แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง_handout

This entry was posted in โรคหลอดเลือดสมอง : A stroke. Bookmark the permalink.

178 Responses to แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

  1. nuruyuri says:

    ผู้ป่วยโรคเลือดออกในสมอง
    ต้องค่อยระวัง เรื่องความดันในสมอง
    โดยการดูแล ต้องค่อยระวัง การจัดท่านอนโดย
    -จัดให้นอน ศีรษะสูงไม่เกิน 30 องศา หรือให้นอนศีรษะสูงประมาณ 15-30 องศา ศีรษะวางอยู่ในท่าที่สบาย เพื่อให้เลือดดำไหลกลับสะดวก การที่ไม่ให้ผู้ป่วยนอนราบเพราะเลือดดำคั่งในสมอง หากศีรษะนอนสูงเกินไปจะทำจะทำให้เกิดสมองเลื่อน (Brain Herniation )ได้
    -หลีกเลี่ยงการงอพับของคอและการหมุนหรือหันศีรษะ เพราะ เป็นการขัดขวางการไหลกลับของหลอดเลือดดำจากสมอง ทำให้ความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นระหว่าง 5-20 mmHg
    -หลีกเลี่ยงการ งอข้อสะโพกของผู้ป่วยมากกว่า 90 องศา เนื่องจากจะมีการคั่งของเลือดในช่องท้อง ทำให้แรงดันในช่องท้องสูง เป็นผลให้แรงดันช่องอกสูงขึ้นด้วย มีผลไปขัดขวางการไหลกลับของเลือดดำจากศีรษะ
    -ป้องกันการขาดออกซิเจน โดยการทำทางเดินหายใจให้โล่ง โดยการให้นอนตะแคง ใส่ท่อหลอดลมและเครื่องช่วยหายใจ ดูดเสมหะตามความจำเป็นและไม่นานเกิน 15 เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอและลดการคั่งของ คาร์บอนไดออกไซด์ ความดันในกะโหลกศีรษะจะไม่เพิ่มขึ้น
    from นฤวรรณ 510100

  2. nuanprang says:

    อาจารย์ค่ะ ทำไมโรค stroke เวลาที่่ผู้ป่วยเดินต้องวัดความดันด้วยหรอค่ะ

  3. parichat520513 says:

    อาจารย์ค่ะผู้ป่วย ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ถ้าไม่กินยาจะรักษได้ยังไงบ้างคะ

  4. sunan520740 says:

    อาจารย์ค่ะ อยากทราบว่าโรคหลอดเลือดสมองจะพบในเด็กได้มัยค่ะ เเล้วทำไมส่วนใหญ่ถึงพบมากในผู้สูงอายุล่ะค่ะ

  5. chutimabua says:

    ผู้ป่วยชาย อายุ 44 ปี มา รพ.ด้วยอาการกล้ามเนื้อแขนและขาอ่อนแรงทั้งสองข้าง แต่ข้างซ้ายเป็นมากกว่าข้างขวา พูดตะกุกตะกักไม่เป็นคำ ถามตอบได้บ้าง สนทนารู้เรื่องเป็นบางครั้ง เคี้ยวกลืนลำบาก มีประวัติดื่มสุราทุกวัน ญาติพบว่าผู้ป่วยนอนหลับอยู่ที่พื้น แต่ไม่แน่ใจว่าผู้ป่วยลงไปนอนหลับเองหรือล้มลงไป ผล CT scan : A lacunar infarction in right periventricul region ควรวินิจฉัยว่าผู้ป่วยคนนี้เป็น Trombotic stroke หรือ Hemorrhagic stroke คะ

  6. kunlaya475 says:

    อาจารย์คะหนูได้ดูแลผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุศรีษะกะแทกพื้นไม่มีแผลมีอาเจียนพ่งุ ปวดศรีษะมากไม่ทราบผู้ป่วยมีปัญหาอะไรคะ กัลยา แจ้งภัดี 510475

  7. manoch520793 says:

    อาจารย์ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเลือดออกในสมอง มีการรักษา หรือ ผ่าตัดที่สามารถหายขาดเลยไหมคับ

  8. sunan520740 says:

    การที่จะทราบว่าผู้ป่วยที่มาพบแพทย์เป็น โรคหลอดเลือดสมอง หรือไม่ เป็นที่จุดใด มีความรุนแรงเพียงใดนั้น ควรทำการตรวจโดยเครื่องมือทางการแพทย์ ที่ให้ผลละเอียดและมีความแม่นยำสูง เพื่อประกอบการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งมีหลายวิธีเช่น การตรวจสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (CT Scan) การตรวจด้วยคลื่่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI และ MRA) การตรวจการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดในสมอง (Transcranial Doppler : TCD) และการตรวจหลอดเลือดคอ เป็นต้น ซึ่งผลที่ได้มีความละเอียดแม่นยำมากพอ ที่จะช่วยทำให้แพทย์วางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  9. 1. การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ควรให้การรักษา และแยกตามกลุ่ม

    ผู้ป่วย ดังนี้

    1.1 Acute period เป็นมาภายใน 3 ชั่วโมงแรก พิจารณาให้ Thrombolytic drug

    1.2 Intermediate period เป็นมาภายใน 7 วัน แต่เกิน 3 ชั่วโมง พิจารณา Admit

    1.3 Rehabilitation period เป็นมาหลัง 7 วัน พิจารณา ดูแลฟื้นฟูสภาพที่บ้าน

    2. การให้ยาลดความดันโลหิต ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke) (ประมาณ 2 สัปดาห์แรกหลังจากเกิดอาการ) แม้ว่าจะมีความดันโลหิตสูง ก็ไม่ควรให้ยาลดความดันโลหิต ซึ่งเป็นภาวะ Compensation ของร่างกาย และการให้ยาลดความดันโลหิตจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี (แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สำหรับแพทย์ ) ยกเว้น มีข้อบ่งชี้เฉพาะ เช่นความดันซิสโตล่า > 220 mmHg. ความดันไดแอสโตล่า >120mmHg.,acute myocardial infarction , aortic dissection , acute renal failure , hypertensive encephalopathy ในกรณีจำเป็นต้องให้ยาลดความดันโลหิต ไม่ควรใช้ Nifedipine sublingual เนื่องจากความดันโลหิตอาจลดลงอย่างมาก และมีผลให้สมองขาดเลือดมากยิ่งขึ้น

    3. ควรให้ Aspirin ขนาด 160–300 มิลลิกรัม ทางปากภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากเกิดอาการ หรือหลังจากรับไว้ในโรงพยาบาล

    4. ไม่ควรให้ Steroid เพื่อหวังผลในการลดภาวะสมองบวม เนื่องจากไม่ได้ผล และยังเพิ่ม ความเสี่ยงของการติดเชื้อแทรกซ้อน

    5. ควรพิจารณาให้ Anticoagulant ในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น กรณีมีสาเหตุจากโรคหัวใจหรือหลอดเลือดที่คอและพยาธิ สภาพที่สมองมีขนาดไม่ใหญ่ ฯลฯ

    6. ควรเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ทุกราย

    7. ไม่ควรให้น้ำเกลือในรูป 5 % glucose เพราะจะทำให้เกิดภาวะ lactic acid คั่งในสมอง ยกเว้นในรายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดทุกราย

    8. ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลรักษาภายใต้แนวทางหรือแผนการที่ได้รับการการวางแผนไว้
    ล่วงหน้า เช่น Care map , pathway , Fast tract ด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ

    9. การประเมินสภาพและความพร้อมของผู้ป่วย ด้วย Score , Scale ต่างๆ จะช่วยในการวางแผนการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม เช่น
    – Barthel Index เพื่อประเมินกิจวัตรประจำวัน
    – Glasgow Coma Scale สำหรับการประเมิน Conscious ผู้ป่วย
    – Ranking Scale สำหรับประเมิน Disability

    10. การ Early ambulation ทันทีที่ผู้ป่วยพร้อม จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้
    เช่น โรคปอดอักเสบ การเกิดแผลกดทับ

    11. การช่วยเหลือผู้ป่วยฝึกเดิน จะต้องมีการประเมินความพร้อมและผู้ฝึกจะต้องมี
    เทคนิคที่ดี เพื่อป้องกันผู้ป่วยหกล้ม การจัดเตรียมราวจับ และกระจกให้ฝึกเดิน
    ที่หอผู้ป่วย

    12. ผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปทำกายภาพ บำบัดที่ห้องกายภาพบำบัดได้ นักกายภาพบำบัดจะต้องมาค้นหาผู้ป่วยใหม่ได้เพื่อประเมินและวางแผน การทำกายภาพบำบัด โดยไม่ต้องให้มีการส่งปรึกษาจะสามารถช่วยผู้ป่วยให้มี Early ambulation ได้เร็ว

    13. การประเมินความพร้อมในการกลืนของผู้ป่วย ได้แก่ ก่อนฝึกกลืน จะไม่ Force ให้ผู้ป่วย กิน/กลืน ถ้าผู้ป่วยยังไม่พร้อม เพราะจะทำให้ผู้ป่วยสำลักได้ และควรฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยการ หัดกินน้ำจากช้อนชาก่อน แล้วค่อยฝึกกลืนของเหลวที่ข้นขึ้นได้
    14. ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke) ไม่ควร
    ปล่อยให้มีไข้ เพราะจะเพิ่ม Brain damage ถ้ามีไข้ต้องรีบให้ยาลดไข้ และเช็ดตัวให้ไข้ลงทันที พร้อมทั้งรักษาสาเหตุของไข้

    15. มีระบบการเตือน ไม่ให้ลืมพลิกตัว อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง เช่น การลงบันทึก การกำหนด ท่านอน ตามเวลาที่เปลี่ยนไป ทุก 2 ชั่วโมง เป็นต้น การจัดท่านอนอย่างถูกเทคนิค จะสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้คนจำนวนมากและฝึกให้ญาติสามารถช่วยเหลืออย่างถูกวิธีด้วย

    16. การจัดให้มีที่นอนลม สามารถลดการเกิดแผลกดทับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ส่วนการใช้ห่วงยางกลม (โดนัท) รองก้น ไม่ช่วยลดการเกิดแผลกดทับแต่อาจทำให้ไปกดผิวหนังรอบๆ ทำให้การไหลเวียนโลหิตไม่ดีด้วย

    17. การใช้ของแข็งดันเท้าในผู้ป่วยที่มี Foot drop ตลอดเวลา ไม่ช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้น แต่จะไปกระตุ้นให้ผู้ป่วยมี Clonus มากขึ้น การนวดเบาๆ และจับข้อให้เคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและป้องกันข้อติดได้

    18. การจัดสิ่งแวดล้อมของหอผู้ป่วย ประกอบด้วย ป้ายเตือนการระวังพลัดตกหกล้ม ไม้กั้นเตียง ราวจับผนังห้อง มีห้องน้ำภายในหอผู้ป่วยที่ไม่ไกลจากเตียง โดยมีกริ่งสัญญาณภายในห้องน้ำ มีราวจับป้องกันการหกล้ม และมีโถส้วมแบบชักโคลก กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้เอง ญาติสามารถพาผู้ป่วยนั่งรถเข็นไปสวมเข้ากับส้วมชักโคลกได้พอดี การจัดสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จะเป็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ ในการจัดสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยที่บ้านในกระบวนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย

    19. การระบุ (Identify ) ญาติที่จะเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้านตัวจริงให้ได้ ( เนื่องจากอาจเป็นคนละคนกับที่เฝ้าอยู่โรงพยาบาล / มาเยี่ยม) และนำเข้า Home Program ที่ถูกต้อง จะช่วยเตรียมความพร้อมก่อน ผู้ป่วยกลับบ้านได้ดี และมีการดูแลที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง

    20. ควรมี Home Program ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน ตามศักยภาพที่จะสามารถทำได้

    21. ผู้ป่วยควรได้รับการประเมิน ตลอดจนพิจารณาทำกายภาพบำบัดทุกราย

    22. ผู้ป่วยทุกรายต้องได้รับการวินิจฉัยสุขภาพจิต และได้รับ Psychosupport จากแพทย์พยาบาลหรือนักจิตวิทยา โดยอาจเลือกใช้เทคนิค Self help group , Supporting group การให้คำปรึกษารายวัน เป็นต้น

    23. ผู้ป่วยที่รอจำหน่ายทุกรายจะต้องมีการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
    23.1 ให้การรักษาปัจจัยเสี่ยง และควบคุมปัจจัยเสี่ยง
    23.2 พิจารณาให้ยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet) หรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) กรณีที่ได้รับยา Anticoagulant ก่อนให้ผู้ป่วยกลับบ้าน ควรตรวจให้แน่ใจว่า อยู่ใน Therapeutic range (1.5 –2.5 เท่า)
    23.3 ให้ความรู้ในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ อาการของการกลับเป็นซ้ำ และข้อปฏิบัติตัวเมื่อกลับเป็นซ้ำ
    23.4 ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการผิดปกติ เช่น อ่อนแรงมากขึ้น ควรรีบมาโรงพยาบาล
    ที่มาhttp://stroke2552.blogspot.com/2009/01/blog-post.html

  10. kannika510370 says:

    แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

    1. การกระตุ้นให้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เช่น เดิน ลุก นั่ง รับประทานอาหาร ขับถ่ายเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ป่วย และฟื้นฟูสภาพได้เร็วขึ้น ญาติควรให้กำลังใจผู้ป่วยให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
    2. จัดอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ตามโรคประจำตัวของแต่ละคน เช่น เบาหวาน อาหารไขมันน้อย ถ้ามีความดันโลหิตสูงควรให้อาหารจืด ถ้ามีท้องผูกควรให้ผัก ผลไม้มากๆ
    3. ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารเองไม่ได้มีอาการกลืนลำบาก ควรให้อาหารทางสายยางเพื่อป้องกันการสำลักอาหาร
    4. ในกรณีผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้แขนขาอ่อนแรงควรพลิก ตะแคง ตัวบ่อยๆ ทุก 2 ชั่วโมง และใช้ผ้านุ่มๆ รองใต้ปุ่มกระดูก หรือนอนที่นอนลม
    5. ผู้ป่วยมักจะนอนในช่วงกลางวััน ญาติควรจัดสถานที่ให้เหมาะสมไม่มีเสียงรบกวน
    6. ควรให้ผู้ป่วยได้ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ พูดคุยสนทนากับคนอื่นได้ ถ้ามีปัญหาเรื่องการสื่อสาร เช่น พูดไม่ชัด ฟังไม่เข้าใจ ญาติควรใจเย็นเพื่อช่วยเหลือ ให้ผู้ป่วยเข้าใจ อาจใช้วิธีเขียน การอ่าน รูปภาพ การใช้สื่อแทนคำพูด
    7. ผู้ป่วยอาจมีความหงุดหงิด ซึมเศร้า ท้อแท้ ญาติควรเข้าใจไม่แสดงความรำคาญ ควรปลอบโยนให้กำลังใจผู้ป่วย
    8. ถ้าผู้ป่วยอุจจาระ ปัสสาวะราด ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าทำความสะอาดอวัยวะเพศ เพื่อไม่ให้เปียกชื้น ควรดูแล ทำความสะอาดร่างกาย ปาก ฟัน อาบน้ำ สระผม แปรงฟัน บ้วนปาก ให้ผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถทำได้
    9. ถ้าผู้ป่วยใส่สายปัสสาวะคาไว้ ควรให้อยู่ต่ำกว่าระดับกระเพาะปัสสาวะ และทำความสะอาดปลายอวัยวะเพศ และสายสวนด้วยน้ำยาเซพลอน 1 : 100 วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นด้วย

  11. 520558sutineepunjinda says:

    มีอาการชาหรืออ่อนแรงแขนขาหรือใบหน้าข้างใดข้างหนึ่ง
    ตามั่วหรือมองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่ง
    พูดลำบากหรือพูดไม่ได้หรือไม่เข้าใจคำพูด
    มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน
    มีอาการมึนงง หรือเดินไม่มั่นคง เสียศูนย์
    อาจารย์ค่ะสัญญาณอันตรายของ
    โรคอัมพาตมักจะมีอาการเตือนก่อนที่จะเกิดโรคเสมอไปหรือเปล่าค่ะ
    ถ้ามีอาการเหล่านี้ซักอาการหนึ่งควรแนะนำให้มาพบแพทย์ได้เลยไหมค่ะเพราะคุณลุงของหนูเขามีอาการชาขาบ่อยๆประกอบกับปวดศรีษะบ่อยครั้งแต่ไม่มากค่ะหนูเลยคิดว่าน่าจะเป็นอาการเตือนของโรค

  12. 520558sutineepunjinda says:

    อาจารย์ค่ะคือหนูสงสัยงงงงว่าที่อาจารย์บอกว่าstroke จะต้องมีอาการมากกว่า 24 ชั่วโมงจึงจัดเป็น strokeได้แล้วที่ว่าจะต้องประเมินผู้ป่วยว่ามีอาการมามากกว่า3ชั่วโมงหรือไหมอันนี้เป็นแค่การประเมินให้การรักษาและดูการเกิด infarct ในสมองใช่ไหมค่ะ
    และที่ว่า Lacunar infarctionตัวนี้ก็ทำCT brain without contrast เช่นกันใช่ไหมค่ะแล้วที่อาจารย์สอนว่าไม่ให้การผ่าตัดแต่ให้ยาสลายลิ่มเลือดนั้นผู้ป่วยจะหายหรือเพียงประคับประคองอาการค่ะ
    หนูอยากทราบว่าทำไหมถึงไม่ผ่าตัดค่ะ ?

  13. อาจารย์ค่ะืคือ case ที่่่หนูเจอผู้ป่วยเป็น old cvA แล้วมี platelet สูง ต้องให้ยา aspirin และ simvastatin ยาสองตัวนี้ผู้ป่วยต้องได้รับตลอดชีวิตไหมค่ะ หรือว่าหยุดตอนไหนค่ะ

  14. การป้องกัน โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ที่ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

    งดสูบบุหรี่

    ควบคุมอาหาร อย่าให้น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน

    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

    ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

    ถ้าเป็นเบาหวาน ควรรักษาระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

    หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรดูแลความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

    หากมีอาการผิดปกติ เช่น แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดลำบาก เวียนศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

    ควรตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ เพื่อตรวจหาความเสี่ยง เพราะอาจเกิดลิ่มเลือดในหัวใจหลุดเข้าไปอุดตันในหลอดเลือดสมองได้

    การจะทราบว่าผู้ป่วยที่มาพบแพทย์เป็น โรคหลอดเลือดสมอง หรือไม่ เป็นที่จุดใด มีความรุนแรงเพียงใดนั้น ควรทำการตรวจโดยเครื่องมือทางการแพทย์ ที่ให้ผลละเอียดและมีความแม่นยำสูง เพื่อประกอบการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งมีหลายวิธี อาทิ การตรวจสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (CT Scan) การตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI และ MRA) การตรวจการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดในสมอง (Transcranial Doppler : TCD) และการตรวจหลอดเลือดคอ เป็นต้น ซึ่งผลที่ได้มีความละเอียดแม่นยำมากพอ ที่จะช่วยทำให้แพทย์วางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  15. แนวทางการวินิจฉัยตรวจรักษา
    1. ประวัติ : (สำคัญมากสำหรับโรคทางระบบประสาท) stroke ประวัติต้อง sudden onset
    2. การตรวจร่างกาย : ที่สำคัญคือ
    General profiles :
    Vital signs : Blood pressure , fever , heart rate
    Fundi : chronic HT , papilledema
    Carotid bruit : carotid stenosis
    Heart murmur : VHD
    Radial pulse : total irregular (Atrial Fibrillation)

    Neurology profiles :
    consciousness , CNs , Motor response , sensory pattern ,
    cerebellar signs, meningeal signs, reflexes, BBK

    3. Investigations :
    * ต้องทำในผู้ป่วยทุกราย ประกอบด้วย *****
    1. Brain imagings = CT / MRI
    2. Blood tests = BS, CBC, BUN, Cr, E’lyte, LFT, PT, PTT,
    INR, lipid profiles
    3. CXR, EKG

    * ทำเฉพาะในรายที่มีข้อบ่งชี้
    1. Carotid Duplex scan
    2. MRA CTA 4-vessels Angiography
    3. Echocardiography
    4. ESR, ANA, protein C, S, antithrombin III, antiphospholipid Ab
    5. HIV, syphilis

    ◙ความจริงเกี่ยวกับ imaging in ischemic stroke

    1. สงสัย stroke ให้สั่ง emergency CT brain , non contrast เสมอ
    2. CT brain ใน ischemic stroke ใน 24 ชม.แรกมักจะไม่พบความผิดปกติชัดเจน
    (sensitivity ต่ำมากใน 24 ชม.แรก)
    3. ปัจจุบันการที่จะ early detection ให้ได้อย่างรวดเร็วต้องทำ diffusion MRI
    4. การบวมของเนื้อสมองใน ischemic stroke จะบวมแบบ cytotoxic brain edema (ซึ่งต้องแยกให้ได้จากการบวมแบบ vasogenic brain edema ซึ่งพบใน brain tumor and brain abscess ให้ศึกษาในบท CT interpretation) อาการบวมจะเห็นชัดเมื่อประมาณ 72 ชม.ไปแล้ว
    5. การวินิจฉัยว่าอุดตันเส้นเลือดเส้นใดให้ดูจากอาการผู้ป่วยและภาพ CT brain ดังนี้
    (large vessel stroke)

    พบว่า cerebral infarction most common เกิดที่ middle cerebral atery (MCA) territory

    ◙ Small vessels stroke
    หรือเรียกว่า Lacuna infarction (infarct size < 1.5 cm)

    1. เกิดจาก small penetrating arteries located deep in the brain มักพบที่
    – putamen , thalamus , pons , posterior limb internal capsule
    2. ไม่มีอาการปวดศีรษะ , good conscious , ต้องไม่มี cortical signs เช่น aphasia,
    neglect
    3. good prognosis

    4. the common lacuna syndromes :
    – pure motor hemiparesis – ataxia hemiparesis
    – pure sensory stroke – clumsy hand syndrome

    ภาพ CT brain in ischemic stroke
    ◙ Large vessels stroke :

    ◙ Early phase (first 24 Hrs.) : ใน 24 ชม.แรก CT brain มักไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจนแต่
    มี clue ที่พบได้คือ cord sign , loss of insula ribbon sign ,
    obscuration of lentiform nucleus, effacement of
    sylvian fissue

    ในชั่วโมงแรก imaging ที่รวดเร็วที่สุดในการ early detection คือการทำ MRI diffusion weighted image ; MRI (DWI) ซึ่งจุดที่ขาดเลือดจะเห็นสีขาว (hypersignal intensity)
    ศึกษาจากภาพข้างล่างนี้

  16. jirapa510567 says:

    อยากทราบหลักการพยาบาลที่สำคัญที่สุดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองค่ะว่ามีอย่างไรบ้าง เเละเราจะมีวิธีดูเเลผู้ป่วยอย่างไรเพื่อให้เกิดผลดีกับตัวผู้ป่วยมากที่สุดค่ะ

  17. อาจารย์ครับ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทำไมต้องมีการทดสอบ Brudzinski’s sign แล้วโรคหลอดเลือดในสมองประเภท Ischemic stroke หรือ Hemorrhagic stoke ที่่ทำให้เสียชีวิตได้มากที่สุด

  18. ลักษณะของผู้ป่วยที่อาจพิจารณาให้ยา rt-PA
    1. อายุมากกว่า 18 ป
    2 . ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น ischemic stroke ที่ก่อให้ neurologic deficit อย่างชัดเจน
    3. เริ่มมีอาการมาน้อยกว่า 3 ชั่วโมงก่อนได้รับยา
    4. ไม่ได้มีอาการทางระบบประสาทดีขึ้นอย่ารวดเร็ว หรือมีอาการเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย
    5. ผล CT scan ไม่ได้แสดงให้เห็นถึง multilobar infarction (hypodensity> 1/3 cerebral hemisphere)
    6. Systolic blood pressure ≤ 185 mmHg
    7. Diastolic blood pressure ≤ 110 mmHg
    8. ไม่มีประวัติศีรษะได้รับบาดเจ็บอย่างแรง (head trauma) หรือเป็น stroke ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
    9. ไม่มีประวัติผ่าตัดใหญ่ (major surgery) ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
    10. ไม่มีประวัติเลือดออกภายในกระโหลกศีรษะ (intracranial hemorrhage)
    11. ค่าPT ≤15 วินาที หรือ INR ≤1.5 ถ้าได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่แล้ว
    12. ค่า PTT ต้องอยู่ในช่วงปกติ ถ้าผู้ป่วยได้รับยา unfractionated heparin ก่อนหน้านี้
    13. ค่า platelet count ≥ 100,000 /ml
    14. ค่า blood glucose ≥50 mg/dL

    นิราช คำสินธุ์ 520499

  19. อาการเตือนที่สำคัญของ โรคหลอดเลือดสมอง ที่ต้องรีบไปพบแพทย์ด่วนน่ะค่ะ

    อาการกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง หรือไม่มีแรงครึ่งซีกที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด หรืออาการชาของแขนหรือขาซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายเป็นครั้งคราว

    ภาวะที่มีอาการชาหรืออ่อนแรงของใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง

    อาการสับสน ระดับการรับรู้เปลี่ยนแปลงไปในทางเลวลง ภาวะที่พูดลำบาก กระตุกกระตักหรือพูดไม่ชัด โดยอาการเป็นชั่วคราว หรืออาจจะนึกพูดไม่ได้เป็นครั้งคราว

    ภาวะที่ตามืดหรือมองไม่เห็นไปชั่วครู่ หรืออาจจะเห็นแสงที่ผิดปรกติ หรือเห็นภาพซ้อน จัดเป็นอาการผิดปกติของการมองเห็น

    อาการวิงเวียนบ้านหมุน หรือเป็นลม เดินเซ ไม่สามารถทรงตัวได้

    อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงชนิดที่ไม่เคยปวดมาก่อน มักเกิดขึ้นขณะปฏิบัติกิจกรรมที่เคร่งเครียด หรือกำลังอยู่ในภาวะอารมณ์ที่รุนแรง

    กลืนอาหารสำลักบ่อยๆ

  20. อาจารย์ค่ะ ผู้ป่วยที่มี brain tumor มีอาการบวมที่ขมับด้านขวาและตาโปนด้านขวาเกิดจากสาเหตุใดค่ะและอยากทราบว่าตาทั้งสองข้างสามารถมองห็นเหมือนเดิมหรือเปล่าค่ะ
    by 520780

  21. อาจารย์ค่ะผู้ป่วย Hydrocephalus นอกจากทำ VP shunt แล้วมีวิธีการรักษาอย่างอื่นอีกไหมค่ะ by520825

  22. siriprapa says:

    อาจารย์ค่ะ อุบัติการในประเทศไทยเกี่ยวกับเรื่อง stroke เกิดขึ้นเยอะไหมคร้าอาจารย์ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มไหนหรอค่ะ 520229

  23. ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
    1.เมื่ออยู่ๆมีอาการแขนขาซีกหนึ่งอ่อนแรงขึ้นฉับพลัน ถ้าเป็นเพียงชั่วขณะ (ไม่เกิน 30 นาที) แล้วหายได้เอง มักเป็นโรคสมองขาดเลือดชั่วขณะื (TIA) ถึงแม้เมื่ออาการทุเลาแล้ว ก็ควรไปโรงพยาบาลโดยเร็ว เพื่อการบำบัดรักษาและหาทางป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำหรือกลายเป็นอัมพาตครึ่งซีกอย่างถาวร หากไม่รักษา มีโอกาสเกิดขึ้นร้อยละ 50 ภายใน 1 ปี บางรายอาจเกิดตามมาภายใน 48 ชั่วโมง
    แต่ถ้าอาการแขนขาอ่อนแรงเป็นต่อเนื่องนานเกิน 30 นาที ควรส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน อาจจำเป็นต้องให้ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งจะได้ผลดีเมื่อให้ยาภายใน 3 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ
    2.เมื่อผู้ป่วยได้รับยารักษาจนพ้นระยะอันตราย เริ่มรู้สึกตัวดี หายใจสะดวก กินอาหารได้ ควรให้การดูแลพยาบาลต่อดังนี้
    – พยายามพลิกตัวผู้ป่วยไปมาทุก 2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับ (bed sores) ที่ก้น หลัง และข้อต่าง ๆ
    – ให้อาหารและน้ำให้เพียงพอ บางรายในช่วงแรกอาจต้องป้อนทางสายยางที่ใส่ผ่านจมูกเข้าไปที่กระเพาะอาหาร ถ้าขาดน้ำ ผู้ป่วยจะซึมหรืออาการเลวลง
    – พยายามบริหารข้อโดยการเหยียด และงอแขนขาตรงทุกๆ ข้อต่อบ่อยๆ เพื่อป้องกันมิให้ข้อเกร็งแข็ง
    3.เมื่ออาการดีขึ้น ผู้ป่วยต้องหมั่นบริหารกล้ามเนื้อ และพยายามใช้แขน ขา เพื่อให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น ถ้าผู้ป่วยนอนเฉยๆ ไม่พยายามใช้แขน ขา กล้ามเนื้อก็จะลีบ และข้อแข็ง การรักษาขึ้นกับตัวผู้ป่วยเป็นสำคัญ ในการพยายามฟื้นฟูสภาพโดยวิธีกายภาพบำบัด ฝึกพูด (ถ้าพูดไม่ได้) ฝึกเขียน (ถ้าเขียนหนังสือไม่ได้)
    4.โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง บางรายอาจฟื้นตัวได้เร็วและช่วยตัวเองได้ บางรายอาจฟื้นตัวช้า หรือพิการตลอดไป แต่สติปัญญาของผู้ป่วยส่วนมากยังดีเช่นปกติ ญาติควรแสดงความเห็นอกเห็นใจ อย่าแสดงความรังเกียจ และคอยให้กำลังใจผู้ป่วยอยู่เสมอ
    ผู้ป่วยควรติดตามรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้านไม่ควรเปลี่ยนโรงพยาบาลบ่อย
    5.ผู้ป่วยควรงดแอลกอฮอล์ บุหรี่ และกินยาตามแพทย์สั่งเป็นประจำ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการกำเริบซ้ำ
    6.ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือภาวะไขมันในเลือดสูง ควรดูแลรักษาโรคนี้อย่างจริงจัง เพื่อป้องกันมิให้อาการอัมพาตกำเริบซ้ำ By : นาถลดา 520751

  24. AiwAiw Hadda says:

    อาจารย์ค่ะ ถ้าผู้ป่วยที่่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมาหลายปีแล้ว แต่ตอนนี้รับประทานยาไม่ครบdose และควบคุบการกินอาหารที่มีโซเดียมสูงได้ เขามีโอกาสที่จะเป็น stroke สูงไหมค่ะ

  25. AiwAiw Hadda says:

    สุวิญญา 520673

  26. อาจารย์ค่ะ กรณีที่ผู้ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงแล้วมีความเครียดบ่อยๆ แต่เขายังไม่ได้เป็น stroke แล้วผู้ป่วยจะมีโอกาสเป็น stroke ได้หรือป่าวค่ะ by… นส.สุทธาทิพย์ สิงหะโรทัย 520678

