นวัตกรรมทางการพยาบาล

นวัตกรรมทางการพยาบาล

ความหมายของนวัตกรรมทางการพยาบาล
นวัตกรรมทางการพยาบาล คือ กระบวนการ ผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ได้สร้างขึ้นใหม่ รวมทั้งเป็น
การพัฒนาปรับปรุง ดัดแปลงนวัตกรรมให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาวิชาชีพได้
ประเภทของนวัตกรรม


นวัตกรรมแบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังต่อไปนี้
1. นวัตกรรมด้านระบบการศึกษา
2. นวัตกรรมด้านหลักสูตร
3. นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน
4. นวัตกรรมด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านการประเมินผล
5. นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา
6. นวัตกรรมด้านการประเมินผล

การพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรมหรือไม่
1. จะต้องมีการน าวิธีการจัดระบบมาใช้
2. จะต้องเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดต่อไปนี้
2.1 เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่เคยมีใครคิดน ามาใช้ก่อน
2.2 เป็นสิ่งที่มีมาแล้วในที่อื่น แต่น ามาใช้ในที่ซึ่งไม่เคยใช้มาก่อน
2.3 เป็นสิ่งที่เคยมีมาแล้ว แต่น ามาปรับปรุงเสริมแต่งขึ้นใหม่ให้เหมาะสม
3. จะต้องไม่เป็นส่วนของระบบงานในปัจจุบัน

ขั้นตอนการคิดนวัตกรรม
1. ศึกษาและประเมินการปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย
2. ใช้ประสบการณ์หรือปัญหาที่พบมาช่วยกันคิดแก้ไข
3. รวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อน ามาแก้ไข
4. การน าอุบัติการณ์ที่เกิดจากการปฏิบัติงานมาพิจารณาประกอบ
5. หาแนวทางในการป้องกันและแก้ไข
หลักการพิจารณาเพื่อตัดสินใจน านวัตกรรมมาใช้
1. ตรงกับปัญหาที่ต้องการแก้ไขหรือพัฒนา
2. มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
3. สามารถน าไปใช้ในสถานการณ์จริงได้
4. มีหลักฐานยืนยัน
ประโยชน์ของนวัตกรรม
1. ท าให้เกิดการพัฒนาขององค์กร
2. เพื่อใช้ในการศึกษาต่อและพัฒนาชิ้นงานให้ดียิ่งขึ้น
3. ช่วยลดความเสี่ยงต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอันตราย
4. ช่วยลดความเสี่ยงต่างๆ เกิดขึ้น มีความสะดวกสบาย ทันสมัยในการใช้งาน
5. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการน านวัตกรรม ซึ่งเป็นการน าสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์
6. สามารถน าวัสดุ อุปกรณ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์

ลักษณะนวัตกรรมที่ดี
1. เหมาะสม/สอดคล้องกับสภาพปัญหา/ความต้องการ
2. เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
3. ถูกต้องตามหลักวิชา มีโอกาสเกิดผลบวกค่อนข้างสูง
4. เป็นวิธีการหรือสื่อที่สร้างสรรค์ น่าสน

(ที่มา : ศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมทางการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย, 2553)

This entry was posted in นวัตกรรมทางการพยาบาล : Innovation of Nursing. Bookmark the permalink.

45 Responses to นวัตกรรมทางการพยาบาล

  1. rattigarn says:

    ตัวอย่างนวัตกรรมทางการพยาบาล ที่ส่งเข้าประกวด (ส่วนรูปภาพเดี๋ยวจะลองหาให้ดูกันนะค่ะ)
    การนำเสนอผลการพัฒนาคุณภาพ (CQI)
    1.1 รางวัลชนะเลิศ ได้แก่
    เรื่อง “นวัตกรรมการให้ข้อมูลการระบายน้ำดีผ่านทางผิวหนังแบบอย่างหมอลำชาวบ้าน” จากห้องตรวจรังสีวินิจฉัย แผนกการพยาบาลผู้ป่วยนอก ของคุณเกยูร พรมอ่อน

    1.2 รางวัลที่สอง ได้แก่

    1)เรื่อง “การพัฒนาคุณภาพระบบบริการ การดูแลรักษาเด็กที่มีเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลศรีนครินทร์” จากหน่วยโรคติดเชื้อภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ของคุณสมใจ รัตนมณี

    2)เรื่อง “โครงการการเตรียมความพร้อมผู้ป่วย/ผู้ดูแลในการดูแลทวารเทียม” จากหอผู้ป่วย 3 ก ศัลยกรรมของ คุณศิริพร อุตสาหพานิช

    1.3 รางวัลที่สาม ได้แก่

    1)เรื่อง “นวัตกรรมการประดิษฐ์อุปกรณ์ประกอบการจัดท่าผ่าตัดจากวัสดุเหลือใช้” จากหน่วยผ่าตัด 2 แผนกการพยาบาลห้องผ่าตัด ของคุณวรัญญา สร้อยหิน

    2) เรื่อง “โครงการส่งเสริมสมรรถภาพของผู้ป่วยในการฝึกหายใจและไออย่างมี ประสิทธิภาพเพื่อลดระยะเวลาและการกลับมาใช้เครื่องช่วยหายใจซ้ำ” จากหออภิบาลผู้ป่วยระยะวิกฤตศัลยกรรมและฉุกเฉิน ของคุณวรัญญา บุญอยู่

    3) เรื่อง “โครงการเอื้ออาทรผู้สูงอายุทางจักษุ ห้องตรวจจักษุ แผนกการพยาบาลผู้ป่วยนอก” จากห้องตรวจจักษุ ของคุณบังอร เหล่าคนค้า

