมองซึ่งเรามักพบตรงตำแหน่งที่เรียกว่า Pons ผู้ป่วยมักจะไม่รู้สึกตัวทันที ถ้าก้อนมีขนาดเล็กก็อาจรู้สึกตัวและความพิการน้อย แต่ถ้าก้อนเลือดใหญ่ ผู้ป่วยมักจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เมื่อรอดชีวิตจะรู้สึกตัวแต่แขนขาอ่อนแรงที่เราเรียกว่า locked-in syndrome คือโต้ตอบได้โดยการใช้ศีรษะแต่แขนขาอ่อนแรงภาวะเส้นเลือดแตกในสมองจากความดันสูงเราวินิจฉัยได้จากประวัติ อาการแสดง การตรวจร่างกาย การวินิจฉัยด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อดูตำแหน่งและขนาดของก้อนเลือด

      การรักษาถ้าก้อนเลือดมีขนาดไม่ใหญ่แพทย์มักรักษาโดยเฝ้าดูอาการ ควบคุมความดันและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆไม่ให้เลือดออกซ้ำหรือสมองบวม ถ้าก้อนเลือดมีขนากใหญ่หรือมีอาการความดันในกะโหลกศีรษะสูงอาจจำเป็นต้องผ่าตัด การผ่าตัดส่วนมากเป็นการช่วยเหลือชีวิตหรือลดความดันในกะโหลกศีรษะ ไม่ว่ารักษาโดยการผ่าตัดหรือไม่ผ่าตัด ผู้ป่วยมักมีความพิการหลงเหลืออยู่มากหรือน้อยขึ้นกับตำแหน่งและขนาดของก้อนเลือด วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันโดยไม่ให้ความดันสูงและลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆเช่น เบาหวาน ไขมันสูง การดื่มเหล้า

  9. pornprawee says:

    อาจารย์คะ อยากทราบว่าความเครียดก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองใช่ไหมค่ะ
    พรประวีณ์ 520594

  10. อาจารย์ค่ะ ถ้าหากว่าเรามีภาวะ stress บ่อยๆ และบางครั้งมีอาการชาตามปลายแขนและมือซีกใดซีกหนึ่ง มีโอกาสเป็น stroke ไหมค่ะ

  11. 520558sutineepunjinda says:

    อาจารย์ค่ะการทำในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะที่ต้องรับการตรวจเพิ่มเติม มักเริ่มด้วยการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองชนิดไม่ฉีดสี (Non-contrast CT scan)หรือCT brain without contrast
    จะเพียงพอในการวินิจฉัยโรคที่รุนแรงใช่ใหม่ค่ะ
    และถ้าเราสงสัยสงสัยพยาธิสภาพในสมองขนาดเล็ก เช่น เนื้องอกในสมองขนาดเล็ก หรือ toxoplasmosis ถ้าทำการการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองชนิด ที่ฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดร่วมด้วยจะเป็นการช่วยให้เห็นรายละเอียดได้อย่างชัดเจนมากขึ้นใช่ไหมค่ะ

  12. อาจารย์ค๊ะ caseที่่่หนูเจอคือผู้ป่วยอายุ35ปีเค้ามีภาวะhypokalemia(ขาดยา)และหมอdiagnosisว่าเป็นLacunar infarctionหนูอยากทราบว่าภาวะhypokalemiaเป็นสาเหตุทำให้เกิดLacunar infarctionได้ใช่ไหมค๊ะ

  13. อาจารย์ค่ะถ้าปวดหัวทุกวันแล้วระยะเวลาในการปวดนานหลายชั่วโมงแล้วก็มีอาการเบลอๆ บางครั้งปวดจนทนไม่ไหวและเป็นทุกวันในเวลาเดียวกันทานยาก็ไม่หายค่ะจะเป็นอะไรไหมค่ะอาจารย์(510426)

    • laddawanld says:

      ต้องดูปัจจัยอื่น ๆ ประกอบค่ะ เช่นมีภาวะเครียดร่วมด้วยหรือไม่

      • มีภาวะเครียดร่วมด้วยเป็นบางครั้งค่ะอาจารย์ แล้วจะเป็นอะไรมากไหมค่ะอาจารย์

  14. อาจารย์คะ ถ้าผู้สูงอายุ มีประวัติ MI และทำ balloon เมื่อหลายปีมาแล้ว มีอาการเวียนศรีษะ หน้ามืด เป็นลม และขณะหมดสติมีอาการตาเหลือก อยากทราบว่าผู้ป่วยรายนี้จะมีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดสมองหรือไม่คะ แล้วถ้ามีจะมีอันตรายมากน้อยแค่ไหน มีความจะเป็นต้อนทำ CT scan หรือไม่คะอาจารย์ by พรพิมล 520709

    • laddawanld says:

      ในการทำ balloon ถ้าปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง ก็อาจเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบได้ค่ะ อาการเวียนศรีษะ หน้ามืด เป็นลม และขณะหมดสติมีอาการตาเหลือก เป็นอาการที่บ่งบอกถึงภาวะพร่องออกซิเจนของเนื้อเยื่อสมอง ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้ง สมองและหัวใจค่ะ

  15. 520883 ปริมล แซ่เชอ
    อาจารย์คะ เราจะทราบได้อย่างไรคะว่าสมองมีภาวะ Ischemic strok และเลือดที่ไปเลี้ยงสมองปริมาณมากน้อยเท่าไรจึงจะบ่งบอกได้ว่าเกิดภาวะดังกล่าว

  16. อาจารย์คะถ้าผู้ป่วยเป็น stroke ในตำแหน่งที่ลึกไม่สามารถผ่าตัดเอาก้อนเลือดออกได้ ถ้าให้ยาละลายลิ่มเลือด และการทำกายภาพบำบัดร่วมด้วยผู้ป่วยจะมีโอกาสกลับเป็นปกติหรือไม่คะอาจารย์ by มรกต 520724

    • laddawanld says:

      ผู้ป่วยมีการเลือดอยู่แล้ว ไม่สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ค่ะ และการทำกายภาพไม่ช่วยผู้ป่วยในกรณีนี้ค่ะ

  17. อาจารย์คะถ้าผู้ป่วย stroke ได้รับการทำ CT scan แล้วเห็นตำแหน่งการเป็นไม่ชัด จำเป็นต้องทำการตรวจเพิ่มเติมด้วยการทำ CT brain with contrast หรือ MRI เพิ่มเติมใช่หรือไม่คะ by มรกต 520724

  18. อาจารย์ค่ะ เพระเหตุผลอะไรคะ ที่ผู้ป่วยโรค stroke จึงงอแขนงอขาเข้าหากลางลำตัว เมื่อเหยียดออกแล้วก็ยังกลับเข้าเหมือนเดิม ไม่ทราบว่ามี่สวนเกี่ยวกับโรคหรือเปล่าคะ รึว่าอาจเป็นเพราะความผิดปกติอื่นๆของร่างกาย พอดีว่าหนูได้เครส stroke อะคะ แล้วสงสัยเพราะเจอมาสามรายก็เป็นแบบเดียวกกันหมดเลยอะค่ะ………………ขอบคุณค่ะ^^
    Rattiporn Soithong 520193

  19. Rattiporn Soithong 520193 says:

    อาจารย์ค่ะ เพระเหตุผลอะไรคะ ที่ผู้ป่วยโรค stroke จึงงอแขนงอขาเข้าหากลางลำตัว เมื่อเหยียดออกแล้วก็ยังกลับเข้าเหมือนเดิม ไม่ทราบว่ามี่สวนเกี่ยวกับโรคหรือเปล่าคะ รึว่าอาจเป็นเพราะความผิดปกติอื่นๆของร่างกาย พอดีว่าหนูได้เครส stroke อะคะ แล้วสงสัยเพราะเจอมาสามรายก็เป็นแบบเดียวกกันหมดเลยอะค่ะ………………ขอบคุณค่ะ^^
    Rattiporn Soithong 520193

  20. อาจารย์ค่ะพี่สาวหนูเขาบอกว่าเขาปวดหัวค่ะแล้วเวลาปวดมักจะมีอาการปวดร้าวมาที่โพรงไซนัสค่ะร่วมกับมีอาการตาพร่ามัวค่ะเป็นมาเกือบปีแล้วค่ะไปเอ็กซเรย์แล้วแต่หมอให้แค่ยามาทานค่ะอาการไม่ดีขึ้้นเลยค่ะยังเป็นอยู่เหมือนเดิมแม่เลยบอกว่าจะลองเปลี่ยนหมอดูหนูอยากทราบว่าอาการแบบนี้เกิดจากอะไรค่ะ

  21. อาจารย์ค๊ะพอดีหนูได้คนดูแลคนไข้ มาด้วยอาการชัก ไม่รู้สึกตัว 30 นาทีก่อนมา รพ ประวัติเดิมเป็น DM,HT อาการก่อนจะมารพ 1 สัปดาห์ ตาพร่ามัว มึนๆงง ผู้ป่วยอายุ 66 ปี มารพ แพทย์ DX.Cerebral infarction ผล CT scan =low attenuation of periventricular white matter of bilateral parietal lobe probaby infarction. อาจารย์ค่ะอาการของผู้ป่วยรายนี้จะเสี่ยงต่อการเป็นอัมภาตได้เร็วขึ้นไหมค่ะ จากพยาธิสภาพของโรค ที่เป็นจะส่งผลให้เป็นอัมพาตเร็วได้มั๊ยค่ะ

    • laddawanld says:

      ผู้ป่วยที่มีอาการชัก ถ้านานจะทำให้สมองขาดออกซิเจน ทำให้ไม่รู้สึกตัว และสมองเกิด infarction ได้ค่ะ การเกิดอัมพาตที่ส่วนใดนั้น ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็นค่ะ

  22. phankhetkit says:

    อาจารย์คะ ถ้าหากคนที่ออกกำลังกายทุกๆวันแต่ยังรับประทานอาหารจำพวกที่มีไขมันและโคเลสเตอรอลอยู่เป็นประจำแต่ไม่มีประวัติโรคความดันโลหิตสูงอยากทราบว่ามีโอกาสเสี่ยงมากหรือปล่าวคะที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

  23. wannawatt says:

    อาจารย์คะ ถ้าหากคนที่ออกกำลังกายทุกๆวันแต่ยังรับประทานอาหารจำพวกที่มีไขมันและโคเลสเตอรอลอยู่เป็นประจำแต่ไม่มีประวัติโรคความดันโลหิตสูงอยากทราบว่ามีโอกาสเสี่ยงมากหรือปล่าวคะที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
    พรทิวา 520599

    • wannawatt says:

      อยากทราบว่าที่เพื่อนถามมาข้างต้นถ้าคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกายแต่รับประทานอาหารจำพวกไขมันในปริมาณปกติที่ในแต่ละวันควรจะได้รับและไม่มีประวัติโรคความดันโลหิตสูง อยากทราบการที่คนเราไม่ออกกำลังกายมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือป่าวคะ
      วรรณวรรธก์ 520314

      • ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหลอดเลือด หัวใจตีบตัน และยังอาจเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย ดังนั้น การรับประทานอาหารที่ไม่มีไขมันมากเกินไป หรืออาจต้องรับประทานยาลดไขมัน ร่วมด้วยตามที่แพทย์แนะนำจะช่วยลดความเสี่ยงต่อ โรคเส้นเลือดหัวใจ ตีบตัน และอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย

  24. อาจารย์ค่ะที่บอกว่าผู้ป่วยที่มีอายุยังน้อยก็สามารถเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ถ้ามีปัจจัยร่วมด้วย หนูอยากทราบว่าปัจจัยร่วมที่ว่ามีอะไรบ้างค่ะช่วยยกตัวอย่างหน่อยได้มั้ยค่ะ
    จิตติภรณ์ อาจนิยม 520122

    • ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ดังนี้
      1. ความดันโลหิตสูง ภาวะความดันโลหิตสูงทำให้หลอดเลือดเสื่อม เนื่องจากแรงดันเลือด ที่ออกมาจากหัวใจมีแรงดันสูงขึ้น ทำให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมเร็ว ขาดความยืดหยุ่น และแตกเปราะง่าย พบว่ากว่า 35 – 73% ของผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง มีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
      2. เบาหวาน เป็นปัจจัยสำคัญรองมาจากภาวะความดันโลหิตสูง
      3. ความอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก มีโอกาสเป็นเบาหวาน และความดันโลหิตสูง หรืออาจเป็นไปได้ทั้ง 2 อย่าง
      4. ไขมันในเลือดสูง ทำให้ผนังเส้นเลือดแดง ไม่ยืดหยุ่น เกิดการตีบตันง่าย เลือดจึงไหลผ่านไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้น้อย ถ้าเกิดกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง จะทำให้สมองขาดเลือดและเป็นอัมพาตในที่สุด
      5. การสูบบุหรี่และดื่มสุรา การดื่มสุราจะทำให้หลอดเลือดเปราะ หรือเลือดออกง่ายเช่นเดียวกับผู้ที่สูบบุหรี่จะพบว่ามีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
      6. ความเข้มข้นของเลือด ถ้ามีฮีโมโกลบินสูงกว่าปกติ ก็มีโอกาสเกิดโรคได้
      7. โรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจวาย โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ
      8. ยาต่างๆ เช่น สตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดร่วมกับเป็นความดันโลหิตสูง

      9. อายุที่มากขึ้น จะมีความสัมพันธ์ต่อการเสื่อมของหลอดเลือด

  25. 520558sutineepunjinda says:

    อาจารย์ค่ะผู้ป่วยสูงอายุและที่เป็นความดันโลหิตสูงขาดยารักษาความดัน มาประมาณสามเดือน เกิดมีอาการแขนขาอ่อนแรง พูดไม่ได้ ปวดศรีษะรุนแรงคล้ายไมเกรน คลื้นไส้ อาเจียนเป็นลมหมดสติ แล้วรักษาด้วยการผ่าตัด craniotomy with remove clotซึ่งเป็นโรค intracerebral hemorrhage คือหลอดเลือดในสมองแตกทำให้เลือดออกในสมอง ปัจจุบันผู้ปว่ย มี E4V1M5 ป่วยกับผู้ป่วยรู้เรื่องทำตามอาการดีขึ้นเรื่อยๆๆ อาจารย์ค่ะผู้ป่วยจะสามารถกับมาเป็นปกตได้เหมือนเดิมไหมค่ะ

  26. ying801 says:

    อาจารย์ค่ะผู้ป่วยอายุ 84 ปี เขามีอาการอัมพาตข้างซ้าย แต่ข้างขวาทำงานได้ปกติ และก็มีอาการพูดไม่ค่อยชัด เวลาพูดจะเป็นเหมือนลิ้นแข็งๆ ถ้าโมโหถึงจะพูดได้ชัดเจนค่ะ แต่เขาไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน ไม่มีภาวะที่มีไขมันสูงในหลอดเลือด และไม่มีโรคความดันโลหิตสูง อาจารย์ค่ะแล้วอาการข้างต้นเป็นอาการที่เิกิดจากโรค stroke รึเปล่าค่ะ และสาเหตุที่เป็นโรค stroke นอกจากอายุ และความเครียดแล้ว น่าจะมาจากสาเหตุใดได้อีกค่ะถ้าผู้ป่วยไม่ได้เป็นไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน ไม่มีภาวะที่มีไขมันสูงในหลอดเลือด และไม่มีโรคความดันโลหิตสูง ค่ะ
    by สุดารัตน์ 520801

  27. 510602lalita says:

    อาจารย์ค่ะ หนูอยากทราบว่าถ้าเราเครียดทุกวันเพราะอ่านหนังสือไม่ทัน ต้องนอนดึกทุกวัน และมีพฤติกรรมไม่ออกกำลังกาย ชอบกินขนม มีพฤติกรรมแบบนี้อยู่เป็นหลายปี จะมีโอกาสที่จะเกิดโรคหลอดเลือดในสมองไหมค่ะ

    • ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
      1. ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้
      อายุ
      โอกาสเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุ และเมื่ออายุ 55 ปีขึ้นไป มีโอกาสเกิดเป็น 2 เท่า
      เพศ
      ผู้ชายมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง แต่อัตราการเสียชีวิตผู้หญิงจะมากกว่าผู้ชาย
      เชื้อชาติ
      คนทางแถบเอเชียจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าทางแถบยุโรป
      ประวัติครอบครัว
      หากคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมองก็มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้น
      เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาแล้ว
      มีโอกาสที่จะเกิดซ้ำได้ 25-40% ภายใน 5 ปี

      2. ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้
      2.1 โรคความดันโลหิตสูง
      ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีโอกาสเกิดโรคอัมพาตเพิ่มขึ้น 7 เท่า
      ความดันโลหิตที่วัดได้ (mm Hg)*
      2.2 โรคเบาหวาน
      ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100-125 มิลิกรัม% มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน
      ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 126 มิลิกรัม% ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน
      ผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นเวลานาน ๆ โดยมิได้ทำการรักษา ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ง่าย
      2.3 โรคหัวใจ
      โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่เกิดจากหัวใจห้องบนที่เรียกว่า atrial fibrillation (AF) อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดเล็กๆ ขึ้นภายในหัวใจ ซึ่งลิ่มเลือดเล็กๆ เหล่านี้อาจหลุดลอยไปอุดหลอดเลือดเลี้ยงสมองและเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้
      2.4 โรคไขมันในเลือดสูง

      2.5 ปัจจัยอื่นๆ
      – การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
      – สูบบุหรี่
      – ความเครียด
      – ความอ้วน
      – ขาดการออกกำลังกาย

  28. อาจารย์ค่ะ หนูอยากทราบว่ายายของหนูเป็นโรคเบาหวาน ไขมัน ความดันโลหิตสูง และหัวใจโต จะมีโอกาสเกิด cerebrovascular accident ได้ไหมค่ะ ขอบคุณค่ะ
    นางสาว วชิราภรณ์ ผุดแย้ม 510616

    • ying801 says:

      มีโอกาสเป็นได้ค่ะ
      อายุที่มากขึ้นถือเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้ที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่ปัจจัยเสี่ยงที่เราสามารถควบคุมได้ยังมีอีกหลายอย่าง ซึ่งถ้าเราคุมได้ดีก็จะสามารถลดโอกาสการเกิดอัมพฤกษ์อัมพาตได้มากแม้จะไม่100% ก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวได้แก่
      ความดันโลหิตสูง
      เบาหวาน
      ไขมันในเลือดสูง
      การสูบบุหรี่
      โรคหัวใจบางชนิด เป็นต้น

      by สุดารัตน์ แดนพันธ์ 520801

  29. อาจารย์ค่ะ ต่อจากอันแรก ถ้าเกิดมีโอกาสเกิดควรจะต้องมีการป้องกันหรือเฝ้าระวังอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดได้ค่ะ
    ขอบคุณค่ะ
    นางสาว วชิราภรณ์ ผุดแย้ม 510616

    • ying801 says:

      การป้องกัน
      อาจกระทำได้โดย
      1. งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ และอาหารที่มีไขมันมาก, ลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน), และ
      หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อป้องกันมิให้หลอดเลือดแข็งตัวเร็ว
      2. หมั่นตรวจเช็กความดันเลือดเป็นประจำ
      3. ตรวจเช็กไขมันในเลือด ถ้ามีภาวะไขมันในเลือดสูง ควรหาทางควบคุมให้
      เป็นปกติ
      4. ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน ควรรักษาเป็นประจำอย่าได้ขาด
      เพราะเมื่อควบคุมโรคเหล่านี้ได้ ก็จะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัมพาต
      5. ถ้าเคยมีอาการอัมพาตชั่วคราวจากสมองขาดเลือดชั่วขณะ (ทีไอเอ) ควรรีบ
      ปรึกษาแพทย์ และกินยาแอสไพริน (หรือยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด)ตาม
      แพทย์สั่งเป็นประจำอย่าได้ขาดค่ะ

      by สุดารัตน์ แดนพันธ์ 520801

  30. อาจารย์ค่ะ เป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตมา10ปี รักษาต่อเนื่องไม่เคยขาดยา และถ้าความดันโลหิตสูงมีผลอะไรบ้างกับหลอดเลือด และมีวิธีการตรวจอย่างไรค่ะ

  31. 520558sutineepunjinda says:

    ถ้าผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคความดันโลหิตสูง ถ้าเกิดขาดยาหรือลืมรับประทามยาอาจทำให้เกิดstrokeใช่ไหมค่ะ และยิ่งมีcolasteralสูงยิ่งมีปัจจัยส่งเสริมใช่ไหมค่ะ

  32. 510602lalita says:

    อาจารย์ค่ะ ลุง หนู เป็นคนอารมณ์เสียง่าย เวลาอารมณ์เสียจะโกรธฉุนเฉียวกับคนในครอบครัวแล้วมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน กับความดันโลหิตสูง ต้องรับประทานยาเป็นประจำ คือกินยาตลอดเลยค่ะ เป็นคนที่ชอบทานของหวานเช่น แตงโม ทุเรียน เมื่ออมีใครเตือนก็ไม่ค่อยฟังเลยค่ะ ลุงจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลืดในสมองไหมค่ะ
    นางสาว ลลิตา ยุระไชย 510602

  33. อาจารย์ค่ะ โรคหลอดเลือดสมองอุดตันนี้ทำให้เกิดอัมพาตได้อย่างไรค่ะ

  34. โรคหลอดเลือดสมองเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงในสมอง กล่าวคืออาจมีการแตก ตีบหรือตันของหลอดเลือดเหล่านี้ ทำให้เนื้อสมองบางส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายตายไปและหยุดสั่งงาน จึงทำให้เกิดอาการอัมพาตของร่างกายส่วนนั้นๆขึ้นค่ะ
    By : อิศราภรณ์ 520555

  35. 510536luknum says:

    อาจารย์ค่ะตื่นเช้ามามีอาการปวดศีรษะข้างเดียวปวดบริเวณหน้าผาก กกหู จนถึงท้ายทอย อาการนี้บ่งบอกถึงอาการเป็นไมเกรนได้หรือปล่าวค่ะ

  36. ying801 says:

    อาจารย์ค่ะ เวลานั่งหนูชอบมีอาการชาตามปลายมือปลายเท้า และวันไหนที่มีงานเยอะๆหนูก็จะเครียดและจะปวดศรีษะมาก บางทีมีอาการอาเจียนด้วยค่ะ แล้วอย่างนี้หนูมีโอกาศเป็นโรค Stroke มากรึเปล่าค่ะ
    by สุดารัตน์ รหัส 520801

  37. โรคหลอดเลือดสมอง ที่เกิกจาก เส้นเลือดสมองแตก เส้นเลือดตีบ หรือก้อนเลือดอุดตัน
    มี อาการ และ อาการแสดงที่ต่างกันยังไงค่ะ
    และสาเหตุที่สำคัญของแต่ละอันคืออะไรค่ะ
    น.ส.นาลินทิพย์ โสระธิวา 510393