  27. กาแฟจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจริงหรือเปล่าคะ แล้วจะต้องเลิกการดื่มกาแฟเลยหรือไม่คะ

  28. การฝังเข็มสามารถรักษาโรคหลอดเลือดสมองได้ไหมคะ และมีการรักษาทางเลือกประเภทไหนที่สามารถบรรเทาอาการได้อีกบ้างคะ

  29. AiwAiw Hadda says:

    1. การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ควรให้การรักษา และแยกตามกลุ่ม
    ผู้ป่วย ดังนี้
    1.1 Acute period เป็นมาภายใน 3 ชั่วโมงแรก พิจารณาให้ Thrombolytic drug
    1.2 Intermediate period เป็นมาภายใน 7 วัน แต่เกิน 3 ชั่วโมง พิจารณา Admit
    1.3 Rehabilitation period เป็นมาหลัง 7 วัน พิจารณา ดูแลฟื้นฟูสภาพที่บ้าน
    2. การให้ยาลดความดันโลหิต ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke) (ประมาณ 2 สัปดาห์แรกหลังจากเกิดอาการ) แม้ว่าจะมีความดันโลหิตสูง ก็ไม่ควรให้ยาลดความดันโลหิต ซึ่งเป็นภาวะ Compensation ของร่างกาย และการให้ยาลดความดันโลหิตจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี (แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สำหรับแพทย์ ) ยกเว้น มีข้อบ่งชี้เฉพาะ เช่นความดันซิสโตล่า > 220 mmHg. ความดันไดแอสโตล่า >120mmHg.,acute myocardial infarction , aortic dissection , acute renal failure , hypertensive encephalopathy ในกรณีจำเป็นต้องให้ยาลดความดันโลหิต ไม่ควรใช้ Nifedipine sublingual เนื่องจากความดันโลหิตอาจลดลงอย่างมาก และมีผลให้สมองขาดเลือดมากยิ่งขึ้น

    3. ควรให้ Aspirin ขนาด 160–300 มิลลิกรัม ทางปากภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากเกิดอาการ หรือหลังจากรับไว้ในโรงพยาบาล

    4. ไม่ควรให้ Steroid เพื่อหวังผลในการลดภาวะสมองบวม เนื่องจากไม่ได้ผล และยังเพิ่ม ความเสี่ยงของการติดเชื้อแทรกซ้อน

    5. ควรพิจารณาให้ Anticoagulant ในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น กรณีมีสาเหตุจากโรคหัวใจหรือหลอดเลือดที่คอและพยาธิ สภาพที่สมองมีขนาดไม่ใหญ่ ฯลฯ

    6. ควรเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ทุกราย

    7. ไม่ควรให้น้ำเกลือในรูป 5 % glucose เพราะจะทำให้เกิดภาวะ lactic acid คั่งในสมอง ยกเว้นในรายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดทุกราย

    8. ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลรักษาภายใต้แนวทางหรือแผนการที่ได้รับการการวางแผนไว้
    ล่วงหน้า เช่น Care map , pathway , Fast tract ด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ

    9. การประเมินสภาพและความพร้อมของผู้ป่วย ด้วย Score , Scale ต่างๆ จะช่วยในการวางแผนการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม เช่น
    – Barthel Index เพื่อประเมินกิจวัตรประจำวัน
    – Glasgow Coma Scale สำหรับการประเมิน Conscious ผู้ป่วย
    – Ranking Scale สำหรับประเมิน Disability

    10. การ Early ambulation ทันทีที่ผู้ป่วยพร้อม จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้
    เช่น โรคปอดอักเสบ การเกิดแผลกดทับ

    เดี๋ยวจะมาเพิ่มข้อมูลอีกนะค่ะ^^ สุวิญญา 520673

  30. Toy Wanwisa says:

    อาจารย์ค่ะเราจะรู้ได้งัยว่าspike แล้วตามด้วย capture ค่ะ
    นางสาววรรณวิศา ภาคมฤกษ์ 520835

  31. อาจารย์คะ ผู้ป่วย CVA ส่วนใหญ่ ที่เจอจะเป็นจากการเกิดอุบัติเหตุ (accident) มาแล้วจะมีพยาธิสภาพส่วนใหญ่เป็นข้างขวา นั่นหมายถึงพยาธิสภาพที่แท้จริงนั้นเป็น ข้างซ้ายใช่ไหมคะ ซึ่งหนูเห็นว่าพบบ่อยมากค่ะ การดูแลส่วนใหญ่ก็เป็นในเรื่องของกายภาพและดูแลในเรื่องของภาวะแทรกซ้อนทั่วไป แต่ที่หนูสงสัยคือ ผู้ป่วย CVA ที่เจอจะมีปัญหาในเรื่องของการพูด การสื่อสาร และการกลืนด้วย อยากทราบว่าสมองทุกส่วนมันถูกทำลายไปด้วยเหรอคะ ส่วนการดูแลนั้น ยาที่ได้รับมักจะเป็นยาลดความดันโลหิตเพราะว่าอะไรเหรอคะจึงนิยมดูแลโดยลดความดันโลหิตสูง ค่ะ ขอบคุณค่ะ

  32. อาจารย์ค่ะอาการที่จะต้องให้ยา r-tPA คือผู้ป่วยมีอาการน้อยกว่า 3 ชั่วโมงแต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการมากกว่า 3 ชั่วโมงเราสามารถที่จะให้ยา r-tPA ได้ไหมค่ะแล้วอาการที่ไม่สามมารถให้ยา r-tPA มีอะไรบ้างค่ะอาจารย์…By น.ส.ญาณิศา ประทุม รหัส 520328

  33. saowalak13 says:

    อาจารย์ค่ะ ไม่เข้าใจการใช้ยา r-tPA ค่ะ ยาตัวนี้ใช้ได้ในกรณีเฉพาะเจาะจงต่อโรคใช่มั้ยค่ะ
    from นางสาวเสาวลักษณ์ เพชรจิตร รหัส 520466

  34. pornsuda10 says:

    การเกิด Stroke จะมีอาการนำอะไรมาก่อนบ้างค่ะ อยู่ดีๆเกิดได้รึเปล่าค่ะ

    • pornsuda10 says:

      นางสาวพรสุดา ฮมภาราช 520755

      • 1. โรคหลอดเลือกสมองตีบหรืออุดตัน ทำให้สมองบางส่วนขาดเลือด หรือ มีเนื้อสมองตายซึ่งมีสาเหตุจาก
        • หลอดเลือดแข็ง มักพบในวัยผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หรือผู้สูบบุหรี่
        • โรคหัวใจที่มีลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง
        • หลอดเลือดสมองอักเสบ
        • โรคบางชนิด
        2. โรคหลอดเลือดสมองแตก
        ทำให้มีเลือดออกมาคั่ง และทำลายเนื้อสมองบริเวณนั้น หรือ อาจกดเบียดเนื้อสมองส่วนที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้สมองส่วนนั้นทำหน้าที่ไม่ได้ตามปกติ สาเหตุเกิดจาก โรคความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองผิดปกติแต่กำเนิด
        ปัจจัยเสี่ยง
        ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ บุคคลต่างๆ ที่มีโรคหรือภาวะต่างๆ ดังนี้
        1. โรคความดันโลหิตสูง
        2. โรคเบาหวาน
        3. การสูบบุหรี่
        4. มีภาวะไขมันในเลือดสูง
        5. โรคหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
        6. ขาดการออกกำลังกาย
        7. วัยสูงอายุ
        8. มีพ่อ แม่ พี่ น้อง ปู่ ย่า เป็นโรคนี้
        อาการของโรคหลอดเลือดสมอง
        อาการอาจเกิดขึ้นหลายแบบ ซึ่งขึ้นกับตำแหน่งของสมองที่เกิดโรค อาการมักเกิดอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใดหรือเป็นๆ หายๆ หรือค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะเวลาอันสั้น อาการที่พบได้บ่อยได้แก่
        1. แขน ขา อ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย
        2. ชาครึ่งซีก
        3. เวียนศรีษะ ร่วมกับเดินเซ
        4. ตามัว หรือมองเห็นภาพซ้อน
        5. พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง
        6. ปวดศรีษะ อาเจียน
        7. ซึม ไม่รู้สึกตัว
        การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
        1. ตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ถ้ามีความดันโลหิตสูง ต้องควบคุมให้อยู่ในระดับปกติ
        2. งดสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่มีผลต่อการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด การแข็งตัวของเลือด หลอดเลือดแดงแข็ง และตีบง่ายขึ้น
        3. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
        4. ออกกำลังกายอย่างถูกวิธี เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เพศและวัย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที
        5. งดอาหารเค็ม อาหารที่มีไขมัน หรือมีโคเลสเตอรอลสูง
        6. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
        7. ทำจิตใจให้แจ่มใส หลีกเลี่ยงความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ
        8. ควรตรวจสุขภาพร่างกายจากแพทย์เป็นประจำทุกปี ถ้ามีโรคหัวใจ ภาวะไขมันในเลือดสูง ควรรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
        9. ผู้ที่กินยาป้องกันการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด ควรปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด

  35. pattaraporn520840 says:

    อาจารย์ค่ะ ผู้ป่วยหญิง อายุ17ปี เป็น head injury ผล CT brain เป็น subdural hematoma เปลือกตาบวมมีจ้ำเลือด มีห้อเลือดที่หลังหู บ่นปวดหัวมาก neurosign E3M6V5 นอนซึมทั้งวัน ตอบคำถามช้า ผู้ป่วยมีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงหรือยังค่ะ เพราะผู้ป่วยไม่มีอาการอาเจียนพุ่งค่ะ เลยไม่แน่ใจว่ามี IICP หรือยัง มีเกณฑ์กี่ข้อค่ะว่าผู้ป่วยจะมีภาวะนี้

  36. sunan520740 says:

    โรคหลอดเลือดสมอง( cerebrovascular disease, stroke ) เป็นโรคที่พบบ่อยตลอดจนเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและพิการที่สำคัญในประเทศไทย กล่าวคือ เป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต อันดับ 1ในเพศหญิงและอันดับ 2 ในเพศชายตามลำดับ นอกจากนี้ยังเป็นโรคที่ทำให้เกิดการสูญเสีย ปีสุขภาวะ (Disability Adjusted Life Years ; DALYs ) ที่สำคัญอันดับ 2 ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ทั้งนี้โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน(Cerebrovascular disease) พบได้ประมาณร้อยละ 70 ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด

    ประเด็นการเรียนรู้ที่สำคัญ (Key Learning Point )

    1. การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ควรให้การรักษา และแยกตามกลุ่ม

    ผู้ป่วย ดังนี้

    1.1 Acute period เป็นมาภายใน 3 ชั่วโมงแรก พิจารณาให้ Thrombolytic drug

    1.2 Intermediate period เป็นมาภายใน 7 วัน แต่เกิน 3 ชั่วโมง พิจารณา Admit

    1.3 Rehabilitation period เป็นมาหลัง 7 วัน พิจารณา ดูแลฟื้นฟูสภาพที่บ้าน

    2. การให้ยาลดความดันโลหิต ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke) (ประมาณ 2 สัปดาห์แรกหลังจากเกิดอาการ) แม้ว่าจะมีความดันโลหิตสูง ก็ไม่ควรให้ยาลดความดันโลหิต ซึ่งเป็นภาวะ Compensation ของร่างกาย และการให้ยาลดความดันโลหิตจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี (แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สำหรับแพทย์ ) ยกเว้น มีข้อบ่งชี้เฉพาะ เช่นความดันซิสโตล่า > 220 mmHg. ความดันไดแอสโตล่า >120mmHg.,acute myocardial infarction , aortic dissection , acute renal failure , hypertensive encephalopathy ในกรณีจำเป็นต้องให้ยาลดความดันโลหิต ไม่ควรใช้ Nifedipine sublingual เนื่องจากความดันโลหิตอาจลดลงอย่างมาก และมีผลให้สมองขาดเลือดมากยิ่งขึ้น

    3. ควรให้ Aspirin ขนาด 160–300 มิลลิกรัม ทางปากภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากเกิดอาการ หรือหลังจากรับไว้ในโรงพยาบาล

    4. ไม่ควรให้ Steroid เพื่อหวังผลในการลดภาวะสมองบวม เนื่องจากไม่ได้ผล และยังเพิ่ม ความเสี่ยงของการติดเชื้อแทรกซ้อน

    5. ควรพิจารณาให้ Anticoagulant ในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น กรณีมีสาเหตุจากโรคหัวใจหรือหลอดเลือดที่คอและพยาธิ สภาพที่สมองมีขนาดไม่ใหญ่ ฯลฯ

    6. ควรเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ทุกราย

    7. ไม่ควรให้น้ำเกลือในรูป 5 % glucose เพราะจะทำให้เกิดภาวะ lactic acid คั่งในสมอง ยกเว้นในรายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดทุกราย

    8. ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลรักษาภายใต้แนวทางหรือแผนการที่ได้รับการการวางแผนไว้
    ล่วงหน้า เช่น Care map , pathway , Fast tract ด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ

    9. การประเมินสภาพและความพร้อมของผู้ป่วย ด้วย Score , Scale ต่างๆ จะช่วยในการวางแผนการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม เช่น
    – Barthel Index เพื่อประเมินกิจวัตรประจำวัน
    – Glasgow Coma Scale สำหรับการประเมิน Conscious ผู้ป่วย
    – Ranking Scale สำหรับประเมิน Disability

    10. การ Early ambulation ทันทีที่ผู้ป่วยพร้อม จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้
    เช่น โรคปอดอักเสบ การเกิดแผลกดทับ

    11. การช่วยเหลือผู้ป่วยฝึกเดิน จะต้องมีการประเมินความพร้อมและผู้ฝึกจะต้องมี
    เทคนิคที่ดี เพื่อป้องกันผู้ป่วยหกล้ม การจัดเตรียมราวจับ และกระจกให้ฝึกเดิน
    ที่หอผู้ป่วย

    12. ผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปทำกายภาพ บำบัดที่ห้องกายภาพบำบัดได้ นักกายภาพบำบัดจะต้องมาค้นหาผู้ป่วยใหม่ได้เพื่อประเมินและวางแผน การทำกายภาพบำบัด โดยไม่ต้องให้มีการส่งปรึกษาจะสามารถช่วยผู้ป่วยให้มี Early ambulation ได้เร็ว

    13. การประเมินความพร้อมในการกลืนของผู้ป่วย ได้แก่ ก่อนฝึกกลืน จะไม่ Force ให้ผู้ป่วย กิน/กลืน ถ้าผู้ป่วยยังไม่พร้อม เพราะจะทำให้ผู้ป่วยสำลักได้ และควรฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยการ หัดกินน้ำจากช้อนชาก่อน แล้วค่อยฝึกกลืนของเหลวที่ข้นขึ้นได้
    14. ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke) ไม่ควร
    ปล่อยให้มีไข้ เพราะจะเพิ่ม Brain damage ถ้ามีไข้ต้องรีบให้ยาลดไข้ และเช็ดตัวให้ไข้ลงทันที พร้อมทั้งรักษาสาเหตุของไข้

    15. มีระบบการเตือน ไม่ให้ลืมพลิกตัว อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง เช่น การลงบันทึก การกำหนด ท่านอน ตามเวลาที่เปลี่ยนไป ทุก 2 ชั่วโมง เป็นต้น การจัดท่านอนอย่างถูกเทคนิค จะสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้คนจำนวนมากและฝึกให้ญาติสามารถช่วยเหลืออย่างถูกวิธีด้วย

    16. การจัดให้มีที่นอนลม สามารถลดการเกิดแผลกดทับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ส่วนการใช้ห่วงยางกลม (โดนัท) รองก้น ไม่ช่วยลดการเกิดแผลกดทับแต่อาจทำให้ไปกดผิวหนังรอบๆ ทำให้การไหลเวียนโลหิตไม่ดีด้วย

    17. การใช้ของแข็งดันเท้าในผู้ป่วยที่มี Foot drop ตลอดเวลา ไม่ช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้น แต่จะไปกระตุ้นให้ผู้ป่วยมี Clonus มากขึ้น การนวดเบาๆ และจับข้อให้เคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและป้องกันข้อติดได้

    18. การจัดสิ่งแวดล้อมของหอผู้ป่วย ประกอบด้วย ป้ายเตือนการระวังพลัดตกหกล้ม ไม้กั้นเตียง ราวจับผนังห้อง มีห้องน้ำภายในหอผู้ป่วยที่ไม่ไกลจากเตียง โดยมีกริ่งสัญญาณภายในห้องน้ำ มีราวจับป้องกันการหกล้ม และมีโถส้วมแบบชักโคลก กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้เอง ญาติสามารถพาผู้ป่วยนั่งรถเข็นไปสวมเข้ากับส้วมชักโคลกได้พอดี การจัดสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จะเป็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ ในการจัดสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยที่บ้านในกระบวนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย

    19. การระบุ (Identify ) ญาติที่จะเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้านตัวจริงให้ได้ ( เนื่องจากอาจเป็นคนละคนกับที่เฝ้าอยู่โรงพยาบาล / มาเยี่ยม) และนำเข้า Home Program ที่ถูกต้อง จะช่วยเตรียมความพร้อมก่อน ผู้ป่วยกลับบ้านได้ดี และมีการดูแลที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง

    20. ควรมี Home Program ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน ตามศักยภาพที่จะสามารถทำได้

    21. ผู้ป่วยควรได้รับการประเมิน ตลอดจนพิจารณาทำกายภาพบำบัดทุกราย

    22. ผู้ป่วยทุกรายต้องได้รับการวินิจฉัยสุขภาพจิต และได้รับ Psychosupport จากแพทย์พยาบาลหรือนักจิตวิทยา โดยอาจเลือกใช้เทคนิค Self help group , Supporting group การให้คำปรึกษารายวัน เป็นต้น

    23. ผู้ป่วยที่รอจำหน่ายทุกรายจะต้องมีการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
    23.1 ให้การรักษาปัจจัยเสี่ยง และควบคุมปัจจัยเสี่ยง
    23.2 พิจารณาให้ยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet) หรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) กรณีที่ได้รับยา Anticoagulant ก่อนให้ผู้ป่วยกลับบ้าน ควรตรวจให้แน่ใจว่า อยู่ใน Therapeutic range (1.5 –2.5 เท่า)
    23.3 ให้ความรู้ในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ อาการของการกลับเป็นซ้ำ และข้อปฏิบัติตัวเมื่อกลับเป็นซ้ำ
    23.4 ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการผิดปกติ เช่น อ่อนแรงมากขึ้น ควรรีบมาโรงพยาบาล
    23.5 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง

  37. AiwAiw Hadda says:

    ปัจจัยเสี่่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
    1.โรคความดันโลหิตสูง
    2. สูบบุหรี่
    3.โรคเบาหวาน
    4.โรคหัวใจ
    5.ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง
    6.โรคอ้วน
    7.ดื่มสุราปริมาณมากๆ
    อาจารย์ค่ะ นอกจาก7ปัจจัยนี้ยังมีปัจจัยอะไรอีกมั้ยค่ะ ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดสมองค่ะ
    สุวิญญา ฮาดดา 520673

  38. อาจารย์คะหนูอยากเรียนรู้เรื่องของเครื่องช่วยหายใจน่ะคะเพราะตอนเรียน Lecture ไม่ค่อยเข้าใจนะค่ะ หนูถูก พี่ที่ ward ถามบ่อย ๆ ทำไหมคนไข้แต่ละรายใช้อุปกรณ์ไม่เหมือนกัน ,ให้ rate O2 ไม่เท่ากัน , รู้ได้อย่างไรว่าต้องให้ O2 หนูตอบว่า ถ้าวัด Sat O2 ไม่ถึง 95 % ก็ต้องให้ O2 หนูเข้าใจถูกต้องไหมคะ คือ หนูสงสัยว่าการที่เราจะเลือกใช้ O2 ชนิดไหนเราดูที่ว่าคนไข้ขาด O2 อีกกี่ % ที่จะได้ 100 % เท่านั้น หรือว่า 95 % เป็นอย่างน้อยก็ได้คะอาจารย์ เช่น วัด sat O2 ได้ 80 % หนูต้องเลือกชนิดที่ให้ FiO2 20 % เพื่อให้ถึง 100 % หรือว่าเลือก FiO2 15 % เพื่อให้ถึง 95 % ก็หมายความว่าหนูต้องเลือกอุปกรณ์การให้ O2 ที่สามารถให้ FiO2 15 % – 20 % หนูเข้าใจถูกต้องหรือเปล่าคะ ในที่นี้หนูต้องเลือก cannular หนูเข้าใจความสัมพันธ์ถูกต้องไหมคะ

  39. นางสาวสร้อยแก้ว ไสว 5 2 0 6 8 1 คำถามเรื่อง O2 ที่ด้านบนค่ะ อยากให้อาจารย์ช่วยอธิบายเพื่อให้หายสงสัยค่ะ ขอบคุณค่ะ

  40. wannawatt says:

    แนวทางการป้องกันโรคอัมพาต อัมพฤกษ์

    ควบคุมความดันโลหิต ควรตรวจเช็คความดันโลหิตเป็นประจำ เพราะความดันโลหิตสูงจะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิด โรคอัมพาต อัมพฤกษ์

    ไม่สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่จะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิด โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ จากการวิจัยพบว่าผู้ที่เลิกบุหรี่ไปแล้ว 2-5 ปี จะมีโอกาสเกิดโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ น้อยกว่าผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่อยู่

    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกาย ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น นอกจากนี้การออกกกำลังกายยังช่วย ในการควบคุมความดันโลหิตและน้ำหนักตัว ซึ่งจะเป็นการลดปัจจัยเสี่ยง ต่อการที่จะเกิดโรคอัมพาต อัมพฤกษ์

    ทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรทานผักผลไม้สดให้มาก หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง และควรรับประทานปลาเป็นประจำเพราะปลาจะมี omega-3 fatty acids ที่ช่วยลดการอุดตันของลิ่มเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคอัมพาต อัมพฤกษ์

    ให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากมีโรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นเบาหวานหากปล่อยให้น้ำตาลสูง โดยไม่ควบคุม เส้นเลือดจะแข็ง ตีบตัน ขาดความยืดหยุ่น ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ มากขึ้น

    520314 นางสาววรรณวรรธก์ ประมวลปรีชา

  41. sujidtra says:

    การดูแลกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
    กิจวัตรประจำวันหมายถึง กิจกรรมต่างๆที่ต้องทำเป็นประจำในแต่ละวัน เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน

    บทบาทของผู้ป่วย

    บทบาทสำคัญของญาติและผู้ดูแล

    กระตุ้นให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันให้มากที่สุด เท่าที่สามารถจะทำได้
    กระตุ้นให้ผู้ป่วยใช้ร่างกายข้างที่อ่อนแรง
    ช่วยเหลือกิจกรรมเท่าที่ทำได้
    ให้กำลังใจและส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจในตนเอง

    การดูแลความสะอาดร่างกาย

    การเช็ดตัวในรายที่ผู้ป่วยไม่สามารถอาบน้ำได้

    วัตถุประสงค์

    เพื่อให้ผิวหนังสะอาด
    เพื่อช่วยให้การถ่ายเทของผิวหนังดีขึ้น
    เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสุขสบาย สดชื่น หายอ่อนเพลีย
    เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
    เพื่อสังเกตความผิดปกติของผิวหนัง
    การเตรียมอุปกรณ์

    1.เตรียมของใช้ ภาชนะสำหรับใส่อุปกรณ์เช็ดตัว ประกอบด้วยชุดทำความสะอาดปากและฟัน แปรงสีฟัน ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก
    กะละมังเช็ดตัว 2 ใบ
    ผ้าถูตัว 2 ผืน ผ้าเช็ดตัว 2 ผืน
    สบู่, แป้ง
    เสื้อผ้า สำหรับเปลี่ยน 1 ชุด

    วิธีปฏิบัติ

    1. ปิดพัดลมและแอร์ ขณะเช็ดตัว
    2. นำกะละมังและเครื่องใช้ต่างๆ มาวางที่โต๊ะข้างเตียงผู้ป่วย
    3. เลื่อนตัวผู้ป่วยให้ชิดริมเตียงข้างที่ผู้ดูแลยืนอยู่ หนุนหมอน หรือไขเตียงให้ศีรษะสูงจากพื้นเตียงประมาณ 1 ฟุต คลุมผ้าเช็ดตัวที่หน้าอกให้ผู้ป่วยทำความสะอาดปาก และฟัน แต่ถ้าผู้ป่วยทำเองไม่ได้ ให้ทำความสะอาดปากและฟันให้
    4. ถอดเสื้อผ้าผู้ป่วยออก ใช้ผ้าเช็ดตัวปิดแทน เปิดเฉพาะส่วนที่จะเช็ดเท่านั้น
    5. ใช้ผ้าชุบน้ำบิดพอหมาด เช็ดให้ทั่วใบหน้า หู จมูก คอ และใช้ผ้าอีกผืนชุบน้ำพอหมาด ฟอกสบู่ เช็ดให้ทั่วและเช็ดด้วยน้ำจนสะอาดและซับให้แห้ง
    6. เช็ดช่วง อก และหน้าท้องด้วยวิธีเดียวกันจนสะอาด ซับให้แห้งแล้วเปลี่ยนน้ำ
    7. เช็ดแขนด้านที่อยู่ไกลตัวก่อน ด้วยสบู่ และเช็ดด้วยน้ำจนสะอาด ซับให้แห้ง
    8. ย้ายมาเช็ดแขนข้างที่อยู่ใกล้ตัวด้วยวิธีเดียวกัน เสร็จแล้วแช่มือในกะละมัง ฟอกและล้างมือให้สะอาด ซับให้แห้ง แล้วเปลี่ยนน้ำ
    9. เช็ดขาด้านที่อยู่ไกลตัวก่อน แล้วจึงเช็ดข้างที่อยู่ใกล้ตัวด้วยวิธีเดียวกัน เสร็จแล้วแช่เท้าในกะละมัง ฟอกและล้างเท้าให้สะอาดซับให้แห้งแล้วเปลี่ยนน้ำ
    10. ผู้ดูแลเดินกลับไปด้านตรงข้าม พลิกตะแคงตัวผู้ป่วยโดยหันหน้าเข้าหาผู้ดูแล ใช้ผ้าเช็ดตัวปูแนบหลังผู้ป่วย จนถึงคอเพื่อป้องกันการเปียกน้ำ เช็ดหลังจนถึงคอด้วยน้ำสบู่เช็ดตามด้วยน้ำสะอาด ซับให้แห้ง เสร็จแล้ว ทาแป้ง และควรนวดหลังให้ผู้ป่วยเพื่อช่วยการไหลเวียนเลือดและป้องกันการเกิดแผลกดทับ
    11. ให้ผู้ป่วยนอนหงายและทาแป้ง ใส่เสื้อและกางเกง หวีผมให้เรียบร้อย
    12. จัดให้ผู้ป่วยนอนในท่าที่สบาย
    13. นำเครื่องใช้ไปทำความสะอาดและผึ่งแดดให้แห้ง
    14. ถ้าเล็บมือ เล็บเท้ายาวควรตัดเล็บหลังจากเช็ดตัวเสร็จแล้ว

    หมายเหตุ ควรให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะก่อนเช็ดตัวหรืออาบน้ำเพื่อความสะดวกและจะได้ไม่ต้องเสียเวลาหลายครั้ง

    นางสาวสุจิตรา ทอดแสน 510330

  42. ผลกระทบของโรคหลอดเลือดสมองต่อร่างกายและจิตใจ
    1. อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อข้างใดข้างหนึ่งอาจเป็นทั้งแขนและขา
    2. มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว เช่น การนั่ง การยืน หรือเดินไม่ได้แม้ว่ากล้ามเนื้อจะยังคงแข็งแรง
    3. ปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารผู้ป่วยบางรายไม่สามารถพูด และไม่สามารถเข้าใจภาษาทั้งพูดและเขียน บางรายพูดไม่ได้แต่ฟังรู้เรื่อง บางรายพูดลำบาก
    4. ผู้ป่วยบางรายไม่สนใจอวัยวะข้างใดข้างหนึ่งมักเกิดในผู้ป่วยที่อ่อนแรงข้างซ้าย
    5. มีอาการชา หรือปวดข้างใดข้างหนึ่ง
    6. ผู้ป่วยบางรายมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ ความคิด และการเรียนรู้
    7. ผู้ป่วยบางรายมีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหาร
    8. มีปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ
    9. ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเหนื่อยง่าย
    10.ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์แปรปรวนเช่น หัวเราะ หรือร้องไห้เสียงดัง
    11.อารมณ์วิตกกังวลอาจพบได้ในระยะแรกของโรค เกิดจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจว่า ตนเองป่วยเป็นโรคอะไร สาเหตุจากอะไร ต้องรักษาอย่างไร เสียค่าใช้จ่ายมากร้อยเท่าไร รักษาหายหรือไม่ ซึ่งอาจแสดงออกมาทางร่างกาย คือ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ พฤติกรรมถดถอย เรียกร้องความสนใจ ต้องการให้ช่วยเหลือทั้ง ๆ ที่สามารถทำได้
    12.มีภาวะซึมเศร้าจากการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่นานทำให้ผู้ป่วยเกิดความเบื่อหน่าย สิ้นหวัง แยกตัว ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม เบื่อกิจกรรมทุกอย่าง ท้อแท้ อยากตาย ผู้ป่วยมักคิดว่าตนเองไม่มีโอกาส ไม่มีความหวังเป็นภาระของครอบครัว รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า
    13.พฤติกรรมต่อต้าน ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ จะปฏิเสธการดูแลจากคนอื่น ไม่ยอมให้ช่วยเหลือ ไม่ยอมรับประทานยา หรือไม่ยอมให้ฉีดยา
    14.พฤติกรรมก้าวร้าว ควบคุมตัวเองไม่ได้ เอาแต่ใจ เมื่อไม่ได้รับการตอบสนองทันที ก็เกิดความโกรธ และแสดงความก้าวร้าวต่อผู้รักษาหรือญาติพี่น้อง
    15.พฤติกรรมทางเพศเปลี่ยนแปลง เช่น เพิ่มขึ้นหรือลดลง
    16.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เชื่อว่าทำให้อาการของโรคเลวลง เช่น ไม่กล้าทำงาน ไม่กล้าเดินทาง บางคน ไม่อยากตกอยู่ในสภาพเจ็บป่วย ไม่มาพบแพทย์ตามนัด ไม่รับประทานยา ฯลฯ
    By : ลัดดาวรรณ 520596