    4) เรื่อง “สร้างเสริมสุขในที่ทำงาน (Happy Work Place)” จากแผนกการพยาบาลสูติ-นรีเวชกรรม ของนางรัตนา รองทองกูล

    5) เรื่อง “การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผิวหนังผู้สูงอายุที่มีปัญหากลั้นปัสสาวะ/อุจจาระไม่ได้ หอผู้ป่วย4ค.แผนกการพยาบาลอายุรกรรม” จากหอผู้ป่วย4 ค อายุรกรรม ของคุณอุไรวรรณ ใจจังหรีด

    6) เรื่อง “พัฒนาโปรแกรมประมวลผลการตรวจสุขภาพประจำปี (Development of the Health Checkup Software)” จาก Lab ของคุณปริญญา ประสงค์ดี

    2. การนำเสนอผลงานด้านความปลอดภัย (Safety)

    2.1 รางวัลชนะเลิศ ได้แก่

    เรื่อง “การพัฒนาคุณภาพเกล็ดเลือดเข้มข้นที่เตรียมในคลังเลือดกลาง คณะแพทยศาสตร์” จากคลังเลือดกลาง ของคุณทิพาพร จรูญศิริมณีกุล

    2.2 รางวัลที่สอง ได้แก่

    1) เรื่อง “การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับยาและสารละลายที่มีความเสี่ยงสูง” จากหออภิบาลผู้ป่วยระยะวิกฤตอายุรกรรม แผนกการพยาบาลผู้ป่วยระยะวิกฤต ของคุณสัญพิชา ศรภิรมย์

    2) เรื่อง “4ข ร่วมใจสามัคคีล้างมือ” จากหอผู้ป่วย 4 ข ของคุณอรดา สีหาราช

    2.3 รางวัลที่สาม ได้แก่

    1) เรื่อง “การลดความคลาดเคลื่อนของการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ” จากหอผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน 4 ของคุณสุภาพ อิ่มอ้วน

    2) เรื่อง “การจัดเก็บและส่งสิ่งส่งตรวจ” จากหน่วยผ่าตัด 4 ของคุณสุดธิดา บุญผ่องเสถียร

    3) เรื่อง “โครงการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในผู้ป่วยเคมีบำบัดที่ได้รับยา Taxol (Paclitaxel) หอผู้ป่วยพิเศษ 6ข .แผนกการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ” จากหอผู้ป่วย 6 ข หอผู้ป่วยพิเศษ ของคุณอภิญญา คารมปราชญ์

    4) เรื่อง “โครงการ ภาวะใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง หลังการให้ยาระงับความรู้สึก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ปี 2553: อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเพื่อลดอุบัติการณ์” จากภาควิชาวิสัญญีวิทยา ของคุณกาญจนา อุปปัญ

    5) เรื่อง “ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองปลอดภัยเมื่อใช้ยา ASA และ Warfarin ในหอผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู (Trigger Tools)” จากภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ของคุณกรรณิการ์ สีชมพู

    6) เรื่อง “การเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำความสะอาดช่องปากผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ” จากหอผู้ป่วยเวชบำบัดวิกฤตอายุรกรรม ของคุณวนาพร เอี่ยมมะ

    3. การนำเสนอผลงาน พัฒนาจากกระบวนการ Lean

    3.1 รางวัลชนะเลิศ ได้แก่

    เรื่อง “โครงการ Mini box ลดการเบิกยา Anti dote PCEA / PCA” จากหออภิบาลผู้ป่วยระยะวิกฤตศัลยกรรมและฉุกเฉิน ของคุณจินดา ทองคู่

    3.2 รางวัลที่สอง ได้แก่

    1) เรื่อง “การพัฒนาระบบบริการเครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วย PICU โดยใช้แนวคิด Lean Management” จากหออภิบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรม แผนกการพยาบาลผู้ป่วยระยะวิกฤต” ของคุณเพลินพิศ ชอบสูงเนิน

    2) เรื่อง “โครงการ เตรียม Blood gas พร้อมใช้: ผลออกทันใจ” จากหอผู้ป่วย3 จ ของคุณสุพัฒนา อรรครนิมาตร

    3.3 รางวัลที่สาม ได้แก่

    1) เรื่อง “ลดระยะเวลาการให้เลือดหรือส่วนประกอบของเลือด By lean management” จากหอผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน 1 ของคุณอังคณา หร่องบุตรศรี

    2) เรื่อง “พัฒนาระบบบริการเพื่อลดระยะเวลารอคอย ห้องตรวจออร์โธปิดิกส์” จากห้องตรวจออร์โธปิดิกส์ ของคุณจินดาวรรณ จันโทวาท

    3) เรื่อง “การลดเวลาเตรียมอุปกรณ์สำหรับการใช้เครื่องให้ยาระงับปวดโดยผู้ป่วยควบคุมการให้ยาระงับปวดด้วยตนเอง (PCA, PCEA)” จากภาควิชาวิสัญญีวิทยา ของคุณอังสนา ภูมิแดง

    4) เรื่อง “พัฒนาระบบบริการผู้ป่วยนอก หน่วยกายภาพบำบัด (Lean)” จากเวชศาสตร์ฟื้นฟู ของคุณกรรณิการ์ สีชมพู

    5) เรื่อง “โครงการลดระยะเวลาในการส่งผู้ป่วยไปห้องผ่าตัด” จากหอผู้ป่วย 3 ค ศัลยกรรม ของคุณสาวอุมาพร น้อยพรหม

    6) เรื่อง “พัฒนาระบบบริหารวัสดุอุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ Lean หอผู้ป่วย 3 จ” จากหอผู้ป่วย3 จ ของคุณสุกัญญา คำแสน