    •  สาเหตุ
      Cerebral thrombosis
      เนื่องจากหลอดเลือดตีบลง อาจเกิดจากหลายสาเหตุเช่น เส้นเลือดอักเสบหรือผนังเส้นเลือดที่หนาตัว ที่มักเป็นในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันสูง ไขมันสูง
      Cerebral embolism
      เกิดจากก้อนเล็กๆที่เรียก emboli ส่วนใหญ่เป็นก้อน blood clot จากหัวใจหรือเส้นเลือดใหญ่ที่ถูกบีบให้ล่องลอย ขึ้นไปตามหลอดเลือดสู่สมองผ่าน carotid artery และไปอุดหลอดเลือดไว้ในที่สุด emboli จากหัวใจมักเกิดจากการที่หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ลิ้นหัวใจรั่วทำให้เกิดลิ่มเลือด เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ การใส่ลิ้นหัวใจเทียม กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือเกิดจากเส้นเลือดที่เป็นแผล Hemorrhagic strok
      Hemorrhagic stroke คือภาวะเลือดออกในสมอง
         Intracerebral Hemorrhage มีเลือดออกในสมองเกิดจากเส้นเลือดแตก
         Subarrachnoid hemorrhage (เกิดเมื่อเส้นเลือดที่ผิวเยื่อหุ้มสมองแตก และมีเลือดออกในช่องว่างระหว่างสมองกับกระโหลก (ปริมล 520883)

  38. 510602lalita says:

    อาจารย์ค่ะ การป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้ที่เคยเป็นจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้างค่ะ
    และถ้าเกิดเคยเป็นโรคหลอดสมองแล้วและหายแล้วจะมีโอกาสกลับมาเป็นได้อีกไหมค่ะ
    นางสาว ลลิตา ยุระไชย 510602

    • การป้องกัน โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ที่ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

      งดสูบบุหรี่

      ควบคุมอาหาร อย่าให้น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน

      ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

      ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

      ถ้าเป็นเบาหวาน ควรรักษาระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

      หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

      ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรดูแลความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

      หากมีอาการผิดปกติ เช่น แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดลำบาก เวียนศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

      ควรตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ เพื่อตรวจหาความเสี่ยง เพราะอาจเกิดลิ่มเลือดในหัวใจหลุดเข้าไปอุดตันในหลอดเลือดสมองได้

      การจะทราบว่าผู้ป่วยที่มาพบแพทย์เป็น โรคหลอดเลือดสมอง หรือไม่ เป็นที่จุดใด มีความรุนแรงเพียงใดนั้น ควรทำการตรวจโดยเครื่องมือทางการแพทย์ ที่ให้ผลละเอียดและมีความแม่นยำสูง เพื่อประกอบการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งมีหลายวิธี อาทิ การตรวจสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (CT Scan) การตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI และ MRA) การตรวจการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดในสมอง (Transcranial Doppler : TCD) และการตรวจหลอดเลือดคอ เป็นต้น ซึ่งผลที่ได้มีความละเอียดแม่นยำมากพอ ที่จะช่วยทำให้แพทย์วางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      การรักษา โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน

      สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญช่วยให้เกิดความสำเร็จในการรักษา โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน คือ การทำให้เซลล์ของสมองยังอยู่รอดให้ได้นานที่สุด ถ้าเราสามารถทำให้เลือดไหลเวียนได้ทันเวลาและในระดับที่เพียงพอ ก็สามารถทำให้เนื้อสมองบริเวณนั้นฟื้นตัวได้เร็ว ส่งผลให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติได้ ซึ่งการรักษานี้จะต้องทำภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อให้ยาละลายลิ่มเลือด (Thrombolysis) การให้ยานี้ผู้ป่วยควรอยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านสมองเท่านั้น หลังจากให้ยาแล้วผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ควรอยู่ในโรงพยาบาล 2-3 วัน เพื่อดูอาการต่อไป หากเกิน 3 ชั่วโมงแล้ว ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาในหอผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง เพื่อทำการรักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสมต่อผู้ป่วยมากที่สุด เช่น

      รักษาโดยการให้ยาบางประเภท เพื่อให้เซลล์สมองเสียน้อยที่สุด โดยระยะแรกๆ ควรจะดูแลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน อย่างใกล้ชิด เพื่อสังเกตอาการแทรกซ้อน บำบัดรักษาโรคอื่นๆ ของผู้ป่วย เช่น โรคเบาหวาน ความดันสูง โรคไต ปอดบวม กลืนลำบาก เป็นต้น

      ใช้กายภาพบำบัดในรายที่เป็นอัมพาต ไม่ว่าจะเป็นการฝึกนั่ง ยืน เดิน การฝึกกลืน ฯลฯ

      ในรายที่ซึมเศร้า เป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคอัมพาต มักจะให้การรักษาโดยใช้จิตบำบัดร่วมด้วย

  39. 520827kongsak says:

    อาจารย์ครับผมมีเรื่องจะถามอาจารย์ครับคือคุณแม่ของผมมีประวัติเป็นhypertension และมีอาการปวดศีรษะและแน่นหน้าอกอยู่บ่อยๆครั้ง เสี่ยงต่อการเกิดstrokes ไหมครับและต้องระวังเรื่องอะไรเป็นพิเศษไหมครับ
    ( แม่ผมอายุ46 ปี น้ำหนัก69 สูง 156 ไม่ออกกำลังกายเพราะจะเหนื่อยและ BP สูงทุกครั้งที่ออกกำลังกาย กินยาต่อเนื่องไม่เคยขาดเลยครับ)

  40. ถ้าเกิดผูป่วยอายุ 34 ปี เป็นโรคความดันโลหิตสูง และเวลาก้มมักจะมีอาการมึนศีษะ จะมีโอการเป็นstrokes ได้รึป่าวค่ะอาจารย์

  41. การให้ยาลดความดันโลหิต ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke)สามารถให้ได้ไหมค่ะ

    • ไม่ควรให้ค่ะ การให้ยาลดความดันโลหิต ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke) (ประมาณ 2 สัปดาห์แรกหลังจากเกิดอาการ) แม้ว่าจะมีความดันโลหิตสูง ก็ไม่ควรให้ยาลดความดันโลหิต ซึ่งเป็นภาวะ Compensation ของร่างกาย และการให้ยาลดความดันโลหิตจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี (แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สำหรับแพทย์ ) ยกเว้น มีข้อบ่งชี้เฉพาะ เช่นความดันซิสโตล่า > 220 mmHg. ความดันไดแอสโตล่า >120mmHg.,acute myocardial infarction , aortic dissection , acute renal failure , hypertensive encephalopathy ในกรณีจำเป็นต้องให้ยาลดความดันโลหิต ไม่ควรใช้ Nifedipine sublingual เนื่องจากความดันโลหิตอาจลดลงอย่างมาก และมีผลให้สมองขาดเลือดมากยิ่งขึ้น

  42. ดาริกา จงใจสิทธิ์ 520070

  43. sarinya500558 says:

    รักษาโดยการผ่าตัดทำVenticulostomy ต้องระวังเวลาวัดระดับของการวางขวดระบายน้ำออกจากศีรษะ วัดจากระดับรูหูของผู้ป่วยซึ่งต้องแม่นมากๆ ให้นอนศีรษะสูง30องศา เพื่อลดความดันสมอง และให้ปอดขยายตัวดี

  44. 510602lalita says:

    อาจารย์ค่ะ การรักษาโรคหลอดเลือดสมองชนิดที่ขาดเลือดเฉียบพลันหลัง 3 ชั่วโมงแรกตั้งแต่เริ่มมีอาการจะมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้างค่ะ

    • การรักษาโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน (AIS) ในระยะ 3 ชั่วโมงแรก ต้องมาถึงโรงพยาบาลก่อน 2 ชั่วโมง ตั้งแต่เริ่มมีอาการ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ เนื้อสมองที่ขาดเลือดยังไม่ตายทั้งหมด แพทย์จะใช้ยาละลายลิ่มเลือด (Thrombolytic drug) ที่อุดตัน เพื่อหวังว่า เมื่อก้อนเลือดละลายแล้ว เลือดจะกลับมาเลี้ยงสมองบางส่วนที่ยังไม่ตาย และสมองฟื้นกลับมาได้

      • angel an says:

        แต่ถ้าถึง รพ. ในครึ่ง ชม แต่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ร่างกายไม่ตอบสนอง ผลเอ็กซเรย์สมองขาดเลือดมาก ผู้ป่วยมีสิทธิ์ฟื้นกลับมาเป็นปกติมั้ยคะ ขอบคุณคะ

  45. อาจรย์ค่ะ ผู้ป่วยอายุ60ปี สุภาพร่างกายแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัว ตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ อยู่ๆๆก็อ่อนเพลียไม่มีแรงชาตามปลายมือปลายเท้า ต่อมาเริ่มชาที่ชีกญซ้ายหน้าและขาไปพบแพทย์ แพทย์บอกว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง อาจารย์ค่ะทำไมผู้ป่วยคนนี้ถึงเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ค่ะ

    • ying801 says:

      สาเหตุของผู้ป่วยรายนี้อาจเกิดจาก
      – ความเครียด
      -อายุมากขึ้น
      -การสูบบุหรี่
      – ความอ้วน การดื่มสุรามากๆ ขาดการออกกำลังกายได้เช่นกันค่ะ
      by สุดารัตน์ แดนพันธ์ 520801

  46. อาจารย์คะ ผู้ป่วยเคยมีประวัติเป็นHypertensionแต่รับประทานยาไม่ต่อเนื่อง ตอนนี้แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีภาวะFacial palsy ข้างขวาร่วมด้วย แขนขาทั้งสองข้างอ่อนแรงmotor power =4 ยังรับประทานอาหารทางปากเองได้แต่ค่อยข้างน้อยประมาณ 8-12คำเพราะปากเบี้ยวค่อนข้างเคี้ยวและกลืนลำบาก ตอนนี้ผู้ป่วยกำลังทำกายภาพบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและแขนขา ร่วมกับรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง หนูอยากทราบว่า ถ้าผู้ป่วยรายนี้ทำกายภายบำบัดอย่างสม่ำเสมอและรับประทานยาอย่างต่อเนื่องจะมีโอกาสหายเป็นปกติไหมคะูู^^!
    เบญจาวรรณ 520845

  47. manee520 says:

    อาจารย์ค่ะ หนูเป็นคนที่เครียดง่าย ปวดหัวอยู่บ่อยๆ จะมีโอกาศเป็นโรคหลอดเลือดทางสองได้มั้ยค่ะ

  48. manee520 says:

    อาจารย์ค่ะ หนูเป็นคนที่เครียดง่าย ปวดหัวอยู่บ่อยๆ จะมีโอกาศเป็นโรคหลอดเลือดทางสองได้มั้ยค่ะ
    นางสาว มณีรัตน์ ธารมรรค รหัส 520222

  49. อาจารย์คะ
    ถ้าเราพบเห็นผู้ที่มีอาการอ่อนแรง หรือมีอาการชาของแขนขาซีกใดซีกหนึ่ง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด เวียนศีรษะอย่างรุนแรง เดินเซ เสียการทรงตัว ถ้ามีอาการดังกล่าว ไม่เกิน 3 ชั่วโมง ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพราะปัจจุบันมีการรักษาด้วยการให้ยาลายลิ่มเลือด ซึ่งยานี้จะสามารถให้ได้ในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบไม่เกิน 3 ชั่วโมง และไม่มีข้อห้าม
    – แล้วทำไมยาละลายลิ่มเลือดถึงสามารถให้ได้เฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบไม่เกิน 3 ชั่วโมงคะ ?

    • การรักษาโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน (AIS) ในระยะ 3 ชั่วโมงแรก ต้องมาถึงโรงพยาบาลก่อน 2 ชั่วโมง ตั้งแต่เริ่มมีอาการ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ เนื้อสมองที่ขาดเลือดยังไม่ตายทั้งหมด แพทย์จะใช้ยาละลายลิ่มเลือด (Thrombolytic drug) ที่อุดตัน เพื่อหวังว่า เมื่อก้อนเลือดละลายแล้ว เลือดจะกลับมาเลี้ยงสมองบางส่วนที่ยังไม่ตาย และสมองฟื้นกลับมาได้

  50. 520558sutineepunjinda says:

    วันนี้อาจารย์ให้มาดูอาการที่คล้าย stroke แต่ไม่ใช่ คือ มาด้วยน้ำลายฟูมปาก ไม่รู้สึกตัว คือมีภาวะhypoglycemia มาด้วยมีไข้สูง แล้ว ชักมาก่อนหน้ามารพ มีเนื้องอกในสมอง บาดเจ็บที่ศรีษะมา ปวดหัว การติดเชื้อจากบริเวณอื่นมา มีเลือดออกในสมอง มีการพร่องการเผาพลาญในร่างกาย

    สิ่งที่ต้องประเมินเมื่อมาเหมือนอาการ stroke 1 วัดความดันโลหิต 2 ให้ IV 0.9 nss 3. เจาะblood sugar เพื่อประเมินภาวะ hyper -hypo ใช้ไหมค่ะอาจารย์

  51. Ammiie Chill says:

    อาจารย์ค่ะโรคหลอดเลือดในสมองมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำอีกได้หรือไม่ค่ะ???

    นางสาว อรุณี พรมสีแก้ว รหัส 510352

  52. อาจารย์ค่ะ…ถ้าเราจะประเมินผู้ป่วยที่เป็น Acute Stroke ได้อย่างรวดเร็วเราจะสามารถประเมินอะไรได้บ้างค่ะ…และมีเลือดที่ไปเลี้ยงสมองปริมาณมากน้อยเท่าไหร่ค่ะถึงจะบอกได้ว่าผู้ป่วยมีภาวะ Ischemic stroke ค่ะ…By…น.ส. ญาณิศา ประทุม รหัส 520328

  53. Jubz Sk says:

    อาจารย์คะ ,, Cerebral amyloid angiopathy คือการรักษาแบบใด และมีผลอย่างไรต่อการทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิด Intracerebral hemorrhage ?
    น.ส.สาวิตรี กันกระโทก รหัส 520792

  54. Noo' Bee says:

    อาจารย์คะ การดำเนินโรคแบบ stepwise progression ในผู้ป่วย stroke เป็นการดำเนินโรคแบบใด ?
    นางสาว ภัทราวดี บุตรคุณ รหัส 520773

  55. Ammiie Chill says:

    อาจารย์ค่ะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อได้รับการผ่าตัดสมองแร้วจะสามารถมีโอกาสกลับคืนเป็นปกติได้อย่างมากที่สุดกี่เปอร์เซ็นต์ค่ะ และทำไมในการจัดท่าของผู้ป่วยจึงไม่ควรให้นอนงอเข่ามากกว่า90 องศาค่ะ

    นางสาว อรุณี พรมสีแก้ว รหัส 510352

  56. pattaraporn520840 says:

    อาจารย์ค่ะถ้าผู้ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงแต่ควบคุมได้ โอกาสที่จะเป็น stroke จะเท่ากันหรือต่างกันมากน้อยแค่ไหนกับผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงแบบควบคุมไม่ได้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

  57. 520558sutineepunjinda says:

    ที่อาจารย์ให้ไปดูมาเกียวกับลักษณะของผู้ป่วยที่อาจพิจารณาให้ยา rt-PA ได้
    อายุมากกว่า 18 ปี
    ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น ischemic stroke ที่ก่อให้ neurologic deficit อย่างชัดเจน
    เริ่มมีอาการมาน้อยกว่า 3 ชั่วโมงก่อนเริ่มรับยา
    ไม่ได้มีอาการทางระบบประสาทดีขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือ มีอาการเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย
    ผล CT scan ไม่ได้แสดงให้เห็นถึง multilobar infarction (hypodensity> 1/3 cerebral hemisphere)
    Systolic blood pressure ≤ 185 mmHg
    Diastolic blood pressure ≤ 110 mmHg
    ไม่พบภาวะเลือดออก อาการบอบช้ำรุนแรง หรือ กระดูกแตกหักขณะตรวจร่างกาย
    ไม่จำเป็นต้องใช้ยาทางหลอดเลือดดำเพื่อลดความดันเลือดลงมาให้อยู่ในช่วง ≤ 185/110 mmHg
    ไม่มีประวัติศีรษะได้รับบาดเจ็บอย่างแรง (head trauma) หรือเป็น stroke ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
    ไม่มีประวัติผ่าตัดใหญ่ (major surgery) ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
    ไม่มีประวัติเลือดออกภายในกระโหลกศีรษะ (intracranial hemorrhage)
    ไม่มีอาการใดที่ชี้ให้เห็นว่าอาจมีภาวะ subarachnoid hemorrhage
    ไม่มีประวัติเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือทางเดินปัสสาวะในช่วง 21 วันที่ผ่านมา
    ไม่มีประวัติได้รับการเจาะหลอดเลือดแดง ณ ตำแหน่งที่ไม่สามารถกดหยุดเลือดได้ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
    ค่า PT ≤15 วินาที หรือ INR ≤1.5 ถ้าได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่แล้ว
    ค่า PTT ต้องอยู่ในช่วงปกติ ถ้าผู้ป่วยได้รับยา unfractionated heparin ก่อนหน้านี้
    ค่า platelet count ≥ 100,000 /ml
    ค่า blood glucose ≥50 mg/dL
    ไม่มีอาการชักขณะเริ่มมีอาการของ strokeเพื่อนๆลองอ่านดูนะ

  58. sarida510715 says:

    อาจารย์ค่ะอยากสอบถามว่า คนที่เป็น stroke แล้วได้รับยา Warfarin ทำไมถึงต้องสังเกตดูภาวะเลือดออก(bleeding) ด้วยค่ะ แล้วทำไมห้ามใช้ในสตรีที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ ด้วยค่ะ

    • เพราะว่า ยา Warfarin มีอาการข้างเคียงที่พบบ่อย คือ ภาวะเลือดออก (bleeding)
      ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรใช้ เพราะเสี่ยงต่อการตกเลือดหรือแท้งได้ง่าย

  59. 510602lalita says:

    โรคหลอดเลือดสมอง
    โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของอาการอัมพาต พบมากในผู้มีอายุ 45 ปีขึ้นไป มีอาการและความรุนแรงแตกต่างกัน

    โรคหลอดเลือดสมองมี 2 กลุ่ม คือ
    1. โรคหลอดเลือดสมองแตกบได้ ร้อยละ 30
    2. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน พบได้ร้อยละ 70

    อาการของโรคหลอดเืลือดสมอง

    1. มีอาการอ่อนแรงหรือชาข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
    2. ตามัว หรือมองไม่เห็นทันทีทันใดโดยเฉพาะเป็นข้างเดียว
    3. ปวดศีรษะฉับพลันชนิดไม่เคยเป็นมาก่อน
    4. พูดตะกุกตะกัก ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด
    5. สับสน ถามตอบไม่เข้าใจ
    6. ชักเกร็ง หมดสติ หายใจไม่สม่ำเสมอ ถ้าช่วยไม่ัทันอาจเสียชีวิตได้

    ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง

    1. ความดันโลหิตสูง
    2. การสูบบุหรี่
    3. โรคเบาหวาน
    4. โรคหัวใจ
    5. ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง
    6. ปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุมากขึ้น
    7. ความเครียด ความอ้วน การดื่มสุรามากๆ ขาดการออกกำลังกาย

    การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

    1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    2. ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม อย่าให้อ้วน
    3. งดสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
    4. ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง ถ้าพบว่า มีปัจจัยเสี่ยงต้องรีบรักษา และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
    5. ในกรณีมีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้ว ต้องรักษาอย่างสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาเองเด็ดขาด
    6. ถ้าเป็นโรคหลอดเลือดในสมองอยู่แล้วจะมีโอกาสเป็นซ้ำได้มากกว่าคนปกติ และมีอาการมากกว่าเดิม เช่น กรณีเป็นโรคเลือดสมองตีบ หรือ อุดตันจะได้ยารับประทานพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ เช่น ยาแอสไพรินจะต้านการแข็งตัวของเลือด ซึ่งต้องรับประทานติด่อกันเป็นเวลานาน ไม่ควรหยุดยาเองเด็ดขาด

    การตรวจที่สำคัญในโรคหลอดเลือดสมอง

    1. การตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุต่างๆ
    2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
    3. การคอมพิวเตอร์สมอง (CT Scan)
    4. การฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือด (Angioqram)
    5. การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

    การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

    การรักษาขึ้นอยู่กับชนิด และความรุนแรงระยะเวลาที่มีอาการ ถ้ามีการรักษาเร็วเท่าใด ความพิการและอัตราการตายจะลดลงเท่านั้น
    1. การให้ยารับประทาน ในโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือ อุดตัน จะได้ยาแอสไพลินเพื่อต้านการแข็งตัวของเลือด และอาจมียาชนิดอื่นๆ เพื่อช่วยในการไหลเวียนเลือดในสมองได้ดีขึ้น
    2. ถ้าเป็นโรคหลอเลือดสมองแตก และมีก้อนเลือดคั่งในสมองแพทย์อาจทำการผ่าตัดนบางราย มีอาการรุนแรงมากแพทย์อาจรักษาเพื่อพยุงอาการเท่านั้น
    3. การรักษาเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยง ร่วมกัน เช่น รักษาโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง
    4. การทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูสภาพของกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง
    5. การรักษาโรคแทรกซ้อนที่มักจะเกิดในผู้ป่วยอัมพาตและนอนบนเตียงนานๆ คือ ปอดบวม

    ภาวะแทรกซ้อนที่พบในโรคหลอดเลือดสมอง

    1. ปอดบวมจากการนอนนานๆ และสำลักอาหาร
    2. ท้องผูก ซึ่งเกิดจากลำไส้ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว
    3. ข้อติดแข็ง จากไม่มีการเคลื่อนไหวข้อ
    4. แผลกดทับ จากการนอนทับท่าเดียวนานๆ
    5. แผลในกระเพาะอาหารจากภาวะเครียด หรือเกิดจากอาการข้างเคียงของยา แอสไพรินซึ่งมีฤทธิ์กัดกระเพาะอาหาร

    แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

    1. การกระตุ้นให้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เช่น เดิน ลุก นั่ง รับประทานอาหาร ขับถ่ายเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ป่วย และฟื้นฟูสภาพได้เร็วขึ้น ญาติควรให้กำลังใจผู้ป่วยให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
    2. จัดอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ตามโรคประจำตัวของแต่ละคน เช่น เบาหวาน อาหารไขมันน้อย ถ้ามีความดันโลหิตสูงควรให้อาหารจืด ถ้ามีท้องผูกควรให้ผัก ผลไม้มากๆ
    3. ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารเองไม่ได้มีอาการกลืนลำบาก ควรให้อาหารทางสายยางเพื่อป้องกันการสำลักอาหาร
    4. ในกรณีผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้แขนขาอ่อนแรงควรพลิก ตะแคง ตัวบ่อยๆ ทุก 2 ชั่วโมง และใช้ผ้านุ่มๆ รองใต้ปุ่มกระดูก หรือนอนที่นอนลม
    5. ผู้ป่วยมักจะนอนในช่วงกลางวััน ญาติควรจัดสถานที่ให้เหมาะสมไม่มีเสียงรบกวน
    6. ควรให้ผู้ป่วยได้ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ พูดคุยสนทนากับคนอื่นได้ ถ้ามีปัญหาเรื่องการสื่อสาร เช่น พูดไม่ชัด ฟังไม่เข้าใจ ญาติควรใจเย็นเพื่อช่วยเหลือ ให้ผู้ป่วยเข้าใจ อาจใช้วิธีเขียน การอ่าน รูปภาพ การใช้สื่อแทนคำพูด
    7. ผู้ป่วยอาจมีความหงุดหงิด ซึมเศร้า ท้อแท้ ญาติควรเข้าใจไม่แสดงความรำคาญ ควรปลอบโยนให้กำลังใจผู้ป่วย
    8. ถ้าผู้ป่วยอุจจาระ ปัสสาวะราด ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าทำความสะอาดอวัยวะเพศ เพื่อไม่ให้เปียกชื้น ควรดูแล ทำความสะอาดร่างกาย ปาก ฟัน อาบน้ำ สระผม แปรงฟัน บ้วนปาก ให้ผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถทำได้
    9. ถ้าผู้ป่วยใส่สายปัสสาวะคาไว้ ควรให้อยู่ต่ำกว่าระดับกระเพาะปัสสาวะ และทำความสะอาดปลายอวัยวะเพศ และสายสวนด้วยน้ำยาเซพลอน 1 : 100 วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นด้วย

  60. rattaya599 says:

    ถ้าตรวจพบว่าป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง จะมีโอกาสรอดไหม ค่ะ by รัตยา 510599

    • อาการบกพร่องบางอย่างอาจสามารถฟื้นฟูให้กลับมาดีหรือใกล้เคียงกับปกติได้ แต่อาการบางอย่างก็อาจจะเหลือติดตัวเป็นความบกพร่องพิการไปตลอดชีวิต ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของโรค ระยะเวลาที่เริ่มได้รับการรักษา ระยะเวลาที่เริ่มทำการบำบัดฟื้นฟู วิธีที่ทำการบำบัดฟื้นฟู และปัจจัยอื่นๆอีกมาก จึงพยากรณ์ได้ยากว่าผู้ป่วยแต่ละรายจะมีการฟื้นฟูอาการบกพร่องต่างๆ ได้มากน้อยเพียงใด

  61. อาจารย์คะ ,, Cerebral amyloid angiopathy คือการรักษาแบบใด และมีผลอย่างไรต่อการทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิด Intracerebral hemorrhage ?