  43. Jiab Ka Jiab says:

    ิการรักษาของโรคสมองขาดเลือด

    ในขั้นแรก แพทย์จะทำการประเมินประเภทและความร้ายแรงของ ภาวะสมองขาดเลือด จากนั้นจึงจัดการรักษาให้อย่างเหมาะสม โดยอาจ วินิจฉัยด้วยเครื่องเอ็กซเรย์ภาพตัดขวาง (CT Scan) และเครื่องเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อระบุตำแหน่งการอุดตันและบริเวณที่มีเลือดออก รวมทั้งประเมินความเสียหายของเนื้อสมอง นอกจากนี้ การตรวจเลือด ตรวจอัลตร้าซาวด์ ควบคู่กับตรวจการไหลเวียนของโลหิตและคลื่นไฟฟ้า หัวใจจะช่วยให้แพทย์ทราบถึงภาวะความผิดปกติของหัวใจได้ชัดเจนขึ้น

    เป้าหมายของการรักษาภาวะสมองขาดเลือด คือการทำให้เลือดไหล เวียนต่อไปได้อย่างปกติ ซึ่งแพทย์จะมีทางเลือกในการรักษาที่ได้ผลดีหลาย วิธีโดยบางกรณี แพทย์อาจใช้ยาสลายลิ่มเลือดซึ่งมีรายงานว่าให้ผลดีเมื่อ ให้ยาแก่ผู้ป่วยที่อาการกำเริบภายใน 3 ชั่วโมง

    สำำหรับการรักษาอาการทางสมองที่เกิดจากหลอดเลือดสมองแตกนั้น เป้าหมายของการรักษาจะอยู่ที่การควบคุมปริมาณเลือดที่ออก ด้วยการ รักษาระดับความดันโลหิต ในกรณีที่มีเลือดออกไม่มากก็ไม่จำการให้ยาและการฟื้นฟู

    หลังจากที่ผู้ป่วยมีอาการทรงตัว การรักษาจะมุ่งให้ผู้ป่วยได้ฟื้นฟู ร่างกายเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดซ้ำ ในช่วงนี้แพทย์อาจสั่งแอสไพริน ยากลุ่มสเตติน เพื่อลดคอเลสเตอรอล และยาลดความดันโลหิตให้แก่ ผู้ป่วย

    การฟื้นฟูเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยระยะเวลา เพราะผู้ป่วยต้อง หัดพูด หัดทรงตัว และเคลื่อนไหวร่างกายใหม่ ภายใน 3 เดือน จะเห็น การพัฒนาชัดเจนขึ้น และภายในหนึ่งปี ก็จะดีมากขึ้นเป็นลำดับ ยิ่งสมอง เสียหายจากภาวะขาดเลือดมากเท่าไร ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการฟื้นฟูก็ นานขึ้นเท่านั้น แต่หลาย ๆ กรณี ผู้ป่วยก็สามารถฟื้นฟูตัวเองได้อย่าง สมบูรณ์โดยเฉพาะในรายที่อยู่ในความดูแลของทีมแพทย์ในทันทีหลังเกิดอาการสมองขาดเลือด

    ปรับวิถีชีวิต ลดความเสี่ยง

    ควบคุมความดันโลหิต
    ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อโรคหลอดเลือดสมอง ควรหมั่นตรวจวัดความดันอยู่เสมอ

    งดสูบบุหรี่
    เมื่อคุณสูบบุหรี่ ความเสี่ยงต่อโรคจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว จากการ ที่ผนังหลอดเลือดถูกทำลาย ส่งผลให้ความด ันโลหิตเพิ่มขึ้น

    จำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์
    แค่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 2 แก้วต่อวัน ความเสี่ยง ต่อโรคหลอดเลือดสมองของคุณจะเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่าเลย ทีเดียว ดังนั้ นการงดดื่มจึงเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก

    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    ออกกำลัง 4 ถึง 5 ค รั้งต่อสัปดาห์ช่วยให้คุณสามารถควบคุมความดันโลหิต คอเลสเตอรอล ทั้งยังช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดี อีกด้วย

    รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
    อาหารจำพวกไขมันสูง น้ำตาลสูง เป็นสาเหตุของปัญหาคอเลสเตอรอลสูงและน้ำหนักเกินอันเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง เลือก รับประทานอาหารที่มีกากใยและวิตามินสูง เช่น แอปเปิ้ล สตรอเบอร์รี่ องุ่น มะเขือเทศ ช็อคโกแลต ปลา ชา ข้าวโอ๊ต ฯลฯ

    นางสาวสิรพร เข็มเมือง 520641

  44. aofpsn says:

    เคยได้ยินว่า ผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน แล้วมีการทำ DETOX มีจริงหรือป่าวค่ะอาจารย์

    แล้วถ้ามีการทำ DETOX จริงๆแล้ว จะมีข้อเสียอะไรบ้างค่ะ ลองศึกษาดูแล้วยังไม่มีงงานวิจัยไหนยืนยัน

    จริงๆ อยากทราบค่ะ พ่อหนูเป็นไขมันอุดตัน แต่ตอนนี้อาการดีขึ้นมากแล้วค่ะ

    นางสาวภาสินี พึ่่งนุสนธิ์ 510066

  45. แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
    1. การกระตุ้นให้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เช่น เดิน ลุก นั่ง รับประทานอาหาร ขับถ่ายเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ป่วย และฟื้นฟูสภาพได้เร็วขึ้น ญาติควรให้กำลังใจผู้ป่วยให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
    2. จัดอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ตามโรคประจำตัวของแต่ละคน เช่น เบาหวาน อาหารไขมันน้อย ถ้ามีความดันโลหิตสูงควรให้อาหารจืด ถ้ามีท้องผูกควรให้ผัก ผลไม้มากๆ
    3. ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารเองไม่ได้มีอาการกลืนลำบาก ควรให้อาหารทางสายยางเพื่อป้องกันการสำลักอาหาร
    4. ในกรณีผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้แขนขาอ่อนแรงควรพลิก ตะแคง ตัวบ่อยๆ ทุก 2 ชั่วโมง และใช้ผ้านุ่มๆ รองใต้ปุ่มกระดูก หรือนอนที่นอนลม
    5. ผู้ป่วยมักจะนอนในช่วงกลางวััน ญาติควรจัดสถานที่ให้เหมาะสมไม่มีเสียงรบกวน
    6. ควรให้ผู้ป่วยได้ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ พูดคุยสนทนากับคนอื่นได้ ถ้ามีปัญหาเรื่องการสื่อสาร เช่น พูดไม่ชัด ฟังไม่เข้าใจ ญาติควรใจเย็นเพื่อช่วยเหลือ ให้ผู้ป่วยเข้าใจ อาจใช้วิธีเขียน การอ่าน รูปภาพ การใช้สื่อแทนคำพูด
    7. ผู้ป่วยอาจมีความหงุดหงิด ซึมเศร้า ท้อแท้ ญาติควรเข้าใจไม่แสดงความรำคาญ ควรปลอบโยนให้กำลังใจผู้ป่วย
    8. ถ้าผู้ป่วยอุจจาระ ปัสสาวะราด ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าทำความสะอาดอวัยวะเพศ เพื่อไม่ให้เปียกชื้น ควรดูแล ทำความสะอาดร่างกาย ปาก ฟัน อาบน้ำ สระผม แปรงฟัน บ้วนปาก ให้ผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถทำได้
    9. ถ้าผู้ป่วยใส่สายปัสสาวะคาไว้ ควรให้อยู่ต่ำกว่าระดับกระเพาะปัสสาวะ และทำความสะอาดปลายอวัยวะเพศ และสายสวนด้วยน้ำยาเซพลอน 1 : 100 วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นด้วย

  46. โรคหลอดเลือดสมอง

    โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของอาการอัมพาต พบมากในผู้มีอายุ 45 ปีขึ้นไป มีอาการและความรุนแรงแตกต่างกัน

    โรคหลอดเลือดสมองมี 2 กลุ่ม คือ
    1. โรคหลอดเลือดสมองแตกบได้ ร้อยละ 30
    2. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน พบได้ร้อยละ 70

    อาการของโรคหลอดเืลือดสมอง

    1. มีอาการอ่อนแรงหรือชาข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
    2. ตามัว หรือมองไม่เห็นทันทีทันใดโดยเฉพาะเป็นข้างเดียว
    3. ปวดศีรษะฉับพลันชนิดไม่เคยเป็นมาก่อน
    4. พูดตะกุกตะกัก ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด
    5. สับสน ถามตอบไม่เข้าใจ
    6. ชักเกร็ง หมดสติ หายใจไม่สม่ำเสมอ ถ้าช่วยไม่ัทันอาจเสียชีวิตได้

    ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง

    1. ความดันโลหิตสูง
    2. การสูบบุหรี่
    3. โรคเบาหวาน
    4. โรคหัวใจ
    5. ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง
    6. ปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุมากขึ้น
    7. ความเครียด ความอ้วน การดื่มสุรามากๆ ขาดการออกกำลังกาย

    การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

    1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    2. ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม อย่าให้อ้วน
    3. งดสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
    4. ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง ถ้าพบว่า มีปัจจัยเสี่ยงต้องรีบรักษา และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
    5. ในกรณีมีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้ว ต้องรักษาอย่างสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาเองเด็ดขาด
    6. ถ้าเป็นโรคหลอดเลือดในสมองอยู่แล้วจะมีโอกาสเป็นซ้ำได้มากกว่าคนปกติ และมีอาการมากกว่าเดิม เช่น กรณีเป็นโรคเลือดสมองตีบ หรือ อุดตันจะได้ยารับประทานพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ เช่น ยาแอสไพรินจะต้านการแข็งตัวของเลือด ซึ่งต้องรับประทานติด่อกันเป็นเวลานาน ไม่ควรหยุดยาเองเด็ดขาด

    การตรวจที่สำคัญในโรคหลอดเลือดสมอง

    1. การตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุต่างๆ
    2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
    3. การคอมพิวเตอร์สมอง (CT Scan)
    4. การฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือด (Angioqram)
    5. การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

    การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

    การรักษาขึ้นอยู่กับชนิด และความรุนแรงระยะเวลาที่มีอาการ ถ้ามีการรักษาเร็วเท่าใด ความพิการและอัตราการตายจะลดลงเท่านั้น
    1. การให้ยารับประทาน ในโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือ อุดตัน จะได้ยาแอสไพลินเพื่อต้านการแข็งตัวของเลือด และอาจมียาชนิดอื่นๆ เพื่อช่วยในการไหลเวียนเลือดในสมองได้ดีขึ้น
    2. ถ้าเป็นโรคหลอเลือดสมองแตก และมีก้อนเลือดคั่งในสมองแพทย์อาจทำการผ่าตัดนบางราย มีอาการรุนแรงมากแพทย์อาจรักษาเพื่อพยุงอาการเท่านั้น
    3. การรักษาเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยง ร่วมกัน เช่น รักษาโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง
    4. การทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูสภาพของกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง
    5. การรักษาโรคแทรกซ้อนที่มักจะเกิดในผู้ป่วยอัมพาตและนอนบนเตียงนานๆ คือ ปอดบวม

    ภาวะแทรกซ้อนที่พบในโรคหลอดเลือดสมอง

    1. ปอดบวมจากการนอนนานๆ และสำลักอาหาร
    2. ท้องผูก ซึ่งเกิดจากลำไส้ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว
    3. ข้อติดแข็ง จากไม่มีการเคลื่อนไหวข้อ
    4. แผลกดทับ จากการนอนทับท่าเดียวนานๆ
    5. แผลในกระเพาะอาหารจากภาวะเครียด หรือเกิดจากอาการข้างเคียงของยา แอสไพรินซึ่งมีฤทธิ์กัดกระเพาะอาหาร

    แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

    1. การกระตุ้นให้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เช่น เดิน ลุก นั่ง รับประทานอาหาร ขับถ่ายเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ป่วย และฟื้นฟูสภาพได้เร็วขึ้น ญาติควรให้กำลังใจผู้ป่วยให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
    2. จัดอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ตามโรคประจำตัวของแต่ละคน เช่น เบาหวาน อาหารไขมันน้อย ถ้ามีความดันโลหิตสูงควรให้อาหารจืด ถ้ามีท้องผูกควรให้ผัก ผลไม้มากๆ
    3. ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารเองไม่ได้มีอาการกลืนลำบาก ควรให้อาหารทางสายยางเพื่อป้องกันการสำลักอาหาร
    4. ในกรณีผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้แขนขาอ่อนแรงควรพลิก ตะแคง ตัวบ่อยๆ ทุก 2 ชั่วโมง และใช้ผ้านุ่มๆ รองใต้ปุ่มกระดูก หรือนอนที่นอนลม
    5. ผู้ป่วยมักจะนอนในช่วงกลางวััน ญาติควรจัดสถานที่ให้เหมาะสมไม่มีเสียงรบกวน
    6. ควรให้ผู้ป่วยได้ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ พูดคุยสนทนากับคนอื่นได้ ถ้ามีปัญหาเรื่องการสื่อสาร เช่น พูดไม่ชัด ฟังไม่เข้าใจ ญาติควรใจเย็นเพื่อช่วยเหลือ ให้ผู้ป่วยเข้าใจ อาจใช้วิธีเขียน การอ่าน รูปภาพ การใช้สื่อแทนคำพูด
    7. ผู้ป่วยอาจมีความหงุดหงิด ซึมเศร้า ท้อแท้ ญาติควรเข้าใจไม่แสดงความรำคาญ ควรปลอบโยนให้กำลังใจผู้ป่วย
    8. ถ้าผู้ป่วยอุจจาระ ปัสสาวะราด ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าทำความสะอาดอวัยวะเพศ เพื่อไม่ให้เปียกชื้น ควรดูแล ทำความสะอาดร่างกาย ปาก ฟัน อาบน้ำ สระผม แปรงฟัน บ้วนปาก ให้ผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถทำได้
    9. ถ้าผู้ป่วยใส่สายปัสสาวะคาไว้ ควรให้อยู่ต่ำกว่าระดับกระเพาะปัสสาวะ และทำความสะอาดปลายอวัยวะเพศ และสายสวนด้วยน้ำยาเซพลอน 1 : 100 วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นด้วย

  47. Jiab Ka Jiab says:

    อาจารย์ คะ ถ้าผู้ป่วยเพิ่่งมาเป็นโรคความดันโลหิตสูง เราจะต้องแนะนำในเรื่่องดังต่อไปนี้ใช้ไหมคะ
    1. ตรวจวัดความดันเป็นระยะ
    /2.รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ โดยการลดน้ำหนักลง 10% สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
    3. งดอาหารเค็มหรือเกลือไม่ควรได้รับเกลือเกิน 6 กรับต่อวัน
    4. รับประทานอาหารไขมันต่ำ
    5. งดการสูบบุหรี่
    6. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
    7. ไปตามแพทย์นัด
    8. ออกกำลังกายตามแพทย์แนะนำโดยการออกกำลังวันละ 30-45 นาทีสัปดาห์ละ 3-5 วัน
    9. รับประทานอาหารที่มีเกลือโปแตสเซียม
    10. แนะนำให้พาพ่อแม่พี่น้องและลูกไปตรวจวัดความดันโลหิต

  48. Jiab Ka Jiab says:

    นางสาว สิรพร เข็มเมือง 520641

  49. julinshee says:

    การรับประทานยาแอสไพรินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพื่อต้านการแข็งตัวของเลือด ต้องรับประทานนานแค่ไหนค่ะ หรือว่าตลอดชีวิต รับประทานยาปริมาณเท่าไหรถึงจะมีผลต้านการแข็งตัวของเลือด ทำให้ผู้ป่วยมีเลือดออกง่ายด้วยไหมค่ะ และจะส่งผลกระทบต่อการมีประจำเดือนด้วยไหมค่ะ

    • julinshee says:

      การรับประทานยาแอสไพรินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพื่อต้านการแข็งตัวของเลือด
      ต้องรับประทานนานแค่ไหนค่ะ หรือว่าตลอดชีวิต รับประทานยาปริมาณเท่าไหรถึงจะมีผลต้านการแข็งตัวของเลือด ทำให้ผู้ป่วยมีเลือดออกง่ายด้วยไหมค่ะ และจะส่งผลกระทบต่อการมีประจำเดือนด้วยไหมค่ะ 510625

  50. การเจาะ Lumbar plungture ในผู้ป่วย Aneurysm ต้องทำทุกรายหรือทำในกรณีไหนค่ะ

  51. 1. การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ควรให้การรักษา และแยกตามกลุ่ม

    ผู้ป่วย ดังนี้

    1.1 Acute period เป็นมาภายใน 3 ชั่วโมงแรก พิจารณาให้ Thrombolytic drug

    1.2 Intermediate period เป็นมาภายใน 7 วัน แต่เกิน 3 ชั่วโมง พิจารณา Admit

    1.3 Rehabilitation period เป็นมาหลัง 7 วัน พิจารณา ดูแลฟื้นฟูสภาพที่บ้าน

    2. การให้ยาลดความดันโลหิต ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke) (ประมาณ 2 สัปดาห์แรกหลังจากเกิดอาการ) แม้ว่าจะมีความดันโลหิตสูง ก็ไม่ควรให้ยาลดความดันโลหิต ซึ่งเป็นภาวะ Compensation ของร่างกาย และการให้ยาลดความดันโลหิตจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี (แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สำหรับแพทย์ ) ยกเว้น มีข้อบ่งชี้เฉพาะ เช่นความดันซิสโตล่า > 220 mmHg. ความดันไดแอสโตล่า >120mmHg.,acute myocardial infarction , aortic dissection , acute renal failure , hypertensive encephalopathy ในกรณีจำเป็นต้องให้ยาลดความดันโลหิต ไม่ควรใช้ Nifedipine sublingual เนื่องจากความดันโลหิตอาจลดลงอย่างมาก และมีผลให้สมองขาดเลือดมากยิ่งขึ้น

    3. ควรให้ Aspirin ขนาด 160–300 มิลลิกรัม ทางปากภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากเกิดอาการ หรือหลังจากรับไว้ในโรงพยาบาล

    4. ไม่ควรให้ Steroid เพื่อหวังผลในการลดภาวะสมองบวม เนื่องจากไม่ได้ผล และยังเพิ่ม ความเสี่ยงของการติดเชื้อแทรกซ้อน

    5. ควรพิจารณาให้ Anticoagulant ในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น กรณีมีสาเหตุจากโรคหัวใจหรือหลอดเลือดที่คอและพยาธิ สภาพที่สมองมีขนาดไม่ใหญ่ ฯลฯ

    6. ควรเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ทุกราย

    7. ไม่ควรให้น้ำเกลือในรูป 5 % glucose เพราะจะทำให้เกิดภาวะ lactic acid คั่งในสมอง ยกเว้นในรายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดทุกราย

    8. ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลรักษาภายใต้แนวทางหรือแผนการที่ได้รับการการวางแผนไว้
    ล่วงหน้า เช่น Care map , pathway , Fast tract ด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ

    9. การประเมินสภาพและความพร้อมของผู้ป่วย ด้วย Score , Scale ต่างๆ จะช่วยในการวางแผนการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม เช่น
    – Barthel Index เพื่อประเมินกิจวัตรประจำวัน
    – Glasgow Coma Scale สำหรับการประเมิน Conscious ผู้ป่วย
    – Ranking Scale สำหรับประเมิน Disability

    10. การ Early ambulation ทันทีที่ผู้ป่วยพร้อม จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้
    เช่น โรคปอดอักเสบ การเกิดแผลกดทับ

    11. การช่วยเหลือผู้ป่วยฝึกเดิน จะต้องมีการประเมินความพร้อมและผู้ฝึกจะต้องมี
    เทคนิคที่ดี เพื่อป้องกันผู้ป่วยหกล้ม การจัดเตรียมราวจับ และกระจกให้ฝึกเดิน
    ที่หอผู้ป่วย

    12. ผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปทำกายภาพ บำบัดที่ห้องกายภาพบำบัดได้ นักกายภาพบำบัดจะต้องมาค้นหาผู้ป่วยใหม่ได้เพื่อประเมินและวางแผน การทำกายภาพบำบัด โดยไม่ต้องให้มีการส่งปรึกษาจะสามารถช่วยผู้ป่วยให้มี Early ambulation ได้เร็ว

    13. การประเมินความพร้อมในการกลืนของผู้ป่วย ได้แก่ ก่อนฝึกกลืน จะไม่ Force ให้ผู้ป่วย กิน/กลืน ถ้าผู้ป่วยยังไม่พร้อม เพราะจะทำให้ผู้ป่วยสำลักได้ และควรฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยการ หัดกินน้ำจากช้อนชาก่อน แล้วค่อยฝึกกลืนของเหลวที่ข้นขึ้นได้

    14. ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke) ไม่ควร
    ปล่อยให้มีไข้ เพราะจะเพิ่ม Brain damage ถ้ามีไข้ต้องรีบให้ยาลดไข้ และเช็ดตัวให้ไข้ลงทันที พร้อมทั้งรักษาสาเหตุของไข้

    15. มีระบบการเตือน ไม่ให้ลืมพลิกตัว อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง เช่น การลงบันทึก การกำหนด ท่านอน ตามเวลาที่เปลี่ยนไป ทุก 2 ชั่วโมง เป็นต้น การจัดท่านอนอย่างถูกเทคนิค จะสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้คนจำนวนมากและฝึกให้ญาติสามารถช่วยเหลืออย่างถูกวิธีด้วย

    16. การจัดให้มีที่นอนลม สามารถลดการเกิดแผลกดทับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ส่วนการใช้ห่วงยางกลม (โดนัท) รองก้น ไม่ช่วยลดการเกิดแผลกดทับแต่อาจทำให้ไปกดผิวหนังรอบๆ ทำให้การไหลเวียนโลหิตไม่ดีด้วย

    17. การใช้ของแข็งดันเท้าในผู้ป่วยที่มี Foot drop ตลอดเวลา ไม่ช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้น แต่จะไปกระตุ้นให้ผู้ป่วยมี Clonus มากขึ้น การนวดเบาๆ และจับข้อให้เคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและป้องกันข้อติดได้

    18. การจัดสิ่งแวดล้อมของหอผู้ป่วย ประกอบด้วย ป้ายเตือนการระวังพลัดตกหกล้ม ไม้กั้นเตียง ราวจับผนังห้อง มีห้องน้ำภายในหอผู้ป่วยที่ไม่ไกลจากเตียง โดยมีกริ่งสัญญาณภายในห้องน้ำ มีราวจับป้องกันการหกล้ม และมีโถส้วมแบบชักโคลก กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้เอง ญาติสามารถพาผู้ป่วยนั่งรถเข็นไปสวมเข้ากับส้วมชักโคลกได้พอดี การจัดสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จะเป็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ ในการจัดสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยที่บ้านในกระบวนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย

    19. การระบุ (Identify ) ญาติที่จะเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้านตัวจริงให้ได้ ( เนื่องจากอาจเป็นคนละคนกับที่เฝ้าอยู่โรงพยาบาล / มาเยี่ยม) และนำเข้า Home Program ที่ถูกต้อง จะช่วยเตรียมความพร้อมก่อน ผู้ป่วยกลับบ้านได้ดี และมีการดูแลที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง

    20. ควรมี Home Program ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน ตามศักยภาพที่จะสามารถทำได้

    21. ผู้ป่วยควรได้รับการประเมิน ตลอดจนพิจารณาทำกายภาพบำบัดทุกราย

    22. ผู้ป่วยทุกรายต้องได้รับการวินิจฉัยสุขภาพจิต และได้รับ Psychosupport จากแพทย์พยาบาลหรือนักจิตวิทยา โดยอาจเลือกใช้เทคนิค Self help group , Supporting group การให้คำปรึกษารายวัน เป็นต้น

    23. ผู้ป่วยที่รอจำหน่ายทุกรายจะต้องมีการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
    23.1 ให้การรักษาปัจจัยเสี่ยง และควบคุมปัจจัยเสี่ยง
    23.2 พิจารณาให้ยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet) หรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) กรณีที่ได้รับยา Anticoagulant ก่อนให้ผู้ป่วยกลับบ้าน ควรตรวจให้แน่ใจว่า อยู่ใน Therapeutic range (1.5 –2.5 เท่า)
    23.3 ให้ความรู้ในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ อาการของการกลับเป็นซ้ำ และข้อปฏิบัติตัวเมื่อกลับเป็นซ้ำ
    23.4 ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการผิดปกติ เช่น อ่อนแรงมากขึ้น ควรรีบมาโรงพยาบาล
    23.5 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง

  52. namyenly says:

    ถ้าผู้ป่วยเป็น Hypertension ยาตัวไหนที่ใช้เป็นยาหลักๆ ที่จะให้ผู้ป่วยทุกรายค่ะ

  53. การเตรียมที่อยู่ที่ปลอดภัย
    เนื่องจากผู้ป่วยอัมพาตหลังออกจากโรงพยาบาลร่างกายยังไม่แข็งแรงพอจึงจำเป็นต้องเตรียมสถานที่เพื่อให้ปลอดภัย และส่งเสริมให้มีการฟื้นฟูสภาพดำเนินไปอย่างรวดเร็ว โดยต้องจัดเตรียมดังต่อไปนี้
    1. ห้องนอน ควรจัดห้องนอน ห้องน้ำ และห้องอาหารให้อยู่ชั้นเดียวกัน เพื่อที่ผู้ป่วยสามารถเดินช่วยตัวเองให้มากที่สุด
    2. เตียง ผู้ป่วยที่ยังช่วยตัวเองไม่ดี หรือรับประทานอาหารเองไม่ได้ควรใช้เตียงเหมือนเตียงในโรงพยาบาล พื้นเตียงควรเป็นพื้นไม้ โดยสามารถปรับหัวเตียง และมีราวสำหรับให้ผู้ป่วยยึดจับสำหรับพลิกตัว เตียงควรมีความสูงพอเหมาะที่จะดูแลผู้ป่วยได้ง่าย ผู้ป่วยสามารถนั่งที่ขอบเตียงโดยเท้าแตะพื้น
    3. หากผู้ป่วยไม่สามารถพลิกตัวด้วยตัวเอง อาจมีความจำเป็นต้องใช้เตียงลมเพื่อป้องกันแผลกดทับ
    4. ไม่ควรมีของตกแต่งชิ้นเล็กชิ้นน้อยเพราะอาจตกแตกได้
    5. ควรติดราวไว้ในห้องน้ำ และทางเดินเพื่อให้ผู้ป่วยยึดเวลาเดิน
    6. ดูเรื่องแสงต้องสว่างพอ
    7. ไม่ควรมีธรณีประตูเพราะผู้ป่วยอาจจะสะดุดได้

    การเตรียมเครื่องช่วยในการดำเนินชีวิต
    ผู้ป่วยที่ยังไม่แข็งแรงเดินด้วยตัวเองไม่คล่องจำต้องมีเครื่องช่วยเดิน เช่น
    1. เตียงนอนควรเป็นเตียงที่แข็งแรง พื้นเตียงควรเป็นไม้ และสามารถปรับความสูงต่ำได้
    2.ที่นอน ต้องเป็นที่นอนที่แน่น ไม่นุ่มหรือแข็งเกินไป ผ้าปูที่นอนต้องขึงตึง ไม่มีรอยย่นหรือรอยพับ เพื่อกันไม่ให้เกิดการถูไถกับผิวหนังผู้ป่วยอันจะนำมาซึ่งแผลกดทับได้
    3. cane ไม้เท้าช่วยเดิน อาจมีขาเดียว 3ขา หรือ4ขา เหมาะสำหรับประคองตัว
    4. walker เป็นคอกสี่เหลี่ยมมี4ขาใช้สำหรับประคองตัว
    5. braces อุปกรณ์ให้ข้อเท้า และเท้าอยู่ในตำแหน่งที่เดินได้
    6. Wheelchair รถเข็นสำหรับผู้ป่วยที่เดินไม่ได้
    7. อุปกรณ์เสริมอื่น เช่น กระโถน ถาดอาหารเป็นต้น

  54. porranee says:

    อาจารย์คะ ผุ้ป่วย stroke เราสามารถประเมิน Neuro signs ได้ตามอาการของผู้ป่วยเลยใช่ไหมคะ นอกเหนือจาก Rx
    นางสาวภรณี งามโฉมฉิน 510116

  55. kallaya2532 says:

    การป้องกัน โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ที่ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

    งดสูบบุหรี่

    ควบคุมอาหาร อย่าให้น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน

    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

    ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

    ถ้าเป็นเบาหวาน ควรรักษาระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

    หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรดูแลความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

    หากมีอาการผิดปกติ เช่น แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดลำบาก เวียนศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

    ควรตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ เพื่อตรวจหาความเสี่ยง เพราะอาจเกิดลิ่มเลือดในหัวใจหลุดเข้าไปอุดตันในหลอดเลือดสมองได้

    การจะทราบว่าผู้ป่วยที่มาพบแพทย์เป็น โรคหลอดเลือดสมอง หรือไม่ เป็นที่จุดใด มีความรุนแรงเพียงใดนั้น ควรทำการตรวจโดยเครื่องมือทางการแพทย์ ที่ให้ผลละเอียดและมีความแม่นยำสูง เพื่อประกอบการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งมีหลายวิธี คือ การตรวจสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (CT Scan) การตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI และ MRA) การตรวจการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดในสมอง (Transcranial Doppler : TCD) และการตรวจหลอดเลือดคอ เป็นต้น ซึ่งผลที่ได้มีความละเอียดแม่นยำมากพอ ที่จะช่วยทำให้แพทย์วางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    By:กัลยา 510320

  56. (wannapha thamee 520589) ให้ความรู้ค่ะ :ปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้อาจแบ่งออกเป็น 2 ประการคือ ปัจจัยเสี่ยงหลัก (Major risk factors) และปัจจัยเสี่ยงรอง (Minor riskfactors) ปัจจัยเสี่ยงหลัก ได้แก่ 1. ความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นปัจจัยที่เสี่ยงสำาคัญที่สุด พบว่าผู้ปวยโรคหลอด ่เลือดสมองร้อยละ 70 ความดันโลหิตสูงจะทำาให้เกิดการเสื่อมของโรคหลอดเลือดสมองผนังหลอดเลือดจะหนาและแข็งทำาให้เกิดเลือดออกในสมองและเลือดไปเลียงสมองไม่พอ นอกจากนี้ ้ความดันโลหิตสูงจะทำาให้กลไกรักษาระดับเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง(Auto regulation) เสียไปและทำาให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ผลที่ตามมาคือเลือดไปเลี้ยงสมองน้อย 2. โรคหัวใจ (Heart disease) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำาคัญอีกอย่างหนึ่งของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง พบว่าผู้ปวยทีมีภาวะ Atrail fibrillation หรือ AF มี ่ ่โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าคนปกติถึง 6 เท่า ถ้ามีภาวะหัวใจเต้นระริกร่วมกับโรค Rheumatic heart disease จะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้สูงถึง 17 เท่าของคนปกติภาวะ Atrail fibrillation จะทำาให้มีอาการคั่งของเลือดและมีการรวมตัวกันเป็นลิ่มเลือดลอยไปอุดหลอดเลือดสมอง 3. โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) ผูที่เป็นโรคเบา ้หวานมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนปกติ 2 – 3 เท่า กลไกของโรคเบาหวานทีทำาให้ ่เกิดโรคหลอดเลือดสมองเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดAtherosclerosis และความดันโลหิตสูงซึ่งมีผลทำาให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดไปเลี้ยง 4. ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ทำาให้การไหลเวียนโลหิตผิดปกติเกิดภาวะสมองขาดเลือดไปเลี้ยง ปัจจัยเสี่ยงรอง ได้แก่ อายุ เชื้อชาติ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเลือด การรับประทานยาคุมกำาเนิด ความอ้วน ภาวะขาดการออกกำาลังกาย ประวัติครอบครัวมีบิดามารดาเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน(Prior stroke)