    • laddawans says:

      นวัตกรรมเหล่านี้น่าจะนำมาทำงานวิจัยต่อยอด ไม่ทราบพอจะมีรายละเอียดของแต่ละชิ้นงานมั๊ยคะ

  2. aofpsn says:

    เห็นด้วยค่ะ

  3. eveptp says:

    เห็นด้วยค่ะ

  4. maisupapan says:

    รายละเอียด..นวัตกรรมการให้ข้อมูลการระบายน้ำดีผ่านทางผิวหนังแบบอย่างหมอลำชาวบ้าน

    หากใครได้ลองชมก็อาจทำให้นึกถึงบ้านเกิดขึ้นมาเลยก็ได้นะค่ะ เพราะนวัตกรรมชิ้นนี้เป็นนวัตกรรมที่ได้มีการประยุกต์เอาภูมิปัญญาไทยท้องถิ่นเข้ามามีส่วนในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรค ซึ่งเป็นจุดเด่นอีกส่วนหนึ่งของความงามทางภาษาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทย
    ซึ่งโดยทั่วไปหากเราให้ข้อมูลผู้ป่วยหรือบุคคลทั่วไปเพียงแค่คำพูดก็อาจทำให้ไม่น่าสนใจและอาจเบื่อขึ้นมาได้ นี้จึงเป็นนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้เข้ามามีส่วนรวมกับทางการแพทย์ได้อย่างลงตัว หากมีการต่อยอดนวัตกรรมชิ้นนี้อาจมีส่วนช่วยให้คนไทยตระหนักถึงการดูแลสุขภาพได้ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว

  5. siriprapa says:

    เห็นด้วยๆๆ 520229

  6. porranee says:

    เคยมีประสบการณ์ในการจัดทำนวัตกรรมทางการพยาบาลตอนปีสามค่ะ ชอบค่ะ create ดี เป็นการต่อยอดความคิดค่ะ

  7. porranee says:

    เคยมีประสบการณ์ในการจัดทำนวัตกรรมทางการพยาบาลตอนปีสามค่ะ ชอบค่ะ create ดี เป็นการต่อยอดความคิดค่ะ 510116

  8. ไม่ได้เข้ามาตอบเลยค่ะ……ตัวอย่างนวัตกรรมที่โพสต์ไปข้างต้นนะค่ะ
    ส่วนมากจะเป็นนวัตกรรมทางความคิด การจัดการระบบ จะไม่ค่อยออกมาเป็นชิ้นงานให้เราได้เห็นกันนะค่ะ
    แต่จะออกมาเป็นระบบการจัดการมากกว่า แต่ยังงัยจะลองหาให้ดูอีกทีนะค่ะ เพื่อนๆ CTU

  9. อาจารย์ค่ะ ไม่ทราบว่าหัวข้อการนำเสนองานนวัตกรรมจะเอาหัวข้ออะไรบ้างค่ะ

    520052 นางสาว รัชดา บัวตองพัฒนา

  10. siriphron says:

    เห็นด้วยกับ นวัตกรรมทางการพยาบาลของเพื่อนที่่ส่งมา น่าจะนำมาศึกษาต่อนะคะ
    520641 นางสาวสิริพร เข็มเมือง

  11. wannawatt says:

    อาจารย์ค่ะนวัตกรรมที่คิดต่อยอดจากที่เคยไปเสนออาจารย์แล้วต้องไปเสนออีกรอบก่อนหรือเปล่าค่ะ

    520314 นางสาววรรณวรรธก์ ประมวลปรีชา

  12. conun1609 says:

    อาจารย์ค่ะนวัตกรรมที่ทำเสร็จแล้วต้องเอาไปให้อาจารย์ดูก่อนและเอาไปให้อาจาย์ดูวันจันทร์ได้หรือเปล่าค่ะ
    520218 นางสาวศิรินภา เลิศศรีเพชร

  13. นวัตกรรมทางการพยาบาล ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์ (Innovation of Nursing: Applied Adult Diapers)
    จัดทำขึ้น เพื่อลดขยะติดเชื้อจากการใช้ผ้าอ้อมอนามัยและประหยัดค่าใช้จ่ายของญาติ
    การดำเนินงาน: ประสานกับห้องเย็บผ้าในการตัดเย็บผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์ นำมาทดลองใช้ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ แจ้งญาติในการใช้ผ้าอ้อมอนามัย เมื่อญาติตกลงใช้ หรือผู้ป่วยยินยอมใช้จึงนำมาใช้ โดยวิธีการนำมาใช้ ให้ญาติซื้อแผ่นรองซับ (Blue pad) รองผ้าอ้อมประยุกต์ อีกชั้นเพื่อสะดวกในการทำความสะอาด