  62. สิ่งแรกที่เราจะประเมินว่าผู้ป่วย
    เป็นโรคหลอดเลือดสมองคืออะไรค่ะ
    และการพยาบาลอันดับแรกที่ควรทำคืออะไรค่ะ

    • การใช้ยา r-tPA จะไม่ให้ในผู้ป่วยที่มี Glucose<50mg% เพราะผู้ป่วยมีภาวะhypoglycemia ไม่ใช่Storke เข้าใจถูกรึเปล่าค่ะอาจารย์ แล้วทำไมพวกที่มีความดันโลหิตสูงถึงไม่ให้ด้วย
      อยากรบกวนให้อาจารย์ส่งไพล์ภาษาไทยเร็วๆหน่อยได้ไหมค่ะเพราะที่มีให้อ่านเข้าใจบ้างแต่ไม่รู้ว่าเข้าถูกรึเป่า
      by 520052 น.ส รัชดา บัวตองพัฒนา

  63. 510602lalita says:

    อาการสำคัญที่น่าจดจำที่น่าจดจำของโรคหลอดเลือดสมอง
    มี 3 อาการที่สำคัญค่ะ 1. หน้าเบี้ยวหรือปากเบี้ยวFace
    2. แขนไม่มีแรงArm
    3. พูดไม่ชัดพูดอ้อแอ้ หรือพูดไม่ออกเลยSpeech
    อาการทุกข้อเกิดขึ้นทันที อย่างเฉียบพลัน
    เมื่อเกิดอาการใดอาการหนึ่งหรือเกิดหลายอาการในคนเดียวกันในคนเดียวกันต้องไม่รอช้าให้รีบไปโรงพยาบาลทันทีTime
    นำคำนำหน้ามาเรียงกันจะจำง่ายขึ้น FAST

  64. Mod Tanoi says:

    อาจารย์ค่ะทำไมผู้ป่วย stroke ถึงห้ามให้ IV ที่มีส่วนผสมของ Dextrose และการที่ลดความดัน

    510346 น.ส.วราภรณ์ ผัดผล

  65. อาจารย์ค่ะ โรคหลอดเลือดสมองจะมาด้วย อาการ ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง ซึม อาการเหล่านี้จะเกิดกับผู้ป่วยทุกคนไหมค่ะ

  66. siriphron says:

    อาจารย์คะ หนูเจออยู่ Case หนึ่ง
    คือ ผู้ป่วยกำลังจะไปหาหมอที่โรงพยาบาล อยู่ดีๆ ผู้ป่วยก็ล้มลง แสดงว่าผู้ป่วยมีอาการมีอาการของสมองขาดเลือดไหม คะ ตอนนี้ผู้ป่วยเป็นอัมพาต อ่อนแรงแขนขา ตามั่ว พูดลำบากหรือพูดไม่ได้หรือไม่เข้าใจคำพูด

    นางสาวสิริพร เข็มเมือง รหัส 520641

  67. siriphron says:

    อาจารย์ คะ สัญญาณอันตราย ของสมองขาดเลือดมีอะไรบ้างคะ

    • เมื่อสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง จะทำให้สมองได้รับอันตรายกล่าวคือ เมื่อเซลล์ของสมองขาดเลือดภายในไม่กี่นาที มันจะเริ่มตาย ผลที่เกิดขึ้น คือ เกิดภาวะที่เราทราบกันทั่วไป คือ เกิดอัมพาติขึ้นนั้นเอง ทำให้เกิดการสูญเสียความรู้สึก และมี อาการชา มองไม่เห็น มีปัญหาเรื่องการพูด ปัญหาเกี่ยวกับการเดิน และมีความคิดอ่านไม่ชัดเจน ในคนไข้พวกนี้ มีจำนวนไม่น้อย เมื่อมีอาการเกิดขึ้นแล้ว อาการที่ปรากฏไม่หายไปไหนโดยทั่วไปแล้ว โรคจากเส้นเลือดในสมองเกิดการอุดตัน พบได้สองชนิด คือ:Ischemic Stroke เกิดจากเส้นเลือดแดง ในสมองเกิดการอุดตันเพราะก้อนเลือด หรือเพราะเส้นเลือดแดง ตีบตัน ท าให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่เพียงพอ
      Hemorrhagic Stroke เกิดเพราะเส้นเลือดแดงในสมองเกิดแตก ท าให้เลือดไปเลี้ยงสมองถูกตัดขาดไป

  68. suttiruk520815 says:

    อาจารย์คะ ผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูงจะมีความเสี่ยงต่อสมองขาดเลือดมากน้อยแค่ไหน และถ้ารีบไปรักษา ต้องให้การพยาบาลใดเเป็นอันดับแรก
    นางสาวสุทธิ์ลักษณ์ ดำพันธ์ 520815

  69. Mod Tanoi says:

    อาจารย์ค่ะทำไมต้องให้ยา aspirin ภายใน 48 ชม.ในผู้ป่วยที่เป็น stroke ค่ะ

    น.ส.วราภรณ์ ผัดผล 510346

  70. สัญญาณอันตราย
    อาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้แก่ อาการอ่อนแรงครึ่งซีกของลำตัว โดยร่างกายซีกใดซีกหนึ่งจะขยับไม่ได้ หรือมีอาการอ่อนแรง หรือมีอาการชาครึ่งซีก ปากเบี้ยว พูดไม่ได้หรือพูดไม่ชัด มีปัญหาเรื่องการกลืนลำบาก เดินเซ มองเห็นภาพซ้อน นอกจากนั้นอาจจะมีอาการตาข้างใดข้างหนึ่งมองไม่เห็นในชั่วขณะหนึ่ง

    อาการของโรคหลอดเลือดสมองมีความพิเศษคือผู้ป่วยจะมีอาการเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันทันที โดย หากมีอาการที่คิดว่าเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง สิ่งแรกที่ควรปฏิบัติคือนำตัวผู้ป่วยมาพบแพทย์ทันที เพราะโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่ยิ่งรักษาเร็วก็จะยิ่งได้ผลดี ถึงแม้จะมียาที่สามารถรักษาได้ภายใน 4 ชั่วโมง 30 นาที (นับจากเวลาที่เกิดอาการจนถึงเวลาที่ให้ยา) แต่ยิ่งผู้ป่วยมาพบแพทย์และได้รับยาเร็วเท่าใด ก็จะยิ่งมีโอกาสหายเป็นปรกติมากขึ้นเท่านั้น

    นางสาวไพรินทร์ โกฎแสน 510327

  71. panomket says:

    5อาการเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
    มีอาการแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ปากเบี้ยวหรือชาครึ่งซีก เป็นทันทีทันใด
    2. พูดไม่ออก ฟังไม่เข้าใจภาษา พูดอ้อแอ้ไม่ชัด เป็นทันทีทันใด
    3. ตาข้างใดข้างหนึ่งมองไม่เห็นหรือมองไม่เห็นครึ่งซีกของลานสายตา
    หรือเห็นภาพซ้อน เป็นทันทีทันใด
    4. เวียนศีรษะ บ้านหมุน รู้สึก โคลงเคลง เดินเซ คล้ายคนเมาเหล้า เป็นทันทีทันใด
    5. ปวดศีรษะอย่างรุนแรงและไม่เคยเป็นมาก่อน ร่วมกับอาเจียนหรือหมดสติเป็นทันทีทันใด
    รู้อย่างนี้แล้ว ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพกันด้วย จะได้ห่างไกลจากโรคหลอดเลือดสมอง.

    นางสาวปวีณา พนมเขต 510212

  72. 510602lalita says:

    อาจารย์ค่ะการวินิจฉัยที่สำคัญที่จะช่วยวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองต้องวินิจฉัยได้จากอะไรค่ะ
    นางสาว ลลิตา ยุระไชย 510602

  73. อาจารย์ค่ะ..ถ้าผู้ป่วยมาโรงพยาบาลด้วยอาการของ Stroke แล้วซักประวัติพบว่ามีภาวะ DM อยุด้วย นอกจากเราจะเจาะดูระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว จะวินิจฉัยผู้ป่วยรายนี้ด้วยวิธีใดได้อีกถึงจะรู้ว่าผู็ป่วยรายนี้มัปัญหาของ Stroke จริง
    สุพัตรา วงค์เข็มมา 510601

  74. อาจารย์คะหนูสงสัยว่า เกี่่ยวมั๊ยคะที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต้องเคยเป็นนิ่วในถุงน้ำดีมาก่อนคำถามอาจจะฟังดูไม่มีความรู้นะคะ แต่หนูพยายามหาแล้วก็ไม่เจอคำตอบสักที หนูเลยขออนุญาตถามอาจารย์นะคะ เพราะตอนที่หนูขึ้นฝึกปฏิบัติคะ หนูได้ดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองมา 3 คนคะ แล้วประวัติในอดีตของผู้ป่วยทั้่ง 3 คน เคยผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีทุกคนเลยคะ หนูเลยสงสัยว่าก่อนที่ผู้ป่วยจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองต้องมีนิ่่วที่ถุงน้ำดีหรอคะ แล้วถ้ามีมันเกี่ยวกันยังไงคะ รบกวนอาจารย์ด้วยนะคะ ขอบคุณคะ^^

  75. อาจารย์คะหนูสงสัยว่า เกี่่ยวมั๊ยคะที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต้องเคยเป็นนิ่วในถุงน้ำดีมาก่อนคำถามอาจจะฟังดูไม่มีความรู้นะคะ แต่หนูพยายามหาแล้วก็ไม่เจอคำตอบสักที หนูเลยขออนุญาตถามอาจารย์นะคะ เพราะตอนที่หนูขึ้นฝึกปฏิบัติคะ หนูได้ดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองมา 3 คนคะ แล้วประวัติในอดีตของผู้ป่วยทั้่ง 3 คน เคยผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีทุกคนเลยคะ หนูเลยสงสัยว่าก่อนที่ผู้ป่วยจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองต้องมีนิ่่วที่ถุงน้ำดีหรอคะ แล้วถ้ามีมันเกี่ยวกันยังไงคะ รบกวนอาจารย์ด้วยนะคะ ขอบคุณคะ^^
    เบญจาวรรณ 520845

  76. อาจารย์ค่ะ อยากทราบว่าเมื่อเคยได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเเล้ว จะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำอีกได้ไหมค่ะ
    น.ส.วินันยา ฝั้นเครือ 520489

  77. อาจารย์ค่ะ อยากทราบว่าคนที่อายุประมาณ 40-50 ปี มีโอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้มั้ยค่ะ เพราะจากการขึ้นฝึกปฏิบัติมักจะเจอแต่ผู้ป่วยที่อายุมากที่เป็นโรคนี้ค่ะ 510438 น.ส.เพ็ญประภา สิงหรา

    • 1. ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้
      -อายุ โอกาสเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุ และเมื่ออายุ 55 ปีขึ้นไป มีโอกาสเกิดเป็น 2 เท่า
      -เพศ ผู้ชายมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง แต่อัตราการเสียชีวิตผู้หญิงจะมากกว่าผู้ชาย
      -เชื้อชาติ คนทางแถบเอเชียจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าทางแถบยุโรป
      -ประวัติครอบครัว หากคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมองก็มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้น
      -เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาแล้วมีโอกาสที่จะเกิดซ้ำได้ 25-40% ภายใน 5 ปี
      2. ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้
      -โรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีโอกาสเกิดโรคอัมพาตเพิ่มขึ้น 7 เท่า
      -โรคเบาหวาน ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100-125 มิลิกรัม% มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 126 มิลิกรัม% ถือว่าเป็นโรคเบาหวานผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นเวลานาน ๆ โดยมิได้ทำการรักษา ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ง่าย
      -โรคหัวใจโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่เกิดจากหัวใจห้องบนที่เรียกว่า atrial fibrillation (AF) อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดเล็กๆ ขึ้นภายในหัวใจ ซึ่งลิ่มเลือดเล็กๆ เหล่านี้อาจหลุดลอยไปอุดหลอดเลือดเลี้ยงสมองและเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้
      -โรคไขมันในเลือดสูง
      – ปัจจัยอื่นๆ
      – การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
      – สูบบุหรี่
      – ความเครียด
      – ความอ้วน
      – ขาดการออกกำลังกาย
      ** อย่างไรก็ตามแล้วการลดปัจจัยเสี่ยงคือการดูแลตนเอง การออกกำลังกาย เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับตนเองและโรคที่ตนเองเป็นอยู่ และรักษาโรคประจำตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นอีกหนทางหนึ่งที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้

  78. piyada500601 says:

    การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสามารถทำได้โดย
    – ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี วัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละครั้ง เจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด เป็นระยะตามที่แพทย์แนะนำ ตรวจร่างกายว่ามีความผิดปกติของหัวใจหรือไม่ ถ้าผิดปกติต้องควบคุมและติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
    -เลิกสูบบุหรี่ พบว่าการเลิกสูบบุหรี่สามารถลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ครึ่งหนึ่ง
    – ลดน้ำหนักถ้ามีน้ำหนักเกิน
    -ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    – ผ่อนคลายความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ
    -ในรายที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน ต้องรับประทานยาป้องกันการเกิดซ้ำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่งดยาเอง

  79. ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง

    จากการศึกษาพบว่าปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง มีดังนี้

    ความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดเสื่อม เนื่องจากแรงดันเลือดที่ออกมาจากหัวใจมีแรงดันสูงขึ้น ทำให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมเร็ว ขาดความยืดหยุ่น และแตกเปราะง่าย
    เบาหวาน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญรองจากภาวะความดันโลหิตสูง
    ความอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก มีโอกาสเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูงหรืออาจเป็นได้ทั้ง 2 โรค
    ไขมันในเลือดสูง ทำให้หลอดเส้นเลือดแดงไม่ยืดหยุ่น เกิดการตีบตันง่าย เลือดจึงไหลผ่านไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อย ถ้าเกิดกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง จะทำให้สมองขาดเลือดและเป็นอัมพาตในที่สุด
    การสูบบุหรี่และดื่มสุรา การดื่มสุราจะทำให้หลอดเลือดเปราะหรือเลือดออกง่าย และการสูบบุหรี่จะทำให้อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
    ความเข้มข้นของเลือด ถ้ามีฮีโมโกลบินสูงกว่าปกติ ก็มีโอกาสเกิดโรคได้
    โรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจวาย โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ
    ยาต่างๆ เช่น สตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดร่วมกับเป็นความดันโลหิตสูง
    อายุที่มากขึ้น จะมีความสัมพันธ์ต่อการเสื่อมของหลอดเลือด
    การดำเนินชีวิต บุคคลที่ดำเนินชีวิตด้วยความเครียด ไม่รู้จักผ่อนคลาย ร่างกายจะสึกหรอเร็วและเจ็บป่วยง่าย กล้ามเนื้อ ข้อต่าง ๆ ของร่างกายรวมถึงหลอดเลือดก็จะเสื่อมเร็วขึ้นด้วย

  80. kukkik24 says:

    อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน
    ใบหน้าหรือแขนขา ข้างใดข้างหนึ่ง อ่อนแรง/ขยับไม่ได้ทันทีทันใด (Face&Arm)
    พูดไม่ชัด พูดไม่ออก หรือพูดด้วยแล้วไม่สนใจ ไม่เข้าใจทันทีทันใด(speech)
    อาการเตือน 3 อาการนี้เป็นอาการสำคัญของโรคหลอดเลือดสมองอุดตันชนิดเฉียบพลัน ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที หากเกิดอาการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 อาการนี้ และอาการที่เกิดไม่เกิน 3 ชั่วโมง การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดจะได้ผลดี นอกจากนั้นยังมีอาการเตือนที่แสดงถึงความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง ดังนี้ ตามัวข้างมดข้างหนึ่ง มองไม่เห็น เห็นภาพซ้อนหรือมีอาการคล้ายม่านบังตาที่เป็นทันทีทันใด อาการเดินเซ เดินลำบาก ทรงตัวไม่ได้ รวมถึงอาการปวดศีรษะรุนแรงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน อาเจียนหรือซึม ไม่รู้สึกตัว หากเกิดอาการเหล่านี้ควรไปโรงพยาบาลทันที เพื่อการตรวจรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที
    นางสาว นุชจิรา จันทร์ดารา รหัส 510337

  81. nuttiya500151 says:

    อาจารย์ค่ะ อยากทราบว่ายา Plavix กับ Aspirin ตัวไหนดีกว่ากันที่ใช้.ในการรักษาโรค Stroke ค่ะ เพราะการออกฤทธิ์ก็ค่อนข้างเหมือนกันค่ะ

    • nuttiya500151 says:

      แล้วยาสองตัวนี้แตกต่างกันยังไงค่ะ ในการรักษา โรคStroke ค่ะ

      • Plavix หรือ clopidogrel จะออกฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดจากการศึกษาชื่อ CURE study ถึงการให้ clopidogrel ร่วมกับ aspirin ในผู้ป่วยกลุ่ม UA/NSTEMI โดยเปรียบเทียบกับ aspirin พบว่าการให้ clopidogrel ร่วมกับ apirin สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย รวมทั้ง stroke ได้ร้อยละ 20แต่ถ้าประเมินที่ end point แยกแต่ละชนิดแล้วจะพบความแตกต่างกันไม่มากหากประเมินด้วย composite end point จึงจะพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องจากยามีราคาแพงและมีผลข้างเคียงที่สำคัญคือเลือดออกง่าย จึงแนะนำให้ใช้ clopidogrel ในกรณีที่มีข้อห้ามใช้ยา aspirin (เช่น แพ้ aspirin ซึ่งอาจมีตั้งแต่ผื่นคัน หอบหืด จนกระทั่ง anaphylactic shock

  82. oratai510565 says:

    อาจารย์คะคือว่าแม่หนูเป็นความดันโลหิตสูง เคยตรวจแต่ไม่ใช่ที่โรงพยาบาลนะคะหมอบอกว่ามีไขมันในเลือดสูงบริเวณลำคอแล้วเขาแนะนำให้แม่หนูซื้อยาของเขา แล้วแม่หนูเป็นคนที่ชอบกินอาหารมันๆหวานๆควบคุมอาหารไมได้ พอบอกให้ควบคุมอาหารก็ไม่ทำ คืออยากรู้ว่าต้องแนะนำยังงัยแม่ถึงจะกลัว และถ้าเป็นทั้งความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดสมอง อันตรายมากมั้ยคะอาจารย์

  83. อาจารย์คะ
    กาแฟมีผลทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองจริงหรือไม่คะ

  84. อาจารย์คะ ผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีโอกาสเป็นซ้ำไหมคะ แล้วผู้ป่วยที่รับประทานยาต้านเกร็ดเลือดในระยะยาวสามารถป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ทุกรายอย่างแน่นอนรึเปล่าคะ

  85. อาจารย์ค่ะผู็้้ป่วยที่เป็น Hemorrhagic stroke อยากทราบว่าสารที่ใช้ฉีดเข้าไป คือ มีลักษณะคล้ายกาวสารนั้นเรียกว่าอะไรค่ะ

    แล้วทราบได้อย่างไรว่าผู้ป่วยรายใดเป็น stroke เมื่อแรกรับ

    490672 น.ส. ภัชรี จู่มา

  86. อาจารย์ครับ..หากผู้ป่วยมหกล้ม หัวฟาดพื้นเนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตกเราจะให้การพยาบาลอะไรในลำดับแรกเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยขณะอยู่บนรถฉุกเฉิน นาย ชาคริต ปิยะรัตน์ รหัสประจำตัว 510711

  87. อาจารย์คะ…ทำไมหลังจากการผ่าตัดเพื่อเอาเลือดที่คั่งในสมองออกแล้ว ยังต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือดคู่กับยาลดไขมันในเลือดตลอดชีวิตละคะ อีกคำถามคือ ยาละลายลิ่มเลือดต้องรับประทานคู่กับยาลดไขมันในเลือดเสมอเพราะอะไรคะอาจารย์
    สุรีรัตน์ 510098

  88. namyenly says:

    อาจารย์ค่ะถ้าเป็นโรคหลอดเลือดในสมองและมีอาการเตือนแล้วจะสามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ไหมค่ะ….510065

  89. อาจารย์ค่ะถ้าในกรณีที่ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานเป็นเวลาประมาน10ปีแล้วและได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องแล้วจะมีโอกาสในการเกิดหลอดเลือดสมองไหมค่ะ

    น.ส.ภัชรี จู่มา รหัส 490672

  90. อาจารย์คะ ischemic stroke mimics แตกต่างกับ stroke อย่างไรคะ ซึ่่งมีอาการคล้าย stroke แต่ไม่ใช่

  91. อาจารย์คะ ischemic stroke mimics แตกต่างกับ stroke อย่างไรคะ ซึ่่งมีอาการคล้าย stroke แต่ไม่ใช่
    น.ส. สุดารัตน์ อิสระ 520766