  57. (น.ส.วรรณภา ทามี 520589) แนวทางการรักษาค่ะ : 1. การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ควรให้การรักษา และแยกตามกลุ่ม
    ผู้ป่วย ดังนี้
    1.1 Acute period เป็นมาภายใน 3 ชั่วโมงแรก พิจารณาให้ Thrombolytic drug
    1.2 Intermediate period เป็นมาภายใน 7 วัน แต่เกิน 3 ชั่วโมง พิจารณา Admit
    1.3 Rehabilitation period เป็นมาหลัง 7 วัน พิจารณา ดูแลฟื้นฟูสภาพที่บ้าน
    2. การให้ยาลดความดันโลหิต ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke) (ประมาณ 2 สัปดาห์แรกหลังจากเกิดอาการ) แม้ว่าจะมีความดันโลหิตสูง ก็ไม่ควรให้ยาลดความดันโลหิต ซึ่งเป็นภาวะ Compensation ของร่างกาย และการให้ยาลดความดันโลหิตจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี (แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สำหรับแพทย์ ) ยกเว้น มีข้อบ่งชี้เฉพาะ เช่นความดันซิสโตล่า > 220 mmHg. ความดันไดแอสโตล่า >120mmHg.,acute myocardial infarction , aortic dissection , acute renal failure , hypertensive encephalopathy ในกรณีจำเป็นต้องให้ยาลดความดันโลหิต ไม่ควรใช้ Nifedipine sublingual เนื่องจากความดันโลหิตอาจลดลงอย่างมาก และมีผลให้สมองขาดเลือดมากยิ่งขึ้น
    3. ควรให้ Aspirin ขนาด 160–300 มิลลิกรัม ทางปากภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากเกิดอาการ หรือหลังจากรับไว้ในโรงพยาบาล
    4. ไม่ควรให้ Steroid เพื่อหวังผลในการลดภาวะสมองบวม เนื่องจากไม่ได้ผล และยังเพิ่ม ความเสี่ยงของการติดเชื้อแทรกซ้อน
    5. ควรพิจารณาให้ Anticoagulant ในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น กรณีมีสาเหตุจากโรคหัวใจหรือหลอดเลือดที่คอและพยาธิ สภาพที่สมองมีขนาดไม่ใหญ่ ฯลฯ
    6. ควรเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ทุกราย
    7. ไม่ควรให้น้ำเกลือในรูป 5 % glucose เพราะจะทำให้เกิดภาวะ lactic acid คั่งในสมอง ยกเว้นในรายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดทุกราย
    8. ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลรักษาภายใต้แนวทางหรือแผนการที่ได้รับการการวางแผนไว้
    ล่วงหน้า เช่น Care map , pathway , Fast tract ด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ
    9. การประเมินสภาพและความพร้อมของผู้ป่วย ด้วย Score , Scale ต่างๆ จะช่วยในการวางแผนการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม เช่น
    – Barthel Index เพื่อประเมินกิจวัตรประจำวัน
    – Glasgow Coma Scale สำหรับการประเมิน Conscious ผู้ป่วย
    – Ranking Scale สำหรับประเมิน Disability
    10. การ Early ambulation ทันทีที่ผู้ป่วยพร้อม จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้
    เช่น โรคปอดอักเสบ การเกิดแผลกดทับ
    11. การช่วยเหลือผู้ป่วยฝึกเดิน จะต้องมีการประเมินความพร้อมและผู้ฝึกจะต้องมี
    เทคนิคที่ดี เพื่อป้องกันผู้ป่วยหกล้ม การจัดเตรียมราวจับ และกระจกให้ฝึกเดิน
    ที่หอผู้ป่วย
    12. ผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปทำกายภาพ บำบัดที่ห้องกายภาพบำบัดได้ นักกายภาพบำบัดจะต้องมาค้นหาผู้ป่วยใหม่ได้เพื่อประเมินและวางแผน การทำกายภาพบำบัด โดยไม่ต้องให้มีการส่งปรึกษาจะสามารถช่วยผู้ป่วยให้มี Early ambulation ได้เร็ว
    13. การประเมินความพร้อมในการกลืนของผู้ป่วย ได้แก่ ก่อนฝึกกลืน จะไม่ Force ให้ผู้ป่วย กิน/กลืน ถ้าผู้ป่วยยังไม่พร้อม เพราะจะทำให้ผู้ป่วยสำลักได้ และควรฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยการ หัดกินน้ำจากช้อนชาก่อน แล้วค่อยฝึกกลืนของเหลวที่ข้นขึ้นได้
    14. ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke) ไม่ควร
    ปล่อยให้มีไข้ เพราะจะเพิ่ม Brain damage ถ้ามีไข้ต้องรีบให้ยาลดไข้ และเช็ดตัวให้ไข้ลงทันที พร้อมทั้งรักษาสาเหตุของไข้
    15. มีระบบการเตือน ไม่ให้ลืมพลิกตัว อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง เช่น การลงบันทึก การกำหนด ท่านอน ตามเวลาที่เปลี่ยนไป ทุก 2 ชั่วโมง เป็นต้น การจัดท่านอนอย่างถูกเทคนิค จะสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้คนจำนวนมากและฝึกให้ญาติสามารถช่วยเหลืออย่างถูกวิธีด้วย
    16. การจัดให้มีที่นอนลม สามารถลดการเกิดแผลกดทับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ส่วนการใช้ห่วงยางกลม (โดนัท) รองก้น ไม่ช่วยลดการเกิดแผลกดทับแต่อาจทำให้ไปกดผิวหนังรอบๆ ทำให้การไหลเวียนโลหิตไม่ดีด้วย
    17. การใช้ของแข็งดันเท้าในผู้ป่วยที่มี Foot drop ตลอดเวลา ไม่ช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้น แต่จะไปกระตุ้นให้ผู้ป่วยมี Clonus มากขึ้น การนวดเบาๆ และจับข้อให้เคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและป้องกันข้อติดได้
    18. การจัดสิ่งแวดล้อมของหอผู้ป่วย ประกอบด้วย ป้ายเตือนการระวังพลัดตกหกล้ม ไม้กั้นเตียง ราวจับผนังห้อง มีห้องน้ำภายในหอผู้ป่วยที่ไม่ไกลจากเตียง โดยมีกริ่งสัญญาณภายในห้องน้ำ มีราวจับป้องกันการหกล้ม และมีโถส้วมแบบชักโคลก กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้เอง ญาติสามารถพาผู้ป่วยนั่งรถเข็นไปสวมเข้ากับส้วมชักโคลกได้พอดี การจัดสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จะเป็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ ในการจัดสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยที่บ้านในกระบวนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย
    19. การระบุ (Identify ) ญาติที่จะเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้านตัวจริงให้ได้ ( เนื่องจากอาจเป็นคนละคนกับที่เฝ้าอยู่โรงพยาบาล / มาเยี่ยม) และนำเข้า Home Program ที่ถูกต้อง จะช่วยเตรียมความพร้อมก่อน ผู้ป่วยกลับบ้านได้ดี และมีการดูแลที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง
    20. ควรมี Home Program ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน ตามศักยภาพที่จะสามารถทำได้
    21. ผู้ป่วยควรได้รับการประเมิน ตลอดจนพิจารณาทำกายภาพบำบัดทุกราย
    22. ผู้ป่วยทุกรายต้องได้รับการวินิจฉัยสุขภาพจิต และได้รับ Psychosupport จากแพทย์พยาบาลหรือนักจิตวิทยา โดยอาจเลือกใช้เทคนิค Self help group , Supporting group การให้คำปรึกษารายวัน เป็นต้น

  58. โรคหลอดเลือดสมอง

    โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือโรคสมองขาดเลือดหรือที่นิยมเรียกกันว่า Stroke ในทางการแพทย์มักจะเรียกกันว่า CVD “Cerobrovascular disease ” คนไทยเรียก โรคอัมพาต แต่ถ้าผู้ป่วยรายใดมีอาการไม่รุนแรงยังพอขยับได้เรียก โรคอัมพฤกษ์ ซึ่งจะต้องมี 3 ภาวะกล่าวคือ

    1.ภาวะนี้จะต้องเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง2.จากเหตุในข้อ 1 มีผลทำให้สมองบางส่วนสูญเสียหน้าที่ เช่นพูดไม่ได้ อ่อนแรง3.ระยะเวลาที่เป็นต้องเกิน24 ชั่วโมง โรคอัมพาตเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนจะต้องทราบเกี่ยวกับโรคนี้ หลายท่านคงไม่ทราบว่าโรคนี้สามารถป้องกันได้ หลายท่านคงไม่ทราบว่าตัวเอง คุณพ่อ คุณแม่ ตลอดจนคนรู้จักหรือญาติมิตรมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ หากท่านทราบและปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม ก็สามารถป้องกันโรคนี้ได้ ดังนั้นจึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง และยังไม่พยายามที่จะลดความเสี่ยงเหล่านั้นได้ทราบถึงอันตรายและผลที่จะเกิดหากท่าเป็นโรคอัมพาต

    หลายท่านยังมีความเข้าใจผิดว่าโรคอัมพาตรักษาไม่ได้ อัมพาตป้องกันไม่ได้ อัมพาตเป็นเฉพาะผู้สูงอายุ ทั้งหมดเป็นความเข้าใจผิด อัมพาตสามารถป้องกันได้ อัมพาตสามารถเป็นได้กับผู้ป่วยทุกอายุ และสามารถรักษาได้
    นางสาว จินตหรา เทพาคำ 520532

  59. Jiab Ka Jiab says:

    ข้อวินิจฉัยการพยาบาลสำหรับโรคหลอดเลือดสมอง

    1. การเคลื่อนไหวร่างกายบกพร่องเนื่่องจากมีการพยาธิสภาพที่่สมอง
    2. มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้รวมกับกระเพาะปัสสาวะอ่อนแอ สับสนหรือความยากลำบากในการสื่อสาร
    3. การสื่อสารบกพร่องเนื่องจากเกิดพยาธิสภาพที่สมอง
    4. เสื่ยงต่อภาวะเเทรกซ้อน เข่น ปอดอักเสบ แผลกดทับ ท้องผูก ปอดเเฟบ และข้อยึดติด เนื่องจากต้องนอนโรงพยาบาลนานๆ
    5. ผู้ป่วยและญาติมีความวิตกกังวลเนื่องขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ
    ุ6. เสี่ยงต่อการติดเชื้้้้้อเนื่องจากผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะนาน
    7.เสี่ยงต่อภาวะพร่องโภชนาการเนื่องจากผู้ป่วยรับประทานอาหารไม่เพียงพอต่อร่างกาย

    อาจารย์คะ ข้อวินิจฉัการพยาบาลของผู้ป่วยเขียนแบบนี้ได้ไหม คะ แล้วจะต้องเพิ่มอะไรอีกไหม คะ

    นางสาวสิริพร เข้มเมือง รหัส 520641

  60. แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

    1. การกระตุ้นให้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เช่น เดิน ลุก นั่ง รับประทานอาหาร ขับถ่ายเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ป่วย และฟื้นฟูสภาพได้เร็วขึ้น ญาติควรให้กำลังใจผู้ป่วยให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
    2. จัดอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ตามโรคประจำตัวของแต่ละคน เช่น เบาหวาน อาหารไขมันน้อย ถ้ามีความดันโลหิตสูงควรให้อาหารจืด ถ้ามีท้องผูกควรให้ผัก ผลไม้มากๆ
    3. ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารเองไม่ได้มีอาการกลืนลำบาก ควรให้อาหารทางNGเพื่อป้องกันการสำลักอาหาร
    4. ในกรณีผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้แขนขาอ่อนแรงควรพลิก ตะแคง ตัวบ่อยๆ ทุก 2 ชั่วโมง และใช้ผ้านุ่มๆ รองใต้ปุ่มกระดูก หรือนอนที่นอนลม
    5. ผู้ป่วยมักจะนอนในช่วงกลางวััน ญาติควรจัดสถานที่ให้เหมาะสมไม่มีเสียงรบกวน
    6. ควรให้ผู้ป่วยได้ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ พูดคุยสนทนากับคนอื่นได้ ถ้ามีปัญหาเรื่องการสื่อสาร เช่น พูดไม่ชัด ฟังไม่เข้าใจ ญาติควรใจเย็นเพื่อช่วยเหลือ ให้ผู้ป่วยเข้าใจ อาจใช้วิธีเขียน การอ่าน รูปภาพ การใช้สื่อแทนคำพูด
    7. ผู้ป่วยอาจมีความหงุดหงิด ซึมเศร้า ท้อแท้ ญาติควรเข้าใจไม่แสดงความรำคาญ ควรปลอบโยนให้กำลังใจผู้ป่วย
    8. ถ้าผู้ป่วยอุจจาระ ปัสสาวะราด ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าทำความสะอาดอวัยวะเพศ เพื่อไม่ให้เปียกชื้น ควรดูแล ทำความสะอาดร่างกาย ปาก ฟัน อาบน้ำ สระผม แปรงฟัน บ้วนปาก ให้ผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถทำได้
    9. ถ้าผู้ป่วยใส่สายปัสสาวะคาไว้ ควรให้อยู่ต่ำกว่าระดับกระเพาะปัสสาวะ และทำความสะอาดปลายอวัยวะเพศ และสายสวนด้วยน้ำยาเซพลอน 1 : 100 วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นด้วย
    น.ส.สุทธิลักษณ์ ดำพันธ์ รหัส 520815

  61. Lipcrae says:

    แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

    1. การกระตุ้นให้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เช่น เดิน ลุก นั่ง รับประทานอาหาร ขับถ่ายเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ป่วย และฟื้นฟูสภาพได้เร็วขึ้น ญาติควรให้กำลังใจผู้ป่วยให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
    2. จัดอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ตามโรคประจำตัวของแต่ละคน เช่น เบาหวาน อาหารไขมันน้อย ถ้ามีความดันโลหิตสูงควรให้อาหารจืด ถ้ามีท้องผูกควรให้ผัก ผลไม้มากๆ
    3. ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารเองไม่ได้มีอาการกลืนลำบาก ควรให้อาหารทางสายยางเพื่อป้องกันการสำลักอาหาร
    4. ในกรณีผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้แขนขาอ่อนแรงควรพลิก ตะแคง ตัวบ่อยๆ ทุก 2 ชั่วโมง และใช้ผ้านุ่มๆ รองใต้ปุ่มกระดูก หรือนอนที่นอนลม
    5. ผู้ป่วยมักจะนอนในช่วงกลางวััน ญาติควรจัดสถานที่ให้เหมาะสมไม่มีเสียงรบกวน
    6. ควรให้ผู้ป่วยได้ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ พูดคุยสนทนากับคนอื่นได้ ถ้ามีปัญหาเรื่องการสื่อสาร เช่น พูดไม่ชัด ฟังไม่เข้าใจ ญาติควรใจเย็นเพื่อช่วยเหลือ ให้ผู้ป่วยเข้าใจ อาจใช้วิธีเขียน การอ่าน รูปภาพ การใช้สื่อแทนคำพูด
    7. ผู้ป่วยอาจมีความหงุดหงิด ซึมเศร้า ท้อแท้ ญาติควรเข้าใจไม่แสดงความรำคาญ ควรปลอบโยนให้กำลังใจผู้ป่วย
    8. ถ้าผู้ป่วยอุจจาระ ปัสสาวะราด ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าทำความสะอาดอวัยวะเพศ เพื่อไม่ให้เปียกชื้น ควรดูแล ทำความสะอาดร่างกาย ปาก ฟัน อาบน้ำ สระผม แปรงฟัน บ้วนปาก ให้ผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถทำได้
    9. ถ้าผู้ป่วยใส่สายปัสสาวะคาไว้ ควรให้อยู่ต่ำกว่าระดับกระเพาะปัสสาวะ และทำความสะอาดปลายอวัยวะเพศ และสายสวนด้วยน้ำยาเซพลอน 1 : 100 วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นด้วย

    การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

    การรักษาขึ้นอยู่กับชนิด และความรุนแรงระยะเวลาที่มีอาการ ถ้ามีการรักษาเร็วเท่าใด ความพิการและอัตราการตายจะลดลงเท่านั้น
    1. การให้ยารับประทาน ในโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือ อุดตัน จะได้ยาแอสไพลินเพื่อต้านการแข็งตัวของเลือด และอาจมียาชนิดอื่นๆ เพื่อช่วยในการไหลเวียนเลือดในสมองได้ดีขึ้น
    2. ถ้าเป็นโรคหลอเลือดสมองแตก และมีก้อนเลือดคั่งในสมองแพทย์อาจทำการผ่าตัดนบางราย มีอาการรุนแรงมากแพทย์อาจรักษาเพื่อพยุงอาการเท่านั้น
    3. การรักษาเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยง ร่วมกัน เช่น รักษาโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง
    4. การทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูสภาพของกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง
    5. การรักษาโรคแทรกซ้อนที่มักจะเกิดในผู้ป่วยอัมพาตและนอนบนเตียงนานๆ คือ ปอดบวม

    ภาวะแทรกซ้อนที่พบในโรคหลอดเลือดสมอง

    1. ปอดบวมจากการนอนนานๆ และสำลักอาหาร
    2. ท้องผูก ซึ่งเกิดจากลำไส้ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว
    3. ข้อติดแข็ง จากไม่มีการเคลื่อนไหวข้อ
    4. แผลกดทับ จากการนอนทับท่าเดียวนานๆ
    5. แผลในกระเพาะอาหารจากภาวะเครียด หรือเกิดจากอาการข้างเคียงของยา แอสไพรินซึ่งมีฤทธิ์กัดกระเพาะอาหาร

    น.ส ศิริใจ กู้ภูเขียว รหัส 510534

  62. อาจารย์ค่ะ การแนะนำให้ญาติดูแลผู้ป่วย stroke ก่อนกลับบ้าน เราต้องแนะนำเรื่องอะไรบ้างค่ะ แล้วต้องเฝ้าระวังเรื่องอะไรบ้างค่ะ

  63. อาจาร์ค่ะหนูไปอ่านเจอการรักษาของผู้ป่วย stroke ในหนังสือคู่มือโรคของอาจารย์ท่านหนึ่ง กูได้พูดถึงการรักษาต่างๆ ทั้งการรักษาด้วยยา การรักษาด้วยการผ่าตัด แต่หนูสงสัยคือท่านบอกว่านอกจากนี้ยังมีแนวการรักษาใหม่ๆ เช่น การใช้โปรตีนชนิดพิเศษ คือ Plasma fibronectin ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยป้องกันเซลล์สมองไม่ให้เสียหายจาก strokeชนิดหลอดเลือดตีบตัน หนูอยากทราบว่าการรักษาด้วยวิธิการใช้โปรตีนชนิดพิเศษนี้พบบ่อยไหม๊ค่ะในปัจจุบัน และเราจะสามารถพบได้ใน ward ที่เราไปฝึกไหม๊ค่ะ

  64. อาจาร์ค่ะหนูไปอ่านเจอการรักษาของผู้ป่วย stroke ในหนังสือคู่มือโรคของอาจารย์ท่านหนึ่ง กูได้พูดถึงการรักษาต่างๆ ทั้งการรักษาด้วยยา การรักษาด้วยการผ่าตัด แต่หนูสงสัยคือท่านบอกว่านอกจากนี้ยังมีแนวการรักษาใหม่ๆ เช่น การใช้โปรตีนชนิดพิเศษ คือ Plasma fibronectin ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยป้องกันเซลล์สมองไม่ให้เสียหายจาก strokeชนิดหลอดเลือดตีบตัน หนูอยากทราบว่าการรักษาด้วยวิธิการใช้โปรตีนชนิดพิเศษนี้พบบ่อยไหม๊ค่ะในปัจจุบัน และเราจะสามารถพบได้ใน ward ที่เราไปฝึกไหม๊ค่ะ ขอบคุณค่ะ

    นางสาวน้ำทิพย์ สมานจิตร์ รหัส 520785

  65. แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

    1. การกระตุ้นให้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เช่น เดิน ลุก นั่ง รับประทานอาหาร ขับถ่ายเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ป่วย และฟื้นฟูสภาพได้เร็วขึ้น ญาติควรให้กำลังใจผู้ป่วยให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
    2. จัดอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ตามโรคประจำตัวของแต่ละคน เช่น เบาหวาน อาหารไขมันน้อย ถ้ามีความดันโลหิตสูงควรให้อาหารจืด ถ้ามีท้องผูกควรให้ผัก ผลไม้มากๆ
    3. ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารเองไม่ได้มีอาการกลืนลำบาก ควรให้อาหารทางสายยางเพื่อป้องกันการสำลักอาหาร
    4. ในกรณีผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้แขนขาอ่อนแรงควรพลิก ตะแคง ตัวบ่อยๆ ทุก 2 ชั่วโมง และใช้ผ้านุ่มๆ รองใต้ปุ่มกระดูก หรือนอนที่นอนลม
    5. ผู้ป่วยมักจะนอนในช่วงกลางวััน ญาติควรจัดสถานที่ให้เหมาะสมไม่มีเสียงรบกวน
    6. ควรให้ผู้ป่วยได้ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ พูดคุยสนทนากับคนอื่นได้ ถ้ามีปัญหาเรื่องการสื่อสาร เช่น พูดไม่ชัด ฟังไม่เข้าใจ ญาติควรใจเย็นเพื่อช่วยเหลือ ให้ผู้ป่วยเข้าใจ อาจใช้วิธีเขียน การอ่าน รูปภาพ การใช้สื่อแทนคำพูด
    7. ผู้ป่วยอาจมีความหงุดหงิด ซึมเศร้า ท้อแท้ ญาติควรเข้าใจไม่แสดงความรำคาญ ควรปลอบโยนให้กำลังใจผู้ป่วย
    8. ถ้าผู้ป่วยอุจจาระ ปัสสาวะราด ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าทำความสะอาดอวัยวะเพศ เพื่อไม่ให้เปียกชื้น ควรดูแล ทำความสะอาดร่างกาย ปาก ฟัน อาบน้ำ สระผม แปรงฟัน บ้วนปาก ให้ผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถทำได้
    9. ถ้าผู้ป่วยใส่สายปัสสาวะคาไว้ ควรให้อยู่ต่ำกว่าระดับกระเพาะปัสสาวะ และทำความสะอาดปลายอวัยวะเพศ และสายสวนด้วยน้ำยาเซพลอน 1 : 100 วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นด้วย

    นางสาวเมธิยา อาภรณ์แก้ว 520561

  66. การรักษา
    ถ้าหมดสติ ซึม คอแข็ง ชัก กินไม่ได้ ควรส่งโรงพยาบาลด่วน ถ้ามีภาวะขาดน้ำ
    ควรให้น้ำเกลือมาระหว่างทางด้วย
    ส่วนผู้ป่วยที่ยังรู้สึกตัวดี ควรส่งโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง อาจต้องตรวจ
    หาสาเหตุด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง, ถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็ก
    (MRI), เจาะหลัง, ตรวจเลือด, ตรวจปัสสาวะและอื่น ๆ แล้วให้การรักษาตาม
    สาเหตุ ดังนี้
    1. ในรายที่เป็นเพียง ทีไอเอ (สมองขาดเลือดชั่วขณะ) คือ มีอาการของอัมพาต
    ไม่เกิน 24 ชั่งโมง แล้วหายได้เอง อาจให้แอสไพริน (ย1.1) วันละ 75-325 มก.
    ทุกวันตลอดไป เพื่อป้องกันมิให้มีการตีบตันของหลอดเลือดอย่างถาวรซึ่งจะทำ
    ให้ผู้ป่วยกลายเป็นอัมพาตชนิดถาวร
    ในรายที่กินแอสไพรินไม่ได้ อาจให้ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด เช่น
    ไทโคลดิพีน (Ticlodipine) มีชื่อทางการค้า เช่น ไทคลิด (Ticlid) ขนาด 250
    มก. วันละ 2 ครั้งแทน
    2. ในรายที่เกิดจากหลอดเลือดตีบตัน หรือมีลิ่มเลือดอุดตัน ให้การรักษาตาม
    อาการ (เช่น ให้น้ำเกลือ ให้อาหารทางสายยาง ให้ยาลดความดันเลือด ให้ยา
    รักษาโรคเบาหวาน เป็นต้น) ให้แอสไพริน วันละ 75-325 มก. ทุกวัน หรือ
    ไทโคลดิพีน 250 มก. วันละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันมิให้หลอดเลือดตีบตันมากขึ้น
    และให้การรักษาทางกายภาพบำบัด
    ในรายที่เกิดจากลิ่มเลือดอุดตัน ในระยะ 2-3 วันแรก อาจให้ยาต้านการแข็ง
    ตัวของเลือด เช่น เฮพาริน (Heparin) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำผู้ป่วยที่อาการไม่
    รุนแรง ถ้าจะดีขึ้นก็จะเริ่มมีอาการดีขึ้นให้เห็นภายใน 2-3 สัปดาห์ และจะค่อย
    ๆ ฟื้นตัวขี้นเรื่อย ๆ จนสามารถช่วยตัวเองได้ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหลัง 6 เดือนไป
    แล้ว ก็มักจะพิการ
    3. ในรายที่เกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก ให้การรักษาตามอาการ และอาจ
    ต้องผ่าตัดสมอง เมื่อปลอดภัยแล้ว ค่อยให้การรักษาทางกายภาพบำบัดต่อไป

    ข้อแนะนำ
    1. เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาจนพ้นระยะอันตราย เริ่มรู้สึกตัวดี หายใจสะดวก
    กินอาหารได้ ควรให้การดูแลพยาบาลต่อ ดังนี้
    1.1 พยายามพลิกตัวผู้ป่วยไปมาทุก 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันมิให้เกิดแผลกดทับ
    (bed sores) ที่ก้น หลัง ข้อต่าง ๆ
    1.2 ให้อาหารและน้ำให้เพียงพอ ถ้าขาดน้ำ ผู้ป่วยจะซึม หรืออาการเลวลง
    1.3 พยายามบริหารข้อโดยการเหยียด และงอแขนขาตรงทุก ๆ ข้อต่อบ่อย ๆ
    เพื่อป้องกันมิให้ข้อเกร็งแข็ง
    2. เมื่ออาการดีขึ้น ผู้ป่วยต้องหมั่นบริหารกล้ามเนื้อ และพยายามใช้แขนขา
    เพื่อให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น ถ้าผู้ป่วยนอนเฉย ๆ ไม่พยายามใช้แขนขา กล้ามเนื้อก็จะ
    ลีบ และข้อแข็ง
    3. โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง บางคนอาจฟื้นตัวได้เร็ว และช่วยตัวเองได้ บางคนอาจ
    ฟื้นตัวช้า หรือพิการตลอดไป แต่สติปัญญาของผู้ป่วยส่วนมากยังดีเช่นปกติ
    ญาติควรแสดงความเห็นอกเห็นใจ อย่าแสดงความรังเกียจ และคอยให้กำลัง
    ใจผู้ป่วยอยู่เสมอ
    4. ในปัจจุบันยังไม่มียาที่ช่วยให้โรคนี้หายเป็นปกติได้ การรักษาขึ้นกับตัวผู้
    ป่วยเป็นสำคัญ ในการพยายามฟื้นฟูกำลังแขนขา โดยวิธีกายภาพบำบัด ผู้ป่วย
    ควรรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน ไม่ควรเปลี่ยนโรงพยาบาลบ่อย หรือเดินทาง
    ไปรักษายังโรงพยาบาลไกล ๆ เพราะการรักษาย่อมไม่แตกต่างกันมาก
    5. ผู้ป่วยควรงดเหล้า บุหรี่
    6. ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน ควรดูแลรักษาโรคนี้อย่างจริง
    จัง (ดูรายละเอียดของโรคเหล่านี้เพิ่มเติม)

  67. การป้องกัน
    การป้องกันมิให้เป็นโรคอัมพาต อาจกระทำได้โดย
    1. งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ และอาหารที่มีไขมันมาก, ลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน), และ
    หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อป้องกันมิให้หลอดเลือดแข็งตัวเร็ว
    2. หมั่นตรวจเช็กความดันเลือดเป็นประจำ
    3. ตรวจเช็กไขมันในเลือด ถ้ามีภาวะไขมันในเลือดสูง ควรหาทางควบคุมให้
    เป็นปกติ
    4. ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน ควรรักษาเป็นประจำอย่าได้ขาด
    เพราะเมื่อควบคุมโรคเหล่านี้ได้ ก็จะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัมพาต
    5. ถ้าเคยมีอาการอัมพาตชั่วคราวจากสมองขาดเลือดชั่วขณะ (ทีไอเอ) ควรรีบ
    ปรึกษาแพทย์ และกินยาแอสไพริน (หรือยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด)ตาม
    แพทย์สั่งเป็นประจำอย่าได้ขาด

  68. atitan500170 says:

    อาจารย์หนู อยากทราบว่า ยา r-tPA เป็นยากลุ่มแรกที่รักษา stoke ในเวลาน้อยกว่า 3 hr.และยังมียาตัวอื่นๆอีกหรือป่าวค่ะ และวิธีการรักษาที่สามารถทำให้ผู้ป่วยดีขึ้นและลดความพิการให้น้อยที่สุด ด้วยการรักษาแบบใดบ้างค่ะ