    สุดยอดเรยค่ะ ประหยัดค่าใช่จ่าย และยังลดขยะอีกด้วย ชุติมา บัวพันธ์ 520302

  14. Jiab Ka Jiab says:

    แนวทางในการพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาล
    กระบวนการในการพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาล จัดเป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญภายหลัง จากการสร้างนวัตกรรมทางการพยาบาลขึ้นมาแล้ว องค์กรที่มีการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมจะประกอบ ด้วย 8 มิติ ดังต่อไปนี้
    1.การร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการพัฒนานวัตกรรม : โดยบุคลากรทุกระดับในองค์กร ควรมีส่วนร่วมกับผู้บริหารในการกำหนดวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์เพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมในองค์กร
    2.สภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม :สภาพแวดล้อมขององค์กรที่เอื้อต่อการพัฒนา นวัตกรรม เช่น พฤติกรรมของสมาชิกในองค์กร การได้รับการฝึกฝน รวมทั้งเปิดโอกาสให้แสดงความ คิดเห็น โดยมีการชี้แจงให้เข้าใจถึงประโยชน์ของนวัตกรรม
    3.การบริหารทรัพยากร เพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมขึ้นในองค์กร:ทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนา นวัตกรรมขององค์กร คืองบประมาณ บุคลากร เวลา และข้อมูลสาระสนเทศ
    4.กระบวนการสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนานวัตกรรม : สิ่งสำคัญที่องค์กรยุคปัจจุบันต้องเผชิญ คือ การ พัฒนาวิธีการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิมากขึ้น โดยนำแนวคิดด้านวัตกรรมลงสู่การปฏิบัติซึ่งจะประสบ ความสำเร็จได้ ต้องมีการสร้างความร่วมมือระหว่างบุคลากรทุกหน่วยงานในองค์กร โดยบุคลากรมีส่วน ร่วมแสดงความคิดเห็น ก่อให้เกิดพลังงานในองค์กร โดยองค์กรต้องมีการให้ข้อมูลผ่านเทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาผลงาน
    5.การกำหนดโครงการพัฒนานวัตกรรม : โครงการพัฒนานวัตกรรมเกิดจากความต้องการ และความสน ใจบุคลากรในหน่วยงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงระยะสิ้นสุดของโครงการ
    6.การพัฒนาทักษะในการสร้างนวัตกรรม : การพัฒนาทักษะในการสร้างนวัตกรรมพัฒนาได้โดยบุคคล ต้องมีการพัฒนาความคิดของตนเอง และองค์กร ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารเพื่อให้เกิด ความมั่นใจในการพัฒนานวัตกรรม
    7.การยอมรับและสร้างแรงจูงใจในการพัฒนานวัตกรรม : ผู้บริหารจะต้องให้การยอมรับความคิดสร้าง สรรค์ และสนับสนุนให้รางวัลเพื่อเป็นแรงจูงใจ
    8.บุคคลภายนอกที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรม : การพัฒนานวัตกรรมให้ประสบความสำเร็จ ต้องมีการติดตามข้อมูลจากเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งบุคคลภายนอก ได้แก่ ผู้บริหาร และผู้ให้แก่ ่สนับสนุน รวมทั้งผู้แข่งขัน

    นางสาวสิรพร เข็มเมือง 520641

  15. Nuch Srisom says:

    อาจารย์ คะ หนูคิดว่าจะทำที่ป้องกัน foot drop

  16. Nuch Srisom says:

    อาจารย์ คะ หนูคิดว่าจะทำที่ป้องกัน foot drop
    520169 นส อรนุช ศรีสม

  17. porranee says:

    อาจารย์คะ ถ้านวัตกรรมที่เราคิดทำขึ้นมาสอดคล้องกับความต้องการของตลาด เราจะสามารถจำหน่ายได้ไหมคะ เเล้วถ้าต้องการจะจดลิขสิทธิ์จะต้องทำยังไงบ้างอ่ะคะ

  18. pathamawadee says:

    เห็นด้วยนะค่ะสำหรับการทำนวัตกรรมที่อาจารย์ให้ทำ ทำให้ได้มีความคิดการมองปัญหาผู้ป่วย และเอาปัญหานั้นมาคิดว่าเออเนอะ เราจะทำอะไรดีจะสร้างอะไรดี เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด หรือเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้ป่วยและพยาบาลเอง

  19. นวัตกรรมทางการพยาบาลที่อาจารย์ได้จัดให้ทำขึ้นนั้นได้ส่งเสริมกระบวนการคิดและการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาเป็นอย่างมากค่ะ แต่หนูอยากให้อาจารย์ได้โพสต์นวัตกรรมต่างๆและใหม่ๆที่จะเป็นแนวทางให้นักศึกษาได้มีแนวคิดที่จะพัฒนานวัตกรรมที่ได้ทำขึ้นนั้นให้ดียิ่งๆๆๆขึ้นและจะได้เป็นนวัตกรรมตัวอย่างต่อไปค่ะ
    กรุณา ริมชัยสิทธิ์ รหัส 520239

  20. parvinee says:

    ออยากได้นวัตกรรมต่อเนื่องหลังจากผู้ป่วยออกจากห้อง ICU ค่ะ

  21. saekong says:

    การประดิษฐ์นวัตกรรมทางการพยาบาลในรายวิชานี้ ทำให้เราสามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆหรือนำนวัตกรรมที่มีอยู่แล้วมาต่อยอด เป็นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งดิฉันคิดว่านวัตกรรมที่เราคิดหรือนำมาต่อยอดจะช่วยให้พยาบาลและผู้ป่วยเองเกิดความสุขสบายมากยิ่งขึ้นค่ะ

    น.ส เปรมวดี แซ่ก๋อง รหัส 510714

  22. wichawee says:

    นวัตกรรมการพยาบาล ความเป็นสิ่งที่คิดค้นขึ้นมาใหม่จากการเห็นสภาพความเป็นจริงบน word หรือไม่ก็เป็นนวัตกรรมที่ต่อยอดจาก สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ แต่การใช้งานเน้น การใช้งานได้จริงและเหมาะสมกับการปฎิบัติการพยาบาล ง่ายต่อการใช้งาน และถ้าหากเป็นการต่อยอดนวัตกรรมอื่นๆ ก็ต้องประดิษฐ์คิดค้นให้ดีกว่าของเดิม ทั้งการใช้งานและความสวยงาม …..ใช่ไหมคะ อิอิ