  92. อาจารย์ค่ะทำไมถึงไม่ให้ 5%dextrose ในผู้ป่วยที่เป็น stroke ขอบคุณค่ะ

    น.ส.เดือน ทองออน รหัสประจำตัว 520830

  93. อาจารย์ค่ะ ถ้าผู้ป่วยมีภาวะ ischemic penumbra ต้องให้การพยาบาลอย่างไร เป็นอันดับแรก ขอบคุณค่ะ

    น.ส.เดือน ทองออน รหัสประจำตัว 520830

  94. 520558sutineepunjinda says:

    TIA <24 hr แต่ก็เป็นstroke ชนิดหนึ่งใช่ไหมค่ะแล้วจะรู้ได้ยังไงว่าว่าอาการดีขึ้นภายใน24hrค่ะอาจานย์

    • โรคสมองขาดเลือดชั่วณะ หรือ ทีไอเอ (TIA ซึ่งย่อมาจาก Transient ischemic attack)อาการจะเกิดเป็นชั่วโมงแต่จะไม่เกิน 24 ชม.) แล้วหายเป็นปกติได้เอง โดยไม่ต้องให้การรักษาแต่อย่างใด อาการดังกล่าวเกิดจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องจากมีการอุดตันของ
      หลอดเลือดแดงในสมองเป็นเพียงชั่วคราว

  95. Mod Tanoi says:

    อาจารย์ค่ะผู้ป่วยที่ทำ Arterial puncture/ lumbar puncture ที่น้อยกว่า 7 วัน ทำไมถึงให้ยา r-tPA ไม่ได้ค่ะแล้วถ้าเกิดว่ามากกว่า 7 วัน จะให้ยา r-tPA ได้ไหมค่ะ

    510346 น.ส.วราภรณ์ ผัดผล

  96. อาจารย์คะ ผู้ป่วย มีอาการอัมพาตครึ่ึงซีก ปากเบี้ยว แขนขวา ขาขวา ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ แต่เมื่อถามชื่อ ถามถึงบุคคล ถามถึงเรื่องราวรอบตัวรู้เรื่องตอบได้ อยากทราบว่าผู้ป่วยรายนี้จะหายเป็นปกติได้รึเปล่าคะและต้องใช้เวลานานเท่าไหร่คะ
    น.ส.วรรณิภา แสนรัตน์ 520821

  97. อาจารย์ค่ะ การที่คนไข้ได้รับอุบัติเหตุมีผลกระทบกระเทือนต่อเนื้อเยื่อสมอง,,และ,,หลอดเลือดสมองตีบแคบหลอดเลือดแตกทำให้เนื้อเยื่อสมองถูกทำลาย อาการแสดงของผู้ป่วยจะมีความคล้ายกันไหมค่ะแล้วแบบไหนรุนแรงมากกว่าค่ะ
    น.ส สุชาดา มั่นคง รหัส 510734

  98. Transient ischemic attack (TIA) มีความรุนแรงมากหรือไม่คับ ถ้าผู้ป่วยเป็นแล้วเมื่อรักษาจะหายเป็นปกติหรือไม่คับอาจารย์
    ไกรศักดิ์ ทานะขันธ์ รหัสประจำตัว 510110

  99. อาจารย์ค่ะ โรคหลอดเลือดสมองนับว่าเป็นโรคที่อันตรายต่อชีวิตมากแล้วอาการแทรกซ้อนหรือว่าโรคที่เกิดควบคู่กับ Stroke มีโรคอะไรบ้างค่ะที่ทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตของคนไข้ค่ะอาจารย์
    น.ส สุชาดา มั่นคง รหัสประจำตัว 510734

  100. Love Is says:

    อาจารย์ค่ะ ถ้าเรามีอาการเครียดมากๆและต้องรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวดอยู่ตลอดเวลา แล้วถ้าเรายังมีอาการอย่างนี้ตลอดจะมีภาวะที่เกิดอาการของโรค Stroke ได้ไหมค่ะอาจารย์
    น.ส ศิรินาถ ดวงศรี รหัสประจำตัว 510424

  101. อาจารย์ค่ะตอนนี้หนูสงสัยกับอาการของตัวเองมากเลยค่ะ คือ หนูมักจะมีอาการใจสั่น ปวดศรีษะมากๆมักเป็นข้างเดียว และมีความดันโลหิตต่ำตลอดเลยเวลาที่หนูวัดคืออยู่ในช่วง 80/55mm.hg.หนูตกใจนะค่ะแต่หนูก็ไม่อยากคิดมากหนูอยากจะถามอาจารย์ว่ามันน่าจะเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้างค่ะ หนูกลัวหนูจะเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและสมองค่ะขอให้อาจารย์ให้คำแนะนำด้วยนะค่ะ
    น.ส.กรุณา ริมชัยสิทธิ์ 520239

  102. kumfukple says:

    อาจรย์ค่ะ ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และตรวจพบ hematoma ในสมองและผู้ป่วยรับประทานยาลดความดันไม่ต่อเนื่องมีความดันสูงประมาณ 160/100 180/120 จะทำให้ก้อนเลือดมีขนาดใหญ่ขึ้นไหมค่ะ และจะมีผลทำให้ก้อนเลือดสลายช้าไหมค่ะ

  103. kumfukple says:

    น.ส.พินยุพา ขำฟัก รหัส 510142

  104. อาจารย์ค่ะถ้าดื่่่่มกาแฟเป็นเวลานานๆๆแต่บางครั้งดื่มแล้วหัวใจสั่น ปวดหัว มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองไหมค่ะ น.ส.เกษฎา เกษทองมา 520796

  105. อาจารย์ค่ะ Acute Ischemic stroke แตกต่างกับ Ischemic penumbra อย่างไรค่ะ และรักษาอย่างไรค่ะ

  106. 510602lalita says:

    เส้นเลือดสมองตีบหมายถึงอะไร

    เส้นเลือดสมองตีบเป็นโรคหนึ่งซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มใหญ่ที่เรียกว่า โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งประกอบ ไปด้วย 3 โรคหลักๆ ได้แก่ เส้นเลือดสมองตีบ แตก และ อุดตัน โดยที่เส้นเลือดสมองตีบเป็นแบบที่พบได้มากที่สุด(80-85%)

    เส้นเลือดที่ตีบเกิดจากการหนาตัวของผนังหลอดเลือด รวมทั้งอาจมีเกล็ดเลือด หรือองค์ประกอบอื่นๆ ของเลือด มาสะสมตามผนังหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้เลือดไหลผ่านได้น้อยลง ถ้าเป็นมาก ก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอเพียง และเกิดความเสียหายต่อเซลสมองบริเวณนั้นๆ

    มีอาการอย่างไรได้บ้าง

    เนื่องจากสมองมีหลายส่วน แต่ละส่วนมีหน้าที่แตกต่างกันไป ดังนั้น อาการในผู้ป่วยแต่ละคน ขึ้นกับบริเวณของสมองที่มีเส้นเลือดตีบ อาการที่พบได้แก่

    • แขนขาอ่อนแรง หรือชาซีกใดซีกหนึ่ง (บางกรณีอาจเป็น ทั้ง2ซีก)
    • ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด หรือสำลัก
    • พูดไม่ได้ หรือฟังไม่รู้เรื่อง (มีปัญหาด้านความเข้าใจภาษา)
    • เวียนศีรษะมาก เดินเซ แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
    • มองไม่เห็นซีกใดซีกหนึ่ง

    โดยลักษณะสำคัญของอาการที่เกิดคือ เป็นค่อนข้างเร็ว กระทันหัน ภายในเวลาเป็นนาที หรืออาจเป็นหลังตื่นนอน โดยที่ก่อนเข้านอนยังปกติอยู่

    ใครมีโอกาสเป็นบ้าง

    อายุที่มากขึ้นถือเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้ที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่ปัจจัยเสี่ยงที่เราสามารถควบคุมได้ยังมีอีกหลายอย่าง ซึ่งถ้าเราคุมได้ดีก็จะสามารถลดโอกาสการเกิดอัมพฤกษ์อัมพาตได้มากแม้จะไม่100% ก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวได้แก่
    • ความดันโลหิตสูง
    • เบาหวาน
    • ไขมันในเลือดสูง
    • การสูบบุหรี่
    • โรคหัวใจบางชนิด

    วินิจฉัยอย่างไร
    อาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกายทั่วไปและการตรวจทางทางระบบประสาท และการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ในบางรายหากสงสัยว่าอาจเป็นอย่างอื่น แพทย์ที่ตรวจอาจให้ตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI) แทนการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์
    การทำ CT scan ของสมอง จะช่วยให้แยกได้ระหว่างเส้นเลือดตีบหรือแตก ซึ่งการรักษาจะต่างกันไป

    รักษาให้หายขาดได้หรือไม่

    ปัจจุบันยังไม่มียาใดที่รักษาอาการที่เกิดขึ้นได้โดยตรง แต่ผู้ป่วยแต่ละคนมีโอกาสที่จะดีขึ้นได้เอง โดยเน้นการทำกายภาพบำบัดเป็นหลัก ซึ่งแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไปในเรื่องของการฟื้นตัวว่าจะดีขึ้นได้ถึงระดับใด โดยอาจพอบอกแนวโน้มได้คร่าวๆหลังเกิดอาการ2-4 สัปดาห์ แต่ก็ไม่ได้ทำนายได้ถูกต้องแน่นอนเสมอไป เป็นเพียงแนวโน้ม เช่น ถ้าผ่านไป2 สัปดาห์ อาการอ่อนแรงดีขึ้นมากพอสมควร ก็อาจบอกได้ว่ามีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้มาก บางรายทำกายภาพบำบัดไป3-6 เดือน ไม่ค่อยดีขึ้นเท่าที่ควร ก็อาจมีแนวโน้มว่าจะใช้เวลานานหรืออาจไม่ดีขึ้นกว่าเดิมมากนัก

    ยาที่ใช้รักษามีอะไรบ้าง

    ยาที่ใช้ในโรคนี้ ใช้เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ เนื่องจากถ้าเป็นครั้งหนึ่งแล้ว จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นซ้ำได้ ยาที่สำคัญคือยาป้องกันเส้นเลือดตีบ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆไป ไม่ควรซื้อทานเองเนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียงได้

    ยาที่มีความสำคัญมากอีกกลุ่มหนึ่ง คือยาที่ใช้คุมปัจจัยเสี่ยงในรายที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ยาเบาหวาน ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น รวมทั้งการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องโดยเฉพาะการควบคุมอาหารที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ถ้าคุมโรคเหล่านี้ได้ดี โอกาสเป็นเส้นเลือดสมองตีบก็จะน้อยลงไปมาก

    ควรงดสูบบุหรี่ เนื่องจากเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ และการเลิกขึ้นอยู่กับจิตใจเท่านั้น โดยแทบไม่ต้องใช้ยาใดๆ

    การทำกายภาพบำบัด มีส่วนสำคัญที่สุดในการเพิ่มโอกาสที่ทำให้ส่วนที่อ่อนแรง กลับมามีแรงมากขึ้นได้ ส่วนยาที่ทาน จะเน้นไปที่การป้องกันการเกิดซ้ำของเส้นเลือดสมองตีบ ดังนั้น แม้ทานยาครบ แต่ไม่ค่อยทำกายภาพบำบัด ก็ไม่สามารถทำให้อาการดีขึ้นได้เท่าที่ควร

    ยาบำรุงสมองช่วยได้หรือไม่

    มีคนพูดถึงยาบำรุงสมอง แปะก๊วย อาหารเสริม ฯลฯ ว่าจะช่วยให้อัมพาตหายได้หรือไม่ รวมทั้งการรักษาในแนวอื่นๆอีกหลายรูปแบบ รวมทั้งยาฉีดบางชนิดที่ราคาแพง ซึ่งทุกอย่างดังกล่าว ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ทางการแพทย์ว่าได้ผล และการรักษาบางอย่างอาจเกิดผลเสียกับผู้ป่วยโดยไม่รู้ตัวได้ ถ้าไม่แน่ใจ จึงไม่ควรทานหรือฉีด

    ยาหม้อ เป็นยาที่นิยมมากโดยเฉพาะในต่างจังหวัด ซึ่งนอกจากไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยแล้ว ยังอาจเกิดอันตรายได้หลายรูปแบบ แต่คนนิยมทาน เนื่องจากในยาหม้อ มีสารที่ทำให้ทานแล้วรู้สึกสบาย เหมือนจะดีขึ้น ซึ่งไม่ว่าเป็นโรคอะไรก็จะดีขึ้น แต่เป็นเพียงความรู้สึก และเป็นชั่วคราว ในระยะยาวไม่มีผล และสารนี้ทำให้เกิดอาการตามมาได้หลายอย่าง เช่น น้ำตาลในเลือดสูง โรคกระเพาะ ภูมิคุ้มกันต่ำ ติดเชื้อง่าย หน้าบวม ฯลฯ บางรายที่ทานนานๆ เมื่อหยุดทานก็จะเกิดอาการไม่สบายได้หลายรูปแบบ ยาหม้อจึงเป็นยาที่ไม่ควรทานโดยเด็ดขาด

    ทำไมบางคนหาหมอพระ หรือทานยาหม้อแล้วหายดี กลับมาเดินได้

    อย่างที่กล่าวในตอนต้น คือโรคนี้เป็นโรคที่ในระยะแรกๆทำนายได้ยาก ว่าแต่ละคนจะดีขึ้นได้แค่ไหน หรือใช้เวลาเท่าใด บางรายอาจดีขึ้นเองโดยไม่ได้ทานยาอะไรเลยก็เป็นได้ บางรายทานยาทุกอย่าง ทำกายภาพบำบัดเต็มที่ ก็อาจไม่ค่อยดีขึ้นมากนักก็เป็นได้ ดังนั้นในรายที่ทานยาหม้อหรือรักษาแบบอื่นๆใดๆก็ตามแล้วดีขึ้น มักเกิดจากการที่คนนั้นจะดีขึ้นเองอยู่แล้ว แต่บังเอิญไปทานยาหม้อด้วย คนจึงเข้าใจว่าดีจากยาหม้อแล้วจึงนำไปบอกกันปากต่อปาก จึงกลายเป็นที่นิยมกันไป แต่ในรายที่ไม่ดีขึ้นหรือเกิดผลข้างเคียงจากยาหม้อ คนทั่วไปก็จะไม่ค่อยพูดถึง หรืออาจโทษว่า อาการที่แย่ลงเป็นจากตัวโรคเส้นเลือดสมองตีบเอง

    ทำไมแพทย์มักมีอคติ หรือปิดกั้นการรักษาแบบอื่นๆที่ไม่ใช่แผนปัจจุบัน

    แพทย์ไม่ได้ปิดกั้นหรือมีอคติใดๆ เนื่องจากแพทย์ทุกคนทราบว่าในเมื่อขณะนี้ แผนปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายสนิทได้ทุกราย ญาติผู้ป่วยก็อยากลองพึ่งการรักษาทางอื่นดูบ้าง เผื่อว่าอาจได้ผล แพทย์ส่วนมากก็ให้ลองได้ แต่ต้องเป็นการรักษาหรือเป็นยาที่ไม่เกิดอันตรายใดๆกับผู้ป่วย แต่การรักษาหลายอย่าง อาจเกิดอันตรายได้ เช่น ยาหม้อ การนวดโดยการเหยียบ การนอนในทรายดำ เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์จำเป็นต้องชี้แจง

    นอกจากนี้ ยังมีอีกประเภทที่ต้องชี้แจง แม้อาจไม่มีอันตรายนัก แต่เกิดจากการหวังผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม โดยฉวยโอกาสบนความเดือดร้อนของผู้ป่วยและญาติ เช่น อาหารเสริม เตียงแม่เหล็ก วิตามินบางชนิด ยาฉีดแพงๆซึ่งอ้างว่ามาจากเมืองนอก เป็นต้น โดยการโฆษณาชวนเชื่อ เกินความจริง ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการเอาผิดทางกฏหมายกับคนกลุ่มนี้แล้ว

    สามารถป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบได้หรือไม่

    เนื่องจากเป็นโรคที่ถ้าเป็นแล้ว มักไม่หายสนิท เหลือความพิการอยู่บ้างไม่มากก็น้อย การป้องกันจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในรายที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น ควรควบคุมโรคเหล่านั้นให้ดี ไม่ขาดยา ตั้งใจควบคุมอาหาร จะลดโอกาสการเป็นอัมพาตลงได้มาก รวมทั้งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนเพียงพอ หลีกเลี่ยงของมึนเมา

    ควรตรวจเลือดเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงทุกปี โดยเฉพาะถ้าอายุมากกว่า 30-35?ีขึ้นไป หรือมีประวัติคนในครอบครัวมีโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เพราะเราอาจมีโรคเหล่านั้นได้ เนื่องจากส่วนมากเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม

    การดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้แล้ว

    หลักสำคัญๆ ได้แก่

    1. ควบคุมปัจจัยเสี่ยงอย่างเคร่งครัด ห้ามขาดยา พบแพทย์ตามนัด
    2. ทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง โดยอาจทำเองที่บ้านได้หลังจากออกจากโรงพยาบาล
    3. ให้กำลังใจผู้ป่วย เนื่องจากโรคนี้พบว่าผู้ป่วยมีโอกาสมากที่จะมีโรคซึมเศร้า หรือเครียดร่วมด้วย ซึ่งเกิดจากการที่เคยทำอะไรได้ แล้วมาทำไม่ได้
    4. ในรายที่เดินไม่ได้ นอนอยู่กับเตียง ต้องพลิกตัว จับนั่งบ่อยๆ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ แผลกดทับ ทางเดินปัสสาวะอักเสบเป็นต้น ซึ่งแพทย์และพยาบาลจะสอนการดูแลเหล่านี้ รวมทั้งการให้อาหารทางสายยาง(ถ้าต้องใส่) ก่อนที่จะให้ผู้ป่วยกลับบ้าน

  107. อาจารย์ค่ะอยู่อยากทราบว่าผู้ที่่่มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานร่วมด้วยแต่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันได้เมื่่อเปรียบเทียบกับผู้ที่่มีภาะเป็นไมเกรน ปวดศรีษะมากเป็นประจำพร้อมกับมีภาวะเครียดบ่อยครั้งจนต้องทานยาประจำ รายใดค่ะที่จะมีโอกาสเกิดเป็นหลอดเลือดในสมองแตกมากกว่า
    ขอบคุณค่ะ
    นางสาวน้ำทิพย์ สมานจิตร์ 520785

  108. อาจารย์ต่ะ มีผู้ป่วยมาด้วยอาการปวดศีรษะ และชาบริเวณ ท้ายทอย อยากทราบว่าผู้ป่วยรายนี้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเนื้องอกในสมอง ป่าาวคร่า

    นางสาวจิรัญญา จันทร์หอม 520754

  109. อาจารย์คะ พอดีหนูมีเรื่องสงสัยคือ แม่หนูอยู่ดีดี ก็ชาครึ่งซีกทั้งตัว ขยับตัวไม่ได้ จนเป็นอัมพฤคซีกขวาทั้งซีก อาการนี้ใช่เกี่ยวกับโรคภาวะหลอดเลือดในสมองรึเปล่าคะ

  110. ยาที่ใช้ในโรคหลอดเลือดสมองแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

    1. ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Antiplatelets) ซึ่งในที่นี้จะขอเน้นยาที่อยู่ในรูปแบบยารับประทาน ได้แก่

    Aspirin ( แอสไพริน )

    อาการข้างเคียง :
    1.ตัวยาอาจระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้ปวดท้องหรืออาเจียนหลังรับประทาน บางรายอาจทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารเพราะ ฉะนั้นไม่ควรรับประทานยาในขณะท้องว่าง ควรรับประทานยาหลังอาหารทันที หรือหลังดื่มนม และควรดื่มน้ำตามมาก ๆ ภายหลังรับประทานยา
    2.ยานี้อาจทำให้เลือดออกง่าย เนื่องจากทำให้การเกาะตัวของเกล็ดเลือด (Platelets Aggregation) ลดลง จึงควรระวังในผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีเลือดออก เช่น ไข้เลือดออก โรคเลือดต่าง ๆ

    ข้อควรระวัง :
    1. ในผู้ที่มีอาการแพ้ยานี้ โดยอาจมีผื่นคันหรือลมพิษขึ้น ถ้าแพ้มาก ๆ อาจมีหอบหืดหรือชัก ซึ่งหากพบอาการดังกล่าวให้หยุดยาทันที แล้วให้รีบมาพบแพทย์ และไม่ควรรับประทานยานี้อีกอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้อีก
    2.ถ้าใช้ขนาดมากเกินไปจะเป็นพิษ ทำให้มีอาการมึนงง ใจสั่น หูอื้อ หากเป็นรุนแรงอาจชัก ซึมจนถึงไม่รู้สึกตัว ดังนั้น จึงควรรับประทานยาให้ถูกต้องตามที่แพทย์สั่งและเก็บยาไว้ให้มิดชิด พ้นจากมือเด็ก
    3. ไม่ควรใช้ยาในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ที่เป็นไข้หวัดใหญ่ หรืออีสุกอีใส เพราะอาจทำให้เกิดโรคเรย์ซินโดรม (Reye’s Syndrome)ซึ่งมีอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้
    4.ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ช่วง 3 เดือนก่อนคลอด เพราะอาจทำให้ตกเลือดได้ง่าย และอาจทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับทารกได้

    Clopidogrel ( โคลพิโดเกรล )
    ผลข้างเคียงจากยา :
    ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักสามารถทนต่ออาการข้างเคียงของยาได้ดี โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อย ก็เช่นเดียวกับยาต้านเกล็ดเลือดอื่น ๆคือการมีเลือดออกผิดปกติ และอาจพบอาการท้องเสีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง แผลในทางเดินอาหาร และกลุ่มอาการอาหารไม่ย่อย
    ข้อควรระวัง :
    ผู้ป่วยที่แพ้ยานี้ ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของภาวะตกเลือดที่กำลังดำเนินอยู่ เช่น ภาวะเลือดออกในสมอง

    2. ยาต้านการเกิดลิ่มเลือด (Anticoagulants) ในที่นี้จะขอเน้นเฉพาะยาที่อยู่ในรูปแบบยารับประทาน ได้แก่

    Warfarin ( วาฟาริน )
    ผลข้างเคียงจากยา :
    อาการข้างเคียงที่พบบ่อย คือ ภาวะเลือดออก (bleeding) ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการหยุดยาหรือการลดขนาดยาลง หากมีอาการเลือดออกที่ไม่รุนแรง

    ข้อควรระวัง :
    ยานี้ห้ามใช้ในระหว่างตั้งครรภ์

    3.ยาสลายลิ่มเลือด (Thrombolytics หรือ Fibrinolytics) ได้แก่ Streptokinase , Urokinase , Alteplase (tissue plasminogen activator, rt-PA)
    ซึ่งมักบริหารยาโดยการฉีดในผู้ป่วยที่รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