  69. แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

    1. การกระตุ้นให้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เช่น เดิน ลุก นั่ง รับประทานอาหาร ขับถ่ายเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ป่วย และฟื้นฟูสภาพได้เร็วขึ้น ญาติควรให้กำลังใจผู้ป่วยให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
    2. จัดอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ตามโรคประจำตัวของแต่ละคน เช่น เบาหวาน อาหารไขมันน้อย ถ้ามีความดันโลหิตสูงควรให้อาหารจืด ถ้ามีท้องผูกควรให้ผัก ผลไม้มากๆ
    3. ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารเองไม่ได้มีอาการกลืนลำบาก ควรให้อาหารทางสายยางเพื่อป้องกันการสำลักอาหาร
    4. ในกรณีผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้แขนขาอ่อนแรงควรพลิก ตะแคง ตัวบ่อยๆ ทุก 2 ชั่วโมง และใช้ผ้านุ่มๆ รองใต้ปุ่มกระดูก หรือนอนที่นอนลม
    5. ผู้ป่วยมักจะนอนในช่วงกลางวััน ญาติควรจัดสถานที่ให้เหมาะสมไม่มีเสียงรบกวน
    6. ควรให้ผู้ป่วยได้ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ พูดคุยสนทนากับคนอื่นได้ ถ้ามีปัญหาเรื่องการสื่อสาร เช่น พูดไม่ชัด ฟังไม่เข้าใจ ญาติควรใจเย็นเพื่อช่วยเหลือ ให้ผู้ป่วยเข้าใจ อาจใช้วิธีเขียน การอ่าน รูปภาพ การใช้สื่อแทนคำพูด
    7. ผู้ป่วยอาจมีความหงุดหงิด ซึมเศร้า ท้อแท้ ญาติควรเข้าใจไม่แสดงความรำคาญ ควรปลอบโยนให้กำลังใจผู้ป่วย
    8. ถ้าผู้ป่วยอุจจาระ ปัสสาวะราด ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าทำความสะอาดอวัยวะเพศ เพื่อไม่ให้เปียกชื้น ควรดูแล ทำความสะอาดร่างกาย ปาก ฟัน อาบน้ำ สระผม แปรงฟัน บ้วนปาก ให้ผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถทำได้
    9. ถ้าผู้ป่วยใส่สายปัสสาวะคาไว้ ควรให้อยู่ต่ำกว่าระดับกระเพาะปัสสาวะ และทำความสะอาดปลายอวัยวะเพศ และสายสวนด้วยน้ำยาเซพลอน 1 : 100 วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นด้วย
    นี้เป็นการดูแลผู้ป่วยโคหลอดเลือดในสมองน่ะค่ะ อาจารย์ค่ะแล้วจะมีการดูแลที่นอกเหนือจากนี้อีกไหมค่ะ

  70. การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง
    clinical Dx. : ให้ยึดตามการซักประวัติ และการตรวจร่างกายเป็นหลัก
    1. อาการเฉียบพลันทันทีทันใด (Sudden onset)
    2. อาการเฉพาะที่ทางระบบประสาท (focal deficit)
    เช่น การสูญเสีย function ของการทำงานเนื่องจากระบบประสาทถูกทำลาย
    พบบ่อยเป็นอัมพาตครึ่งซีก อัมพฤกษ์ครึ่งซีกง
    การออกเสียงค่อนข้างลำบาก (speech difficulty)
    ชนิด ระดับ 1 ลิ้นแข็ง มีความผิดปกติทางภาษา (dysathria) จาก
    การควบคุมกล้ามเนื้อในการพูดผิดปกติ
    ชนิด ระดับ 2 มีความผิดปกติทางการออกเสียง (aphasia)
    3. ปัจจัยเสี่ยง (risk factors)
     อายุ : ทุก ๆ 10 ปีที่อายุเพิ่มขึ้น (old age) จะเพิ่มโอกาสในการเป็นโรค
    หลอดเลือดสมอง 2 เท่า
     ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
     การสูบบุหรี่ (smoking)
     เบาหวาน (DM)
     ไขมันในเลือดสูง
     โรคหัวใจ
    4. การบาดเจ็บที่ศีรษะ (Head injury)
    การยืนยัน (Dx. ว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง)
    Brain imaging
     CT Scan เป็นส่วนใหญ่
     MRI
     Cardiac test
    X-rays,EKG

    นางสาวสุดารัตน์ พิมมาตย์ รหัส 520177

  71. อาจาย์ค่ะผู้ป่วยstrokeต้องระวังเรื่องอะไรบ้างค่ะ
    น.สง รัตนาภรณ์ สุขชุม 510543

  72. การป้องกัน โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ที่ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

    งดสูบบุหรี่

    ควบคุมอาหาร อย่าให้น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน

    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

    ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

    ถ้าเป็นเบาหวาน ควรรักษาระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

    หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรดูแลความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

    หากมีอาการผิดปกติ เช่น แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดลำบาก เวียนศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

    ควรตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ เพื่อตรวจหาความเสี่ยง เพราะอาจเกิดลิ่มเลือดในหัวใจหลุดเข้าไปอุดตันในหลอดเลือดสมองได้

    นส.จิรัญญา จันทร์หอม 520754

  73. chanidaw says:

    อาจารย์ค่ะ จะทราบได้อย่างไรว่าหลอดเลือดที่แตก เกิดจากภาวะความดันโลหิตสูงค่ะ
    น.ส.ชนิดา วงษ์วิเชียร 530584

    • อาจารย์ค่ะในการดูแล รักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ใช้ ยา Thrombolytic agent จะให้การดูแลหลังได้รับยาอย่างไรค่ะ และยาจะมีผลอย่างไรกับโรคหลอดเลือดสมองคะ
      นางสาวประภารัตน์ อุตม์อ่าง 510482

  74. การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด1. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง
    2. รับประทานผัก ผลไม้และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร
    3. รับประทานอาหารแต่พออิ่ม และควรพักหลังอาหารประมาณ 1/2-1 ชั่วโมง
    4. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการออกกำลังกายที่ดีที่สุด คือการเดิน เริ่มโดยการเดินช้า ๆ ก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มระยะทาง แต่อย่าให้เกินกำลังตนเอง
    5. ทำจิตใจให้สงบ หาโอกาสพักผ่อน และหาวิธีลดความเครียด หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้น เช่น การดูเกมการแข่งขันที่เร้าใจ
    6. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและเค็มจัด
    7. งดดื่มสุรา น้ำชา กาแฟ และหลีกกเลี่ยงการสูบบุหรี่
    8. หลีกเลี่ยงงานหนัก งานรีบเร่ง และงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องนาน ๆ
    9. เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก ให้หยุดกิจกรรมนั้น ๆ ทันทีและอมยาใต้ลิ้น 1 เม็ด
    ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลงให้อมยาใต้ลิ้นซ้ำได้อีก 1 เม็ด ห่างกัน 5 นาที แต่ไม่ควรเกิน 3 เม็ด หากอาการไม่ดีขึ้นใน 15-20 นาที ให้รีบไปพบแพทย์ได้ทันที
    10. การมีเพศสัมพันธ์ไม่ควนหักโหม ควรอมยาใต้ลิ้นก่อนมีเพศสัมพันธ์ ถ้ามีอาการใจสั่น หายใจขัด หรือเจ็บหน้าอกนานเกิน 15 นาทีหลังมีเพศสัมพันธ์ ควรปรึกษาแพทย์
    (นางสาวลดารัตน์ สาลี รหัส 510572)

  75. ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง

    1. ความดันโลหิตสูง
    2. การสูบบุหรี่
    3. โรคเบาหวาน
    4. โรคหัวใจ
    5. ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง
    6. ปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุมากขึ้น
    7. ความเครียด ความอ้วน การดื่มสุรามากๆ ขาดการออกกำลังกาย

    การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

    1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    2. ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม อย่าให้อ้วน
    3. งดสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
    4. ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง ถ้าพบว่า มีปัจจัยเสี่ยงต้องรีบรักษา และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
    5. ในกรณีมีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้ว ต้องรักษาอย่างสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาเองเด็ดขาด
    6. ถ้าเป็นโรคหลอดเลือดในสมองอยู่แล้วจะมีโอกาสเป็นซ้ำได้มากกว่าคนปกติ และมีอาการมากกว่าเดิม เช่น กรณีเป็นโรคเลือดสมองตีบ หรือ อุดตันจะได้ยารับประทานพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ เช่น ยาแอสไพรินจะต้านการแข็งตัวของเลือด ซึ่งต้องรับประทานติด่อกันเป็นเวลานาน ไม่ควรหยุดยาเองเด็ดขาด
    นางสาวจิรนันท์ ไขสาร รหัส 530683

  76. อาจารย์ค่ะ หนูทราบว่ายากลุ่ม ASA ออกฤทธิ์โดยขัดขวางการจับตัวกันของเกล็ดเลือดและการ
    เกาะของเกล็ดเลือด กับผนังหลอดเลือด จึงทำให้เกิดผลข้างเคียง มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อาการระคายเคืองทางเดินอาหาร จะมีวิธีการป้องกันอย่างไรบ้างค่ะ และห้ามใช้ในผู้ป่วยประเภทไหนบ้างค่ะ

  77. saekong says:

    หลังจากให้ผู้ป่วยได้รับยา Thrombolytic drugแล้ว
    จะต้องดูแลให้ SBP < 180 mmHg DBP < 115 mmHg
    ห้ามให้ heparin,warfarin ใน 24 hr
    จะไม่ทำ venous line,ABG,arterial puncture ใน24 hr
    ไม่ใส่สายสวนปัสสาวะ ใน 30 นาทีแรก
    หลีกเลี่ยงการใส่สาย NG tube หรือสายต่างๆใน 24 h
    ห้ามผสมยากับยาตัวอื่น
    เก็บรักษายาในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียสภายใน24hr หลังเปิดใช้แล้ว

    น.ส เปรมวดี แซ่ก๋อง รหัส 510714

  78. atitan500170 says:

    rt-PA ย่อมาจาก [Recombinant Human Tissue – type Plasminogen Activator]
    Treatment within 3 hour of symptom onset

    •Infusion 0.9mg/kg [Max 90 mg] in 1 hour
    •แบ่งให้ 10 % bolus in 1 min, 90% ที่เหลือ dripให้ภายใน 60 นาที

    วิธีผสมยา
    •ขนาดบรรจุ 50 mg/vial และมี solvent เฉพาะสำหรับผสม
    •ผสมแล้วได้ตัวยา 1 mg / 1 ml
    •ระวังไม่ให้เกิดฟองอากาศ โดยไม่เขย่าขวด ใช้วิธีหมุนขวดยา
    •ขณะให้ยา ห้ามผสมยาตัวนี้ ร่วมกับยาตัวอื่นๆทางสายน้ำเกลือเดียวกัน
    บทบาทการพยาบาล
    1. เตรียมความพร้อมรับผู้ป่วย
    2. มีการสำรองยา rt-PA ไว้ที่ตึก /ตรวจเช็คความพร้อม ดูวัน เดือน ปีหมดอายุของยาประจำทุกวัน
    ก่อนให้ rt-PA เปิดเส้นไว้อย่างน้อย 2 เส้น และเผื่อ tube x – match
    3. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา rt-PA (ภายใน Golden period 3 ชั่วโมงตั้งแต่ onset)
    4. ประเมินผลข้างเคียงของยา พร้อมลงบันทึก สัญญาณชีพทุก 15 นาที 2 ชั่วโมง ทุก 30 นาที 6 ชั่วโมง Record V/S ทุก 1 ชั่วโมง ถ้า BP มากกว่า 180/110 mmHg รายงานแพทย์ทันที
    5. เตรียมยาและเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ในการช่วยชีวิต ฉุกฉุกเฉินให้พร้อมใช้งาน
    6. รายงานแพทย์เมื่อพบอาการผิดปกติ เช่น เมื่อมีอาการทางระบบประสาทเปลี่ยนแปลงหรือล้มเหลวอย่าเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ความดันโมหิตสูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน N/V
    7. การป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้แก่ แผลกดทับ การสำลัก การเกิดอุบัติเหตุ
    8. มีการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยหรือญาติเป็นระยะ ๆ
    9. เปิดโอกาสให้ผู้ป่วย หรือญาติระบายความรู้สึก ซักถามข้อสงสัย
    10. ดูแลงดน้ำและอาหาร
    11. ดูแลให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
    12. ดูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
    13. Delayed NG Retained foley’s catheter ต่างๆ หัตถการ Invajine
    14. ห้ามเจาะเลือด ฉีดยา
    15. เตรียมความพร้อมในการช่วยฟื้นคืนชีพ กรณีฉุกเฉิน ใส่ ET-tube เตรียมผ่าตัดด่วน
    กรณีมีเลือดออกในสมอง

  79. อาจารย์ค่ะอยากทราบว่าถ้ามีอาการ เช่น อยู่ดี ๆ ตาข้างหนึ่งมืดดับไปเลย เป็นซักประมาณ 3 – 4 วินาที แล้วก็หาย หรืออยู่ดี ๆ ก็พูดไม่ชัด เป็นอยู่ซักประมาณ 1 นาทีหรือนับเป็นวินาทีแล้วก็หาย หรืออยู่ดี ๆ ก็อ่อนแรงไปครึ่งซีก เป็นอยู่ประมาณ 1 – 2 นาทีแล้วหาย มันเป็นอาการที่ผิดปกติไหมค่ะ

  80. มีวิธีออกกำลังที่จะทำให้หลอดเลือดสมองแข็งแรงหรือไม่?

    จีรภา สวนทอง 510174

  81. อาจารย์ค่ะ ผู้ป่วยทีมีเลือดออกในสมองข้างขวาทุกคน ต้องมีแขนขาอ่อนแรงข้างตรงข้ามเสมอไปไหมค่ะ
    เพราะพี่พยาบาลบอกว่าบางทีก็ไม่เสมอไปค่ะ ไม่แน่ใจค่ะ

  82. สาเหตุสำคัญของ โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน

    เกิดจากการมีไขมันไปเกาะผนังหลอดเลือดด้านในหลอดเลือดสมอง หรือมีลิ่มเลือดขนาดเล็กที่ลิ้นหัวใจและผนังหัวใจ หลุดลอยตามกระแสเลือดไปอุดตันหลอดเลือดในสมอง ซึ่งมักพบในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจโต ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว ผนังหัวใจรั่ว หรือเกิดจากการฉีกของผนังหลอดเลือดด้านใน ทำให้เส้นเลือดอุดตัน รวมถึงการแข็งตัวของเลือดที่เร็วเกินไป หรือเกล็ดเลือดมากเกินไป เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หลอดเลือดอุดตันได้

    การป้องกันไม่ให้เกิด โรคหลอดเลือดสมอง
    คือให้งดการสูบบุหรี่ ควบคุมอาหารและควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล

    การตรวจวินิจฉัย
    การตรวจสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (CT Scan) การตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI และ MRA) การตรวจการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดในสมอง (Transcranial Doppler : TCD) และการตรวจหลอดเลือดคอ

    การรักษา โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน
    สิ่งสำคัญในการรักษา โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน คือ การทำให้เซลล์ของสมองยังอยู่รอดให้ได้นานที่สุด ถ้าสามารถทำให้เลือดไหลเวียนได้ทันเวลาและในระดับที่เพียงพอ ก็สามารถทำให้เนื้อสมองบริเวณนั้นฟื้นตัวได้เร็ว ส่งผลให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติได้ ซึ่งการรักษานี้จะต้องทำภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อให้ยาละลายลิ่มเลือด (Thrombolysis) การให้ยานี้ผู้ป่วยควรอยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านสมองเท่านั้น หลังจากให้ยาแล้วผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ควรอยู่ในโรงพยาบาล 2-3 วัน เพื่อดูอาการต่อไป หากเกิน 3 ชั่วโมงแล้ว ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาในหอผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง เพื่อทำการรักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสมต่อผู้ป่วยมากที่สุด เช่น รักษาโดยการให้ยา เพื่อให้เซลล์สมองเสียน้อยที่สุด โดยระยะแรกๆ ควรจะดูแลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน อย่างใกล้ชิด เพื่อสังเกตอาการแทรกซ้อน บำบัดรักษาโรคอื่นๆ ของผู้ป่วย เช่น โรคเบาหวาน ความดันสูง โรคไต ปอดบวม กลืนลำบาก
    ใช้กายภาพบำบัดในรายที่เป็นอัมพาต ไม่ว่าจะเป็นการฝึกนั่ง ยืน เดิน การฝึกกลืน ฯลฯ
    ในรายที่ซึมเศร้า เป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคอัมพาต มักจะให้การรักษาโดยใช้จิตบำบัดร่วมด้วย

    น.ส. วิภาวรรณ พรมเรศสุนทร
    รหัสนักศึกษา 500373

  83. สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาผู้ป่วยคือ ถ้ามีอาการ ตาพร่ามัว ชาตามแขนขา ปวดศีรษะรุนแรง หน้ามืดกลืนน้ำลายไม่ได้ต้องรีบส่งผู้ป่วยโรงพยาบาลทันที่เพื่อทำการรักษาเพราะถ้าปล่อยไว้นานอาจทำให้เป็นอัมพาตได้
    500373

  84. การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

    โรคหลอดเลือดสมอง( cerebrovascular disease, stroke ) เป็นโรคที่พบบ่อยตลอดจนเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและพิการที่สำคัญในประเทศไทย กล่าวคือ เป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต อันดับ 1ในเพศหญิงและอันดับ 2 ในเพศชายตามลำดับ นอกจากนี้ยังเป็นโรคที่ทำให้เกิดการสูญเสีย ปีสุขภาวะ (Disability Adjusted Life Years ; DALYs ) ที่สำคัญอันดับ 2 ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ทั้งนี้โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน(Cerebrovascular disease) พบได้ประมาณร้อยละ 70 ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด
    ประเด็นการเรียนรู้ที่สำคัญ (Key Learning Point )

    1. การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ควรให้การรักษา และแยกตามกลุ่ม

    ผู้ป่วย ดังนี้

    1.1 Acute period เป็นมาภายใน 3 ชั่วโมงแรก พิจารณาให้ Thrombolytic drug

    1.2 Intermediate period เป็นมาภายใน 7 วัน แต่เกิน 3 ชั่วโมง พิจารณา Admit

    1.3 Rehabilitation period เป็นมาหลัง 7 วัน พิจารณา ดูแลฟื้นฟูสภาพที่บ้าน

    2. การให้ยาลดความดันโลหิต ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke) (ประมาณ 2 สัปดาห์แรกหลังจากเกิดอาการ) แม้ว่าจะมีความดันโลหิตสูง ก็ไม่ควรให้ยาลดความดันโลหิต ซึ่งเป็นภาวะ Compensation ของร่างกาย และการให้ยาลดความดันโลหิตจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี (แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สำหรับแพทย์ ) ยกเว้น มีข้อบ่งชี้เฉพาะ เช่นความดันซิสโตล่า > 220 mmHg. ความดันไดแอสโตล่า >120mmHg.,acute myocardial infarction , aortic dissection , acute renal failure , hypertensive encephalopathy ในกรณีจำเป็นต้องให้ยาลดความดันโลหิต ไม่ควรใช้ Nifedipine sublingual เนื่องจากความดันโลหิตอาจลดลงอย่างมาก และมีผลให้สมองขาดเลือดมากยิ่งขึ้น

    3. ควรให้ Aspirin ขนาด 160–300 มิลลิกรัม ทางปากภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากเกิดอาการ หรือหลังจากรับไว้ในโรงพยาบาล

    4. ไม่ควรให้ Steroid เพื่อหวังผลในการลดภาวะสมองบวม เนื่องจากไม่ได้ผล และยังเพิ่ม ความเสี่ยงของการติดเชื้อแทรกซ้อน

    5. ควรพิจารณาให้ Anticoagulant ในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น กรณีมีสาเหตุจากโรคหัวใจหรือหลอดเลือดที่คอและพยาธิ สภาพที่สมองมีขนาดไม่ใหญ่ ฯลฯ

    6. ควรเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ทุกราย

    7. ไม่ควรให้น้ำเกลือในรูป 5 % glucose เพราะจะทำให้เกิดภาวะ lactic acid คั่งในสมอง ยกเว้นในรายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดทุกราย

    8. ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลรักษาภายใต้แนวทางหรือแผนการที่ได้รับการการวางแผนไว้
    ล่วงหน้า เช่น Care map , pathway , Fast tract ด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ

    9. การประเมินสภาพและความพร้อมของผู้ป่วย ด้วย Score , Scale ต่างๆ จะช่วยในการวางแผนการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม เช่น
    – Barthel Index เพื่อประเมินกิจวัตรประจำวัน
    – Glasgow Coma Scale สำหรับการประเมิน Conscious ผู้ป่วย
    – Ranking Scale สำหรับประเมิน Disability

    10. การ Early ambulation ทันทีที่ผู้ป่วยพร้อม จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้
    เช่น โรคปอดอักเสบ การเกิดแผลกดทับ

    11. การช่วยเหลือผู้ป่วยฝึกเดิน จะต้องมีการประเมินความพร้อมและผู้ฝึกจะต้องมี
    เทคนิคที่ดี เพื่อป้องกันผู้ป่วยหกล้ม การจัดเตรียมราวจับ และกระจกให้ฝึกเดิน
    ที่หอผู้ป่วย

    12. ผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปทำกายภาพ บำบัดที่ห้องกายภาพบำบัดได้ นักกายภาพบำบัดจะต้องมาค้นหาผู้ป่วยใหม่ได้เพื่อประเมินและวางแผน การทำกายภาพบำบัด โดยไม่ต้องให้มีการส่งปรึกษาจะสามารถช่วยผู้ป่วยให้มี Early ambulation ได้เร็ว

    13. การประเมินความพร้อมในการกลืนของผู้ป่วย ได้แก่ ก่อนฝึกกลืน จะไม่ Force ให้ผู้ป่วย กิน/กลืน ถ้าผู้ป่วยยังไม่พร้อม เพราะจะทำให้ผู้ป่วยสำลักได้ และควรฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยการ หัดกินน้ำจากช้อนชาก่อน แล้วค่อยฝึกกลืนของเหลวที่ข้นขึ้นได้
    14. ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke) ไม่ควร
    ปล่อยให้มีไข้ เพราะจะเพิ่ม Brain damage ถ้ามีไข้ต้องรีบให้ยาลดไข้ และเช็ดตัวให้ไข้ลงทันที พร้อมทั้งรักษาสาเหตุของไข้

    15. มีระบบการเตือน ไม่ให้ลืมพลิกตัว อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง เช่น การลงบันทึก การกำหนด ท่านอน ตามเวลาที่เปลี่ยนไป ทุก 2 ชั่วโมง เป็นต้น การจัดท่านอนอย่างถูกเทคนิค จะสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้คนจำนวนมากและฝึกให้ญาติสามารถช่วยเหลืออย่างถูกวิธีด้วย

    16. การจัดให้มีที่นอนลม สามารถลดการเกิดแผลกดทับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ส่วนการใช้ห่วงยางกลม (โดนัท) รองก้น ไม่ช่วยลดการเกิดแผลกดทับแต่อาจทำให้ไปกดผิวหนังรอบๆ ทำให้การไหลเวียนโลหิตไม่ดีด้วย

    17. การใช้ของแข็งดันเท้าในผู้ป่วยที่มี Foot drop ตลอดเวลา ไม่ช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้น แต่จะไปกระตุ้นให้ผู้ป่วยมี Clonus มากขึ้น การนวดเบาๆ และจับข้อให้เคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและป้องกันข้อติดได้

    18. การจัดสิ่งแวดล้อมของหอผู้ป่วย ประกอบด้วย ป้ายเตือนการระวังพลัดตกหกล้ม ไม้กั้นเตียง ราวจับผนังห้อง มีห้องน้ำภายในหอผู้ป่วยที่ไม่ไกลจากเตียง โดยมีกริ่งสัญญาณภายในห้องน้ำ มีราวจับป้องกันการหกล้ม และมีโถส้วมแบบชักโคลก กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้เอง ญาติสามารถพาผู้ป่วยนั่งรถเข็นไปสวมเข้ากับส้วมชักโคลกได้พอดี การจัดสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จะเป็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ ในการจัดสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยที่บ้านในกระบวนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย

    19. การระบุ (Identify ) ญาติที่จะเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้านตัวจริงให้ได้ ( เนื่องจากอาจเป็นคนละคนกับที่เฝ้าอยู่โรงพยาบาล / มาเยี่ยม) และนำเข้า Home Program ที่ถูกต้อง จะช่วยเตรียมความพร้อมก่อน ผู้ป่วยกลับบ้านได้ดี และมีการดูแลที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง

    20. ควรมี Home Program ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน ตามศักยภาพที่จะสามารถทำได้

    21. ผู้ป่วยควรได้รับการประเมิน ตลอดจนพิจารณาทำกายภาพบำบัดทุกราย

    22. ผู้ป่วยทุกรายต้องได้รับการวินิจฉัยสุขภาพจิต และได้รับ Psychosupport จากแพทย์พยาบาลหรือนักจิตวิทยา โดยอาจเลือกใช้เทคนิค Self help group , Supporting group การให้คำปรึกษารายวัน เป็นต้น

    23. ผู้ป่วยที่รอจำหน่ายทุกรายจะต้องมีการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
    23.1 ให้การรักษาปัจจัยเสี่ยง และควบคุมปัจจัยเสี่ยง
    23.2 พิจารณาให้ยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet) หรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) กรณีที่ได้รับยา Anticoagulant ก่อนให้ผู้ป่วยกลับบ้าน ควรตรวจให้แน่ใจว่า อยู่ใน Therapeutic range (1.5 –2.5 เท่า)
    23.3 ให้ความรู้ในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ อาการของการกลับเป็นซ้ำ และข้อปฏิบัติตัวเมื่อกลับเป็นซ้ำ
    23.4 ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการผิดปกติ เช่น อ่อนแรงมากขึ้น ควรรีบมาโรงพยาบาล
    23.5 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง
    นางสาวจิรนันท์ ไขสาร รหัส 530683

  85. แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

    1. การกระตุ้นให้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เช่น เดิน ลุก นั่ง รับประทานอาหาร ขับถ่ายเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ป่วย และฟื้นฟูสภาพได้เร็วขึ้น ญาติควรให้กำลังใจผู้ป่วยให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
    2. จัดอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ตามโรคประจำตัวของแต่ละคน เช่น เบาหวาน อาหารไขมันน้อย ถ้ามีความดันโลหิตสูงควรให้อาหารจืด ถ้ามีท้องผูกควรให้ผัก ผลไม้มากๆ
    3. ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารเองไม่ได้มีอาการกลืนลำบาก ควรให้อาหารทางสายยางเพื่อป้องกันการสำลักอาหาร
    4. ในกรณีผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้แขนขาอ่อนแรงควรพลิก ตะแคง ตัวบ่อยๆ ทุก 2 ชั่วโมง และใช้ผ้านุ่มๆ รองใต้ปุ่มกระดูก หรือนอนที่นอนลม
    5. ผู้ป่วยมักจะนอนในช่วงกลางวััน ญาติควรจัดสถานที่ให้เหมาะสมไม่มีเสียงรบกวน
    6. ควรให้ผู้ป่วยได้ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ พูดคุยสนทนากับคนอื่นได้ ถ้ามีปัญหาเรื่องการสื่อสาร เช่น พูดไม่ชัด ฟังไม่เข้าใจ ญาติควรใจเย็นเพื่อช่วยเหลือ ให้ผู้ป่วยเข้าใจ อาจใช้วิธีเขียน การอ่าน รูปภาพ การใช้สื่อแทนคำพูด
    7. ผู้ป่วยอาจมีความหงุดหงิด ซึมเศร้า ท้อแท้ ญาติควรเข้าใจไม่แสดงความรำคาญ ควรปลอบโยนให้กำลังใจผู้ป่วย
    8. ถ้าผู้ป่วยอุจจาระ ปัสสาวะราด ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าทำความสะอาดอวัยวะเพศ เพื่อไม่ให้เปียกชื้น ควรดูแล ทำความสะอาดร่างกาย ปาก ฟัน อาบน้ำ สระผม แปรงฟัน บ้วนปาก ให้ผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถทำได้
    9. ถ้าผู้ป่วยใส่สายปัสสาวะคาไว้ ควรให้อยู่ต่ำกว่าระดับกระเพาะปัสสาวะ และทำความสะอาดปลายอวัยวะเพศ และสายสวนด้วยน้ำยาเซพลอน 1 : 100 วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นด้วย

    นางสาวสุดารัตน์ ฟุ้งเฟื่อง 520223

  86. อาจารย์ค่ะ่ผู้่ที่เป็นเส้นเลือดฝอยในสมองแตกแล้วเกิดเป็นอัมพาตสามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้หรือไม่ค่ะ
    น.ส.สุวิมล อิ่มสถิตย์ 510754

  87. การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด1. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง
    2. รับประทานผัก ผลไม้และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร
    3. รับประทานอาหารแต่พออิ่ม และควรพักหลังอาหารประมาณ 1/2-1 ชั่วโมง
    4. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการออกกำลังกายที่ดีที่สุด คือการเดิน เริ่มโดยการเดินช้า ๆ ก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มระยะทาง แต่อย่าให้เกินกำลังตนเอง
    5. ทำจิตใจให้สงบ หาโอกาสพักผ่อน และหาวิธีลดความเครียด หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้น เช่น การดูเกมการแข่งขันที่เร้าใจ
    6. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและเค็มจัด
    7. งดดื่มสุรา น้ำชา กาแฟ และหลีกกเลี่ยงการสูบบุหรี่
    8. หลีกเลี่ยงงานหนัก งานรีบเร่ง และงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องนาน ๆ
    9. เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก ให้หยุดกิจกรรมนั้น ๆ ทันทีและอมยาใต้ลิ้น 1 เม็ด
    ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลงให้อมยาใต้ลิ้นซ้ำได้อีก 1 เม็ด ห่างกัน 5 นาที แต่ไม่ควรเกิน 3 เม็ด หากอาการไม่ดีขึ้นใน 15-20 นาที ให้รีบไปพบแพทย์ได้ทันที

    10. การมีเพศสัมพันธ์ไม่ควนหักโหม ควรอมยาใต้ลิ้นก่อนมีเพศสัมพันธ์ ถ้ามีอาการใจสั่น หายใจขัด หรือเจ็บหน้าอกนานเกิน 15 นาทีหลังมีเพศสัมพันธ์ ควรปรึกษาแพทย์
    นางสาวอัจฉรา ชิณวงศ์ 510645

  88. อาจารย์ค่ะ ภาวะแทรกซ้อนของการใส่เครื่อง IABP มีอะไรบ้างค่ะ แล้วจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตมั๊ยค่ะ
    นางสาวผกามาศ คำปัญญา 520209

  89. ganlayanee says:

    อาจารย์ค่ะ เราจะทราบได้อย่างไรค่ะ ว่าหลอดเลือดที่แตกเกิดจากภาวะความดันโลหิตสูง ในเรื่องของโรคหลอดเลือดในสมองแตกจากภาวะความดันโลหิตสูง…??
    นางสาวกัลยาณี พลาษี 500275

  90. อาจารย์ค่ะ ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เมื่่อได้รับการรักษาแล้วจะมีโอกาสหายทุกคนมั้ยค่ะ
    แล้ว เราจะทราบได้อย่างไรค่ะว่า ผู้ป่วยไม่ได้เป็นโรคนี้แล้วและไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้้นกับผู้ป่วย

  91. อาจารย์ค่ะ คนที่เครียดเรื้อรังเป็นเวลานานหลายเดือน และมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง จะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองแตก ได้มากน้อยเพียงใดค่ะ มีโอกาสเกิดกี่เปอร์เซนต์ค่ะ