    นางสาว วิชาวีร์ สุริยะ 520757

  23. อาจารย์ค่ะ นวัตกรรมทางการพยาบาลที่่หลายๆรายวิชาได้ให้นักศึกษาจัดทำขึ้น ทั้งประหยัดรายจ่าย สามารถจัดทำขึ้นง่ายๆ และเป็นความคิดที่แปลกใหม่เกิดมาจากการค้นคว้าของคนในกลุ่ม และหลังจากที่ได้นำไปทดลองใช้ตาม ward ต่างๆ ปรากฏว่าสามารถนำไปใช้งานได้จริงบน ward รวมทั้งทำแบบประเมินออกมาเป็นที่น่าพอใจ เราสามารถที่่จะนำเอานวัตกรรมในครั้งนี้้มาปรับปรุ่งต่อยอดและจดสิทธิ์์เป็นของมหาวิทยาลัยเราได้ไหม๊ค่ะ ขอบคุณค่ะ

    นางสาวน้ำทิพย์ สมานจิตร์ 520785

  24. ปัจจุบันนี้เามีนวัตกรรมหลากหลายมากเลยค่ะที่เกี่ยวข้องกับทางการพยาบาล ถือว่าเป็นสื่งที่ดีน่ะค่ะ ซึ่งส่วนมากก็จะาจากความคิดของพยาบาลเอง หรือนักศึกษาพยาบาลหรือบุคลากรที่เกี่ยวของ หรือประชาชนที่สนใจ ก็ได้คิดค้นนวัตกรรมทางการพยาบาลกันขึ้นมา และก็มีส่วนมากค่ที่สามารถเอาไปใช้ได้จริงด้วยน่ะค่ะ อีกทั้งยังมีการประกวดนวัตกรรมทางการพยาบาลเกิดขึ้นอีกด้วย เพราะการประกวดนั้นก็จะถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ และประสบการณ์กันไปด้วยค่ะ

  25. somopronnipa says:

    การประดิษฐ์นวัตกรรมทางการพยาบาลนั้น ดิฉันคิดว่าเป็นการช่วยฝึกฝนช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้ประดิษฐ์ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทีมสุขภาพ นักเรียน นักศึกษาหรือประชาชนทั่วไป ที่มีความคิดสร้างนวัตกรรมขึ้นมาใหม่หรือนำนวัตกรรมที่มีอยู่มาต่อยอด ช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยเพราะนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาจะต้องนำมาใช้กับผู้ป่วยได้จริง ทำให้ผู้ป่วยเกิดความสุขสบายได้

    น.ส เสาวลักษณ์ สาลาด รหัส 510080

  26. นวัตกรรมการพยาบาล มีประโยชน์นะคะ ทำให้เราได้เห็นอะไรใหม่ แล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อีกด้วยคะ

    น.ส.อุดมพร กิจวีรวุฒิ รหัสประจำตัว 510332

  27. kessaraporn says:

    ถ้าเราต้องการต่อยอดนวัตกรรมเดิมที่มีอยู่แล้ว จะมีหลักเกณฑ์ที่พิจารณาถึงความแตกต่างจากนวัตกรรมชิ้นเดิมอย่างไรบ้างคะ
    นางสาวเกศราภรณ์ คำพูล รหัส 520317

  28. jirapa510567 says:

    นวัตกรรมน่าสนใจมากค่ะอ่านแล้วได้ประโยนช์มากค่ะ

  29. นวัตกรรม ICD Rollator
    เพื่่อช่วยในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยที่ใส่่ท่อระบายทรวงอก ซึ่งเป็นการเน้นการตอบสองต่อความต้องการด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยขณะเคลื่อนไหว (Safety needs) โดยจะช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกมั่นใจในความปลอดภัยขณะเคลื่อนไหว ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติตามระดับการปรับตัวที่มีการผสมผสานกันได้ดี (Intergrated level of adaptation) ตามทฤษฎีของ Roy ซึ่งยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจตามมา

    เป็นนวัตกรรม ที่มีประโยชน์แก่ผู้ป่วยในหลากหลายด้านมากเลยค่ะ
    นางสาว อมราภรณ์ ริมฝาย 520259

  30. Jiab Ka Jiab says:

    อาจารย์ คะ ถ้าเกิดหนูอยากจะต่อ ยอดชิ้นงานนวัตกรรม ต่อ จะต้องมีหลักการอะไรที่จะต้องเพิ่มในการทำงานและการศึกษาของนวัตกรรมอีกไหม คะ -ขอบคุณค่ะ

    นางสาว สิริพร เข็มเมือง 520641

  31. ในปัจจุบันน่ะค่ะ เทคโนโลยีได้มีส่วนเกี่ยวข้องในบทบาลพยาบาลมากขึ้น ซึ่งทำให้การพยาบาลเกิดความ

    รวดเร็วและสะดวกสบายมากขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะทางการแพทย์และการ

    สาธารณสุขทำให้เกิดการพึ่งพาเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการรักษาเพิ่มขึ้น ประชาชนต้องการ

    การรักษาที่ดีมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีีการบริการที่มีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพงดังนั้นพยาบาลต้อง

    มีการพัฒนาการพยาบาลให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การพัฒนาความรู้และปรับปรุงการ

    ปฏิบัติ การพยาบาลให้มีความทันสมัยเพิ่มขึ้นการแข่งขันทางเศรษฐกิจในสังคม ปัจจุบันค่า

    ครองชีพที่สูงขึ้นรายจ่ายทางสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้น สวนทางกับรายได้และเศรษฐกิจของผู้รับ

    บริการที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้โรงพยาบาลต้องลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการดูแลผู้รับบริการ

    รวมทั้งมีการพัฒนา เพื่อแข่งขันกับโรงพยาบาลอื่น การพัฒนานวัตกรรมทำให้เกิดขึ้นหรือพัฒนา