    คำแนะนำในการใช้ยาโรคหลอดเลือดสมอง

    1. อ่านฉลากยาให้เข้าใจก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
    2. รับประทานยาให้ครบตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ
    3. ควรหยุดยาก่อน 7 วันที่จะไปผ่าตัดหรือถอนฟัน
    4. หากมีอาการผิดปกติใดๆ หลังได้รับยาเช่น มีเลือดออกผิดปกติ ปัสสาวะเป็นเลือด มีจ้ำเลือดเกิดขึ้นตามตัว หรือมีเลือดออกตามไรฟันมากผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
    5. หากได้รับยาอื่นรับประทานร่วมด้วยควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง
    6. อาหารเสริมบางชนิดมีผลทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยากลุ่มนี้ได้ เช่น แปะก๊วย กระเทียม เลซิทิน น้ำมันปลา วิตามินอี เป็นต้น ดังนั้น หากจะรับประทานอาหารเสริมใดควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง หากมีอาการแพ้ยา เช่น ผื่นคัน บวม ต้องหยุดยา และมาพบแพทย์

  111. นางสาวสุดารัตน์ พิมมาตย์ รหัส 520177

  112. อาจารย์ค่ะ ถ้าผู้ป่วย มีภาวะเลือดออกในสมอง ใส่เครื่องช่วยหายใจ ไม่รู้สึกตัว ไม่รู้เรื่อง ร่างกายเกร็งตลอดเวลา …. แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Cerebral hemorrhag การรักษา นอกจากการผ่าตัดแล้ว มีวิธีอื่นที่จะสามารถรักษาได้อีกไหมค่ะ ??
    กานติมา สืบมา 510699

    ขอบคุณค่ะ ^_^

  113. อาจารย์ค่ะ หนูมีญาติที่ปวดศีรษะเป็นเวลานาน 3-5 ปี ญาติหนูมีโอกาสที่จะเป็น Stroke ไหมค่ะ
    นางสาวเพียงเพ็ญ พุ่มอินทร์
    รหัส 530169

  114. อาจารย์ค่ะ หนูอยากทราบว่า ถ้าปวดศีรษะซีกเดียว แล้วร้าวมาที่กระบอกตา เป็นทีจะเป็นนานถึงสัปดาห์ ถ้าได้นอนพักถึงจะหาย จะมีโอกาสเป็น strok ในอนาคตได้ไหมค่ะ

    นางสาวจิตตราภา นิโกรธา
    รหัส 520542

  115. อาจารย์ค่ะถ้าอาการปวดศีรษะมากทั้งสองซีก กินยา PCM 2 tab นอนพักแล้วไม่หาย ปวดร้าวมาที่กระบอกตา จะปวดในเวลาที่แสงจ้ามากๆ, วิ่งได้ระยะประมาณ 500 เมตร เมื่อเครียดและเหนื่อยมาก อ่านหนังสือ ปวดศีรษะแบบนี้มานาน 3 ปี จะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองไหมค่ะ แล้วจะต้องรักษาอย่างไรค่ะ แล้วจะหายเป็นปกติหรือไม่ค่ะ

    นางสาวกรรณิการ์ สมศรี รหัส 520061

  116. ยาที่ใช้ในโรคหลอดเลือดสมองแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
    1. ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Antiplatelets) ซึ่งในที่นี้จะขอเน้นยาที่อยู่ในรูปแบบยารับประทาน ได้แก่

    Aspirin ( แอสไพริน )
    2. ยาต้านการเกิดลิ่มเลือด (Anticoagulants) ในที่นี้จะขอเน้นเฉพาะยาที่อยู่ในรูปแบบยารับประทาน ได้แก่

    Warfarin ( วาฟาริน )
    3.ยาสลายลิ่มเลือด (Thrombolytics หรือ Fibrinolytics) ได้แก่ Streptokinase , Urokinase , Alteplase (tissue plasminogen activator, rt-PA)
    By นางสาวจิรนันท์ ไขสาร รหัส530683

  117. Love Is says:

    อาจารย์ค่ะ ถ้าคนไข้ที่มีอาการเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดในสมอง แล้ววิธีการรักษาด้วยวิธีการทำกายภาพบำบัดจะสามารถบรรเทาอาการของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการรักษาแบบอื่นไหมค่ะอาจารย์

    นางสาวศิรินาถ ดวงศรี
    รหัส 510424

  118. อาจารย์ค่ะ มีญาติที่มีอาการปวดศรีษะมากและชอบรับประทานยาแก้ปวดตลอดแต่ก็ยังมีอาการปวดศรีษะอยู่แล้วถ้าเป็นเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองถ้าเป็นแบบนี้จะเป็นอันตรายถึงชีวิตไหมค่ะถ้าเราไม่ได้รับการรักษาตามแบบของโรคหลอดเลือดสมองไหมค่ะอาจารย์
    นางสาว สุชาดา มั่นคง รหัสนักศึกษา 510734

  119. อาจารย์คะ จากสถานการณ์ ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลกิน Para มา 100 เม็ด มาถึงโรงพยาบาล มีอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหารและเหงื่อออกตามตัว ได้รับการทำ Gastric lavage, Activated charcoal feed,N- acetylcysteine feed และเจาะเลือดตรวจ Acetaminophen การพยาบาล คือภายใน 1 ชั่วโมง หลัง feed ถ้ามีอาการคลื่นไส้อาเจียนให้ feed ซำ 1 dose ทำไมถึงต้องให้ feed ซำ 1 ครั้ง คะ

  120. อาจารย์ค่ะ
    ญาติหนูมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง และได้ยาลดความดันโลหิต และไปตรวจไขมันพบว่าขึ้นสูงได้ยาลดไขมันมารับประทาน แต่อาการปวดศีรษะยังไม่ดีขึ้น จะมีผลเป็นโรคคหลอดเลือดสมองได้ไหมค่ะ
    และคุณตาหนูป่วยด้วยโรคหลอดเลือดในสมองจนเป็นอัมพาส และเสียชีวิต มีคนบอกว่าสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้จริงรึเปล่าค่ะ นางสาว นณินาถ ขุนณรงค์ รหัสนักศึกษา 520221

  121. ผู้ป่วยหมดสติ ถูกไฟไหม้นาน 30 นาที ญาตินำส่งโรงพยาบาล ไอ มีเสมหะสีขาวปนเขม่าหายใจเร็ว มีแผลบริเวณคอ ผิวหนังเป็นแผลพุพองทำไหมต้องใส่ ET tube ค่ะอาจารย์ สุกัญญา 510449

  122. อาจารย์ค่ะจำเป็นไหมค่ะ คนอ้วน แล้วมีไขมันในเลือดสูงปวดศีรษะเวลาทำงานหนักมากๆๆๆๆๆจะต้องป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองกันทุกคน

  123. อาจารย์ คะ ผู้ป่วยกินยาฆ่าแมลง organophosphate มานาน 30 นาที ก่อนมาโรงพยาบาล ตรวจพบไม่รู้สึกตัว มีน้ำลายมากกล้ามที่แขนกระตุก หายใจตื้นๆ 12bpm P= 120 bpm BP= 110/70 mmHg รักษาโดยการทำ Gastriac lavage Atropine 2 amp IV q 15 นาที และให้ Pralidoxine 1 gm IV q 8 hr
    การพยาบาลทำไมถึงต้องให้ Atropine คะ

  124. ประเภทของโรคหลอดเลือดสมอง
    โรคหลอดเลือดสมอง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

    1. โรคหลอดเลือดสมองแตก พบได้ประมาณร้อยละ 20 – 30 ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด

    2.โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน พบได้ประมาณร้อยละ 70 – 80 ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด
    ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

    1.โรคความดันโลหิตสูง
    2. สูบบุหรี่
    3.โรคเบาหวาน
    4.โรคหัวใจ
    5.ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง
    6.โรคอ้วน
    7.ดื่มสุราปริมาณมากๆ (ลดารัตน์ สาลี รหัส 510572)

  125. sirirat520469 says:

    distributive shock คืออะไร

  126. Love Is says:

    อาจารย์ค่ะ หนูมีญาติที่ป่วยเปน โรคหลอดเลือดสมอง แล้วได้รับการผ่าตัดมาประมาณ 5 ปีมาแล้ว หมอบอกว่าไม่ให้ทำงานหนักมาก แต่ท่านก้ไม่มีอาการเหนื่อย จึงทำงานมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบันโดยไม่มีอาการเหนื่อย หนูอยากถามอาจารย์ว่า แล้วอาการของโรคจะสามารถเกิดซ้ำได้อีกไหมค่ะ แล้วจะเกิดผลแทรกซ้อนรุนแรงมากไหมค่ะอาจารย์

    นางสาวศิรินาถ ดวงศรี รหัส 510424

    • ทำไมผู้ป่วยความดันสูงถึงมีอาการเกร็งบริเวณปลายมือปลายเท้าคะอาจารย์จะเป็นตอนกลางคืนด้วยคะจะทำให้เป็น strokได้ไหมคะพอดีแม่หนูมีอาการแบบนี้เลย

  127. อาจารย์คะ ระหว่าง Intracerebral hemorrhage กับ Subarachnoid hemorrhage อะไรรุนแรงและมีผลต่อผู้ป่วยมากที่สุด
    รหัส 510427 นางสาวศิริลักษณ์ แสงโพธิ์แก้ว

  128. อาจารย์ค่ะ หนูทราบมาว่าอาการของโรคเส้นเลือดสมองตีบ หรืออุดตันต้องรีบมาโรงพยาบาลภายใน 3 ชม. จะช่วยส่งผลให้การรักษาที่ได้ผลดีกว่าอย่างไรคะ

  129. อาจารย์ค่ะ Ischemic Penumbra จะสามารถรักษาให้หายกลับมาเป็นปกติมั้ย ถ้าหายเป็นแล้วเนื้อสมองจะมีรอยโรครึป่าวค่ะ

    นางสาวเพ็ญนภา บาดาจันทร์ รหัส 500038

  130. ผู้ป่วย Stroke มาโรงพยาบาล แพทย์ไม่ให้ยาลดความดันโลหิต เพราะจำทำให้เกิด Vasodilation แล้วจะส่งผลต่อร่างกายของผู้ป่วยยังไงบ้างค่ะ แล้วมีผลต่อการรักษารึป่าวค่ะ

    นางสาวเพ็ญนภา บาดาจันทร์ รหัส 500038

  131. ปัจจุบันยังไม่มียาใดที่รักษาอาการที่เกิดขึ้นได้โดยตรง แต่ผู้ป่วยแต่ละคนมีโอกาสที่จะดีขึ้นได้เอง โดยเน้นการทำกายภาพบำบัดเป็นหลัก ซึ่งแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไปในเรื่องของการฟื้นตัวว่าจะดีขึ้นได้ถึงระดับใด โดยอาจพอบอกแนวโน้มได้คร่าวๆหลังเกิดอาการ2-4 สัปดาห์ แต่ก็ไม่ได้ทำนายได้ถูกต้องแน่นอนเสมอไป เป็นเพียงแนวโน้ม เช่น ถ้าผ่านไป2 สัปดาห์ อาการอ่อนแรงดีขึ้นมากพอสมควร ก็อาจบอกได้ว่ามีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้มาก บางรายทำกายภาพบำบัดไป3-6 เดือน ไม่ค่อยดีขึ้นเท่าที่ควร ก็อาจมีแนวโน้มว่าจะใช้เวลานานหรืออาจไม่ดีขึ้นกว่าเดิมมากนัก
    By : น.ส.เจนจิรา 520543

  132. อาจารย์ค่ะสถานการณ์ผู้ป่วยรายหนึ่งถูกนำส่ง ร.พ. ได้รับประทานกรัมม็อกโชน ทำไมผู้ป่วยรายนี้ถึงได้รับยา fuller earth แล้วมียาตัวอื่นอีกมั้ยคะอาจารย์

  133. อาจารย์ค่ะผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบหรือเปล่าค่ะ มีสาเหตุอื่นนอกเหนือจากนี้ไหมค่ะ

    นางสาวธิดา ข่าขันมะลี :510585

  134. Lacunar Infarotion Stroke ไม่มีอาการของ Aphasia อาการชัก หรือ Cortical symtoms เลย แล้วเราจะรู้ได้ยังไงค่ะอาจารย์ว่าผู้ป่วยมีภาวะ Ischemic Stroke ชนิดนี้ มีอาการอะไรบ้างให้รู้ว่าผู้ป่วยเป็น Lacunar Infarotion Stroke

  135. อาจารย์ค่ะกรณี caseคุณอรัญญา นามวงศ์ นั้นไม่ทราบว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ค่ะและไม่ทราบว่าถาผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองถ้าเข้ารับการรักษา>24ชั่วโมงจะมีโอกาสหายจากอาการปากเปี้ยว ส่วนมากใช้ยาอะไรในการรักษาค่ะ
    นางสาวนวลฉวี ดีโนนโพธิ์ :480294

  136. อาการสำคัญ
    ผู้ป่วยจะมีอาการเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันทันทีทันใด ดังต่อไปนี้
    – แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง
    – แขนขาชาซีกใดซีกหนึ่ง
    – ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด
    – ตามัว หรือ ตามองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่งหรือเห็นภาพซ้อนสองทันทีทันใด
    – ปวดศีรษะรุนแรง เฉียบพลันและ อาเจียนพุ่ง – เวียนศีรษะอย่างรุนแรง เดินเซ เสียการทรงตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดร่วมกับอาการอื่นๆ ข้างต้น
    อาการแสดง
    แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งทันทีทันใด แขนขาชาซีกใดซีกหนึ่งทันทีทันใด

    ตามัว หรือ ตามองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่งหรือเห็นภาพซ้อนสองทันทีทันใด
    ปากเบี้ยว พูดไม่ชัดทันทีทันใด
    ปวดศีรษะรุนแรง เฉียบพลันและ อาเจียนพุ่ง
    เวียนศีรษะอย่างรุนแรง เดินเซ เสียการทรงตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดร่วมอาการอื่นข้างต้น
    “อาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันทันทีทันใด”
    การปฏิบัติเมื่อเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

    -หยุดกิจกรรมทุกอย่างที่กำลังทำอยู่
    -ให้นอนราบเพื่อป้องกันการหกล้มบาดเจ็บที่ศีรษะ
    -ในผู้ป่วยที่หมดสติ ให้ตะแคงตัวหรือหันหน้าไปข้างใดข้างหนึ่งเพื่อป้องกันการสำลัก
    -รีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันทีไม่ว่าจะมีอาการหนักหรือเบา
    หากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับการรักษารวดเร็วเท่าใดจะยิ่งเป็นการหลีกเลี่ยงความเสียหายต่อสมองแบบยาวนานได้

  137. โรคหลอดเลือดสมอง( cerebrovascular disease, stroke ) เป็นโรคที่พบบ่อยตลอดจนเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและพิการที่สำคัญในประเทศไทย กล่าวคือ เป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต อันดับ 1ในเพศหญิงและอันดับ 2 ในเพศชายตามลำดับ นอกจากนี้ยังเป็นโรคที่ทำให้เกิดการสูญเสีย ปีสุขภาวะ (Disability Adjusted Life Years ; DALYs ) ที่สำคัญอันดับ 2 ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ทั้งนี้โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน(Cerebrovascular disease) พบได้ประมาณร้อยละ 70 ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด
    ประเด็นการเรียนรู้ที่สำคัญ (Key Learning Point )
    1. การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ควรให้การรักษา และแยกตามกลุ่ม
    ผู้ป่วย ดังนี้

    1.1 Acute period เป็นมาภายใน 3 ชั่วโมงแรก พิจารณาให้ Thrombolytic drug

    1.2 Intermediate period เป็นมาภายใน 7 วัน แต่เกิน 3 ชั่วโมง พิจารณา Admit

    1.3 Rehabilitation period เป็นมาหลัง 7 วัน พิจารณา ดูแลฟื้นฟูสภาพที่บ้าน

    2. การให้ยาลดความดันโลหิต ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke) (ประมาณ 2 สัปดาห์แรกหลังจากเกิดอาการ) แม้ว่าจะมีความดันโลหิตสูง ก็ไม่ควรให้ยาลดความดันโลหิต ซึ่งเป็นภาวะ Compensation ของร่างกาย และการให้ยาลดความดันโลหิตจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี (แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สำหรับแพทย์ ) ยกเว้น มีข้อบ่งชี้เฉพาะ เช่นความดันซิสโตล่า > 220 mmHg. ความดันไดแอสโตล่า >120mmHg.,acute myocardial infarction , aortic dissection , acute renal failure , hypertensive encephalopathy ในกรณีจำเป็นต้องให้ยาลดความดันโลหิต ไม่ควรใช้ Nifedipine sublingual เนื่องจากความดันโลหิตอาจลดลงอย่างมาก และมีผลให้สมองขาดเลือดมากยิ่งขึ้น

    3. ควรให้ Aspirin ขนาด 160–300 มิลลิกรัม ทางปากภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากเกิดอาการ หรือหลังจากรับไว้ในโรงพยาบาล

    4. ไม่ควรให้ Steroid เพื่อหวังผลในการลดภาวะสมองบวม เนื่องจากไม่ได้ผล และยังเพิ่ม ความเสี่ยงของการติดเชื้อแทรกซ้อน

    5. ควรพิจารณาให้ Anticoagulant ในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น กรณีมีสาเหตุจากโรคหัวใจหรือหลอดเลือดที่คอและพยาธิ สภาพที่สมองมีขนาดไม่ใหญ่ ฯลฯ

    6. ควรเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ทุกราย

  138. โรคหัวใจขาดเลือด คือ ภาวะที่หัวใจได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่พอ อาจเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง แต่ที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากเลือดหัวใจตีบ อยากถามอาจารย์ว่าโรคนี้ป้องกันได้ไหมค่ะ เป็นแล้วจะมีชีวิตอยู่เหมือนคนปกติได้ไหมค่ะอาจารย์ และจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้นานไหมค่ะ

  139. อาจารย์คะ ผู้ป่วยที่เจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือดอยู่ก่อนเมื่อเจ็บหน้าให้อมยาNitrogycerin 1 เม็ดหากอาการปวดไม่หายให้โทรแจ้งรถพยาบาลทันทีก่อนที่จะอมยาเม็ดที่ 2 สำหรับผู้ป่วยที่อมยาแล้วหายปวดให้อมยาทุก 5 นาที จำนวน 3 ครั้งหากอาการไม่ดีขึ้นให้ตามพยาบาลทันที
    อาจารย์คะ สำหรับผู้ป่วยที่อมยาแล้วหายปวด ทำไมถึงต้องอมยาทุก 15 นาทีจำนวน 3 ครั้งด้วยคะ

  140. เส้นเลือดสมองตีบ เป็นโรคหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มใหญ่ที่เรียกว่า โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งประกอบไปด้วย 3 โรคหลักๆ ได้แก่ เส้นเลือดสมองตีบ แตกและอุดตัน โดยเส้นเลือดสมองตีบเป็นแบบที่พบได้มากที่สุด โดยลักษณะสำคัญของอาการที่เกิด คือเป็นค่อนข้างเร็ว กะทันหัน ภายในเวลาเป็นนาทีหรืออาจเป็นหลังตื่นนอน นอกจากนี้แล้วมีอาการอื่นอีกไหมค่ะอาจารย์

  141. อาจารย์ครับ คนที่มาด้วย แขนขาอ่อนแรง ชาปลายมือปลายเท้า ทรงตัวไม่ได้ พยาบาลคิดว่าคนไข้น่าจะเป็นStroke ทำไมแพทย์ถึงสั่งเจาะ DTX ด้วยครับ

  142. Aki Takako says:

    อาจารย์ค่ะหนูสงสัยว่าทำไมอาการของโรคหลอดสมองอุดตัน ผู้ป่วยและคนใกล้ชิดต้องสังเกตอาการที่เกิดขึ้น และรีบไปรพ.ทันที ให้ทันเวลาใน 2 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งก่อนหน้านี้เรามักจะบอกว่าใน 3 ชั่วโมง แต่เนื่องจากเมื่อมาถึงรพ.แล้วมีกระบวนการตรวจก่อน จึงต้องมาให้ทันใน 2 ชั่วโมงครึ่ง ถ้าส่งไม่ทันจะเกิดอะไรขึ้นค่ะ

    นางสาวรวิรรณ มาลัง

  143. Aki Takako says:

    อาจารย์ค่ะหนูสงสัยว่าทำไมอาการของโรคหลอดสมองอุดตัน ผู้ป่วยและคนใกล้ชิดต้องสังเกตอาการที่เกิดขึ้น และรีบไปรพ.ทันที ให้ทันเวลาใน 2 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งก่อนหน้านี้เรามักจะบอกว่าใน 3 ชั่วโมง แต่เนื่องจากเมื่อมาถึงรพ.แล้วมีกระบวนการตรวจก่อน จึงต้องมาให้ทันใน 2 ชั่วโมงครึ่ง ถ้าส่งไม่ทันจะเกิดอะไรขึ้นค่ะ
    นางสาวรวิรรณ มาลัง 500310

  144. อาจารย์ค่ะผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดมีประวัติโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูงและเบาหวานมาประมาณ10ปีรับประทานยาควบคุมความดันโลหิตสูงและเบาหวานเป็นประจำมีผลทำให้โรคสมองขาดเลือดมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นหรือเปล่าค่ะ และมีอาการแทรกซ้อนอะไรตามมาไหมค่ะ น.ส. นุชรา สุดชารี 520603

  145. อาจารย์ค่ะผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิต แต่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานบ้างครั้งมีอาการแขนขาอ่อนแรง มีอาการปวดศีรษะเป็นประจำ รับประทานยาความดันโลหิต ไม่สม่ำเสมอ ภาวะเครียดประจำ ผู้ป่วยรายนี้มีโอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ค่ะ และมีโอกาศเป็นโรคอื่นหรือเปล่าค่ะอาจารย์
    น.ส.นวลฉวี ดีโนนโพธิ์ รหัส 480294

  146. saekong says:

    แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

    1. การกระตุ้นให้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เช่น เดิน ลุก นั่ง รับประทานอาหาร ขับถ่ายเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ป่วย และฟื้นฟูสภาพได้เร็วขึ้น ญาติควรให้กำลังใจผู้ป่วยให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
    2. จัดอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ตามโรคประจำตัวของแต่ละคน เช่น เบาหวาน อาหารไขมันน้อย ถ้ามีความดันโลหิตสูงควรให้อาหารจืด ถ้ามีท้องผูกควรให้ผัก ผลไม้มากๆ
    3. ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารเองไม่ได้มีอาการกลืนลำบาก ควรให้อาหารทางสายยางเพื่อป้องกันการสำลักอาหาร
    4. ในกรณีผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้แขนขาอ่อนแรงควรพลิก ตะแคง ตัวบ่อยๆ ทุก 2 ชั่วโมง และใช้ผ้านุ่มๆ รองใต้ปุ่มกระดูก หรือนอนที่นอนลม
    5. ผู้ป่วยมักจะนอนในช่วงกลางวััน ญาติควรจัดสถานที่ให้เหมาะสมไม่มีเสียงรบกวน
    6. ควรให้ผู้ป่วยได้ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ พูดคุยสนทนากับคนอื่นได้ ถ้ามีปัญหาเรื่องการสื่อสาร เช่น พูดไม่ชัด ฟังไม่เข้าใจ ญาติควรใจเย็นเพื่อช่วยเหลือ ให้ผู้ป่วยเข้าใจ อาจใช้วิธีเขียน การอ่าน รูปภาพ การใช้สื่อแทนคำพูด
    7. ผู้ป่วยอาจมีความหงุดหงิด ซึมเศร้า ท้อแท้ ญาติควรเข้าใจไม่แสดงความรำคาญ ควรปลอบโยนให้กำลังใจผู้ป่วย
    8. ถ้าผู้ป่วยอุจจาระ ปัสสาวะราด ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าทำความสะอาดอวัยวะเพศ เพื่อไม่ให้เปียกชื้น ควรดูแล ทำความสะอาดร่างกาย ปาก ฟัน อาบน้ำ สระผม แปรงฟัน บ้วนปาก ให้ผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถทำได้
    9. ถ้าผู้ป่วยใส่สายปัสสาวะคาไว้ ควรให้อยู่ต่ำกว่าระดับกระเพาะปัสสาวะ และทำความสะอาดปลายอวัยวะเพศ และสายสวนด้วยน้ำยาเซพลอน 1 : 100 วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นด้วย

    น.ส เปรมวดี แซ่ก๋อง รหัส 510714

  147. อาจารย์ค่ะหนูอยากทราบว่า คือคนที่หนูรู้จักเขามีอาการเจ็บที่หน้าอกเหมือนมีคนมาบิดหัวใจ เวลามันเจ็บขึ้นมา บางทีต้องหยุดหายใจไปชั่วขณะแล้วมันก็หายเจ็บ บางทีนอนพลิกตัวเฉยๆก็เป็น บางครั้งเวลาเดินก็ยังเป็น อาการนี้เป็นตอนอายุ 19 แล้วก็หายเจ็บไปนาน แล้วก็เพิ่งกลับมาเจ็บอีกเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ตอนนี้อายุ 29 ปี ก็ยังเป็นบ้างแต่ไม่บ่อยนานๆจะเจ็บ แต่ทุกครั้งเวลาที่เป็นก็ต้องหยุดหายใจตลอดจึงจะหายเจ็บ เขาจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอะไรค่ะอาจารย์

  148. suthidcha says:

    อาจารย์ค่ะ…
    การให้ Thrombolytic drug (r-tPA) แก่ผู้ป่วยต้องให้จนกว่าโรคนี้จะหาย
    หรือว่าต้องใช้ยาตลอดชีวิตค่ะ และหากให้ในขนาดที่มากเกินไปจะส่งผลต่อร่างกายอย่างไรค่ะ

  149. suthidcha says:

    คำถามข้อบน suthidcha 520746

  150. อาจารย์ค่ะคนไข้มาโรงพยาบาลด้วยอาการล้มในห้องน้ำ ตื่่นมาจำอะไรไม่ได้เลย จำคนในครอบครัวไม่ได้ ถ้าเป็นแบบนี้คนไข้จะมีโอกาสเกิด stroke ได้ไหมค่ะ

  151. natthasiri says:

    อาจารย์ค่ะ หนูเคยอ่านเจอว่าวิตามินอี ช่วยป้องกันการเกิด stroke ได้ จริงหรือเปล่าค่ะ และมันมีกลไกอย่างไรถึงช่วยป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ค่ะ และจะช่วยป้องกันได้มากน้อยแค่ไหนค่ะ

  152. natthasiri says:

    อาจารย์ค่ะ หนูเคยอ่านเจอว่าวิตามินอี ช่วยป้องกันการเกิด stroke ได้ จริงหรือเปล่าค่ะ และมันมีกลไกอย่างไรถึงช่วยป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ค่ะ และจะช่วยป้องกันได้มากน้อยแค่ไหนค่ะ
    นางสาวนัฎฐาศิริ เกตุนวม 520738

  153. ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มาโรงพยาบาลส่วนมากจะมาด้วยอาการอะไร…..และแพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นstrokeเลยหรือเปล่าค่ะ แพทย์จะสั่งตรวจอะไรและจะให้การรักษาด้วยยาอะไรหรือการรักษาอย่างไร

    นางสาวธิดา ข่าขันมะลี:510585

  154. Ammiie Chill says:

    อาจารย์ค่ะเคสหนูญาติผู้ป่วยสงสัยว่าหากเกิดภาวะสมองขาดเลือด แร้วเข้ารับการผ่าตัด มันจะมีโอกาสเกิดภาวะนี้ซ้ำได้อีกหรือไม่ค่ะอาจารย์
    อรุณี พรมสีแก้ว 510352

  155. อาจารย์คะมีลุงคนนึงที่รู้จัก เค้านั่งฟังพระสวดมนต์ แล้วลุกเพื่อเปลี่ยนท่านั่งแล้วก็เกิดวูบล้มลงศีรษะกระแทกกับพื้นเมื่อนำส่งโรงพยาบาลหมอบอกว่าเส้นเลือดในสมองแตก นอนโรงพยาบาลได้ 6 วัน ก็เสียชีวิต น่าจะเกิดจากอะไรได้บ้างคะอาจารย์ ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นลุงเค้ายังแข็งแรงไม่มีอาการผิดปกติอะไรเลย

    • 520558sutineepunjinda says:

      พออ่านstrokeแล้วหนูเลยส่งสัยว่าถ้าอย่างนี้คนที่มีภาวะปวดหัวมากๆๆๆเป็นบ่อยๆๆก็มีปัจจัยเสี่ยงได้ใช่ไหม่ค่ะแล้วถ้าปวดหัวมากๆๆนอนศรีศรีษะสูงก่อจะช่วยลดอาการปวดได้ใช่ไหมค่ะ

  156. อาจารย์ค่ะถ้าสมมุติว่าเราจัดท่าให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดในสมองนอนในท่าศีรษะสูงเกินไปจะส่งผลอะไรกับผู้ป่วยบ้างค่ะ

    510438 น.ส.เพ็ญประภา สิงหรา

  157. อาจารย์ค่ะอยากทราบสาเหตุการเกิด stroke แต่ละชนิดค่ะ

  158. อาจารย์ค่ะเวลามีอาการเจ็บหน้าอกแล้วก็มีอาการชาที่ปลายนิ้วเท้าบ่อยๆน่าจะเกิดจากสาเหตุอะไรบ้างคะ

  159. ผู้ป่วย stroke และมีโรคหัวใจร่วมด้วยตรวจEKG show AF c RVR อาจารย์คะหนูอยากทราบว่า RVR คืออะไรคะ แล้วมีลักษณะอย่างไรคะ
    นางสาวเพียงเพ็ญ พุ่มอินทร์ รหัส 530169

  160. อาจารย์ค่ะญาติหนูคนหนึ่งอายุ 68ปีเคยขับรถมอเตอร์ไซด์ล้มกระดูกหักหลายที่ หลังจากนั้น6 เดือนต่อมามีอาการตาพร่ามัว มีอาการหลงลืมเป็นบางครั้ง (ทั้งสูบบุรี่และดื่มกาแฟทุกวัน) แล้วจะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือเปล่าค่ะ

    นางสาวธิดา ข่าขันมะลี:510585

  161. อาจาร์ค่ะมีญาติของดิฉันคนหนึ่งดื่มสุราทุกวัน สุบบุรี่วันละหลายซอง ทำงานหนักมาก และเขาเป็นคนที่มีเรื่องคิดให้ปวดหัวอยู่ทุกวัน มีอาการเพี้ยนๆอยู่บ้าง มีโอกาสจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้หรือเปล่าค่ะ และจะวินิจฉัยอย่างไรค่ะ

    นางสาวนวลฉวี ดีโนนโพธิ์;480294

    • 520558sutineepunjinda says:

      ผู้ป่วย stroke ที่เป็นอัมพาตโอกาศจะกลับมาเป็นเหมือนเดิทได้ไหมค่แล้วโรคพวกนี้เกี่ยวกับพันธุ์กรรมไหมค่ะ น ส ศศิธร จรอนันต์ 520127

      • 520558sutineepunjinda says:

        การให้ยาThrombolytic drug (r-tPA)มีระยาเวลาการให้รึเปล่าค่ะ ต้องได้อย่างต่อเนื่องรึเปล่าค่ะ

  162. อาจารย์ ผู้ป่วย stroke อาการ แขนขา อ่อนแรง พูดไม่ออก พูดลำบาก ตามัว เป็นข้างเดียว ปวดศีรษะ แล้วมีโอกาสเป็น อัมพาตครึ่งซีกหรือปล่าวค่ะ

  163. อาจารย์ค่ะ หนูเคยขึ้นฝึกปฏิบัติ เคยเห็นผู้ป่วยรายหนึ่งมาด้วยอาการ ปวดศีรษะ แขนข้างขวาอ่อนแรง เวลาพูดปากจะเบี้ยว ผู้ป่วยบอกว่า จู่ๆ ก็มีอาการเลย แพทย์ตรวจพบว่ามีก้อนเลือดที่สมองซีกซ้าย ผู้ป่วยรายนี้จะได้รับการรักษาอย่างไรบ้างค่ะ แล้วอาการที่ผู้ป่วยเป็นจะหายไหมค่ะ

  164. อาจารย์ค่ะ แล้วคนที่่มีดันโลหิตสูง นานๆทีเป็นที ไม่เคยมีประวัติในการรับประทานยา มีโอกาสที่จะเป็น Stroke ได้ไหมค่ะ

  165. อาจารย์ค่ะ ทำไมคนที่เป็น Stroke ถึงเจาะ DTX ค่ะ
    วนิดา บัวใหญ่510158

  166. ผู้สูงวัยอายุ 75 ปี มี atrial fibrillation จึงเสี่ยงต่อ stroke. Warfarin เป็นยา ป้องกันการแข็งตัวของเลือดที่ใช้ดีมากใน stroke แต่ก็ อยากทราบว่าWarfarin มีความเสี่ยงต่อภาวะอะไรค่ะ
    วนิดา บัวใหญ่510158

  167. Aki Takako says:

    Ischemic stroke สามารถแบ่งภาวะการขาดเลือดของสมองเป็น 3 แบบตามระยะเวลา และความรุนแรงของอาการ 1Transient ischemic attack (TIA) 2Reversible ischemic neurological deficit (RIND)
    3. Cerebral infarction หรือ stroke แตกต่างกันยังไงค่ะ
    นางสาวรวิวรรณ มาลัง 500310

  168. อาจารย์คะ ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูงรับประทานยาไม่ต่อเนื่่อง ต่อมามีอาการความดันโลหิตสูงเฉียบพลัน ชัก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดตะกุกตะกัก ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล ได้รับการวินิจฉัยว่าเส้นเลือดในสมองตีบ อยากทราบว่าผู้ป่วยรายนี้มีโอกาสเป็นอัมพาตได้ไหมคะ

  169. Prissy Young says:

    อาจารย์ค่ะ การที่ผู้ป่วยได้รับความกระทบกระเทือนทางระบบประสาทและมีอาการปวดศรีษะเป็นประจำทำให้ต้องรับประทานยาแก้ปวดอยู่ตลอดเวลานี่หมายถึงว่าป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองไหมค่ะอาจารย์ แล้วเราลองเอาการทำกายภาพบำบัดเข้ามาช่วยในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองจะช่วยทำให้อาการต่างๆหายไปได้ไหมค่ะอาจารย์
    นางสาวปริศนา ยืนชีวิต รหัสนักศึกษา 500639

  170. อยากทราบว่า Stroke เกิดได้อย่างไรและมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้างและผู้ป่วยจะหายเป็นปกติหรือไม่

    นางสาวเพชรรัตน์ แดงสวาท รหัส 510612

  171. หนูไม่เข้าใจเรื่อง Cardiac pacemaker รบกวนอาจารย์ช่วยอะธิบายให้อย่างละเอียดหน่อยคะ

    นางสาวเพชรรัตน์ แดงสวาท รหัส 510612

  172. ยาที่ใช้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
    ยาที่ใช้ในโรคหลอดเลือดสมองแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
    1. ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Antiplatelets) ซึ่งในที่นี้จะขอเน้นยาที่อยู่ในรูปแบบยารับประทาน ได้แก่

    Aspirin ( แอสไพริน )
    อาการข้างเคียง :
    1.ตัวยาอาจระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้ปวดท้องหรืออาเจียนหลังรับประทาน บางรายอาจทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารเพราะฉะนั้นไม่ควรรับประทานยาในขณะท้องว่าง ควรรับประทานยาหลังอาหารทันที หรือหลังดื่มนม และควรดื่มน้ำตามมาก ๆ ภายหลังรับประทานยา
    2.ยานี้อาจทำให้เลือดออกง่าย เนื่องจากทำให้การเกาะตัวของเกล็ดเลือด (Platelets Aggregation) ลดลง จึงควรระวังในผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีเลือดออก เช่น ไข้เลือดออก โรคเลือดต่าง ๆ

    ข้อควรระวัง :
    1. ในผู้ที่มีอาการแพ้ยานี้ โดยอาจมีผื่นคันหรือลมพิษขึ้น ถ้าแพ้มาก ๆ อาจมีหอบหืดหรือชัก ซึ่งหากพบอาการดังกล่าวให้หยุดยาทันที แล้วให้รีบมาพบแพทย์ และไม่ควรรับประทานยานี้อีกอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้อีก
    2.ถ้าใช้ขนาดมากเกินไปจะเป็นพิษ ทำให้มีอาการมึนงง ใจสั่น หูอื้อ หากเป็นรุนแรงอาจชัก ซึมจนถึงไม่รู้สึกตัว ดังนั้น จึงควรรับประทานยาให้ถูกต้องตามที่แพทย์สั่งและเก็บยาไว้ให้มิดชิด พ้นจากมือเด็ก
    3. ไม่ควรใช้ยาในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ที่เป็นไข้หวัดใหญ่ หรืออีสุกอีใส เพราะอาจทำให้เกิดโรคเรย์ซินโดรม (Reye’s Syndrome)ซึ่งมีอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้
    4.ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ช่วง 3 เดือนก่อนคลอด เพราะอาจทำให้ตกเลือดได้ง่าย และอาจทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับทารกได้

    Clopidogrel ( โคลพิโดเกรล )
    ผลข้างเคียงจากยา :
    ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักสามารถทนต่ออาการข้างเคียงของยาได้ดี โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อย ก็เช่นเดียวกับยาต้านเกล็ดเลือดอื่น ๆคือการมีเลือดออกผิดปกติ และอาจพบอาการท้องเสีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง แผลในทางเดินอาหาร และกลุ่มอาการอาหารไม่ย่อย
    ข้อควรระวัง :
    ผู้ป่วยที่แพ้ยานี้ ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของภาวะตกเลือดที่กำลังดำเนินอยู่ เช่น ภาวะเลือดออกในสมอง

    2. ยาต้านการเกิดลิ่มเลือด (Anticoagulants) ในที่นี้จะขอเน้นเฉพาะยาที่อยู่ในรูปแบบยารับประทาน ได้แก่

    Warfarin ( วาฟาริน )
    ผลข้างเคียงจากยา :
    อาการข้างเคียงที่พบบ่อย คือ ภาวะเลือดออก (bleeding) ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการหยุดยาหรือการลดขนาดยาลง หากมีอาการเลือดออกที่ไม่รุนแรง

    ข้อควรระวัง :
    ยานี้ห้ามใช้ในระหว่างตั้งครรภ์

    3.ยาสลายลิ่มเลือด (Thrombolytics หรือ Fibrinolytics) ได้แก่ Streptokinase , Urokinase , Alteplase (tissue plasminogen activator, rt-PA)
    ซึ่งมักบริหารยาโดยการฉีดในผู้ป่วยที่รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

    คำแนะนำในการใช้ยาโรคหลอดเลือดสมอง

    1. อ่านฉลากยาให้เข้าใจก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
    2. รับประทานยาให้ครบตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ
    3. ควรหยุดยาก่อน 7 วันที่จะไปผ่าตัดหรือถอนฟัน
    4. หากมีอาการผิดปกติใดๆ หลังได้รับยาเช่น มีเลือดออกผิดปกติ ปัสสาวะเป็นเลือด มีจ้ำเลือดเกิดขึ้นตามตัว หรือมีเลือดออกตามไรฟันมากผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
    5. หากได้รับยาอื่นรับประทานร่วมด้วยควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง
    6. อาหารเสริมบางชนิดมีผลทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยากลุ่มนี้ได้ เช่น แปะก๊วย กระเทียม เลซิทิน น้ำมันปลา วิตามินอี เป็นต้น ดังนั้น หากจะรับประทานอาหารเสริมใดควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง หากมีอาการแพ้ยา เช่น ผื่นคัน บวม ต้องหยุดยา และมาพบแพทย์

    นางสาวนันทิชา แก้วสิตร รหัส 520376

  173. อาจารย์คะ หัวเหมือนโดนบีบแล้วก็เจ็บมากๆเป็นเพราะอะไรคะ

  174. อาจารย์คะ อยากกทราบว่าคนที่มีภาวะเครียดบ่อย ๆ แต่ไม่มีโรคประจำตัว เช่นความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมัน จะมีโอกาสเกิด ภาวะ stroke ได้หรือไม่คะ

  175. Prissy Young says:

    อาจารย์ค่ะ การที่เรามีอาการปวดศรีษะบ่อยๆแล้วเราไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องหรือได้รับการปรึกษาจากแพทย์หากเราปล่อยอาการปวดศรีษะทิ้งไว้เป็นเวลานานๆแล้วอาการเหล่านี้จะส่งผลทำให้เราเป็นโรคหลอดเลือดมองได้ไหมค่ะอาจารย์
    นางสาวปริศนา ยืนชีวิต รหัสนักศึกษา 500639

  176. Prissy Young says:

    อาจารย์ค่ะ หนูมีญาติที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงแต่ก็ไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องถ้ามีอาการหนักมากๆถึงจะไปพบแพทย์นะค่ะแล้วท่านก็บ่นว่ามีอาการปวดศรีษะร่วมด้วยแล้วโรคความดันโลหิตสูงจะส่งผลถึงกับต้องเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ไหมค่ะอาจารย์
    นางสาวปริศนา ยืนชีวิต รหัสนักศึกษา 500639

  177. อาจารย์ค่ะเวลาที่หนูเครียดมากๆๆหนูจะปวดหัวมากปวดร้าวมาที่ตาเป็นเวลาเดียวกันทุกวันทั้งที่วันต่อมาไม่เครียดเลยจะปวดตอนบ่ายๆๆหนูเป็นไมเกรนหรือป่าวค่ะ นางสาวเบญรัตน์ อำไพ 510515

  178. อาจารย์ค่ะทำไมบางคนถึงมีพยาธิสภาพข้างเดียวกับสมองค่ะอาจารย์

    นางสาวกมลวรรณ วงวาส 510640

  179. อาจารย์ค่ะเด็กชายอายุ15ปีมีอาการปวดศีรษะมาก ปวด2-3ครั้ง/อาทิตย์ ปวดจนกระทั่งซื้อยานอนหลับมารับประทาเพื่ืื่อจะได้นอนหลับได้จากนั้นผู้ปกครองจึงพาไปพบแพทย์ ผลการตรวจพบว่าไม่มีอาการผิดปกติอะไรต่อมาก็มีอาการปวดศีรษะอีกเด็กคนนี้น่าจะตรวจอะไรเ่พิิ่่มอีกไหมค่ะหรือรับประทานยาแก้ปวดตามแพทย์สั่งก็พอ

  180. อาจารย์ค่ะเด็กชายอายุ15ปีมีอาการปวดศีรษะมาก ปวด2-3ครั้ง/อาทิตย์ ปวดจนกระทั่งซื้อยานอนหลับมารับประทาเพื่ืื่อจะได้นอนหลับได้จากนั้นผู้ปกครองจึงพาไปพบแพทย์ ผลการตรวจพบว่าไม่มีอาการผิดปกติอะไรต่อมาก็มีอาการปวดศีรษะอีกเด็กคนนี้น่าจะตรวจอะไรเ่พิิ่่มอีกไหมค่ะหรือรับประทานยาแก้ปวดตามแพทย์สั่งก็พอ นางสาวนุชรา สุดชารี 520603

  181. อาจารย์ค่ะเวลาไล่แอร์ในสายน้ำเกลือไม่ดียังมีแอร์อยู่แล้วเข้าไปในเส้นเลือดผู้ป่วย จะเกิด Stroke ได้มั๊ยค่ะ

  182. อาจารย์ค่ะเด็กชายอายุ15ปีมีอาการปวดศีรษะมาก ปวด2-3ครั้ง/อาทิตย์ ปวดจนกระทั่งซื้อยานอนหลับมารับประทานเพื่ืื่อจะได้นอนหลับพักผ่อนได้จากนั้นผู้ปกครองจึงพาไปพบแพทย์ ผลการตรวจพบว่าไม่มีอาการผิดปกติอะไรต่อมาก็มีอาการปวดศีรษะอีกเด็กคนนี้น่าจะตรวจอะไรเ่พิิ่่มอีกไหมค่ะหรือรับประทานยาตามแพทย์สั่งก็พอ นางสาวนุชรา สุดชารี 520603

  183. อาจารย์่ค่ะอยากทราบว่า ยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วย Stroke ระหว่างยา Plavix กับAspirinต่างกันอย่างไร
    นางสาวกมลรัตน์ ฤทธิ์มาก 520720

  184. อาจารย์ค่ะ มีผู้ป่วยรายหนึ่่งหอศัลยกรรมกระดูก มีอาการปวดเข่ามาก ไม่รู้สึกตัว ชักเกร็ง ปากเบี้ยว ทำไมแพทย์จึงวินิจฉัยว่าเป็น stroke ค่ะ
    นางสาวมณี ภูสอาด 520113

  185. อาจารย์ค่ะ การทำ IABP ทำไมถึงต้องใช้ก๊าซฮีเรี่ยมค่ะ
    แ้ล้วจะมีผลกับผู้ป่วยยังไงบ้างคะ

    ศิริลักษณ์ ทิณพัฒน์ 520559

  186. ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง แพทย์จะให้การรักษาอย่างไรค่ะ
    แล้วมีโอกาสที่จะหายเป็นปกติมั้ยคะ

    น.ส. วิกานดา เงินเจือ 530609

  187. อาจารย์ค่ะ เราจะแยก stroke กับ อาการต่างๆที่คล้ายๆๆกันออกได้อย่างไรค่ะ เช่น อาการของ Hypoglycemia, infraction , seizure ค้ะ นางสาวรัตยา ไพรบึง 510599

  188. porranee says:

    โรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ( Acute Ischemic Stroke ) ปัจจุบันมีการพัฒนายาสลายลิ่มเลือด ( rtPA : recombinant tissue plasminogen activator ) เพื่อใช้รักษาภาวะหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน
    ข้อบ่งชี้ใช้ในรายที่มีอาการนับจากเริ่มเป็น จนถึงวินิจฉัยได้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง

    By นางสาวภรณี งามโฉมฉิน 510116

  189. porranee says:

    อาการของโรค
    มักเกิดขึ้นฉับพลัน เป็นทันที 5 อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองที่ควรทราบ ได้แก่
    1. มีอาการแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ปากเบี้ยวหรือชา ครึ่งซีก เป็นทันทีทันใด
    2. พูดไม่ออก ฟังไม่เข้าใจภาษา พูดอ้อแอ้ไม่ชัด เป็นทันทีทันใด
    3. ตาข้างใด ข้างหนึ่ง มองไม่เห็น หรือมองเห็นครึ่งซีกของลานสายตา หรือเห็นภาพซ้อนเป็นทันทีทันใด
    4. เวียนศีรษะ บ้านหมุน โคลงเคลง เดินเซ คล้ายคนเมาเหล้า เป็นทันทีทันใด
    5. ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และไม่เคยเป็นมาก่อน ร่วมกับอาเจียนหรือหมดสติ เป็นทันทีทันใด ในบางราย อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายเองเป็นปกติ เช่น อาจมีอาการอ่อนแรงอยู่ 30 นาทีแล้วดีขึ้นปกติ ทำให้นิ่งนอนใจ ไม่พบแพทย์ เนื่องจากไม่ทราบว่า นี่คืออาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มที่เป็นชั่วคราวแล้วดีขึ้นนี้ ทางการแพทย์เรียกว่า “TIA” ย่อมาจาก Transient ischemic attack คือสภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว มีการศึกษาพบว่า 1 ใน 9 ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันถาวร ( Stroke ) ใน 90 วัน และครึ่งหนึ่งที่เกิด Stroke นี้จะเกิดใน 2 วันแรก หลังมีอาการเตือน ดังนั้นควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อพิจารณาให้ยาป้องกันการเกิดโรค

    นายวรีวัฒน์ เลิศล้ำ 500624

  190. ยาที่ใช้รักษาstroke ในปัจจุบัน มียาr-tPa ชนิดเดียวหรือค่ะ ถ้าไม่มียา r-tPaเราสามารถใช้ยาอะไรแทนได้บ้างค่ะ
    นางสาวธิดา ข่าขันมะลี : 510585

  191. อาจารย์ค่ะในกรณีที่่ผู้ป่วยที่เป็น stroke รับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการเป็นเวลานานประมาน 15 ปีจะมีผลข้างเคียงกับผู้ป่วยอย่างไรบ้างค่ะ

    นางสาวภัชรี จู่มา 490672

  192. jirapa510567 says:

    ผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ และความรู้สึกหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยได้แก่

    อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อข้างใดข้างหนึ่ง อาจจะเป็นทั้งแขนและขา
    มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว เช่น การนั่ง การยืน หรือการเดินไม่ได้ แม้ว่ากล้ามเนื้อยังคงมีแรงอยู่
    ปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสาร ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถพูดและไม่สามารถเข้าใจภาษาทั้งพูดและเขียน global aphasia บางรายพูดไม่ได้แต่ฟังรู้เรื่อง motor aphasia บางรายพูดลำบาก dysarthria
    ผู้ป่วยบางรายไม่สนใจอวัยวะข้างใดข้างหนึ่ง มักเกิดในผู้ป่วยที่อ่อนแรงข้างซ้าย
    มีอาการชา หรือปวดข้างใดข้างหนึ่ง
    ผู้ป่วยบางรายมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ ความคิด และการเรียนรู้
    ผู้ป่วยบางรายมีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหาร
    มีปัญหาเกี่ยวการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจาระ
    ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเหนื่อยง่าย
    ผู้ป่วยอาจจะมีอารมณ์ผันผวนเช่น หัวเราะ หรือร้องไห้เสียงดัง

  193. jirapa510567 says:

    โรคหลอดเลือดสมอง
    จะส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ และความรู้สึกได้แก่

    อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อข้างใดข้างหนึ่ง อาจจะเป็นทั้งแขนและขา
    มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว เช่น การนั่ง การยืน หรือการเดินไม่ได้ แม้ว่ากล้ามเนื้อยังคงมีแรงอยู่
    ปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสาร ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถพูดและไม่สามารถเข้าใจภาษาทั้งพูดและเขียน global aphasia บางรายพูดไม่ได้แต่ฟังรู้เรื่อง motor aphasia บางรายพูดลำบาก dysarthria
    ผู้ป่วยบางรายไม่สนใจอวัยวะข้างใดข้างหนึ่ง มักเกิดในผู้ป่วยที่อ่อนแรงข้างซ้าย
    มีอาการชา หรือปวดข้างใดข้างหนึ่ง
    ผู้ป่วยบางรายมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ ความคิด และการเรียนรู้
    ผู้ป่วยบางรายมีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหาร
    มีปัญหาเกี่ยวการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจาระ
    ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเหนื่อยง่าย
    ผู้ป่วยอาจจะมีอารมณ์ผันผวนเช่น หัวเราะ หรือร้องไห้เสียงดัง

  194. อาจารย์ค่ะ ถ้าใช้ยา r-TPA ไม่ได้มียาอื่นใช้แทนได้ไหมคะ

  195. อาจารย์คะ ภาวะแทรกซ้อนที่เด่นๆของ stroke มีอะไรบ้างคะที่ต้องระวังเป็นพิเศษ
    ถ้ารักษาไม่ทันผู้ป่วยจะถึงตายไหมคะ

  196. อาจารย์ค่ะ ยา r-TPA ทำไมถึงทำให้เลือดออกง่ายค่ะ แล้วถ้าผู้ป่วยมี GI-Bleed จะใช้ยาตัวอื่นได้อีกไหมค่ะ

  197. อาจารย์ค่ะ อาของหนูอยู่ดี ก็มีอาการเหนื่่อยหอบ HR และ PR 145 ครั้งต่อนาที โดยที่ไม่ได้ทำงานเหนื่อย หรือไม่มีโรคประจำตัวมาก่อนเลยค่ะ พอไปพบแพทย์ แพทย์บอกว่า การส่งกระแสไฟฟ้าในหัวใจมันลัดวงจร คือ SA node,AV node แพทย์แนะนำให้ไปใส่สายสวนหัวใจเพื่อตัดวงจรไฟฟ้า ถ้าทำแล้วจะมีหายขาดเลยไหมค่ะ แล้วจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อีกหรือเปล่า ตอนนี้ทำมาแล้ว1สัปดาห์ค่ะ มีรอยม่วงคล้ำๆกระจายไปทั่วขาหนีบข้างที่ทำค่ะ รอยนี้เกิดจากอะไรค่ะเกิดจากการที่แพทย์ใส่สายเข้าไปทางนี้หรือเปล่าค่ะ จะหายหรือเปล่าค่ะ
    นางสาวศศิธร ไตรชมพูนรินท์ 480433

    • rt-PAหรือAlteplaseเป็นยาฉีดละลายลิ่มเลือด(Thrombolytic agent) โดยAlteplaseเป็นไกลโคโปรตีนซึ่งเป็นตัวกระตุ้นโดยตรงให้พลาสมินโดยตรง เป็นผลให้เกิดการละลายของลิ่มเลือด ใช้ในผู้ป่วย acute ischemic stroke ,acute myocardial infarction acute massice pulmonary ambolism

      สารละลายใช้ normal salionเท่านั้นห้ามใช้สารละลายที่มี dextrose

  198. อาจารย์คะ ยา r-TPA มีทุกโรงพยาบาลหรือป่าวคะ หรือมีเฉพาะโรงพยาบาลประจำจังหวัด/โรงพยาบาลเฉพาะทางที่รักษาโรค
    510388 นางสาว สุธาสินี อภัยศรี

  199. อาจารย์คะ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่่หายดีแล้วทำไมถึงมีโอกาสกลับเป็นซ้ำอีกได้คะ ทั้งๆที่ได้รับยาสลายลิ่มเลือดกลับไปทานอย่างต่อเนื่อง สาเหตุเกิดเพราะอะไรคะอาจารย์

    นางสาวจินดารัตน์ จตุเทน 520749

  200. อาจารย์คะมีผู้หญิงคนนึงเขากำลังสังสรรค์กินเลี้ยงกับเพื่อนๆ ของเขาแล้วสะดุดล้มลงหัวฟาดพื้นแล้วลุกขึ้นมาได้เองมือสั่นเล็กน้อย แล้วบอกเพื่อนเขาว่าไม่เป็นไรแล้วไปสนุกสนานกับเพื่อนๆต่อ เช้าวันต่อมาเขาได้เสียชีวิตลง หมอบอกว่าเส้นเลือดที่สมองอุดตัน อาจารย์คะหนูสงสัยค่ะว่าทำไมเค้าไม่มีอาการแสดงที่บ่งชี้ให้เห็นถึงภาวะเส้นเลือดสมองอุดตันคะ

    นางสาวจินดารัตน์ จตุเทน 520749

  201. VT กับ VF แตกต่างกันอย่างไรค่ะ
    520483 นางสาว กฤษณา วังสาไหว

  202. การวินิจฉัยและประเมินผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลัน อาศัยกระบวนการหลายอย่างค่ะ
    520483 นางสาว กฤษณา วังสาไหว

  203. อาจารย์คะ ญาติหนูเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ และมีอาการปวดหัวมากรับประทานยาไมเกรนเป็นประจำเมื่อมีอาการปวดหัวแล้วอาการดีขึ้นทุกครั้งเมื่อทานยา หนูอยากทราบว่ายาไมเกรนจะมีผลแต่โรคหลอดเลือดสมองตีบไหมคะ และจะเกิดอันตรายรึเปล่าคะ
    นางสาว นิระภา สร้อยไข 510476

  204. jariya500462 says:

    ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมองแตก บางรายเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ป่วยยืน หรือเดินอยู่ อาการแขน, ขาอ่อนแรงครึ่งซีก ทำให้ผู้ป่วยพยุงหรือทรงตัวไม่อยู่แล้วล้มลง เมื่อญาติมาพบทำให้เข้าใจว่าเกิดอุบัติเหตุแล้วทำให้มีเลือดออกในสมอง ต้องใช้ผลการตรวจวินิจฉัยอะไรบ้าง ? ที่จะสามารถแยกสาเหตุของหลอดเลือดในสมองแตกออกจากการเกิดอุบัติเหตุได้

    นางสาวจริยา เตชนันท์ 500462

  205. อาจารย์คะ อาการชาและเจ็บที่ปลายนิ้วเท้าข้างซ้ายเกิดจากอะไรได้บ้างคะทั้งที่ก่อนหน้านี้ก็ไม่มีอาการนี้เลย

    • 520558sutineepunjinda says:

      เมื่อวานทำข้อสอบอาจานย์พอไดนะค่ะรู้สึกกว่าทำได้มากกว่าตอนมิดเทอม แต่อยากถามอาจานว่าที่อาจานถามมันตอบ r-tPA.ใช่รึเปล่าค่ะ ขอบคุณอาจานย์นะค่ะที่ให้ความรู้

  206. อาจารย์ค่ะ ภาวะ ischemic stroke เนื้อเยื่อที่ล้อมรอบอยู่รอบๆรอยโรคเราเรียกว่าอะไรค่ะ
    นางสาว พรพิมล หนูทอง 520600

  207. อาจารย์ค่ะถ้าคลื่่่นหัวใจ EKGเป็นVFเราต้องให้ยา Amiodarone 50 mg stat ใช่ไหมค่ะ
    นางสาว นุชรา สุดชารี 520603

  208. อาจารย์ค่ะ cervicle protection จะรักษายังไงคะ
    นางสาว เบญรัตน์ อำไพ 510515

  209. อาจาย์ค่ะคลำไม่พบชีพจร พยาบาล ก ทำ CPR 30:2 5 รอบ แล้วพยาบาล ข ต้องทำอะไรค่ะ
    นางสาว มณี ภูสอาด 520113

  210. อาจารย์ค่ะถ้าผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองอยู่ที่มีอาการแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นปกติกี่เปอร์เซ็นค่ะ
    510438 น.ส.เพ็ญประภา สิงหรา

  211. Dara'wan Kra says:

    การปฏิบัติเมื่อเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

    -หยุดกิจกรรมทุกอย่างที่กำลังทำอยู่
    -ให้นอนราบเพื่อป้องกันการหกล้มบาดเจ็บที่ศีรษะ
    -ในผู้ป่วยที่หมดสติ ให้ตะแคงตัวหรือหันหน้าไปข้างใดข้างหนึ่งเพื่อป้องกันการสำลัก
    -รีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันทีไม่ว่าจะมีอาการหนักหรือเบา

    น.ส.ดาราวรรณ เขื่อนแก้ว รหัส 520733

  212. Dara'wan Kra says:

    การป้องกันไม่ให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง

    1.งดสูบบุหรี่
    2.งดดื่มสุรา
    3.รับประทานผัก ผลไม้ เพื่อช่วยให้ขับถ่ายดีขึ้น
    4.ดื่มน้ำมากๆ อย่ารับประทานอาหารมันๆ เพื่อป้องกันหลอดเลือดตีบตัน
    5.ถ้ามีโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
    6.อย่าเครียด อย่าโมโหง่าย อย่าคิดมาก
    7.ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาทีอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์
    8.ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม อย่าให้อ้วน
    9.ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง เช่นความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ถ้าพบต้องรักษาและพบแพทย์สม่ำเสมอ

    อาจารย์คะ ถ้าเราสามารถปฎิบัติตัวตาม 9 ข้อนี้ได้ โอกาสที่เราจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ยังจะมีอยู่ไหมคะ

    น.ส.ดาราวรรณ เขื่อนแก้ว รหัส 520733

  213. การดูแลผู้ป่วยประวัติ TIA/Stroke เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ (Secondary Prevention)
    เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยที่มีประวัติ TIA และ stroke นั้น AHA/ASA ได้ให้แนวทางปฏิบัติมีอะไรบ้างค่ะอาจารย์
    510042 วิมลสิริ ตามประวัติ

  214. ลักษณะของผู้ป่วยที่อาจพิจารณาให้ยา rt-PA ได้ (eligibility criteria) พิจารณาจากอะไรบ้างค่ะ
    510042 วิมลสิริ ตามประวัติ

  215. Ischemic penunbaมีโอกาสหายขาดไหมคะ?
    ณัฐยา เกษกุล 520492

  216. penpun520493 says:

    Lacunar infarction จะเกิดขึ้นกับบริเวณใดเป็นส่วนใหญ่และส่งผลต่อร่างกายส่วนไหนคะ
    นางสาวเพ็ญพรรณ ช้างเดชา 520493

  217. penpun520493 says:

    ผู้ป่วยStrokeในระยะแรกที่มาโรงพยาบาลควรให้สารน้ำ Nss ก่อนหรือเจาะ DTX ก่อนเป็นอัลดับแรกคะ
    นางสาวเพ็ญพรรณ ช้างเดชา 520493

  218. นอกจากยา r-tPA ที่ใช้ในผู้ป่วยstrokeเป็นอันดับแรกแล้วมียาตัวอื่นอีกไหมคะที่สามารถใช้แทนกันได้
    ณัฐยา เกษกุล 520492

  219. schemic penumbra

    คำจำกัดความของคำว่า ischemic penumbra นั้น หมายถึง เนื้อเยื่อที่มีการขาดเลือด ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิด infarct แต่มีศักยภาพที่จะสามารถแก้ไขให้กลับคืนสภาพเดิมได้

    ischemic penumbra นั้น เชื่อกันว่าอยู่ที่ระดับของ cerebral blood flow ระหว่าง 10-20 มิลลิลิตร ต่อ 100 กรัมต่อนาที บริเวณที่เป็น penumbra นี้มีความสำคัญในแง่ของการรักษา คือ ถ้ามี reperfusion ก็จะกลับคืนสภาพปกติ ในทางตรงกันข้ามถ้าหากปล่อยให้ภาวะของการขาดเลือดนั้นล่วงเลยไป หรือมีความรุนแรงมากขึ้น ในที่สุดบริเวณ penumbra นี้จะกลายเป็น infarction และขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ ในภาพที่ 2 จะแสดงให้เห็นถึงบริเวณ penumbra ที่อยู่รอบๆบริเวณของ infarction ดังนั้นถ้าสามารถทำให้บริเวณ penumbra เหล่านี้กลับมามีเลือดหล่อเลี้ยง ก็สามารถที่จะหยุดยั้งการขยายวงของ infarction ออกไปได้

  220. ischemic penumbra
    คำจำกัดความของคำว่า ischemic penumbra นั้น หมายถึง เนื้อเยื่อที่มีการขาดเลือด ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิด infarct แต่มีศักยภาพที่จะสามารถแก้ไขให้กลับคืนสภาพเดิมได้
    ischemic penumbra นั้น เชื่อกันว่าอยู่ที่ระดับของ cerebral blood flow ระหว่าง 10-20 มิลลิลิตร ต่อ 100 กรัมต่อนาที บริเวณที่เป็น penumbra นี้มีความสำคัญในแง่ของการรักษา คือ ถ้ามี reperfusion ก็จะกลับคืนสภาพปกติ ในทางตรงกันข้ามถ้าหากปล่อยให้ภาวะของการขาดเลือดนั้นล่วงเลยไป หรือมีความรุนแรงมากขึ้น ในที่สุดบริเวณ penumbra นี้จะกลายเป็น infarction และขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ ในภาพที่ 2 จะแสดงให้เห็นถึงบริเวณ penumbra ที่อยู่รอบๆบริเวณของ infarction ดังนั้นถ้าสามารถทำให้บริเวณ penumbra เหล่านี้กลับมามีเลือดหล่อเลี้ยง ก็สามารถที่จะหยุดยั้งการขยายวงของ infarction ออกไปได้
    นางสาวอริษา โสภา 520521

  221. การฟังเสียงที่หลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ ว่ามีเสียง ฟู่หรือไม่ ถ้าได้ยินเสียงฟู่แพทย์จะส่งตรวจคลื่นความถี่สูง Doppler ultrasound scan เพื่อวัดว่าหลอดเลือดแดงที่คอตีบมากน้อยแค่ไหน อยากทราบว่าจะมีวิธีไหนที่สามารถทำได้อีกบ้าง
    นางสาวรัตนภรณ์ สังข์แก้ว 520197

  222. eveptp says:

    อาจารย์นอกจากการทำCT Scan ซักประวัติ อาการแสดงของผู้ป่วย ยังมีที่อะไรที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดในสองอีอีกหรือไม่ค่ะอาจารย์
    ภัทราภรณ์ ทิเก่ง510178

  223. โรคหลอดเลือดสมอง
    โรคหลอดเลือดสมอง เรียกว่า strokes หรือ brain attack ก่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต หรือทุพพลภาพได้ ไม่ว่าจะเกิดจากเส้นเลือดสมองแตก เส้นเลือดตีบ หรือก้อนเลือดอุดตัน

    อัมพาต หมายถึง ภาวะที่สมองขาดเลือดหรือมีเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ยังผลให้เซลล์ในสมองและการทำงานของสมองหยุดชะงัก ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการชนิดถาวร หรือบางคนอาจเป็นเพียงชั่วครั้งชั่วคราว เรียกว่า อัมพฤกต์

    สาเหตุที่สำคัญที่สุดของอัมพาต อัมพฤกต์ คือ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งจริงๆ แล้วจัดเป็นกลุ่มของโรคที่มีหลายชนิดหลายประเภท กลไกการเกิดโรคอาจแตกต่างกันไปได้บ้าง แต่สุดท้ายส่งผลร้ายอันตรายต่อชีวิตหรือทุพพลภาพเหมือนๆ กัน

    ผู้ป่วยอัมพาตส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยที่สูงอายุ แต่อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยที่อายุน้อย ก็อาจเกิดอัมพาตได้เช่นเดียวกัน ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงโรคร่วมด้วย ดังนั้นแนวทางการป้องกันจึงมีความสำคัญสูงสุด ก่อนที่จะเกิดโรคขึ้นแล้วจึงมาบำบัดดูแลรักษาในภายหลัง

    อาการ โรคหลอดเลือดสมอง

    ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตแสดงอาการอ่อนแรงของร่างกายซีกใดซีกหนึ่งหรือทั้งสองซีก ในบางคนอาจจะหมดความรู้สึกของร่างกายซีกใดซีกหนึ่งหรือทั้งสองซีก บางรายอาจจะหมดสติ บางรายอาจจะตามองไม่เห็น บางรายอาจจะเดินไม่ได้ บางรายอาจจะพูดไม่ได้ บางรายอาจจะสับสน อาการต่าง ๆ ที่แตกต่างกันเนื่องจากตำแหน่งของหลอดเลือดที่เป็นโรคต่างกัน

    ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ หลอดเลือดสมอง

    ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการแข็งตัวของผนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดสมอง คือระดับไขมันชนิดโคเลสเตอรอลในเลือด ทำให้เกิดคราบไขมันขึ้นที่ผนังหลอดเลือด ก่อให้เกิดการตีบแคบและอุดตัน เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปยังเนื้อเยื่อส่วนปลายได้เพียงพอ

    นอกจากนี้ชิ้นส่วนของคราบไขมันยังอาจหลุดจากผนังของเส้นเลือด ทำให้เกิดการอุดตันเส้นเลือดเล็กๆ ที่อยู่ถัดไป โรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มนี้เรียกว่าชนิดตีบตัน (thrombosis)

    บางครั้งพบสาเหตุจากโรคของหัวใจที่ทำให้เกิดก้อนเลือดหลุดไปอุดตันเส้นเลือดสมอง หรือภาวะหัวใจเต้นผิดปกติชนิดพริ้วที่ทำให้เกิดอาการใจสั่น อาจเป็นสาเหตุให้ก้อนเลือดไปอุดเส้นเลือดสมองได้เช่นกัน เรียกภาวะนี้ว่าก้อนเลือดอุดตันเส้นเลือด (embolism)

    โรคความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว และทำให้เกิดโรคอัมพาตได้มาก ทั้งชนิดหลอดเลือดแตกและหลอดเลือดตีบ ปัจจุบันถือว่า โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในการเกิดอัมพาต และจากการศึกษาวิจัย พบว่าโรคความดันโลหิตสูงทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเป็นอัมพาตมากกว่าคนปรกติสูงถึง 4-6 เท่า ผู้ป่วยโรคอัมพาตร้อยละ 40-90 จะมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาก่อน

    ระดับโคเลสเตอรอลในเลือด

    ภาวะที่มีไขมันสูงในหลอดเลือด ทั้งชนิดโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันที่ไปเกาะผนังหลอดเลือดและจะทำให้ผนังหลอดเลือดแข็ง อันจะมีผลตามมาทำให้เกิดอัมพาตได้ง่าย

    โรคเบาหวาน

    ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานเป็นเวลานานๆ โดยมิได้รับการรักษา หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดอัมพาตชนิดหลอดเลือดตีบได้สูง เพราะโรคเบาหวานทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ง่าย โดยจะมีหลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย และถ้าเป็นที่หลอดเลือดของสมองจะเกิดอัมพาตขึ้น อัตราการเสี่ยงของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน จะมีโอกาสเกิดอัมพาตได้สูงกว่าผู้ป่วยปกติถึง 2-4 เท่า