  92. น. ส. สุวิญญา ฮาดดา 520673

  93. Ao Fay says:

    อาจารย์ค่ะ โรคหลอดเลือดสมอง ที่ผู้ป่วยเป็นอำพาตแล้ว เมื่อได้รับการดูแลรักษา การทำกายภาพบำบัด จะมีอาการดีขึ้นไหมค่ะ ผู้ป่วยจะมีโอกาสหายเป็นปกติไหมค่ะ
    นางสาวจารุวรรณ เฟสูงเนิน รหัส 520149

  94. pornsuda10 says:

    นางสาวพรสุดา ฮมภาราช รหัส 520755
    การปฏิบัติตัวหลังใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
    1.การดูแลแผล
    * ควรดูแลแผลผ่าตัดให้แห้งและสะอาดอยู่เสมอ
    * ควรใส่เสื้อผ้าหลวมๆ อย่ารัดบริเวณตำแหน่งแผล
    * ถ้าผิวหนังบริเวณแผลผ่าตัดช้ำ มีหนอง น้ำเหลืองให้รีบมาพบแพทย์
    2.การตรวจนับชีพจรด้วยตนเอง
    *อัตราความเร็วของเครื่องกระตุ้นหัวใจของท่านคือ……………ครั้ง/นาที
    *ท่านควรตรวจนับชีพจรของตนเองตามวิธีการดังนี้
    -วางนิ้วมือสองนิ้วลงบนข้อมืออีกข้างหนึ่ง กดเบาๆเพียงแต่แตะให้รู้สึกว่ามีการเต้นของชีพจรอยู่ใต้ผิวหนังและนับจำนวนครั้งที่รู้สึกว่า ตุบๆให้ครบ 1 นาที
    – นับจำนวนชีพจรใน 1 นาที
    – ควรนับชีพจรในเวลาเดียวกันของทุกวัน เช่น ในตอนเช้าหลังตื่นนอน ก่อนการวัด ควรพักนิ่งๆ อย่างน้อย 5 นาที
    – ควรจดบันทึกอัตราชีพจรลงในสมุดบันทึก ถ้าว่าจำนวนชีพจรเต้นผิดไปจากเดิมประมาณ 10-20 ครั้ง/นาทีควรนั่งพักอีกประมาณ 10 นาที แล้วลองนับใหม่ก่อนไปพบแพทย์
    3.การทำกิจกรรมและการออกกำลังกาย ท่านสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยมีกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ได้
    * การเดินทาง
    *การขับรถ
    *การมีเพศสัมพันธ์
    *การทำความสะอาดร่างกาย ภายในช่วง 7 วันแรกควรดูแลทำความสะอาดร่างกายด้วยการเช็ดตัว หลังจากนั้น ถ้าแผลแห้งดี สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ
    *การทำหน้าที่การงานได้ตามปกติ เช่น งานบ้าน
    *ประมาณ 2 สัปดาห์หลังใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจท่านไม่ควรยกแขนเหนือศีรษะและยกของหนัก
    *การออกกำลังกายทุกอย่างได้ตามปกติ
    4. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ควรหลีกเลี่ยง
    *เครื่องใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันมีความปลอดภัยพอ ท่านสามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดได้ตามปกติ แต่…ถ้าท่านอยู่ใกล้เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด หรือผ่านเครื่องจับโลหะที่สนามบินซึ่งอาจรบกวนเครื่องกระตุ้นหัวใจได้ ท่านก็เพียงแต่…เดินออกให้ห่างหรือปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็จะทำให้ชีพจรกลับมาเต้นตามปกติ
    * สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง คือ เครื่องเอ็กซเรย์ ชนิด เอ็ม อาร์ ไอ (MRI)*
    การใช้โทรศัพท์มือถือ
    ให้ถือโทรศัพท์ด้วยมือข้างตรงข้ามกับข้างที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
    5.อาการผิดปกติที่ควรไปพบแพทย์ก่อนนัด
    *ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ
    *มีอาการมึนๆ วิงเวียนศีรษะ
    *เป็นลม
    *ใจสั่น เจ็บหน้าอก
    *เหนื่อยหอบ
    *บวม
    *สะอึกนาน และตามจังหวะการเต้นของชีพจร
    *กล้ามเนื้อหน้าอกกระตุกตามชีพจร

    ** เมื่อมีอาการผิดปกติดังกล่าวให้รีบมาพบแพทย์ก่อนวันนัด **

  95. คือว่ามีพี่ที่รู้จักอ่ะครับ วันที่เกิดเหตุ เขาฝึกซ้อมกีฬาอยู่ปกติครับ แล้วอยู่ดีๆก็เกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรง อย่างชนิดที่ว่าเราไม่เคยปวดขนาดนี้มาก่อน ปี๊ดขึ้นมาเลย ไล่ตั้งแต่ท้ายทอยขึ้นมาจนทั้งหัวครับ จนล้มไปนอนกับพื้นเลยครับ มันไม่ดีขึ้นก็เลยต้องไปโรงพยาบาล อยากทราบอาการป่วยครั้งนี้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองหรือป่าวคับ ถ้าใช่ เราสามารถแยกได้เลยไหมว่าเป็น ตีบ ตัน แตก จากอาการข้างต้นนี้ครับ
    นาย นิราช คำสินธุ์ 520499

  96. atitan500170 says:

    การป้องกัน โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ที่ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

    งดสูบบุหรี่

    ควบคุมอาหาร อย่าให้น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน

    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

    ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

    ถ้าเป็นเบาหวาน ควรรักษาระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

    หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรดูแลความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

    หากมีอาการผิดปกติ เช่น แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดลำบาก เวียนศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

    นางสาววรัญญา คำด้วง 510135

  97. duwjung510404 says:

    การให้ยาลดความดันโลหิต ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke) (ประมาณ 2 สัปดาห์แรกหลังจากเกิดอาการ) แม้ว่าจะมีความดันโลหิตสูง ก็ไม่ควรให้ยาลดความดันโลหิต ซึ่งเป็นภาวะ Compensation ของร่างกาย และการให้ยาลดความดันโลหิตจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี (แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สำหรับแพทย์ ) ยกเว้น มีข้อบ่งชี้เฉพาะ เช่นความดันซิสโตล่า > 220 mmHg. ความดันไดแอสโตล่า >120mmHg.,acute myocardial infarction , aortic dissection , acute renal failure , hypertensive encephalopathy ในกรณีจำเป็นต้องให้ยาลดความดันโลหิต ไม่ควรใช้ Nifedipine sublingual เนื่องจากความดันโลหิตอาจลดลงอย่างมาก และมีผลให้สมองขาดเลือดมากยิ่งขึ้น

    รหัส 510404

  98. suthidcha says:

    อาจารย์ค่ะ….
    หากผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดแล้วอาการไม่ดีขึ้น ต้องทำการผ่าตัดใหม่หรือกินยารักษาตามอาการค่ะ
    นางสาวสุธิชชา แพงมาพรหม รหัส 520746

  99. duwjung510404 says:

    อาจารย์คะ
    โรคหัวใจขาดเลือดมีวิธีตรวจสอบอย่างไรถึงจะเป็นโรคนี้
    น.ส.อารีรัตน์ ชิณวุธ 500271

  100. duwjung510404 says:

    อาจารย์คะ โรคหัวใจขาดเลือดมีอาการอย่างไร
    น.ส.ทัศนีย์ อินต๊ะนา 510353

  101. duwjung510404 says:

    อาจารย์คะ โรคหัวใจขาดเลือดจะป้องกันไม่ให้เป็นได้อย่างไร
    น.ส. น้ำทิพย์ สุระภา 500132

  102. duwjung510404 says:

    ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง

    1. ความดันโลหิตสูง
    2. การสูบบุหรี่
    3. โรคเบาหวาน
    4. โรคหัวใจ
    5. ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง
    6. ปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุมากขึ้น
    7. ความเครียด ความอ้วน การดื่มสุรามากๆ ขาดการออกกำลังกาย

    การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

    1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    2. ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม อย่าให้อ้วน
    3. งดสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
    4. ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง ถ้าพบว่า มีปัจจัยเสี่ยงต้องรีบรักษา และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
    5. ในกรณีมีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้ว ต้องรักษาอย่างสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาเองเด็ดขาด
    6. ถ้าเป็นโรคหลอดเลือดในสมองอยู่แล้วจะมีโอกาสเป็นซ้ำได้มากกว่าคนปกติ และมีอาการมากกว่าเดิม เช่น กรณีเป็นโรคเลือดสมองตีบ หรือ อุดตันจะได้ยารับประทานพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ เช่น ยาแอสไพรินจะต้านการแข็งตัวของเลือด ซึ่งต้องรับประทานติด่อกันเป็นเวลานาน ไม่ควรหยุดยาเองเด็ดขาด

  103. duwjung510404 says:

    การตรวจที่สำคัญในโรคหลอดเลือดสมอง

    1. การตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุต่างๆ
    2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
    3. การคอมพิวเตอร์สมอง (CT Scan)
    4. การฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือด (Angioqram)
    5. การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

    การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

    การรักษาขึ้นอยู่กับชนิด และความรุนแรงระยะเวลาที่มีอาการ ถ้ามีการรักษาเร็วเท่าใด ความพิการและอัตราการตายจะลดลงเท่านั้น
    1. การให้ยารับประทาน ในโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือ อุดตัน จะได้ยาแอสไพลินเพื่อต้านการแข็งตัวของเลือด และอาจมียาชนิดอื่นๆ เพื่อช่วยในการไหลเวียนเลือดในสมองได้ดีขึ้น
    2. ถ้าเป็นโรคหลอเลือดสมองแตก และมีก้อนเลือดคั่งในสมองแพทย์อาจทำการผ่าตัดนบางราย มีอาการรุนแรงมากแพทย์อาจรักษาเพื่อพยุงอาการเท่านั้น
    3. การรักษาเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยง ร่วมกัน เช่น รักษาโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง
    4. การทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูสภาพของกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง
    5. การรักษาโรคแทรกซ้อนที่มักจะเกิดในผู้ป่วยอัมพาตและนอนบนเตียงนานๆ คือ ปอดบวม

    ภาวะแทรกซ้อนที่พบในโรคหลอดเลือดสมอง

    1. ปอดบวมจากการนอนนานๆ และสำลักอาหาร
    2. ท้องผูก ซึ่งเกิดจากลำไส้ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว
    3. ข้อติดแข็ง จากไม่มีการเคลื่อนไหวข้อ
    4. แผลกดทับ จากการนอนทับท่าเดียวนานๆ
    5. แผลในกระเพาะอาหารจากภาวะเครียด หรือเกิดจากอาการข้างเคียงของยา แอสไพรินซึ่งมีฤทธิ์กัดกระเพาะอาหาร

    นางสาวทัศนีย์ อินต๊ะนา 510353

  104. muliya500184 says:

    อาจารย์ค่ะ หนูเข้าใจว่า ischemic penumbra คือ ภาวะทีีสมองขาดเลือดมาเลี้ยงแต่ยังไม่เกิดภาวะinfarcetion
    ส่วนlacunar infarcetion คือภาวะที่มีเนื้อสมองตายจากการขาดเลือดมาเลี้ยง หรือว่ามันแตกต่างกันอย่างไรค่ะ
    นางสาวมัลลิยา วิเศษสุด 500184

  105. kessaraporn says:

    ผู้ป่วยมีอาการแขนขาอ่อนแรงและชาบริเวณซีกขวา ปากเบี้ยวและพูดไม่ชัด อาการเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน มีประวัติสูบบุหรี่มา 20กว่าปี มีประวัติป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง สามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้หรือไม่คะ
    นางสาวเกศราภรณ์ คำพูล รหัส 520317

  106. อาจารย์ค่ะ เราจะแยกอาการต่างๆที่คล้ายกับ Stroke ได้ิิอย่างไรค่ะ เช่น Hypoglycemia , seizure ค่ะ
    นางสาวรัตยา ไพรบึง 510599

  107. ผู้ป่วยทีมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดสมอง มีอาการอ่อนแรงแขนขาและพูดไม่ออก ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดอย่างเดียว และควบคุมปัจจัยเสี่ยง จะมีโอกาศกลับมาเป็นซ้ำไหมค่ะ และจำเป็นต้องถ่างขยายเส้นเลือดไหมค่ะ
    นางสาว พิศมัย อิ่มวิญญาณ 500269

  108. pornsuda10 says:

    การใช้ยา r-tPA

    rt-PAหรือAlteplaseเป็นยาฉีดละลายลิ่มเลือด(Thrombolytic agent) โดยAlteplaseเป็นไกลโคโปรตีนซึ่งเป็นตัวกระตุ้นโดยตรงให้พลาสมินโดยตรง เป็นผลให้เกิดการละลายของลิ่มเลือด ใช้ในผู้ป่วย acute ischemic stroke ,acute myocardial infarction acute massice pulmonary ambolism

    เครื่องใช้
    1.rt-PAหรือ Alteplase50 ml/vial
    2.สารละลายใช้ normal salionเท่านั้นห้ามใช้สารละลายที่มี dextrose
    3.Syringและเข็ม
    4.lnfusion pump พร้อมเสาน้ำเกลือ

    วิธีปฎิบัติ
    1.ให้ยาเฉพาะที่แผนกไอซียู เท่านั้น
    2.ตรวจสอบเอกสารยินยอมการได้รับยาที่ผู้ป่วยหรือผู้รับผิดชอบผู้ป่วยเซนต์รับทราบและยินยอมในการได้รับยา
    3.ผสมยา rt-PAหรือAlteplaseกับสารละลายความเข้มข้นตามความต้องการ
    4.คำนวณขนาดยาโดย ขนาดยาrt-PA(ทั้งหมด)=0.9Mg/Kg(ขนาดมากที่สุดไม่เกิน90mg)
    5.แบ่งยา10%ของขนาดยาทั้งหมดฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำภายใน1นาที และที่เหลือ90%ของขนาดยาทั้งหมดให้หยดเข้าทางหลอดเลือดดำใน60 นาที โดยใช้lnfusion pumpควบคุมอัตราการไหล ในกรณีที่ขนาดของยาที่คำนวณได้มีขนาดยาที่ต้องให้ค้างอยู่ในสาย IVF ให้ต่อด้วย 0.9 NSSPiggy bag เพื่อให้ Dose ยาที่ค้างอยู่ในสายIVFเข้าสู่ตัวผู้ป่วย
    6.เฝ้าระวังติดตา ม Vital Sign &Neuorlogical sign ทุก15นาทีหลังให้ยาจนครบ2ชม.และทุก30นาทีนาน6ชม. จากนั้นทุกๆ1ชม.นาน16ชม.

    ข้อระวัง
    1.ไม่ควรใช้เมื่อสารละลายมีตะกอน
    2.หลีกเลี่ยงการให้ยาทางSC หรือ IM เพราะอาจทำให้เกิด bleeding ได้
    3.ภายใน24ชม.หลังจากให้ยาห้าม
    -ให้ยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด
    -หลีกเลี่ยงการใส่ Catheters ต่างๆ
    -หลีกเลี่ยงการแทงหลอดเลือดดำใหญ่ หรือหลอดเลือแดงทุกชนิด
    4.ระวังอุบัติเหตุต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
    5.รายงานแพทย์ทันทีเมื่อ
    -SBP>185mmHgหรือ105mmHgหรือ<60mmHg
    -Pulse<50beat/min
    -Neurological sign เปลี่ยนแปลง(ลดลง)
    -พบอาการInternal bleeding หรือ bleeding sign ต่างๆ

    **นางสาวพรสุดา ฮมภาราช รหัส 520755

  109. อาจารย์ค่ะหนูอยากทราบว่าข้อบ่งชี้ในการได้รับยาr-tpaมีอะไรบ้างค่ะ 510395นางสาวอาภรณ์ แก้ววังสาร

  110. jirapa510567 says:

    การป้องกันมิให้เป็นโรคอัมพาต อาจกระทำได้โดย
    1. งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ และอาหารที่มีไขมันมาก, ลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน), และ
    หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อป้องกันมิให้หลอดเลือดแข็งตัวเร็ว
    2. หมั่นตรวจเช็กความดันเลือดเป็นประจำ
    3. ตรวจเช็กไขมันในเลือด ถ้ามีภาวะไขมันในเลือดสูง ควรหาทางควบคุมให้
    เป็นปกติ
    4. ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน ควรรักษาเป็นประจำอย่าได้ขาด
    เพราะเมื่อควบคุมโรคเหล่านี้ได้ ก็จะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัมพาต
    5. ถ้าเคยมีอาการอัมพาตชั่วคราวจากสมองขาดเลือดชั่วขณะ (ทีไอเอ) ควรรีบ
    ปรึกษาแพทย์ และกินยาแอสไพริน (หรือยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด)ตาม
    แพทย์สั่งเป็นประจำอย่าได้ขาด

  111. kallaya2532 says:

    ข้อบ่งชี้และข้อห้ามในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันด้วยการฉีดยา
    ละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ
    ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการของโรคหลอดสมองจากสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันและมาโรงพยาบาล
    ภายใน 3 ชั่วโมงแพทย์จะพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำแต่เนื่องจากยานี้มีอาการข้างเคียงและแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับพยาบาลทั่วไป
    ภาวะแทรกซ้อนมาก ดังนั้นเพื่อลดอาการแทรกซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา แพทย์จะพิจารณาจาก
    หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
    ผู้ป่วยที่เข้าหลักเกณฑ์ต้องครบทุกข้อจึงสามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้
    1. ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันภายใน 3 ชั่วโมง
    2. อายุมากกว่า 18 ปี
    3. มีอาการทางระบบประสาทที่สามารถวัดได้โดยใช้ NIHSS จะประเมินโดยแพทย์เป็นส่วนใหญ่
    4. ผล CT scan ของสมองเบื้องต้นไม่พบเลือดออก
    5. ผู้ป่วยหรือญาติเข้าใจประโยชน์หรือโทษที่จะเกิดจากการรักษา และยินยอมให้การรักษาโดยใช้ยา
    ละลายลิ่มเลือด
    ผู้ป่วยที่เข้าหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งห้ามให้ยาละลายลิ่มเลือดเด็ดขาด
    1. มีอาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันที่ไม่ทราบเวลาที่เริ่มเป็นอย่างชัดเจนหรือมีอาการ
    ภายหลังตื่นนอน
    2. มีอาการเลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage)
    3. มีอาการทางระบบประสาทที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว (NIHSS 18)
    5. มีอาการชัก
    6. ความดันโลหิตสูง (SBP≥ 185 mmHg, DBP≥ 110 mmHg)
    7. มีประวัติเลือดออกในสมอง
    8. มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือมีบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงภายใน 3 เดือน
    9. ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด (heparin หรือ warfarin) ภายใน 48 ชั่วโมงหรือตรวจพบ
    ความผิดปกติของเกล็ดเลือดอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ มีค่า Partial-thromboplastin time ผิดปกติ มีค่า
    Prothrombin time มากกว่า 15 วินาที มีค่า International normalized ratio (INR) มากกว่า 1.5
    10. มีปริมาณเกล็ดเลือดน้อยกว่า 100,000/mm
    11. มี Hct น้อยกว่า 25%
    12. มีประวัติผ่าตัดใหญ่ภายใน 14 วัน
    By นางสาวกัลยา โสรกนิษฐ์ 510320

  112. อาจารย์ค่ะ ผู้ป่วยstroke ต้องดูแลและเฝ้าระวังเรื่องอะไรบ้างค่ะ
    นางสาวอนุศรา ไชยดำ 510162

  113. atitan500170 says:

    สัญญาณอันตราย
    โรคอัมพาตมักจะมีอาการเตือนก่อนที่จะเกิดโรค โปรดจำไว้หากท่านมีอาการอันใดอันหนึ่ง แม้ว่าขณะนี้ท่านจะสบายดีควรปรึกษาแพทย์
    1.มีอาการชาหรืออ่อนแรงแขนขาหรือใบหน้าข้างใดข้างหนึ่ง
    2.ตามั่วหรือมองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่ง
    3.พูดลำบากหรือพูดไม่ได้หรือไม่เข้าใจคำพูด
    4.มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน
    5.มีอาการมึนงง หรือเดินไม่มั่นคง เสียศูนย์

    นางสาว วรัญญา คำด้วง 510135

  114. อาจารย์คะการประเมินผู้ป่วยที่เป็นstrokeใช้เกณฑ์เวลามากกว่า24 ช.ม หรือมากกว่า 3ช.ม ถือว่าเป็นstroke

    นางสาวรุ่งอรุณ ศรีใสย 510373

  115. อ.ค่ะ Intracerebral hemorrhagต่างจาก subarachnoid อย่างไรค่ะ

  116. ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
    โรคหัวใจและหลอดเลือดกำลังคุกคามสุขภาพคนไทยอย่างหนัก โรคหัวใจคร่าชีวิตชาวไทยชั่วโมงละ 5 คน ผู้คนทั่วโลกตายนาทีละ 33 คน ต้นเหตุที่เป็นชนวนก่อเกิดของโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่สำคัญที่สุดคือ โรคน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน เพราะการกินกับการใช้พลังงานไม่สมดุลกัน
    ประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายหลักเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือดไว้ในแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ.2550-2554

    วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร และการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด มีดังนี้

    1. งดอาหารที่มีรสเค็ม
    เช่น ไข่เค็ม กะปิ เต้าเจี้ยว ผักดองต่างๆ เต้าหู้ยี้ หมูเค็ม เป็นต้น ควรจำกัดปริมาณการกินเกลือแกง (ไม่เกินวันละ 6 กรัม) คนไทยส่วนใหญ่กินอาหารรสจัดมาก โดยเฉพาะรสเค็ม รสเผ็ด อาหารเค็มจะมีเกลือแกงมาก ซึ่งเมื่อกินเข้าไปจะทำให้ร่างกายดูดน้ำกลับเข้ากระแสเลือดมากขึ้น ปริมาณเลือดในร่างกายมากขึ้น หัวใจจะทำงานหนักขึ้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจจะมีอาการหอบเหนื่อยหรือบวมได้ และหากมีภาวะไตเสื่อมหรือไตวายร่วมด้วย (พบบ่อยในผู้ป่วยโรคหัวใจ) ก็จะส่งผลให้หัวใจทำงานหนักยิ่งขึ้น

    2. หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง
    จากการศึกษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีไขมันในเลือดสูง หรือคนปกติที่ไม่เป็นโรคหัวใจแต่มีระดับไขมันในเลือดสูง พบว่าการลดไขมันในเลือดจะช่วยชะลอการตีบของหลอดเลือดหัวใจ โดยทั่วไปการควบคุมอาหารที่มีไขมันสูงจะช่วยลดไขมันในเลือดลงได้ แต่อาจลดลงได้ไม่มากนัก (น้อยกว่าร้อยละ 20) จึงอาจต้องใช้ยาร่วมด้วยในบางราย

    อย่างไรก็ตาม การควบคุมอาหารก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากยามีราคาแพง และจำเป็นต้องรักษาระยะยาวจึงจะเห็นผลดีของการลดไขมันในเลือด ไขมันที่ควรหลีกเลี่ยงเป็นไขมันอิ่มตัวที่มาจากสัตว์ มีมากในเนื้อสัตว์ใหญ่ สัตว์ปีก ที่มาจากพืช เช่น เนย มะพร้าว ปาล์ม ร่างกายเราสามารถผลิตไขมันอิ่มตัวได้เอง จึงไม่จำเป็นต้องรับเพิ่มจากอาหาร ยิ่งบริโภคมาก ยิ่งมีผลเพิ่มไขมันไม่ดี (แอลดีแอล-คอเลสเตอรอล) ในเลือดมากขึ้น

    ส่วนไขมันที่ควรกิน ได้แก่ ไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว มีมากในน้ำมันมะกอก ถั่วลิสง น้ำมันคาโนลา อะโวคาโด และถั่วเปลือกแข็ง ไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง มีมากในน้ำมันพืช เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันงา วอลนัต เมล็ดปอ น้ำมันปลา มีอยู่ในปลาที่มีมันมาก ปลาทะเลน้ำลึก เช่น แซลมอน แม็กเคอเรล นอกจากนี้ยังพบในถั่วเหลือง และน้ำมันคาโลนาปริมาณเล็กน้อย

    3. เน้นอาหารที่มีกากใย
    พบว่าอาหารที่มีกากใยมากจะมีประโยชน์กับสุขภาพ ไม่ว่าจะมีโรคหัวใจหรือไม่ก็ตาม เนื่องจากช่วยลดการดูดซึมไขมัน ป้องกันท้องผูก ช่วยลดโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

    มีรายงานจากสหรัฐอเมริกาว่าผู้ที่กินอาหารที่มีกากใยเป็นประจำ มีอัตราการเกิดโรคหัวใจลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

    อาหารที่มีกากใยมากได้แก่ ซีเรียล ข้าวโพด ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวแดง ขนมปังโฮลวีต จมูกข้าว หัวบุก เป็นต้น ผลไม้ที่มีกากมากได้แก่ ฝรั่ง ส้ม สับปะรด มะละกอ ละมุด เป็นต้น นอกจากนี้อาหารประเภทผักและถั่วก็ให้กากใยมากเช่นกัน

    4. งดบุหรี่และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    โดยจำกัดปริมาณให้ไม่เกิน 1 หน่วยในเพศหญิง และ 2 หน่วยในเพศชาย
    ปริมาณ 1 หน่วย คือเบียร์ 360 มิลลิลิตร (1 กระป๋อง) ไวน์ 150 มิลลิลิตร (1 แก้ว) วิสกี้ 45 มิลลิลิตร (15 มิลลิลิตร = 1 ดริ๊งก์)

    5. ทำจิตใจให้สบายไม่เครียดและวิตกกังวล
    หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้อารมณ์เสีย หงุดหงิด โมโห ตื่นเต้น

    6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    ออกกำลังกายอย่างน้อยครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง และควรเป็นการออกกำลังกายชนิดแอโรบิก ได้แก่ เดินเร็ว ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน และเต้นแอโรบิก เป็นต้น
    การออกกำลังกายจะช่วยให้จิตใจผ่อนคลายจากความเครียดและทำให้หัวใจสูบฉีดโลหิตดีขึ้น

    7. น้ำหนักเกินมาตรฐาน
    ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติคือ ดัชนีมวลกาย (body mass index หรือ BMI) ไม่ควรเกิน 23 กก./ม.2 โดยคำนวณจากน้ำหนักตัว (เป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลัง 2 หรือวัดรอบเอวไม่ควรเกิน 32 นิ้วในเพศหญิง และ 36 นิ้วในเพศชาย

    อาหารแต่ละมื้อควรประกอบด้วยข้าว (หรือก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน) ไม่เกิน 2 ทัพพี ผักมื้อละจาน (เช่น ผักกาดขาว ผักบุ้ง ผักคะน้า แตงกวา มะเขือเทศ ฯลฯ) เนื้อสัตว์ 4-5 ชิ้นคำ (ควรจะเป็นปลามากกว่าสัตว์ชนิดอื่น หากเป็นไก่หรือเป็ดต้องลอกหนังออก หมูต้องเป็นหมูไม่ติดมัน)

    ผลไม้ขนาดกลางมื้อละผล (เช่น ส้ม 1 ลูก ฝรั่ง 1 ลูก มะม่วงครึ่งซีก สับปะรด 6 ชิ้นคำ มะละกอ 8 ชิ้นคำหรือแตงโม 12 ชิ้นคำ กล้วยหอมครึ่งลูก กล้วยน้ำว้า 1 ผล ชมพู่ 2-3 ผล ขนุน 2-3 ยวง ทุเรียนขนาดเล็ก 1 เม็ด ฯลฯ)

    การกินดี เพื่อต้านโรค จึงต้องเริ่มจากการเลือกอาหารในแต่ละวันให้มีสัดส่วนและปริมาณที่เหมาะสม ลดและเลี่ยงอาหารบางชนิด โดยเฉพาะอาหารที่เค็มและมีไขมันสูง ทั้งนี้ควรเลือกชนิดอาหารที่หลากหลายในหมวดเดียวกัน สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน เพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารต่างๆ ครบถ้วน เพื่อให้ได้ “หัวใจดี มีหุ่นสวย รวยพลัง”Ž

    ตัวอย่างรายการอาหารในแต่ละมื้อ (กินให้ได้พลังงาน 1,200-1,500 แคลอรีต่อวัน)
    อาหารเช้า
    ข้าวต้มปลากะพงใส่ไข่ลวก 338 แคลอรี
    ข้าวราดไก่ผัดขิงใส่เห็ดหูหนู 280 แคลอรี
    ขนมปังปิ้ง น้ำมะเขือเทศ (น้ำส้มคั้น) 202 แคลอรี
    ข้าว หมูอบสับปะรด และผัดผักกวางตุ้ง 275 แคลอรี

    อาหารกลางวัน
    บะหมี่ราดหน้าไก่ผักกวางตุ้ง สับปะรด 519 แคลอรี
    ข้าวราดผัดเผ็ด (ไม่ใส่กะทิ) 320 แคลอรี
    ข้าวไก่ย่างไม่ติดหนัง ส้มตำแตงกวา 340 แคลอรี
    ข้าวราดปลากะพงขาวนึ่งมะนาว 303 แคลอรี
    ก๋วยเตี๋ยวเนื้อเปื่อย 311 แคลอรี

    อาหารเย็น
    ข้าวราดแกงส้มผักบุ้งกับปลา 313 แคลอรี
    ข้าวน้ำพริกปลาย่าง ผักจิ้ม 250 แคลอรี
    ข้าวราดผัดผักบุ้งกับเต้าหู้ยี้ เนื้อตุ๋นใส่ถั่วงอก 311 แคลอรี
    สลัดผักน้ำใส 274 แคลอรี
    ข้าวปลาซาบะย่าง 350 แคลอรี

    ?????????????นางสาววีนัศ พุทธชัย รหัส 510287

  117. เพราะอะไรจึงไม่ให้ยา r-tpa ในผู้ป่วยเบาหวาน

  118. การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
    1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    2. ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม อย่าให้อ้วน
    3. งดสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
    4. ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง ถ้าพบว่า มีปัจจัยเสี่ยงต้องรีบรักษา และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
    5. ในกรณีมีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้ว ต้องรักษาอย่างสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาเองเด็ดขาด
    6. ถ้าเป็นโรคหลอดเลือดในสมองอยู่แล้วจะมีโอกาสเป็นซ้ำได้มากกว่าคนปกติ และมีอาการมากกว่าเดิม เช่น กรณีเป็นโรคเลือดสมองตีบ หรือ อุดตันจะได้ยารับประทานพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ เช่น ยาแอสไพรินจะต้านการแข็งตัวของเลือด ซึ่งต้องรับประทานติด่อกันเป็นเวลานาน ไม่ควรหยุดยาเองเด็ดขาด
    ศศิธร จรอนันต์ 520127