    จากที่มีอยู่เดิม ทำให้คุณภาพการดูแลผู้รับบริการได้รับการพัฒนา และยกระดับความสามารถใน

    การพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นนับถือของผู้รับบริการและสามารถลดค่าใช้จ่ายของหน่วยงาน

    จากการพัฒนาอย่างคุ้มทุน เลยทีเดียวค่ะ

    (((((((((((((((((น.ส. วีนัศ พุทธชัย 510287 )))))))))))))))))))

  32. นวัตกรรม ICD Rollator มีขั้นตอนการใช่อย่างไรกับผู้ป่วย

    นางสาวศิริลักษณ์ แสงโพธิ์แก้ว 510427

  33. เห็นด้วย กับผลงานนวัตกรรมของแต่ละกลุ่มค่ะ
    ที่ได้มีการใช้กระบวนการคิดต่างๆ ความคิดสร้างสรรค์ การประดิษฐ์สิ่งต่างๆที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้คะ

    นางสาวอุดมพร กิจวีรวุฒิ
    รหัสประจำตัว 510332

    • อาจารย์ค่ะวันนี้การนำเสนอนวัตกรรมได้ให้ทั้งความรู้ และแนวคิดกับนักศึกษามากๆเลยค่ะโดยเฉพาะกับตัวหนูเองเพราะมันทำให้เราได้คิดตามอะไรในหลายๆอย่างแล้วมันก็ทำให้เราคิดออกในเรื่องบางเรื่องที่ต้องปรับปรุงแก้ไข และนำไปต่อยอดให้มันดียิ่งขึ้นค่ะ มันทำให้เราได้มองเห็นปัญหาเล็กๆน้อยๆที่เราอาจมองข้ามไปค่ะ แต่พอได้ฟังเวลาอาจารย์สรุปในขั้นตอนสุดท้ายมันก็ทำให้เราคิดออก และพร้อมที่จะแก้ไขให้ตรงจุดค่ะ ซึ่งหนูคิดว่ามันเป็นทางออกที่มากค่ะ ขอบคุณอาจารย์มากเลยนะค่ะที่ได้ให้ความรู้กับพวกหนูและได้ให้คำแนะนำมาโดยตลอดมันถือเป็นแนวทางที่ดีมากค่ะ เพื่อที่พวกหนูจาด้ศึกษาในครั้งต่อๆไป
      นางสาวกรุณา ริมชัยสิทธิ์ 520239

  34. อาจรย์คะหนูอยากทราบผลงานกลุ่ม1-4คะ ว่ามีอะไรบ้าง เพราะไม่ได้อยู่ฟังต่อ
    นางสาวอาทิตยา ตั้งปฐมพงศ์ 510280

  35. เห็นด้วยกับ นวัตกรรมทางการพยาบาลของเพื่อนที่่ส่งมา น่าจะมีประโยชน์มาก 510495 นางสาววราภรณ์ อนุตรี

  36. นวัตกรรม ทางการพยาบาล ผมเห้นแล้วชอบนวัตกรรมอันหนึ่งคับ คือ เป็นนวัตกรรมที่ทำขึ้นเพื่อลดภาวะบวมหรือความปวดของผู้ป่วยที่กระดูกหัก เป้นปลอกสำหรับsuport ขอ ข้อต่างๆ ซึ่งทำได้จากฟองน้ำเองมาตัดและเย็บกับผ้า ผมเห้นแล้วเป้นวัสดุที่สามารถหาได้ง่ายและทำง่ายๆ ผลการใฃ้ ใช้suport ข้อต่างๆ ได้ถึง90% จากการประเมินจากผู้ใช้จริงจำนวน 100 คน ซึ่งสามารถผลิตใช้ได้และราคาไม่แพงด้วยไม่เกิน 100 บาทก็ได้ที่suport ข้อบริเวณที่ต้องการได้แล้วและใช้ได้ดีด้วย คับ เดี่ยวจะเอารูปมาฝากเพื่อนๆ
    นายธวัชชัย สวัสดิสาร 490549

  37. นวัตกรรมของเพื่อนอันแรกอะที่มาคอมแม้นอะ น่าสนใจดีนะ คิดว่าคงมีนวัตกรรมที่หลากหลาย ที่สามารถพัฒนาได้อีกแน่เลย
    1) เรื่อง “ลดระยะเวลาการให้เลือดหรือส่วนประกอบของเลือด By lean management” จากหอผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน 1 ของคุณอังคณา หร่องบุตรศรี

    2) เรื่อง “พัฒนาระบบบริการเพื่อลดระยะเวลารอคอย ห้องตรวจออร์โธปิดิกส์” จากห้องตรวจออร์โธปิดิกส์ ของคุณจินดาวรรณ จันโทวาท

    3) เรื่อง “การลดเวลาเตรียมอุปกรณ์สำหรับการใช้เครื่องให้ยาระงับปวดโดยผู้ป่วยควบคุมการให้ยาระงับปวดด้วยตนเอง (PCA, PCEA)” จากภาควิชาวิสัญญีวิทยา ของคุณอังสนา ภูมิแดง

    4) เรื่อง “พัฒนาระบบบริการผู้ป่วยนอก หน่วยกายภาพบำบัด (Lean)” จากเวชศาสตร์ฟื้นฟู ของคุณกรรณิการ์ สีชมพู

    5) เรื่อง “โครงการลดระยะเวลาในการส่งผู้ป่วยไปห้องผ่าตัด” จากหอผู้ป่วย 3 ค ศัลยกรรม ของคุณสาวอุมาพร น้อยพรหม

    6) เรื่อง “พัฒนาระบบบริหารวัสดุอุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ Lean หอผู้ป่วย 3 จ” จากหอผู้ป่วย3 จ ของคุณสุกัญญา คำแสน