    อาการเตือนที่สำคัญของ โรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่

    อาการกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง หรือไม่มีแรงครึ่งซีกที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด หรืออาการชาของแขนหรือขาซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายเป็นครั้งคราว

    ภาวะที่มีอาการชาหรืออ่อนแรงของใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง

    อาการสับสน ระดับการรับรู้เปลี่ยนแปลงไปในทางเลวลง ภาวะที่พูดลำบาก กระตุกกระตักหรือพูดไม่ชัด โดยอาการเป็นชั่วคราว หรืออาจจะนึกพูดไม่ได้เป็นครั้งคราว

    ภาวะที่ตามืดหรือมองไม่เห็นไปชั่วครู่ หรืออาจจะเห็นแสงที่ผิดปรกติ หรือเห็นภาพซ้อน จัดเป็นอาการผิดปกติของการมองเห็น

    อาการวิงเวียนบ้านหมุน หรือเป็นลม เดินเซ ไม่สามารถทรงตัวได้

    อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงชนิดที่ไม่เคยปวดมาก่อน มักเกิดขึ้นขณะปฏิบัติกิจกรรมที่เคร่งเครียด หรือกำลังอยู่ในภาวะอารมณ์ที่รุนแรง กลืนอาหารสำลักบ่อยๆ

    น.ส อัญชลี สีกัน รหัส 510552

  224. phenmanee says:

    อาจารย์ค่ะหนูอยากทราบว่าถ้าผู้ป่วยเป็นอัมภาตซีกขวาแล้วอวัยวะเพศจะอัมภาตไปด้วยมั้ยคะ
    นางสาวเพ็ญมณี ก้อนเมฆ 520761

  225. phenmanee says:

    อาจารย์ค่ะ อยากทราบว่าผูป่วยที่เป็นอัมภาตซีกขวาได้รับการรักษาและทำกายภาพบำบัดมาสมำเสมอไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยสนใจการฝังเข็ม หนูอยากทราบว่าการฝังเข็มจะช่วยให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นมั้ยคะ
    นางสาวสุพัตรา ไชยบุตร 520705

  226. Mintra Mint says:

    อาจารย์ค่ะ ถ้าผู้ป่วยมาด้วยอาการแขนขาข้างขวาอ่อนแรง ยกไม่ขึ้น และมีอาการปากเบี้ยว ใช่อาการของ strok หรือไม่ค่ะ ถ้าใช่ต้องรักษาอย่างไรบ้าง การดูแลเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันควรเฝ้าระวังอะไรบ้างค่ะและสังเกตอาการผิดปกติอย่างไรบ้างค่ะ
    นางสาวมินตรา ขันเมือง 520774

  227. natthasiri says:

    อาจารย์ค่ะ ถ้าดื่่มกาแฟทุกวันเป็นเวลานานๆจะทำให้เป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ไหมค่ะ
    นางสาวนัฎฐาศิริ เกตุนวม 520738

  228. natthasiri says:

    อาจารย์ค่ะ Ischemic stroke กับ Hemorrhagic stroke มีการรักษาที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไรค่ะ
    นางสาวนัฎฐาศิริ เกตุนวม 520738

  229. pornsuda10 says:

    ์อาจารย์ค่ะ ถ้าในวอร์ดเครื่่องEKGเสียถ้าเราต้องการใช้ทันทีทันใด เราจะมีวิธีการอื่นไมแทนการใช้เครื่อง EKGค่ะ
    นางสาวปรีณาพรรณ วงศ์ชัย 520739

  230. pornsuda10 says:

    อาจารย์ค่ะถ้้าผู้ป่วย stroke ไม่ยินยอมที่จะเข้ารับการผ่าตัด แต่เขาต้องการใช้ยารักษาเพียงอย่างเดียว โอกาสที่จะหายและเกิดภาวะแทรกซ้อนมีมากน้อยเพียงใดค่ะ
    น.ศ ปรีณาพรรณ วงศ์ชัย520739

  231. pornsuda10 says:

    อาจารย์ค่ะ ผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองแตกมีโอกาสที่จะเกิดเป็นซ้ำหรือเปล่าค่ะ
    น.ส ปรีณาพรรณ วงศ์ชัย 520739

  232. chanida520771 says:

    ผู้ป่วย CVA เป็นอัมพฤกต่างจากอัมพาต ตรงที่ว่าอัมพฤกมีโอกาสที่จะกับมาเป็นปกติได้มากกว่า ใช่หรือเปล่าค่ะถ้าใช่แล้ว อัมพฤก เป็นความผิดปกติเดียวกันกับอัมพาตหรือป่าวค่ะ

    นางสาวชนิดา อูปแก้ว รหัส 520771

  233. อาจารย์คะถ้ามีอาการ ยืนอยู่เฉยๆแล้วฟุบหน้าทิ่มลงไปกระแทกกับพื้น หลังจากนั้นญาติจึงนำส่งโรงพยาบาล แพทย์ตรวจร่างกายไม่พบความผิดปกติใดๆนอกจากหน้าผากที่กระแทกกับพื้นมีรอยเขียวช้ำเล็กน้อย แตกไม่ได้ตรวจพิเศษเกี่ยวกับสมอง อยากทราบว่าอาการดังกล่าวเกิดจากสาเหตุอะไรคะ เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมองไหมคะอาจารย์

    นางสาวสุภาภรณ์ อารีชม รหัส530294

  234. สิ่งแรกที่เราจะประเมินว่าผู้ป่วย
    เป็นโรคหลอดเลือดสมองคืออะไรค่ะ
    510495 นางสาววราภรณ์ อนุตรี

  235. Noo Tanz says:

    หนูอยากทราบว่ายา r-tpa มีระยะการให้หรือเปล่าคะ แล้วทำไมถึงให้ร่วมกับยาตัวอื่นไม่ได้คะ
    นางสาวขวัญฤดี เจริญชาติ รหัส 500136

  236. Fah Krahan says:

    ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง rupture aneurysm จะเกิดภาวะแทรกซ้อนใด การรักษาเพื่อป้องกันคืออะไรคะ
    นางสาวนิตยา ศรีวะรมย์ 500254

  237. อาจารย์คะ อาการที่สำคัญของโรคหลอดเลือดสมองเป็นลำดับแรกคืออาการอะไรคะ

  238. อาจารย์คะ ยาที่รักษาของโรคหลอดเลือดสมองทำไมถึงเป็น r-tpa อย่างเดียวคะ มียาที่รักษาโรคหลอดเลือดสมองอีกไหมคะ ทำไมถึงไม่ใช่ร่วมกับยาอื่นได้

  239. อาจารย์คะ โรคหลอดเลือดสมองมีการรักษาโดยการผ่าตัดได้ไหมคะและมีโอกาสรอดชีวิตมากกว่าการที่รักษาด้วยยา r-tpa

  240. อาจารย์คะ การทำ IABP ทำไมถึงใช่ก๊าซฮีเลียมเพียงอย่างเดียว ใช่ตัวอื่นได้ไหม

  241. อาจารย์คะ ถ้าเกิดมีความเครียดนานๆจะเกิด Strokeไหมคะ
    นางสาว สุกัญญา ได้พร 510449

  242. อาจารย์คะ การทำ IABP หลังจากที่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยจะหายเป็นปกติไหมคะและมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำไหมคะ
    นางสาว สุกัญญา ได้พร 510449

  243. อาจารย์ค่ะ อยากทรายว่าการตรวจการไหลเวียนเลือดของหลอกเลือดในสมองทำอย่างไรค่ะ

    510440 นางสาวนราภรณ์ กระจ่างฤทธ์

  244. chompoonut520842 says:

    การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
    1. การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ควรให้การรักษา และแยกตามกลุ่ม
    ผู้ป่วย ดังนี้
    1.1 Acute period เป็นมาภายใน 3 ชั่วโมงแรก พิจารณาให้ Thrombolytic drug
    1.2 Intermediate period เป็นมาภายใน 7 วัน แต่เกิน 3 ชั่วโมง พิจารณา Admit
    1.3 Rehabilitation period เป็นมาหลัง 7 วัน พิจารณา ดูแลฟื้นฟูสภาพที่บ้าน
    2. การให้ยาลดความดันโลหิต ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke) (ประมาณ 2 สัปดาห์แรกหลังจากเกิดอาการ) แม้ว่าจะมีความดันโลหิตสูง ก็ไม่ควรให้ยาลดความดันโลหิต ซึ่งเป็นภาวะ Compensation ของร่างกาย และการให้ยาลดความดันโลหิตจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี (แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สำหรับแพทย์ ) ยกเว้น มีข้อบ่งชี้เฉพาะ เช่นความดันซิสโตล่า > 220 mmHg. ความดันไดแอสโตล่า >120mmHg.,acute myocardial infarction , aortic dissection , acute renal failure , hypertensive encephalopathy ในกรณีจำเป็นต้องให้ยาลดความดันโลหิต ไม่ควรใช้ Nifedipine sublingual เนื่องจากความดันโลหิตอาจลดลงอย่างมาก และมีผลให้สมองขาดเลือดมากยิ่งขึ้น

    3. ควรให้ Aspirin ขนาด 160–300 มิลลิกรัม ทางปากภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากเกิดอาการ หรือหลังจากรับไว้ในโรงพยาบาล

    4. ไม่ควรให้ Steroid เพื่อหวังผลในการลดภาวะสมองบวม เนื่องจากไม่ได้ผล และยังเพิ่ม ความเสี่ยงของการติดเชื้อแทรกซ้อน

    5. ควรพิจารณาให้ Anticoagulant ในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น กรณีมีสาเหตุจากโรคหัวใจหรือหลอดเลือดที่คอและพยาธิ สภาพที่สมองมีขนาดไม่ใหญ่ ฯลฯ

    6. ควรเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ทุกราย

    7. ไม่ควรให้น้ำเกลือในรูป 5 % glucose เพราะจะทำให้เกิดภาวะ lactic acid คั่งในสมอง ยกเว้นในรายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดทุกราย

    8. ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลรักษาภายใต้แนวทางหรือแผนการที่ได้รับการการวางแผนไว้
    ล่วงหน้า เช่น Care map , pathway , Fast tract ด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ

    9. การประเมินสภาพและความพร้อมของผู้ป่วย ด้วย Score , Scale ต่างๆ จะช่วยในการวางแผนการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม เช่น
    – Barthel Index เพื่อประเมินกิจวัตรประจำวัน
    – Glasgow Coma Scale สำหรับการประเมิน Conscious ผู้ป่วย
    – Ranking Scale สำหรับประเมิน Disability

    10. การ Early ambulation ทันทีที่ผู้ป่วยพร้อม จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้
    เช่น โรคปอดอักเสบ การเกิดแผลกดทับ

    11. การช่วยเหลือผู้ป่วยฝึกเดิน จะต้องมีการประเมินความพร้อมและผู้ฝึกจะต้องมี
    เทคนิคที่ดี เพื่อป้องกันผู้ป่วยหกล้ม การจัดเตรียมราวจับ และกระจกให้ฝึกเดิน
    ที่หอผู้ป่วย

    12. ผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปทำกายภาพ บำบัดที่ห้องกายภาพบำบัดได้ นักกายภาพบำบัดจะต้องมาค้นหาผู้ป่วยใหม่ได้เพื่อประเมินและวางแผน การทำกายภาพบำบัด โดยไม่ต้องให้มีการส่งปรึกษาจะสามารถช่วยผู้ป่วยให้มี Early ambulation ได้เร็ว

    13. การประเมินความพร้อมในการกลืนของผู้ป่วย ได้แก่ ก่อนฝึกกลืน จะไม่ Force ให้ผู้ป่วย กิน/กลืน ถ้าผู้ป่วยยังไม่พร้อม เพราะจะทำให้ผู้ป่วยสำลักได้ และควรฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยการ หัดกินน้ำจากช้อนชาก่อน แล้วค่อยฝึกกลืนของเหลวที่ข้นขึ้นได้
    14. ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke) ไม่ควร
    ปล่อยให้มีไข้ เพราะจะเพิ่ม Brain damage ถ้ามีไข้ต้องรีบให้ยาลดไข้ และเช็ดตัวให้ไข้ลงทันที พร้อมทั้งรักษาสาเหตุของไข้

    15. มีระบบการเตือน ไม่ให้ลืมพลิกตัว อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง เช่น การลงบันทึก การกำหนด ท่านอน ตามเวลาที่เปลี่ยนไป ทุก 2 ชั่วโมง เป็นต้น การจัดท่านอนอย่างถูกเทคนิค จะสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้คนจำนวนมากและฝึกให้ญาติสามารถช่วยเหลืออย่างถูกวิธีด้วย

    16. การจัดให้มีที่นอนลม สามารถลดการเกิดแผลกดทับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ส่วนการใช้ห่วงยางกลม (โดนัท) รองก้น ไม่ช่วยลดการเกิดแผลกดทับแต่อาจทำให้ไปกดผิวหนังรอบๆ ทำให้การไหลเวียนโลหิตไม่ดีด้วย

    17. การใช้ของแข็งดันเท้าในผู้ป่วยที่มี Foot drop ตลอดเวลา ไม่ช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้น แต่จะไปกระตุ้นให้ผู้ป่วยมี Clonus มากขึ้น การนวดเบาๆ และจับข้อให้เคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและป้องกันข้อติดได้

    18. การจัดสิ่งแวดล้อมของหอผู้ป่วย ประกอบด้วย ป้ายเตือนการระวังพลัดตกหกล้ม ไม้กั้นเตียง ราวจับผนังห้อง มีห้องน้ำภายในหอผู้ป่วยที่ไม่ไกลจากเตียง โดยมีกริ่งสัญญาณภายในห้องน้ำ มีราวจับป้องกันการหกล้ม และมีโถส้วมแบบชักโคลก กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้เอง ญาติสามารถพาผู้ป่วยนั่งรถเข็นไปสวมเข้ากับส้วมชักโคลกได้พอดี การจัดสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จะเป็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ ในการจัดสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยที่บ้านในกระบวนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย

    19. การระบุ (Identify ) ญาติที่จะเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้านตัวจริงให้ได้ ( เนื่องจากอาจเป็นคนละคนกับที่เฝ้าอยู่โรงพยาบาล / มาเยี่ยม) และนำเข้า Home Program ที่ถูกต้อง จะช่วยเตรียมความพร้อมก่อน ผู้ป่วยกลับบ้านได้ดี และมีการดูแลที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง

    20. ควรมี Home Program ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน ตามศักยภาพที่จะสามารถทำได้

    21. ผู้ป่วยควรได้รับการประเมิน ตลอดจนพิจารณาทำกายภาพบำบัดทุกราย

    22. ผู้ป่วยทุกรายต้องได้รับการวินิจฉัยสุขภาพจิต และได้รับ Psychosupport จากแพทย์พยาบาลหรือนักจิตวิทยา โดยอาจเลือกใช้เทคนิค Self help group , Supporting group การให้คำปรึกษารายวัน เป็นต้น

    23. ผู้ป่วยที่รอจำหน่ายทุกรายจะต้องมีการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
    23.1 ให้การรักษาปัจจัยเสี่ยง และควบคุมปัจจัยเสี่ยง
    23.2 พิจารณาให้ยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet) หรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) กรณีที่ได้รับยา Anticoagulant ก่อนให้ผู้ป่วยกลับบ้าน ควรตรวจให้แน่ใจว่า อยู่ใน Therapeutic range (1.5 –2.5 เท่า)
    23.3 ให้ความรู้ในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ อาการของการกลับเป็นซ้ำ และข้อปฏิบัติตัวเมื่อกลับเป็นซ้ำ
    23.4 ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการผิดปกติ เช่น อ่อนแรงมากขึ้น ควรรีบมาโรงพยาบาล
    23.5 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง

    น.ส.สุพัสสรา ขวานคร 520566

  245. chanida520771 says:

    ผลกระทบของโรคหลอดเลือดสมองต่อร่างกายและจิตใจ

    1. อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อข้างใดข้างหนึ่งอาจเป็นทั้งแขนและขา

    2.มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว เช่น การนั่ง การยืน หรือเดินไม่ได้แม้ว่ากล้ามเนื้อจะยังคงแข็งแรง

    3. ปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารผู้ป่วยบางรายไม่สามารถพูด และไม่สามารถเข้าใจภาษาทั้งพูดและเขียน บางรายพูดไม่ได้แต่ฟังรู้เรื่อง บางรายพูดลำบาก

    4.ผู้ป่วยบางรายไม่สนใจอวัยวะข้างใดข้างหนึ่งมักเกิดในผู้ป่วยที่อ่อนแรงข้างซ้าย

    5. มีอาการชา หรือปวดข้างใดข้างหนึ่ง

    6. ผู้ป่วยบางรายมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ ความคิด และการเรียนรู้

    7.ผู้ป่วยบางรายมีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหาร

    8.มีปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ

    9.ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเหนื่อยง่าย

    10.ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์แปรปรวนเช่น หัวเราะ หรือร้องไห้เสียงดัง

    11.อารมณ์วิตกกังวลอาจพบได้ในระยะแรกของโรค เกิดจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจว่า ตนเองป่วยเป็นโรคอะไร สาเหตุจากอะไร ต้องรักษาอย่างไร เสียค่าใช้จ่ายมากร้อยเท่าไร รักษาหายหรือไม่ ซึ่งอาจแสดงออกมาทางร่างกาย คือ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ พฤติกรรมถดถอย เรียกร้องความสนใจ ต้องการให้ช่วยเหลือทั้ง ๆ ที่สามารถทำได้

    12.มีภาวะซึมเศร้าจากการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่นานทำให้ผู้ป่วยเกิดความเบื่อหน่าย สิ้นหวัง แยกตัว ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม เบื่อกิจกรรมทุกอย่าง ท้อแท้ อยากตาย ผู้ป่วยมักคิดว่าตนเองไม่มีโอกาส ไม่มีความหวังเป็นภาระของครอบครัว รู้สึกตนเองไม่มี
    คุณค่า

    13.พฤติกรรมต่อต้าน ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ จะปฏิเสธการดูแลจากคนอื่น ไม่ยอมให้ช่วยเหลือ ไม่ยอมรับประทานยา หรือไม่ยอมให้ฉีดยา

    14.พฤติกรรมก้าวร้าว ควบคุมตัวเองไม่ได้ เอาแต่ใจ เมื่อไม่ได้รับการตอบสนองทันที ก็เกิดความโกรธ และแสดงความก้าวร้าวต่อผู้รักษาหรือญาติพี่น้อง

    15.พฤติกรรมทางเพศเปลี่ยนแปลง เช่น เพิ่มขึ้นหรือลดลง

    16.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เชื่อว่าทำให้อาการของโรคเลวลง เช่น ไม่กล้าทำงาน ไม่กล้าเดินทาง บางคนไม่อยากตกอยู่ในสภาพเจ็บป่วย ไม่มาพบแพทย์ตามนัด ไม่รับประทานยา ฯลฯ

  246. chompoonut520842 says:

    การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
    ขึ้นอยู่กับชนิด ความรุนแรง และระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการโดยเฉพาะถ้าผู้ป่วยมาเข้ารับการรักษาเร็วเท่าใด ความพิการและอัตราการตายจะลดลงมากเท่านั้น

    1. การรักษาทางยา เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือยาต้านเกล็ดเลือดในโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ยารักษาความดันโลหิตสูง ยาและสารน้ำรักษาสมองบวม เป็นต้น
    2. การผ่าตัดในรายที่อาการ ซึม หมดสติ และมีก้อนเลือดขนาดใหญ่ในสมอง เป็นต้น
    การรักษาและควบคุมปัจจัยเสี่ยง และโรคแทรกซ้อน
    3. การรักษาทางกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาพทางร่างกายผู้ป่วย ป้องกันโรคแทรกซ้อน โรคหลอดเลือดสมองมีโอกาสกลับเป็นซ้ำภายหลังการรักษา ผู้ป่วยและผู้ดูแลต้องให้ความสำคัญต่อการป้องกันปัจจัยเสี่ยง

    การป้องกันไม่ให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง

    1.งดสูบบุหรี่
    2.งดดื่มสุรา
    3.รับประทานผัก ผลไม้ เพื่อช่วยให้ขับถ่ายดีขึ้น
    4.ดื่มน้ำมากๆ อย่ารับประทานอาหารมันๆ เพื่อป้องกันหลอดเลือดตีบตัน
    5.ถ้ามีโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
    6.อย่าเครียด อย่าโมโหง่าย อย่าคิดมาก
    7.ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาทีอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์
    8.ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม อย่าให้อ้วน
    9.ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง เช่นความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ถ้าพบต้องรักษาและพบแพทย์สม่ำเสมอ

    น.ส.ยุคลธรณ์ บั้มสันเที๊ย 520778

  247. Te Shp says:

    รบกวนหน่อยคับ แม่ของผมอายุ 58 เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ตอนนี้มีอาการความดันขึ้นคับ ไม่ยอมลงมาในระดับปกติ มีอาการเบลอ บางครั้งพูดไม่รู้เรื่อง จะเกี่ยวกับโรคหลอกเลือดด้วยไหมคับ แม่นอนพักมาเป็น2วันแล้วคับ ถามก็บอกว่ายังเบลอๆอยู่ รบกวนแนะนำด้วยคับ

  248. teppayut says:

    รบกวนถามผู้รู้หน่อยคับ คุณยายของผมอายุ 82 ปี มีโรคประจำตัวคือ โรคเบาหวาน ความตันโลหิตสูง แต่เมื่อวันที่ 04 พฤษจิกายน ที่ผ่าน อยู่ๆ ตอนเที่ยงคืน คุณยายก็ออกมานั่งอยู่นอกบ้านคนเดียว เสื้อก็ไม่ใส่ ผมถามว่าออกมานั่งข้างนอกทำไม ยายก็ตอบว่าไม่รู้ ผมก็เลยพาเข้านอน พอตอนเช้าปรากฏว่าคุณยาย ลุกไม่ได้ ต้องพยุงช่วย และ ทั้งเยี่ยวทั้งอุจจาระใส่กางเกง ผมถามว่าปวดเยี่ยวทำไมไม่บอกจะได้พาไป คุณยายก็บอกว่าไม่รู้ว่ามันจะเยี่ยว เลยพาไป รพ ใกล้บ้าน คุณหมอก็ให้ไปตรวจเลือด และ ไปเอ็กสเรย์สมอง ผลตรวจออกมาคุณหมอก็บอกว่าปรกติทุกอย่าง แล้วก็ให้กลับบ้าน เช้าวันต่อมาคุณยายอาการหนักกว่าเดิมอีก คือนั่งไม่ได้เลย ทรงตัวก็ไม่อยู่ เลยว่าจะพาไปหาหมออีกรอบ
    ผมอยากถามว่าอาการแบบนี้มันส่งสัญญาณบอกว่ามันคือโรคอะไรคับ มีแนวทาง หรือมีคำแนะนำ ในการรักษาไหมครับ แล้วคุณยายจะหายเป็นปรกติไหมครับ ตอนนี้สงสารคุณยายมากเลยครับ ได้แต่ภาวนาให้คุณยายหายเป็นปรกติในเร็ววัน

Leave a reply to natthaya520492 Cancel reply