  119. ภาวะสมองขาดเลือด(Ischemic stroke)
    พยาธิสรีรวิทยา
    ในภาวะปกติเลือดไปเลี้ยงสมองในอัตรา 50 ซีซี/100 กรัม/นาที หากสมองขาดเลือดน้อยกว่า 23ซีซี/100 กรัม/นาทีจะเกิดอาการแสดงทางคลินิก,สมองขาดเลือดน้อยกว่า 15 ซีซี/100 กรัม/นาที เซลล์สมองหยุดทำงาน ตรวจไม่พบคลื่นไฟฟ้าสมอง,หากลดลงต่ำกว่า 10 ซีซี/100 กรัม/นาที เซลล์สมองจะตาย(Cerebral infarction)
    อาจแบ่งโซนของสมองที่ขาดเลือดเป็น 3 โซน 1.)ตรงกลางด้านในสุด เนื้อสมองตาย(Necrosis),ถัดมา2.) Penumbra zone โซนเซลล์สมองหยุดทำงาน(Idling neurone)จากการขาดเลือด(Ischemia) 3.)โซนเซลล์สมองปกติ
    สมองขาดเลือดเกิดจากการอุดตันโดย
    1.)สิ่งอุดตัน (Ebolism) เช่น ลิ่มเลือดที่หลุดมาจากก้อนเลือด(Thrombosis)ที่หลอดเลือดขนาดใหญ่(Carotid)หรือที่หัวใจเมื่อมีก้อนเลือดเกิดในโรคหัวใจเต้นผิดปกติต่างๆ(Arrythmia,valvular heart disease),ไขมัน(Fat embolism)พบว่ามาจากกระดูกหัก,อากาศ(Air embolism) เกิดขณะผ่าตัด(>200 cc.จึงจะเกิดอาการ) อาการที่เกิดขึ้นมีความผิดปกติทางระบบประสาทมากที่สุดทันทีทันใดแตกต่างจากThrombosis
    2.)เส้นเลือดเสื่อมตีบแข็ง,ก้อนเลือด(Artheriosclerosis,Thrombosis) เส้นเลือดเสื่อมจากความดันโลหิตสูง,เบาหวาน,หรือความเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น เกิดPlaque มีเกร็ดเลือดมาเกาะกลุ่มเป็นก้อนเลือด(Thrombosis) เส้นเลือดตีบมากขึ้นเรื่อยๆจนอุดตัน อาการที่เกิดขึ้นมีความผิดปกติทางระบบประสาทเพิ่มมากขึ้นตามความเสื่อมของหลอดเลือด ที่เพิ่มขึ้น
    อาการแสดงทางคลินิก(Clinical manifestation)
    อาจแบ่งเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากเส้นเลือดขนาดใหญ่ หรือขนาดเล็ก
    1.)Large vessel disease (Cerebral infarction)เกิดเนื้อสมองตายขนาดใหญ่ตามพื้นที่ที่เลี้ยงโดยเส้นเลือดนั้น(Teritory) ซึ่งมีการสูญเสียหน้าที่ของสมองมาก
    2.)Small vessel disease (Lacunar infarction) สมองตายขนาดเล็กมีอาการแสดงของความผิดปกติทางระบบประสาทเฉพาะที่ในบางระบบ เกิดกลุ่มอาการ(Lacunar syndrome)ประมาณ 20 กลุ่ม ที่พบบ่อยที่สุดคือ กลุ่มอาการชาครึ่งซีก Pure sensory loss of sensation
    อาการของสมองขาดเลือด TIA,Vertebrobasilar insufficiency เป็นอาการเตือนก่อนเนื้อสมองตาย 20%เกิดMajor stroke ใน 1ปี อาการอื่นๆอาจสรุปดังกล่าวในตอนต้น
    การตรวจวินิจฉัย
    สรุปในดังกล่าวในตอนต้น หาปัจจัยเสี่ยง, แยกเส้นเลือดแตกออกจากเส้นเลือดตีบ, หาสาเหตุ
    การรักษา
    ประกอบไปด้วยการป้องกันและรักษาดังกล่าวสรุปในตอนต้น

  120. นางสาวศิริลักษณ์ แสงโพธิ์แก้ว รหัส510427

  121. Intracerebral hemorrhag ต่างจาก subarachnoid อย่างไร

    นางสาวอัญชลี สอนสุภาพ 490469

  122. ปัจจุบันนี้อุบัติการณ์การเกิดโรค stroke มีมากไหมค่ะ

    นางสาวอัญชลี สอนสุภาพ 490469

  123. Ischemic stroke อยากทราบการพยาบาลอันดับแรกที่ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นมีอะไรบ้างค่ะ

    นางสาวอัญชลี สอนสุภาพ 490469

  124. การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
    โรคหลอดเลือดสมอง( cerebrovascular disease, stroke ) เป็นโรคที่พบบ่อยตลอดจนเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและพิการที่สำคัญในประเทศไทย กล่าวคือ เป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต อันดับ 1ในเพศหญิงและอันดับ 2 ในเพศชายตามลำดับ นอกจากนี้ยังเป็นโรคที่ทำให้เกิดการสูญเสีย ปีสุขภาวะ (Disability Adjusted Life Years ; DALYs ) ที่สำคัญอันดับ 2 ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ทั้งนี้โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน(Cerebrovascular disease) พบได้ประมาณร้อยละ 70 ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด ประเด็นการเรียนรู้ที่สำคัญ (Key Learning Point )
    1. การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ควรให้การรักษา และแยกตามกลุ่ม ผู้ป่วย ดังนี้
    1.1 Acute period เป็นมาภายใน 3 ชั่วโมงแรก พิจารณาให้ Thrombolytic drug
    1.2 Intermediate period เป็นมาภายใน 7 วัน แต่เกิน 3 ชั่วโมง พิจารณา Admit
    1.3 Rehabilitation period เป็นมาหลัง 7 วัน พิจารณา ดูแลฟื้นฟูสภาพที่บ้าน
    2. การให้ยาลดความดันโลหิต ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke) (ประมาณ 2 สัปดาห์แรกหลังจากเกิดอาการ) แม้ว่าจะมีความดันโลหิตสูง ก็ไม่ควรให้ยาลดความดันโลหิต ซึ่งเป็นภาวะ Compensation ของร่างกาย และการให้ยาลดความดันโลหิตจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี (แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สำหรับแพทย์ ) ยกเว้น มีข้อบ่งชี้เฉพาะ เช่นความดันซิสโตล่า > 220 mmHg. ความดันไดแอสโตล่า >120mmHg.,acute myocardial infarction , aortic dissection , acute renal failure , hypertensive encephalopathy ในกรณีจำเป็นต้องให้ยาลดความดันโลหิต ไม่ควรใช้ Nifedipine sublingual เนื่องจากความดันโลหิตอาจลดลงอย่างมาก และมีผลให้สมองขาดเลือดมากยิ่งขึ้น
    3. ควรให้ Aspirin ขนาด 160–300 มิลลิกรัม ทางปากภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากเกิดอาการ หรือหลังจากรับไว้ในโรงพยาบาล
    4. ไม่ควรให้ Steroid เพื่อหวังผลในการลดภาวะสมองบวม เนื่องจากไม่ได้ผล และยังเพิ่ม ความเสี่ยงของการติดเชื้อแทรกซ้อน
    5. ควรพิจารณาให้ Anticoagulant ในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น กรณีมีสาเหตุจากโรคหัวใจหรือหลอดเลือดที่คอและพยาธิ สภาพที่สมองมีขนาดไม่ใหญ่ ฯลฯ
    6. ควรเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ทุกราย
    7. ไม่ควรให้น้ำเกลือในรูป 5 % glucose เพราะจะทำให้เกิดภาวะ lactic acid คั่งในสมอง ยกเว้นในรายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดทุกราย
    8. ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลรักษาภายใต้แนวทางหรือแผนการที่ได้รับการการวางแผนไว้
    ล่วงหน้า เช่น Care map , pathway , Fast tract ด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ
    9. การประเมินสภาพและความพร้อมของผู้ป่วย ด้วย Score , Scale ต่างๆ จะช่วยในการวางแผนการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม เช่น
    – Barthel Index เพื่อประเมินกิจวัตรประจำวัน
    – Glasgow Coma Scale สำหรับการประเมิน Conscious ผู้ป่วย
    – Ranking Scale สำหรับประเมิน Disability
    10. การ Early ambulation ทันทีที่ผู้ป่วยพร้อม จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้
    เช่น โรคปอดอักเสบ การเกิดแผลกดทับ
    11. การช่วยเหลือผู้ป่วยฝึกเดิน จะต้องมีการประเมินความพร้อมและผู้ฝึกจะต้องมีเทคนิคที่ดี เพื่อป้องกันผู้ป่วยหกล้ม การจัดเตรียมราวจับ และกระจกให้ฝึกเดินที่หอผู้ป่วย
    12. ผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปทำกายภาพ บำบัดที่ห้องกายภาพบำบัดได้ นักกายภาพบำบัดจะต้องมาค้นหาผู้ป่วยใหม่ได้เพื่อประเมินและวางแผน การทำกายภาพบำบัด โดยไม่ต้องให้มีการส่งปรึกษาจะสามารถช่วยผู้ป่วยให้มี Early ambulation ได้เร็ว
    13. การประเมินความพร้อมในการกลืนของผู้ป่วย ได้แก่ ก่อนฝึกกลืน จะไม่ Force ให้ผู้ป่วย กิน/กลืน ถ้าผู้ป่วยยังไม่พร้อม เพราะจะทำให้ผู้ป่วยสำลักได้ และควรฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยการ หัดกินน้ำจากช้อนชาก่อน แล้วค่อยฝึกกลืนของเหลวที่ข้นขึ้นได้
    14. ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke) ไม่ควร
    ปล่อยให้มีไข้ เพราะจะเพิ่ม Brain damage ถ้ามีไข้ต้องรีบให้ยาลดไข้ และเช็ดตัวให้ไข้ลงทันที พร้อมทั้งรักษาสาเหตุของไข้
    15. มีระบบการเตือน ไม่ให้ลืมพลิกตัว อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง เช่น การลงบันทึก การกำหนด ท่านอน ตามเวลาที่เปลี่ยนไป ทุก 2 ชั่วโมง เป็นต้น การจัดท่านอนอย่างถูกเทคนิค จะสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้คนจำนวนมากและฝึกให้ญาติสามารถช่วยเหลืออย่างถูกวิธีด้วย
    16. การจัดให้มีที่นอนลม สามารถลดการเกิดแผลกดทับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ส่วนการใช้ห่วงยางกลม (โดนัท) รองก้น ไม่ช่วยลดการเกิดแผลกดทับแต่อาจทำให้ไปกดผิวหนังรอบๆ ทำให้การไหลเวียนโลหิตไม่ดีด้วย
    17. การใช้ของแข็งดันเท้าในผู้ป่วยที่มี Foot drop ตลอดเวลา ไม่ช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้น แต่จะไปกระตุ้นให้ผู้ป่วยมี Clonus มากขึ้น การนวดเบาๆ และจับข้อให้เคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและป้องกันข้อติดได้
    18. การจัดสิ่งแวดล้อมของหอผู้ป่วย ประกอบด้วย ป้ายเตือนการระวังพลัดตกหกล้ม ไม้กั้นเตียง ราวจับผนังห้อง มีห้องน้ำภายในหอผู้ป่วยที่ไม่ไกลจากเตียง โดยมีกริ่งสัญญาณภายในห้องน้ำ มีราวจับป้องกันการหกล้ม และมีโถส้วมแบบชักโคลก กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้เอง ญาติสามารถพาผู้ป่วยนั่งรถเข็นไปสวมเข้ากับส้วมชักโคลกได้พอดี การจัดสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จะเป็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ ในการจัดสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยที่บ้านในกระบวนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย
    19. การระบุ (Identify ) ญาติที่จะเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้านตัวจริงให้ได้ ( เนื่องจากอาจเป็นคนละคนกับที่เฝ้าอยู่โรงพยาบาล / มาเยี่ยม) และนำเข้า Home Program ที่ถูกต้อง จะช่วยเตรียมความพร้อมก่อน ผู้ป่วยกลับบ้านได้ดี และมีการดูแลที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง
    20. ควรมี Home Program ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน ตามศักยภาพที่จะสามารถทำได้
    21. ผู้ป่วยควรได้รับการประเมิน ตลอดจนพิจารณาทำกายภาพบำบัดทุกราย
    22. ผู้ป่วยทุกรายต้องได้รับการวินิจฉัยสุขภาพจิต และได้รับ Psychosupport จากแพทย์พยาบาลหรือนักจิตวิทยา โดยอาจเลือกใช้เทคนิค Self help group , Supporting group การให้คำปรึกษารายวัน เป็นต้น23. ผู้ป่วยที่รอจำหน่ายทุกรายจะต้องมีการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
    23.1 ให้การรักษาปัจจัยเสี่ยง และควบคุมปัจจัยเสี่ยง
    23.2 พิจารณาให้ยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet) หรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) กรณีที่ได้รับยา Anticoagulant ก่อนให้ผู้ป่วยกลับบ้าน ควรตรวจให้แน่ใจว่า อยู่ใน Therapeutic range (1.5 –2.5 เท่า)
    23.3 ให้ความรู้ในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ อาการของการกลับเป็นซ้ำ และข้อปฏิบัติตัวเมื่อกลับเป็นซ้ำ
    23.4 ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการผิดปกติ เช่น อ่อนแรงมากขึ้น ควรรีบมาโรงพยาบาล
    23.5 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง

  125. ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการ ชา ปลายมือปลายเท้าอ่อนเเรง ปากเบี้ยว ผล ct scan ไม่พบความผิดปกติ ไม่มีประวัติเกิดอุบัติเหตุเราจะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็น stroke ได้ไหมค่ะ เเล้วการพยาบาลควรทำอย่างไรค่ะ
    นางสาว พรพิมล หนูทอง 520600

  126. อาจารย์คะโรคหลอดเลือดสมองมีผลกระทบต่อระบบอื่นๆของร่างกายไหมคะอาการจะเป็นอย่งไรคะ
    500643 นางสาวอาริศรา ราชบัวโฮม

  127. 500643 นางสาวอาริศรา ราชบัวโฮม

  128. โรคหลอดเลือกสมองตีบหรืออุดตัน ทำให้สมองบางส่วนขาดเลือดเราจะสามาร๔ช่วยเหลือผู้ป่วยในเบื่องต้นได้อย่างไรคะ

  129. อาจารย์คะ คนที่เป็นโรค aneurysm intracerebal hemorrhage มีวิิธีการผ่าตัดอะไรบ้างคะ

  130. parachaya says:

    ถ้าเราออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
    งดสูบบุหรี่ ดื่มสุรา แล้วจะป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ไหมค่ะ
    520601ปารัชญา คงเช็น

  131. wararom1 says:

    สามรถป้องกันโรคสมองตีบได้หรือไม่
    520557 วรารมย์ จิตอุทัย

  132. wararom1 says:

    ทำไมแพทย์มักมีอคติกับการรักษาด้วยยาหม้อ
    520557 วรารมย์ จิตอุทัย

  133. parachaya says:

    ทำไมผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองบางคน ทานยาหม้อแล้ว กลับมาเดินได้
    520601 ปารัชญา คงเช็น

  134. อาจารย์ค่ะหากผู้ป่วยรายหนึ่งดื่มสรุาแล้วขับรถชนต้นไม้ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ถูกนำส่งโรงพยาบาลผู้ป่วยรายนี้มีอาการมึนงงได้กลิ่นสรุา จึงไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นอาการจากการดื่มสรุา หรือว่าเป็นอาการทางสมองที่ได้รับบาดเจ็บ ควรจะทำยังไงดีค่ะ

    กัญญา 510417

  135. สัญญาณเตือนภัย
    5 หลักสากลที่ผู้ป่วยควรสังเกตอาการเบื้องต้นก่อนภัยร้ายมาเยือนคือ
    Walk เดินไม่ตรง มีอาการเซ
    Talk ออกเสียงไม่ชัด พูดไม่ออก
    Reach เอื้อมหยิบสิ่งของไม่ได้ ไม่มีแรง ชาบริเวณ มือ แขน ขา
    Feel มีอาการปวดศีรษะ หรือเวียนศีรษะอย่างรุนแรง

  136. การป้องกัน โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ที่ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

    งดสูบบุหรี่

    ควบคุมอาหาร อย่าให้น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน

    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

    ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

    ถ้าเป็นเบาหวาน ควรรักษาระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

    หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรดูแลความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

    หากมีอาการผิดปกติ เช่น แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดลำบาก เวียนศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

    ควรตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ เพื่อตรวจหาความเสี่ยง เพราะอาจเกิดลิ่มเลือดในหัวใจหลุดเข้าไปอุดตันในหลอดเลือดสมองได้

    การจะทราบว่าผู้ป่วยที่มาพบแพทย์เป็น โรคหลอดเลือดสมอง หรือไม่ เป็นที่จุดใด มีความรุนแรงเพียงใดนั้น ควรทำการตรวจโดยเครื่องมือทางการแพทย์ ที่ให้ผลละเอียดและมีความแม่นยำสูง เพื่อประกอบการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งมีหลายวิธี อาทิ การตรวจสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (CT Scan) การตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI และ MRA) การตรวจการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดในสมอง (Transcranial Doppler : TCD) และการตรวจหลอดเลือดคอ เป็นต้น ซึ่งผลที่ได้มีความละเอียดแม่นยำมากพอ ที่จะช่วยทำให้แพทย์วางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    นางสาวอริษา โสภา 520521

  137. โรคหลอดเลือดสมอง

    โรคหลอดเลือดสมองหรือที่มักเรียกกันทั่วไปว่า “ โรคอัมพฤกษ์ ” หรือ “ อัมพาต ” เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดดังนี้

    • โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน

    • โรคหลอดเลือดสมองแตก

    ทั้ง 2 ชนิดจะทำให้สมองส่วนที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอหรือมีก้อนเลือดออกสูญเสียการทำงานในการควบคุมการทำงานของร่างกายอย่าง ทันทีทันใด ทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

    • อาการอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก

    • ตามองไม่เห็นภาพซีกใดซีกหนึ่งหรือทั้งหมด

    • มองเห็นภาพซ้อน

    • มีความผิดปกติของการใช้ภาษา เช่น พูดไม่คล่อง ใช้ภาษาผิดหรือไม่เข้าใจภาษา

    • เวียนศีรษะ บ้านหมุน

    • ปวดศีรษะรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

    • พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว กลืนลำบาก

    • ความจำเสื่อม หรือหลงลืมอย่างทันทีทันใด

    • ซึม หมดสติ

    หลังจากเกิดโรคหลอดเลือดสมองแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงได้หลายลักษณะ คือ บางคนจะดีขึ้นเองภายใน 24 ชั่วโมง บางคนอาการแย่ลงภายใน 1-3 วันแรกจากหลอดเลือดสมองมีการอุดตันมากขึ้น บางคนอาการมากที่สุดในตอนแรกเกิดอาการและคงที่ และบางคนเกิดปัญหาสมองบวมตามมาซึ่งอาจทำให้อาการทรุดหนักซึ่งโดยทั่วไปมักเกิดภายใน 3-4 วันแรก หลังจากพ้นระยะนี้ไปจะเป็นช่วงการฟื้นตัว ซึ่งแต่ละคนจะมีการฟื้นตัวได้ไม่เท่ากัน บางรายสามารถฟื้นได้เป็นปกติ บางรายอาจยังมีความพิการหลงเหลืออยู่

    การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

    โรคหลอดเลือดสมองเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง โดยบางอย่างสามารถแก้ไขได้ซึ่งนับเป็นการป้องกันโรคที่ได้ผลดี อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง เช่น อายุมาก มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้

    สำหรับปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองที่สามารถแก้ไขได้ และเป็นการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่

    • โรคความดันโลหิตสูง

    • โรคเบาหวาน

    • โรคไขมันในเลือดสูง

    • โรคหัวใจโดยเฉพาะลิ้นหัวใจผิดปกติและหัวใจเต้นผิดจังหวะ

    • การสูบบุหรี่

    • ปัจจัยเสี่ยงเสริมอื่นๆที่อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้และควรแก้ไข ได้แก่ อ้วน ขาดการออกกำลังกาย ภาวะเครียด ดื่มสุรา รับประทานยาคุมกำเนิด เป็นต้น

    ดังนั้นการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสามารถทำได้โดย

    • ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี วัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละครั้ง เจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด เป็นระยะตามที่แพทย์แนะนำ ตรวจร่างกายว่ามีความผิดปกติของหัวใจหรือไม่ ถ้าผิดปกติต้องควบคุมและติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ

    • เลิกสูบบุหรี่ พบว่าการเลิกสูบบุหรี่สามารถลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ครึ่งหนึ่ง

    • ลดน้ำหนักถ้ามีน้ำหนักเกิน

    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

    • ผ่อนคลายความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ

    • ในรายที่มีความเสี่ยงอาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบได้ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยากันเลือดแข็งตัวเพื่อป้องกันอัมพาต ควรปฏิบัติตัวและติดตามการรักษาตามคำแนะนำอย่างใกล้ชิด

    • ในรายที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน ต้องรับประทานยาป้องกันการเกิดซ้ำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่งดยาเอง

    • ถ้ามีอาการที่สงสัยว่าอาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองดังกล่าวข้างต้น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

    นางสาวสุชาดา ภัทนศิริไพศาล 520495

  138. อาจารย์คะ ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว เมื่อกลับไปอยู้บ้านแล้ว จำเป็นต้องนั่งหรือนอนศีรษะสูงตลอดเวลาเลยมั่ยคะ
    สกาวรัตน์ 520764

  139. กระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเองให้มากที่สุด เท่าที่ผู้ป่วยสามารถทำได้ เช่น การแปรงฟัน อาบน้ำ แต่งตัว หวีผม รับประทานอาหารด้วยตนเอง การลุกนั่ง การขับถ่าย โดยญาติอาจคอยช่วยเหลือเป็นกรณีไป การกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นได้เร็วขึ้น ญาติ / ผู้ดูแลควรให้กำลังใจ และส่งเสริมผู้ป่วยให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
    กระตุ้นผู้ป่วยไม่ให้ลืมร่างกายข้างที่อ่อนแรง โดย จัดวางอุปกรณ์ เครื่องใช้ไว้ข้างที่อ่อนแรง การพูดคุย ยื่นสิ่งของให้หรือการป้อนข้าวควรเข้าข้างที่อ่อนแรง
    กระตุ้นการรับรู้ บุคคล วันเวลา สถานที่ และสังคมโดย จัดให้มีนาฬิกา ปฏิทิน รูปภาพ โทรทัศน์ ให้ผู้ป่วยดู ให้ญาติหรือผู้ดูแลช่วยบอกถาม พูดคุย หรือให้ผู้ป่วยพูดคุยกับลูกหลาน ญาติพี่น้อง เพื่อนๆ หรือผู้คุ้นเคย
    ครอบครัวให้ความรัก ความใส่ใจเข้าใจปัญหาของผู้ป่วย กระตุ้นให้ผู้ป่วยร่วมกิจกรรมต่างๆ ในครอบครัวเท่าที่ทำได้อย่างสม่ำเสมอไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยนอนอยู่แต่บนเตียง เช่น พาผู้ป่วยไปเดินเล่น ออกกำลังกาย ออกนอกบ้านไปสถานที่ต่างๆ บางรายอาจต้องให้มีส่วนร่วมรับรู้ในกิจการงาน ตลอดจนสังคม สมาคม ที่เคยทำมาก่อนบ้างตามความเหมาะสม
    ผู้ป่วยอาจมีความต้องการทางเพศเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งผู้ดูแลโดยเฉพาะสามีหรือภรรยา ควรทำความเข้าใจและปลอบโยนเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วย
    ควรมีการหมุนเวียนผู้ดูแล กรณีผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เนื่องจากต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นเวลานาน ถ้ามีปัญหาในการดูแลผู้ป่วย ควรปรึกษาทีมสุขภาพ หรือปรึกษาทางโทรศัพท์
    การให้คำแนะนำญาติและผู้ดูแลแก่ญาติที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ
    มาพบแพทย์ตามนัด รับประทานยาตามแพทย์สั่งให้ถูกต้องและครบถ้วน หากมีอาการผิดปกติให้มาพบแพทย์ก่อนวันนัด เช่น แขน-ขาอ่อนแรง หรือชามากขึ้น ง่วงซึม สับสนมากขึ้น พูดไม่ได้ ไม่เข้าใจคำพูดมากขึ้น มีไข้ติดต่อกันเกิน 3 วัน ปัสสาวะบ่อยกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นเหม็น เป็นต้น
    กรณีที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ให้ติดต่อสถาน บริการใกล้บ้าน เช่นโรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือศูนย์ บริการสาธารณสุขตามสิทธิการรักษาของผู้ป่วย
    สกาวรัตน์520764

    • ยาที่ใช้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

      ยาที่ใช้ในโรคหลอดเลือดสมองแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

      1. ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Antiplatelets) ซึ่งในที่นี้จะขอเน้นยาที่อยู่ในรูปแบบยารับประทาน ได้แก่

      Aspirin ( แอสไพริน )

      อาการข้างเคียง :
      1.ตัวยาอาจระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้ปวดท้องหรืออาเจียนหลังรับประทาน บางรายอาจทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารเพราะ ฉะนั้นไม่ควรรับประทานยาในขณะท้องว่าง ควรรับประทานยาหลังอาหารทันที หรือหลังดื่มนม และควรดื่มน้ำตามมาก ๆ ภายหลังรับประทานยา
      2.ยานี้อาจทำให้เลือดออกง่าย เนื่องจากทำให้การเกาะตัวของเกล็ดเลือด (Platelets Aggregation) ลดลง จึงควรระวังในผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีเลือดออก เช่น ไข้เลือดออก โรคเลือดต่าง ๆ

      ข้อควรระวัง :
      1. ในผู้ที่มีอาการแพ้ยานี้ โดยอาจมีผื่นคันหรือลมพิษขึ้น ถ้าแพ้มาก ๆ อาจมีหอบหืดหรือชัก ซึ่งหากพบอาการดังกล่าวให้หยุดยาทันที แล้วให้รีบมาพบแพทย์ และไม่ควรรับประทานยานี้อีกอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้อีก
      2.ถ้าใช้ขนาดมากเกินไปจะเป็นพิษ ทำให้มีอาการมึนงง ใจสั่น หูอื้อ หากเป็นรุนแรงอาจชัก ซึมจนถึงไม่รู้สึกตัว ดังนั้น จึงควรรับประทานยาให้ถูกต้องตามที่แพทย์สั่งและเก็บยาไว้ให้มิดชิด พ้นจากมือเด็ก
      3. ไม่ควรใช้ยาในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ที่เป็นไข้หวัดใหญ่ หรืออีสุกอีใส เพราะอาจทำให้เกิดโรคเรย์ซินโดรม (Reye’s Syndrome)ซึ่งมีอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้
      4.ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ช่วง 3 เดือนก่อนคลอด เพราะอาจทำให้ตกเลือดได้ง่าย และอาจทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับทารกได้

      Clopidogrel ( โคลพิโดเกรล )
      ผลข้างเคียงจากยา :
      ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักสามารถทนต่ออาการข้างเคียงของยาได้ดี โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อย ก็เช่นเดียวกับยาต้านเกล็ดเลือดอื่น ๆคือการมีเลือดออกผิดปกติ และอาจพบอาการท้องเสีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง แผลในทางเดินอาหาร และกลุ่มอาการอาหารไม่ย่อย
      ข้อควรระวัง :
      ผู้ป่วยที่แพ้ยานี้ ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของภาวะตกเลือดที่กำลังดำเนินอยู่ เช่น ภาวะเลือดออกในสมอง

      2. ยาต้านการเกิดลิ่มเลือด (Anticoagulants) ในที่นี้จะขอเน้นเฉพาะยาที่อยู่ในรูปแบบยารับประทาน ได้แก่

      Warfarin ( วาฟาริน )
      ผลข้างเคียงจากยา :
      อาการข้างเคียงที่พบบ่อย คือ ภาวะเลือดออก (bleeding) ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการหยุดยาหรือการลดขนาดยาลง หากมีอาการเลือดออกที่ไม่รุนแรง

      ข้อควรระวัง :
      ยานี้ห้ามใช้ในระหว่างตั้งครรภ์

      3.ยาสลายลิ่มเลือด (Thrombolytics หรือ Fibrinolytics) ได้แก่ Streptokinase , Urokinase , Alteplase (tissue plasminogen activator, rt-PA)
      ซึ่งมักบริหารยาโดยการฉีดในผู้ป่วยที่รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

      คำแนะนำในการใช้ยาโรคหลอดเลือดสมอง

      1. อ่านฉลากยาให้เข้าใจก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
      2. รับประทานยาให้ครบตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ
      3. ควรหยุดยาก่อน 7 วันที่จะไปผ่าตัดหรือถอนฟัน
      4. หากมีอาการผิดปกติใดๆ หลังได้รับยาเช่น มีเลือดออกผิดปกติ ปัสสาวะเป็นเลือด มีจ้ำเลือดเกิดขึ้นตามตัว หรือมีเลือดออกตามไรฟันมากผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
      5. หากได้รับยาอื่นรับประทานร่วมด้วยควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง
      6. อาหารเสริมบางชนิดมีผลทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยากลุ่มนี้ได้ เช่น แปะก๊วย กระเทียม เลซิทิน น้ำมันปลา วิตามินอี เป็นต้น ดังนั้น หากจะรับประทานอาหารเสริมใดควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง หากมีอาการแพ้ยา เช่น ผื่นคัน บวม ต้องหยุดยา และมาพบแพทย์
      เขียนโดย STROKE ที่ 23:36 3 ความคิดเห็น
      . ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง
      ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง

      โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและพบบ่อย ของประเทศไทย เป็นสาเหตุที่สำคัญอันดับ 1 ของการเสียชีวิตในเพศหญิงและอันดับ 2 ในเพศชาย ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านการพูด การสื่อสาร และ ร้อยละ 30 ของผู้ป่วยจะมีความพิการซึ่งต้องอาศัยการดูแลช่วยเหลือ จากผู้อื่นตลอดชีวิต โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร ? โรคซึ่งเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง ที่ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทอย่างเฉียบพลัน เป็นอยู่นานมากกว่า 24 ชั่วโมง หรือ เสียชีวิต

      ประเภทของโรคหลอดเลือดสมอง
      โรคหลอดเลือดสมอง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

      1. โรคหลอดเลือดสมองแตก พบได้ประมาณร้อยละ 20 – 30 ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด

      2.โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน พบได้ประมาณร้อยละ 70 – 80 ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด
      ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

      1.โรคความดันโลหิตสูง
      2. สูบบุหรี่
      3.โรคเบาหวาน
      4.โรคหัวใจ
      5.ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง
      6.โรคอ้วน
      7.ดื่มสุราปริมาณมากๆ

      นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุ เชื้อชาติ ขาดการออกกำลังกาย ความเครียด