    นายธวัชชัย สวัสดิสาร 490549

  38. อาจารย์ค่ะหนูชอบนวัตกรรมของเพื่อนๆหลายชิ้นนะค่ะเพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในห้องICU ได้จริง แต่บางชิ้นงานก็ต้องมีการปรับปรุงเพราะชิ้นงานยังไม่เหมาะกับรายวิชานี้ ที่จะนำไปใช้กับผู้ป่วย และอยากให้แต่ล่ะชิ้นงานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เกิดการต่อยอดในชิ้นงานที่มีอยู่ ใหดีเพิ่มขึ้น

    นางสาวธัญทิพย์ รักซัง
    รหัสนักศึกษา 490582

  39. jumj says:

    นวัตกรรมทางการพยาบาล ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์

    ชื่อเรื่อง นวัตกรรมทางการพยาบาล ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์ (Innovation of Nursing: Applied Adult Diapers)
    ที่มาของปัญหา: ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก มีข้อจำกัดในเรื่องการเคลื่อนไหว และส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องระดับความรู้สึกตัว ส่งผลต่อการดูแลความสะอาดร่างกาย โดยผู้ที่มีปัญหาการขับถ่ายจะต้องสวมใส่ผ้าอ้อมอนามัย (diapers หรือ pampers) ซึ่งเป็นสิ่งที่ญาติและผู้ป่วยต้องรับผิดชอบในการจัดหาเอง ในกรณีที่ญาติและผู้ป่วยไม่สามารถจัดหาได้ จะส่งผลต่อการทำความสะอาดที่ต้องยุ่งยากมากขึ้น นอกจากนี้ผ้าอ้อมอนามัยที่ใช้แล้วเป็นขยะติดเชื้อที่โรงพยาบาลต้องรับผิดชอบค่ากำจัดขยะ 8 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งในแต่ละเดือนโรงพยาบาลต้องจ่ายค่ากำจัดขยะติดเชื้อมากกว่า 40,000 บาท

    วัตถุประสงค์: สร้างนวัตกรรมผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์ขึ้น เพื่อลดขยะติดเชื้อจากการใช้ผ้าอ้อมอนามัยและประหยัดค่าใช้จ่ายของญาติ

    การดำเนินงาน: ประสานกับห้องเย็บผ้าในการตัดเย็บผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์ นำมาทดลองใช้ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ แจ้งญาติในการใช้ผ้าอ้อมอนามัย เมื่อญาติตกลงใช้ หรือผู้ป่วยยินยอมใช้จึงนำมาใช้ โดยวิธีการนำมาใช้ ให้ญาติซื้อแผ่นรองซับ (Blue pad) รองผ้าอ้อมประยุกต์ อีกชั้นเพื่อสะดวกในการทำความสะอาด

    ผลลัพธ์:
    ระยะที่ 1 ทดลองใช้ 1 เดือน ได้น้ำหนักผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์นำมาคิดค่าซัก 1 ชิ้น/ครั้งราคา 1.50 บาท นำมาประเมินจุดคุ้มทุน และญาติผู้ป่วยพึงพอใจในการที่ จ่ายลดลงซื้อแต่แผ่นรองซับ
    ระยะที่ 2 ปรับการออกแบบผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์ ตามที่ผู้ปฎิบัติแนะนำ ระยะที่ 3นำผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์จำนวน 16 ตัว นำมาใช้กับผู้ป่วย หอผู้ป่วยหนัก 2 เป็นเวลา 1 เดือน จากนั้นนำมาใช้กับผู้ป่วยหอผู้ป่วยหนัก 1 เป็นเวลา 1 เดือน โดยมีการเปรียบเทียบกันในเรื่องน้ำหนักขยะติดเชื้อในช่วงที่ใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์กับ pampers โดยมีการชั่งน้ำหนักขยะติดเชื้อของหอผู้ป่วยหนัก 1 และ 2 เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพบว่าค่าเฉลี่ยของขยะติดเชื้อลดลง
    ระยะที่ 4 ดำเนินการวิจัย การเปรียบเทียบน้ำหนักขยะติดเชื้อระหว่างการใช้ผ้าอ้อมอนามัยกับผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์ ผลการศึกษาพบว่าน้ำหนักขยะติดเชื้อระหว่างกลุ่มใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์กับกลุ่มใช้ผ้าอ้อมอนามัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับความพึงพอใจของผู้ใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์ จากการสอบถามผู้ป่วย 4 ราย ผู้ป่วยพึงพอใจ (บางรายสื่อสารไม่ได้) และจากการสอบถามญาติ พบว่าญาติพึงพอใจทุกคนเพราะช่วยประหยัดเงินจากการซื้อผ้าอ้อมอนามัย สำหรับความพึงพอใจของพยาบาลในการใช้ผ้าอ้อมประยุกต์ส่วนใหญ่ตอบดีร้อยละ 69.57 รองลงมาดีมากร้อยละ 21.74 และพอใช้ร้อยละ 8.70

    การนำไปใช้ในงานประจำ: นำผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์ ไปใช้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาระดับความรู้สึกตัวและการขับถ่าย ผู้ป่วยที่ผิวหนังแพ้ง่าย และผู้ป่วยที่ไม่ดิ้นไปมา และไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่ถ่ายเหลวเป็นน้ำเพราะมักจะล้นแผ่นรองซับ นอกจากนี้ได้นำไปเผยแพร่แก่หอผู้ป่วยอื่น ๆ ทั้งโรงพยาบาล และมีญาติติดต่อซื้อกลับไปใช้ที่บ้านหลายราย

    บทเรียนที่ได้รับ: การดูแลผู้ป่วย ไม่เพียงเฉพาะร่างกายผู้ป่วยเท่านั้นแต่ยังต้องคำนึงถึงภาระของครอบครัวด้วย นอกจากนี้ การสร้างนวัตกรรมก็ต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย

  40. jumj says:

    นวัตกรรมทางการพยาบาล ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์

    ชื่อเรื่อง นวัตกรรมทางการพยาบาล ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์ (Innovation of Nursing: Applied Adult Diapers)
    ที่มาของปัญหา: ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก มีข้อจำกัดในเรื่องการเคลื่อนไหว และส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องระดับความรู้สึกตัว ส่งผลต่อการดูแลความสะอาดร่างกาย โดยผู้ที่มีปัญหาการขับถ่ายจะต้องสวมใส่ผ้าอ้อมอนามัย (diapers หรือ pampers) ซึ่งเป็นสิ่งที่ญาติและผู้ป่วยต้องรับผิดชอบในการจัดหาเอง ในกรณีที่ญาติและผู้ป่วยไม่สามารถจัดหาได้ จะส่งผลต่อการทำความสะอาดที่ต้องยุ่งยากมากขึ้น นอกจากนี้ผ้าอ้อมอนามัยที่ใช้แล้วเป็นขยะติดเชื้อที่โรงพยาบาลต้องรับผิดชอบค่ากำจัดขยะ 8 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งในแต่ละเดือนโรงพยาบาลต้องจ่ายค่ากำจัดขยะติดเชื้อมากกว่า 40,000 บาท

    วัตถุประสงค์: สร้างนวัตกรรมผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์ขึ้น เพื่อลดขยะติดเชื้อจากการใช้ผ้าอ้อมอนามัยและประหยัดค่าใช้จ่ายของญาติ

    การดำเนินงาน: ประสานกับห้องเย็บผ้าในการตัดเย็บผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์ นำมาทดลองใช้ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ แจ้งญาติในการใช้ผ้าอ้อมอนามัย เมื่อญาติตกลงใช้ หรือผู้ป่วยยินยอมใช้จึงนำมาใช้ โดยวิธีการนำมาใช้ ให้ญาติซื้อแผ่นรองซับ (Blue pad) รองผ้าอ้อมประยุกต์ อีกชั้นเพื่อสะดวกในการทำความสะอาด

    ผลลัพธ์:
    ระยะที่ 1 ทดลองใช้ 1 เดือน ได้น้ำหนักผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์นำมาคิดค่าซัก 1 ชิ้น/ครั้งราคา 1.50 บาท นำมาประเมินจุดคุ้มทุน และญาติผู้ป่วยพึงพอใจในการที่ จ่ายลดลงซื้อแต่แผ่นรองซับ
    ระยะที่ 2 ปรับการออกแบบผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์ ตามที่ผู้ปฎิบัติแนะนำ ระยะที่ 3นำผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์จำนวน 16 ตัว นำมาใช้กับผู้ป่วย หอผู้ป่วยหนัก 2 เป็นเวลา 1 เดือน จากนั้นนำมาใช้กับผู้ป่วยหอผู้ป่วยหนัก 1 เป็นเวลา 1 เดือน โดยมีการเปรียบเทียบกันในเรื่องน้ำหนักขยะติดเชื้อในช่วงที่ใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์กับ pampers โดยมีการชั่งน้ำหนักขยะติดเชื้อของหอผู้ป่วยหนัก 1 และ 2 เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพบว่าค่าเฉลี่ยของขยะติดเชื้อลดลง
    ระยะที่ 4 ดำเนินการวิจัย การเปรียบเทียบน้ำหนักขยะติดเชื้อระหว่างการใช้ผ้าอ้อมอนามัยกับผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์ ผลการศึกษาพบว่าน้ำหนักขยะติดเชื้อระหว่างกลุ่มใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์กับกลุ่มใช้ผ้าอ้อมอนามัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับความพึงพอใจของผู้ใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์ จากการสอบถามผู้ป่วย 4 ราย ผู้ป่วยพึงพอใจ (บางรายสื่อสารไม่ได้) และจากการสอบถามญาติ พบว่าญาติพึงพอใจทุกคนเพราะช่วยประหยัดเงินจากการซื้อผ้าอ้อมอนามัย สำหรับความพึงพอใจของพยาบาลในการใช้ผ้าอ้อมประยุกต์ส่วนใหญ่ตอบดีร้อยละ 69.57 รองลงมาดีมากร้อยละ 21.74 และพอใช้ร้อยละ 8.70

    การนำไปใช้ในงานประจำ: นำผ้าอ้อมผู้ใหญ่ประยุกต์ ไปใช้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาระดับความรู้สึกตัวและการขับถ่าย ผู้ป่วยที่ผิวหนังแพ้ง่าย และผู้ป่วยที่ไม่ดิ้นไปมา และไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่ถ่ายเหลวเป็นน้ำเพราะมักจะล้นแผ่นรองซับ นอกจากนี้ได้นำไปเผยแพร่แก่หอผู้ป่วยอื่น ๆ ทั้งโรงพยาบาล และมีญาติติดต่อซื้อกลับไปใช้ที่บ้านหลายราย

    บทเรียนที่ได้รับ: การดูแลผู้ป่วย ไม่เพียงเฉพาะร่างกายผู้ป่วยเท่านั้นแต่ยังต้องคำนึงถึงภาระของครอบครัวด้วย นอกจากนี้ การสร้างนวัตกรรมก็ต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย
    น.ส สุจิตรา ลำมะนา 510744

Leave a reply to tipawan510318 Cancel reply