      อาการสำคัญ
      ผู้ป่วยจะมีอาการเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันทันทีทันใด ดังต่อไปนี้
      – แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง
      – แขนขาชาซีกใดซีกหนึ่ง
      – ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด
      – ตามัว หรือ ตามองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่งหรือเห็นภาพซ้อนสองทันทีทันใด
      – ปวดศีรษะรุนแรง เฉียบพลันและ อาเจียนพุ่ง – เวียนศีรษะอย่างรุนแรง เดินเซ เสียการทรงตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดร่วมกับอาการอื่นๆ ข้างต้น
      อาการแสดง
      แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งทันทีทันใด แขนขาชาซีกใดซีกหนึ่งทันทีทันใด

      ตามัว หรือ ตามองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่งหรือเห็นภาพซ้อนสองทันทีทันใด

      ปากเบี้ยว พูดไม่ชัดทันทีทันใด

      ปวดศีรษะรุนแรง เฉียบพลันและ อาเจียนพุ่ง

      เวียนศีรษะอย่างรุนแรง เดินเซ เสียการทรงตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดร่วมอาการอื่นข้างต้น

      “อาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันทันทีทันใด”
      การปฏิบัติเมื่อเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

      -หยุดกิจกรรมทุกอย่างที่กำลังทำอยู่
      -ให้นอนราบเพื่อป้องกันการหกล้มบาดเจ็บที่ศีรษะ
      -ในผู้ป่วยที่หมดสติ ให้ตะแคงตัวหรือหันหน้าไปข้างใดข้างหนึ่งเพื่อป้องกันการสำลัก
      -รีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันทีไม่ว่าจะมีอาการหนักหรือเบา

      หากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับการรักษารวดเร็วเท่าใดจะยิ่งเป็นการหลีกเลี่ยงความเสียหายต่อสมองแบบยาวนานได้

      การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
      ขึ้นอยู่กับชนิด ความรุนแรง และระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการโดยเฉพาะถ้าผู้ป่วยมาเข้ารับการรักษาเร็วเท่าใด ความพิการและอัตราการตายจะลดลงมากเท่านั้น

      1. การรักษาทางยา เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือยาต้านเกล็ดเลือดในโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ยารักษาความดันโลหิตสูง ยาและสารน้ำรักษาสมองบวม เป็นต้น
      2. การผ่าตัดในรายที่อาการ ซึม หมดสติ และมีก้อนเลือดขนาดใหญ่ในสมอง เป็นต้น
      การรักษาและควบคุมปัจจัยเสี่ยง และโรคแทรกซ้อน
      3. การรักษาทางกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาพทางร่างกายผู้ป่วย ป้องกันโรคแทรกซ้อน โรคหลอดเลือดสมองมีโอกาสกลับเป็นซ้ำภายหลังการรักษา ผู้ป่วยและผู้ดูแลต้องให้ความสำคัญต่อการป้องกันปัจจัยเสี่ยง

      การป้องกันไม่ให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง

      1.งดสูบบุหรี่
      2.งดดื่มสุรา
      3.รับประทานผัก ผลไม้ เพื่อช่วยให้ขับถ่ายดีขึ้น
      4.ดื่มน้ำมากๆ อย่ารับประทานอาหารมันๆ เพื่อป้องกันหลอดเลือดตีบตัน
      5.ถ้ามีโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
      6.อย่าเครียด อย่าโมโหง่าย อย่าคิดมาก
      7.ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาทีอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์
      8.ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม อย่าให้อ้วน
      9.ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง เช่นความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ถ้าพบต้องรักษาและพบแพทย์สม่ำเสมอ

      เขียนโดย STROKE ที่ 0:51 4 ความคิดเห็น
      ผลกระทบของโรคหลอดเลือดสมองต่อร่างกายและจิตใจ
      ผลกระทบของโรคหลอดเลือดสมองต่อร่างกายและจิตใจ

      1. อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อข้างใดข้างหนึ่งอาจเป็นทั้งแขนและขา

      2.มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว เช่น การนั่ง การยืน หรือเดินไม่ได้แม้ว่ากล้ามเนื้อจะยังคงแข็งแรง

      3. ปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารผู้ป่วยบางรายไม่สามารถพูด และไม่สามารถเข้าใจภาษาทั้งพูดและเขียน บางรายพูดไม่ได้แต่ฟังรู้เรื่อง บางรายพูดลำบาก

      4.ผู้ป่วยบางรายไม่สนใจอวัยวะข้างใดข้างหนึ่งมักเกิดในผู้ป่วยที่อ่อนแรงข้างซ้าย

      5. มีอาการชา หรือปวดข้างใดข้างหนึ่ง

      6. ผู้ป่วยบางรายมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ ความคิด และการเรียนรู้

      7.ผู้ป่วยบางรายมีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหาร

      8.มีปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ

      9.ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเหนื่อยง่าย

      10.ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์แปรปรวนเช่น หัวเราะ หรือร้องไห้เสียงดัง

      11.อารมณ์วิตกกังวลอาจพบได้ในระยะแรกของโรค เกิดจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจว่า ตนเองป่วยเป็นโรคอะไร สาเหตุจากอะไร ต้องรักษาอย่างไร เสียค่าใช้จ่ายมากร้อยเท่าไร รักษาหายหรือไม่ ซึ่งอาจแสดงออกมาทางร่างกาย คือ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ พฤติกรรมถดถอย เรียกร้องความสนใจ ต้องการให้ช่วยเหลือทั้ง ๆ ที่สามารถทำได้

      12.มีภาวะซึมเศร้าจากการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่นานทำให้ผู้ป่วยเกิดความเบื่อหน่าย สิ้นหวัง แยกตัว ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม เบื่อกิจกรรมทุกอย่าง ท้อแท้ อยากตาย ผู้ป่วยมักคิดว่าตนเองไม่มีโอกาส ไม่มีความหวังเป็นภาระของครอบครัว รู้สึกตนเองไม่มี
      คุณค่า

      13.พฤติกรรมต่อต้าน ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ จะปฏิเสธการดูแลจากคนอื่น ไม่ยอมให้ช่วยเหลือ ไม่ยอมรับประทานยา หรือไม่ยอมให้ฉีดยา

      14.พฤติกรรมก้าวร้าว ควบคุมตัวเองไม่ได้ เอาแต่ใจ เมื่อไม่ได้รับการตอบสนองทันที ก็เกิดความโกรธ และแสดงความก้าวร้าวต่อผู้รักษาหรือญาติพี่น้อง

      15.พฤติกรรมทางเพศเปลี่ยนแปลง เช่น เพิ่มขึ้นหรือลดลง

      16.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เชื่อว่าทำให้อาการของโรคเลวลง เช่น ไม่กล้าทำงาน ไม่กล้าเดินทาง บางคนไม่อยากตกอยู่ในสภาพเจ็บป่วย ไม่มาพบแพทย์ตามนัด ไม่รับประทานยา ฯลฯ

      เขียนโดย STROKE ที่ 0:32 0 ความคิดเห็น
      วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552
      The Barthel Activity of Daily Living Index
      แบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

      ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
      The Barthel Activity of Daily Living Index

      ดัชนีบาร์เทล (The Barthel ADL Index) สร้างขึ้นโดย Mahonney และ Bathel เป็นแบบประเมินที่ใช้ในการประเมินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

      โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความก้าวหน้าในการดูแลตนเองและการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพประกอบด้วย 10 กิจกรรม ได้แก่ การรับประทานอาหาร การหวีผม การลุกจากที่นอน การใช้ห้องสุขา การควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ การอาบน้ำ การสวมใส่เสื้อผ้า การเคลื่อนที่ภายในบ้าน และการเดินขึ้นลงบันได 1 ชั้น (Wade, 1992)

      โดยมีคะแนนรวม 0-100 คะแนน และมีการแบ่งคะแนนระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันซึ่งเป็นคะแนนไม่ต่อเนื่องและคะแนนที่ได้จะอยู่ในช่วงคะแนนที่กำหนดไว้ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้

      0-20 หมายถึง ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เลย
      25-45 หมายถึง สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เล็กน้อย
      50-70 หมายถึง สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ปานกลาง
      75-95 หมายถึง สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้มาก
      100 หมายถึง สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองทั้งหมด

      1. feeding การรับประทานอาหาร
      0 ไม่สามารถรับประทานอาหารได้เอง ต้องป้อนอาหารให้ หรือรับอาหารทางสายยาง
      5 ต้องมีผู้คอยดูแลช่วยเหลือในการเตรียมอาหาร เช่น ช่วยตัดหรือหั่นอาหาร
      10 ช่วยตัวเองได้เมื่อเตรียมอาหารวางไว้ให้
      2. Transfer การเคลื่อนย้าย
      0 ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้
      5 ต้องมีผู้ช่วยเหลือ 1-2 คน ในการเคลื่อนย้าย นั่งทรงตัวได้
      10 เคลื่อนย้ายได้โดยมีผู้ช่วยเหลือ 1 คน คอยช่วยพยุงหรือชี้แนะ
      15 สามารถลุกจากเตียง ที่นอน หรือเคลื่อนย้ายลงมาเก้าอี้เข็นและสามารถล๊อคล้อเก้าอี้เข็นได้

      3. Mobility การเดินการเคลื่อนที่
      0 เคลื่อนไหวไม่ได้
      5 สามารถใช้เก้าอี้เข็น คลาน หรือถัดได้
      10 เดินได้โดยมีคนช่วยพยุง 1 คน
      15 เดินได้เอง โดยอาจใช้ไม้เท้า หรือเครื่องพยุงเดิน

      4. Dressing การแต่งตัว สวมใส่เสื้อผ้า
      0 ไม่สามารถแต่งตัวหรือสวมใส่เสื้อผ้าได้เอง
      5 ต้องมีผู้ช่วยเหลือบางขั้นตอน
      10 แต่งตัว สวมใส่เสื้อผ้าได้

      5. Bathing การอาบน้ำ เช็ดตัว
      0 ไม่สามารถอาบน้ำ หรือเช็ดตัว ดูแลความสะอาดของร่างกายได้ต้องการความช่วยเหลือ
      ในบางขั้นตอน
      5 สามารถอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายได้ ทั้งฟอกสบู่ ตักน้ำราดตัว หรือเช็ดตัวได้ทุกส่วน

      6. Groming สุขวิทยาส่วนบุคคล
      0 ต้องพึ่งพาบุคคลอื่นทั้งหมดในการล้างหน้า แปรงฟัน หวีผม หรือโกนหนวด
      5 สามารถล้างหน้า แปรงฟัน หวีผม โกนหนวดได้

      7. Toilet use การใช้ห้องสุขา หรือกระโถน
      0 ต้องพึ่งพาเกี่ยวกับการเข้า-ออกห้องสุขา หรือ การสอดดึงกระโถนรวมทั้งการถอด/
      ใส่เสื้อผ้า การล้างทำความสะอาดหลังการขับถ่าย
      5 ต้องการความช่วยเหลือในบางขั้นตอน
      10 สามารถเข้า-ออก ห้องสุขา หรือการสอด-ดึงกระโถน รวมทั้งการถอด/สวมเสื้อผ้า
      การล้างทำความสะอาดภายหลังจากการขับถ่าย

      8. Bowels การควบคุมการถ่ายอุจจาระ
      0 กลั้นไม่ได้ อุจจาระราด กระปริดกระปรอย หรือท้องผูก ต้องสวนอุจจาระให้
      5 กลั้นได้เป็นส่วนใหญ่ แต่อาจกลั้นไม่ได้ประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
      หรือต้องการความช่วยเหลือในการสวนอุจจาระ
      10 กลั้นได้ และ/หรือ ต้องสวนอุจจาระแต่สามารถทำได้เอง

      9. Bladder การควบคุมการถ่ายปัสสาวะ
      0 กลั้นไม่ได้ ถ่ายปัสสาวะกระปริดกระปรอย/ต้องสวนปัสสาวะหรือ
      ดูแลเมื่อคาสายสวนปัสสาวะให้
      5 กลั้นปัสสาวะไม่ได้ประมาณวันละ 1 ครั้ง และต้องการความช่วยเหลือให้การสวนปัสสาวะ
      หรือดูแลเมื่อคาสายสวนปัสสาวะ
      10 กลั้นได้ ไม่มีปัสสาวะกระปริดกระปรอย ในกรณีที่คาสายสวนปัสสาวะสามารถดูแลได้เอง

      10. Stairs การขึ้นลงบันได
      0 ไม่สามารถทำได้
      5 ต้องการคนช่วยเหลือ
      10 ขึ้นลงได้เอง (ถ้าต้องใช้เครื่องช่วยเดิน เช่น walker จะต้องเอาขึ้นลงได้ด้วย)
      นางสาวกรุณา ริมชัยสิทธิ์ รหัส 520239

  140. 500186 นางสาวสุภาวดี เสนาฤทธิ์ อาจารย์ค่ะตอนเป็นเด็กหนูเคยโดนประตูตกใส่ศ๊รษะ แล้วพึ่งมารู้ตอนนี้ว่ากลางศีรษะมันบุบจะมีผลต่อระบบหลอดเลือดในสมองในอนาคตมั้ยคะขอบคุณค่ะ

  141. อาจารย์คะผู้ป่วยที่ผ่าตัดสมองออกเหลือซีกเดียว จะมีโอกาสหายและกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติหรือไม่คะ
    นางสาวอาิทิตยา ตั้งปฐมพงศ์ 510280

  142. naree520153 says:

    แนวทางการป้องกันโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ (Stroke)

    ควบคุมความดันโลหิต ควรตรวจเช็คความดันโลหิตเป็นประจำ เพราะความดันโลหิตสูงจะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิด โรคอัมพาต อัมพฤกษ์

    ไม่สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่จะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิด โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ จากการวิจัยพบว่าผู้ที่เลิกบุหรี่ไปแล้ว 2-5 ปี จะมีโอกาสเกิดโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ น้อยกว่าผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่อยู่

    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกาย ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น นอกจากนี้การออกกกำลังกายยังช่วย ในการควบคุมความดันโลหิตและน้ำหนักตัว ซึ่งจะเป็นการลดปัจจัยเสี่ยง ต่อการที่จะเกิดโรคอัมพาต อัมพฤกษ์

    ทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรทานผักผลไม้สดให้มาก หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง และควรรับประทานปลาเป็นประจำเพราะปลาจะมี omega-3 fatty acids ที่ช่วยลดการอุดตันของลิ่มเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคอัมพาต อัมพฤกษ์

    นางสาวนารี ชะเนินรัมย์ 520153

    ให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากมีโรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นเบาหวานหากปล่อยให้น้ำตาลสูง โดยไม่ควบคุม เส้นเลือดจะแข็ง ตีบตัน ขาดความยืดหยุ่น ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ มากขึ้น

  143. naree520153 says:

    แนวทางการป้องกันโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ (Stroke)

    -ควบคุมความดันโลหิต ควรตรวจเช็คความดันโลหิตเป็นประจำ เพราะความดันโลหิตสูงจะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิด โรคอัมพาต อัมพฤกษ์
    – ไม่สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่จะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิด โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ จากการวิจัยพบว่าผู้ที่เลิกบุหรี่ไปแล้ว 2-5 ปี จะมีโอกาสเกิดโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ น้อยกว่าผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่อยู่
    -ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกาย ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น นอกจากนี้การออกกกำลังกายยังช่วย ในการควบคุมความดันโลหิตและน้ำหนักตัว ซึ่งจะเป็นการลดปัจจัยเสี่ยง ต่อการที่จะเกิดโรคอัมพาต อัมพฤกษ์
    -ทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรทานผักผลไม้สดให้มาก หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง และควรรับประทานปลาเป็นประจำเพราะปลาจะมี omega-3 fatty acids ที่ช่วยลดการอุดตันของลิ่มเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคอัมพาต อัมพฤกษ์
    -ให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากมีโรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นเบาหวานหากปล่อยให้น้ำตาลสูง โดยไม่ควบคุม เส้นเลือดจะแข็ง ตีบตัน ขาดความยืดหยุ่น ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ มากขึ้น

    น.ส.นารี ชะเนินรัมย์ 520153

  144. การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง หรือ อัมพฤกษ์ อัมพาต ได้ด้วยการเริ่มต้นดูแลเอาใจใส่สุขภาพและลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือด ได้แก่ 1) การควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ น้อยกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันอยู่แล้วให้ควบคุมความดันให้น้อยกว่า 120/90 มิลลิเมตรปรอท 2) สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน ควบคุมระดับของน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติมากที่สุด ( ก่อนรับประทานอาหารเช้าระดับน้ำตาลในเลือด 70-110 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หลังรับประทานอาหารแล้ว 2 ชม.ระดับน้ำตาลไม่เกิน 140 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ) 3) ลดหรือเลิกสูบบุหรี่ 4) ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ ไม่ต่ำกว่า 30 นาทีต่อวัน 5) บริโภคอาหารให้พอเหมาะกับความต้องการของร่างกาย งดอาหารรสเค็ม รสหวาน และไขมันสูง 6) ควบคุมให้น้ำหนักตัวที่เหมาะสม รอบเอวผู้ชายไม่เกิน 90 เซนติเมตร และผู้หญิงไม่เกิน 80 เซนติเมตร 8) ทำจิตใจให้ผ่องใส ผ่อนคลายเพื่อลดภาวะความเครียด 9) ตรวจร่างกายประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
    510489 นางสาว ยุภารัตน์ สุขเขษม

  145. สัญญาณเตือนภัย
    5 หลักสากลที่ผู้ป่วยควรสังเกตอาการเบื้องต้นก่อนภัยร้ายมาเยือนคือ
    Walk เดินไม่ตรง มีอาการเซ
    Talk ออกเสียงไม่ชัด พูดไม่ออก
    Reach เอื้อมหยิบสิ่งของไม่ได้ ไม่มีแรง ชาบริเวณ มือ แขน ขา
    Feel มีอาการปวดศีรษะ หรือเวียนศีรษะอย่างรุนแรง

    นางสาวนิระภา สร้อยไข 510476

  146. การป้องกัน โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ที่ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

    งดสูบบุหรี่

    ควบคุมอาหาร อย่าให้น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน

    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

    ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

    ถ้าเป็นเบาหวาน ควรรักษาระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

    หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรดูแลความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

    หากมีอาการผิดปกติ เช่น แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดลำบาก เวียนศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

    ควรตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ เพื่อตรวจหาความเสี่ยง เพราะอาจเกิดลิ่มเลือดในหัวใจหลุดเข้าไปอุดตันในหลอดเลือดสมองได้

    การจะทราบว่าผู้ป่วยที่มาพบแพทย์เป็น โรคหลอดเลือดสมอง หรือไม่ เป็นที่จุดใด มีความรุนแรงเพียงใดนั้น ควรทำการตรวจโดยเครื่องมือทางการแพทย์ ที่ให้ผลละเอียดและมีความแม่นยำสูง เพื่อประกอบการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งมีหลายวิธี อาทิ การตรวจสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (CT Scan) การตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI และ MRA) การตรวจการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดในสมอง (Transcranial Doppler : TCD) และการตรวจหลอดเลือดคอ เป็นต้น ซึ่งผลที่ได้มีความละเอียดแม่นยำมากพอ ที่จะช่วยทำให้แพทย์วางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    นางสาวอาภรณ์ แก้ววังสาร 510395

  147. สัญญาณเตือนภัย
    5 หลักสากล ที่ผู้ป่วยควรใช้สังเกตอาการเบื้องต้นก่อนภัยร้ายมาเยือน คือ
    Walk เดินไม่ตรง มีอาการเซ
    Talk ออกเสียงไม่ชัด พูดไม่ออก
    Reach เอื้อมหยิบสิ่งของไม่ได้ ไม่มีแรง ชาบริเวณ มือ แขน ขา
    See มองภาพไม่ชัด ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน
    Feel มีอาการปวดศีรษะ หรือ เวียนศีรษะอย่างรุนแรง
    510397 นางสาวพัชรา ชัยมี

  148. strokeเมื่อมีภาวะ Hyperglycemia ทำไมสุดท้ายจึงต้องกลายเป็น Ischemic penumbra ค่ะ

    น.ส จิราพร จันทร์แพ 500481

  149. อยากให้อาจารย์อธิบายการทำงานของ Cardiac pacemaker ว่าจะเกิด spike ตอนไหน อย่างไรค่ะ

    นางสาว เสาวลักษณ์ โส๊ะตรี 510470

  150. โรคความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว และทำให้เกิดโรคอัมพาตได้มาก ทั้งชนิดหลอดเลือดแตกและหลอดเลือดตีบ ปัจจุบันถือว่า โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในการเกิดอัมพาต และจากการศึกษาวิจัย พบว่าโรคความดันโลหิตสูงทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเป็นอัมพาตมากกว่าคนปรกติสูงถึง 4-6 เท่า ผู้ป่วยโรคอัมพาตร้อยละ 40-90 จะมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาก่อน

    ระดับโคเลสเตอรอลในเลือด

    ภาวะที่มีไขมันสูงในหลอดเลือด ทั้งชนิดโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันที่ไปเกาะผนังหลอดเลือดและจะทำให้ผนังหลอดเลือดแข็ง อันจะมีผลตามมาทำให้เกิดอัมพาตได้ง่าย

    โรคเบาหวาน

    ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานเป็นเวลานานๆ โดยมิได้รับการรักษา หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดอัมพาตชนิดหลอดเลือดตีบได้สูง เพราะโรคเบาหวานทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ง่าย โดยจะมีหลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย และถ้าเป็นที่หลอดเลือดของสมองจะเกิดอัมพาตขึ้น อัตราการเสี่ยงของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน จะมีโอกาสเกิดอัมพาตได้สูงกว่าผู้ป่วยปกติถึง 2-4 เท่า

    นางสาว มุกดา ไชยสิทธิ์ 510386

  151. การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
    1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    2. ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม อย่าให้อ้วน
    3. งดสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
    4. ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง ถ้าพบว่า มีปัจจัยเสี่ยงต้องรีบรักษา และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
    5. ในกรณีมีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้ว ต้องรักษาอย่างสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาเองเด็ดขาด
    6. ถ้าเป็นโรคหลอดเลือดในสมองอยู่แล้วจะมีโอกาสเป็นซ้ำได้มากกว่าคนปกติ และมีอาการมากกว่าเดิม เช่น กรณีเป็นโรคเลือดสมองตีบ หรือ อุดตันจะได้ยารับประทานพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ เช่น ยาแอสไพรินจะต้านการแข็งตัวของเลือด ซึ่งต้องรับประทานติด่อกันเป็นเวลานาน ไม่ควรหยุดยาเองเด็ดขาด

    นางสาวกัลยาณี พลาษี 500275

  152. ผลกระทบของโรคหลอดเลือดสมองต่อร่างกายและจิตใจมีอะไรบ้างคะ และจะรักษาอย่างไร หายขาดไมคะ

    นางสาวขวัญชนก กุญชนะรงค์ 500318

  153. ในผู้้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง rupture aneurysm จะเกิดภาวะแทรกซ้อนใด การรักษาเพื่อป้องกันคืออะไรค่ะ
    นางสาวเกศรินทร์ มูลเอ้ย รหัส 490579

  154. ในผู้ป่วยความดันกระโหลกศรีษะสูงจึงไม่นิยมให้ Morphine ในการลดอาการปวด
    และ Morphine ทำไมจึงทำให้การแปลผลอาการทางสมองผิดพลาดไปคะ
    นางสาวสุชาดา วงศ์เวทย์เสถียร 490719

  155. Fah Krahan says:

    การหายใจแบบใดที่แสดงถึงความผิดปกติในสมอง
    นางสาวนิตยา ศรีวะรมย์ 500254

  156. Noo Tanz says:

    อาจารย์ค่ะ ผู้ป่วยที่มีเนื้อสมองตาย จะสามารถรักษาให้หายขาดหรือเปล่า และถ้าหายมันจะมีรอยโรคหรือเปล่า
    นางสาวขวัญฤดี เจริญชาติ 500136

  157. Noo Tanz says:

    อาจารย์ค่ะ ผู้ป่วยที่ดูแลอยู่เขามีอาการ แขนขาอ่อนแรง แต่หมอสงสัยว่ามีความดุลของ e’lyte หมอเลยไม่ส่ง order ทำ CT scan อาการดังกล่าวอาจเกิดจากระบบสมองหรือไม่
    นางสาวเบญจพร อินเบือก 500546

    **********************************************************************************************************
    ยา r-tPA มีผลข้างเคียงต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
    นางสาวเบญจพร อินเบือก 500546

  158. เรียนถามอาจารย์ ครับ คือ แม่ผมเอง ผมไม่แน่ใจว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือเปล่า เลยมาเรียนถามอาจารย์ และช่วยแนะนำด้วยครับ
    คืออาการที่แม่เป็นคือ มีอาการ เมื่อแม่ตื่นขึ้นมาตอนเช้า ทั้งๆที่แม่ไม่เคยมีอาการมาก่อน และไม่มีโรคประจำตัวด้วย แต่ความดันโลหิตของแม่สูงตลอด เมือแม่ตื่นขึ้นมาตอนเช้า แม่มีอาการ ชาครึ่งซีกซ้าย ปากเบี้ยว หูข้างซ้ายไม่ได้ยินหรือหูอื้อไปเลย มีปวดหัวข้างเดียวด้วย อาจารย์คิดว่าแม่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือเปล่าคับ ช่วยแนะนำด้วยคับ และที่สำคัญผมต้องทำไงบ้างอะคับ ผมต้องพาไปหาหมอที่ไหนดีคับ แนะนำด้วยครับ
    ผมนายธวัชชัย สวัสดิสาร 490549 คับ

  159. อาจารย์ค่ะ ถ้ามีผู้ป่วยเกิดอุบัติเหตุ แล้วต้องทำผ่าหลอดเลือดสมอง อยากทราบว่าอาการที่เกิดกับผู้ป่วยจะมีอาการอะไรบ้างค่ะ

    นางสาวจันทร์สุดา กออำไพ
    รหัส 520334

  160. อาจารย์มีผู้ป่วยคนนึง มีอาการปวดศรีษะอย่างรุนแรงโดยเฉลี่ยเดือนล่ะครั้ง และจะมีอาการควบคู่กับความดันโลหิตสูงประมาณ 220/120 และบางครั้งจะมีอาการอาเจียนร่วมด้วย และในแต่ล่ะครั้งที่มีอาการดังกล่าวผู้ป่วยจะหายไปเองภายใน3-4วัน เื่ิมื่อไปพบแพทย์ แพทย์วินิจฉัยว่าไม่มีอะไรผิดปกติ และให้ยาคลายกล้ามเนื้อมารับประทาน อยากถามอาจารย์ว่าผู้ป่วยรายนี้มีภาวะที่จะเกิดโรคเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดมั๊ยค่ะ

    นางสาวธัญทิพย์ รักซัง
    รหัสนักศึกษา 490582

  161. ภาวะช็อกแต่ละแบบ( Hypovolemic shock , Distributive shock , Cardiogenic shock , Obstructive shock , Neurogenic shock , Adrenal insuffeciency )มีการทำงานของพยาธิสภาพแต่ละอวัยวะอย่างไรค่ะ

    น.ส จิราพร จันทร์แพ 500481

  162. ทำไม r-tPA ถึงไม่สามารถรักษา stroke ประเภท infarct และ hemorrhage ได้ค่ะ

    น.ส เสาวลักษณ์ โส๊ะตรี 510750

  163. การที่ผู้ป่วยได้รับเลือดในผู้ป่วยที่เป็นโรคโลหิตจางมันจะเป็นสาเหตุของการเป็นstroke เพิ่มขึ้นป่าวค่ะ แล้วถ้าไม่ใช่แต่ผู้ป่วยมีอาการชาครึ่งซีกกล้ามเนื้ออ่อนแรง แล้วจำเป็นไมค่ะว่าต้องเป็นในกรณีตีบแตกตันเท่านั้น มีภาวะอื่นอีกไหมค่ะที่มีอาการคล้ายกัน แล้วในผู้ป่าวที่ประสบอุบัติเหตุกระดูกหักหลายซี่ก็มีภาวะแทรกคือ fat embolism ,Compartment syndrome ที่มีhematoma อาการแสดงและการตรวจทางห้องlabเหมือนกันหรือป่าวคะ
    กนิษฐา 520841

  164. ผู้ป่วยอายุ 42 เพศหญิง ไม่ได้ออกกำลังกาย ทำงานเป็นเกษตรกร ไม่รับประทานอาหารเค็ม อาหารมัน มีอาการปวดศีรษะมากในช่วงเช้าเป็นประมาณครึ่งชั่วโมงก็หายเอง มีชาขาทั้งข้างในตอนกลางคืน เดิมผู้ป่วยมีอาการปวดเข่าจากเข่าเสื่อมระยะแรกที่ยังไม่มีผิดรูปของข้อเข่า มีประวัติเป็นความดันหิตสูงตรวจพบเมื่อประมาณ 2-3ปีที่แล้วมียารับประทาน อาการปวดหัว ชาขาเป็นอาการที่เราถือว่าเป็นอาการเริ่มหรือเสี่ยงต่อการเป็น stroke ได้หรือป่าวคะ แล้วเราจะแนะนำให้ผู้ป่วยตรวจ lab อะไรพิเศษเพื่อที่ค้นหาก่อนที่จะเกิดการตีบแตกตัน
    กนิษฐา 520841

  165. Ao Fay says:

    ถ้าเราออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
    งดสูบบุหรี่ ดื่มสุรา แล้วจะป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ไหมค่ะ
    นางสาวจารุวรรณ เฟสูงเนิน รหัส 520149

  166. Ao Fay says:

    อาจารย์ค่ะ ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง รักษาจนหายแล้ว กลับไปอยู่บ้าน มีโอกาสกลับเป็นอีกได้มั้ยค่ะ แล้วผู้ป่วยจต้องรับประทามยาตลอดเลยมั้ยค่ะ
    นางสาวจารุวรรณ เฟสูงเนิน รหัส 520149

    • yuwa510505 says:

      อาจาร์เราสามารถรู้อาการล่วงหน้าก่อนจะเกิดโรคหรือเปล่าค่ะ เพื่อหาวิธิป้องกัน

    • yuwa510505 says:

      อาจาร์เราสามารถรู้อาการล่วงหน้าก่อนจะเกิดโรคหรือเปล่าค่ะ เพื่อหาวิธิป้องกัน

      นางสาวยุวา มัญยะหงษ์ 510505

  167. jumj says:

    คนที่ดูแลตัวเองดีในทุกๆด้าน จะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ไหมคะ

    น.ส.ภุมรินทร์ ป้องทอง 490200

  168. SenzE อุปกรณ์สื่อสารผ่านดวงตาสำหรับผู้ป่วยที่สื่อสารลำบาก ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยทุกคน สู้ต่อไปอย่างมีความหวังนะคะ https://www.youtube.com/watch?v=mTc35l_74vo

  169. ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน สู้ๆ ต่อไป อย่าท้อนะคะ https://www.youtube.com/watch?v=jony64iXLNc

Leave a reply to MoMay Jiranya Cancel reply